Tuesday, July 5, 2022

วัตตขันธกะ : เสนาสนวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : เสนาสนวัตร
 



เสนาสนวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 430 )  


       550. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยใน เสนาสนะ /////  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 431 )  


       ภิกษุอยู่ใน วิหาร /////  ใด ถ้าวิหารนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงชำระ 

       เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน

       พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ออกวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       พึงขนฟูก หมอน ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       เตียงพึงยกต่ำๆ ขนออกไปให้ดีอย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       ตั่ง /////  พึงยกต่ำๆ ขนออกไปให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       เขียงรองเท้าเตียงพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง  

       พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       เครื่องลาดพื้น พึงกำหนดที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง 


       ถ้าในวิหารมีหยากไย่ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน 

       พึงเช็ดกรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง  

       ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นราพึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด  

       ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นราพึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด  

       ถ้าพื้นไม่ได้ทำ พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาด ด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร 

       พึงกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้ภิกษุ 

       ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้วิหาร 

       ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้น้ำฉัน 

       ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้น้ำใช้  

       ไม่พึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม  

       พึงเคาะเสนาสนะในที่ใต้ลม 

       เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดดในที่ควรแห่งหนึ่ง ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับไปปูไว้ตามเดิม 

       เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดไว้ในที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม  

       เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ขัดสี เคาะ ยกต่ำ ทำให้ดีอย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม 

       ฟูกและหมอนพึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เคาะ ปัดให้สะอาดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม  

       ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอนพึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง สลัดให้สะอาดแล้วขนไปปูไว้ตามเดิม  

       กระโถน พนักอิง พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้วขนไปตั้งไว้ตามเดิม 

       พึงเก็บบาตร จีวร  

       เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง  

       เมื่อจะเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ สายระเดียง /////  พึงทำชายไว้ข้างนอกขนดไว้ข้างในเก็บจีวร 


       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก  

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศ ตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก  

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ  

       ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ 


       ถ้าฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด  

       ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด 


       ถ้าบริเวณซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี /////  รก พึงปัดกวาดเสีย  

       ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้  

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มีพึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ 


       ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่ายังไม่ อาปุจฉา /////  ภิกษุผู้แก่กว่าไม่พึงให้ อุเทศ /////  ไม่พึงให้ ปริปุจฉา /////  ไม่พึงทำการสาธยาย ไม่พึงแสดงธรรม ไม่พึงตามประทีป ไม่พึงดับประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง 


       ถ้าเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินคล้อยตามภิกษุผู้แก่กว่า และไม่พึงกระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่าด้วยชายผ้า สังฆาฏิ /////   


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นเสนาสนวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : เสนาสนวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 916 , 917 



- จบ -

ปริปุจฉา

 

ปริปุจฉา


       ปริปุจฉา หมายถึง ปรึกษาสอบถามปัญหากับสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา อยู่เสมอตามกาลอันควร เพื่อให้รู้ชัดการอันดีชั่ว ควรประกอบหรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือไม่ แล้วประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง ข้อนี้ปัจจุบันสงเคราะห์นักปราชญ์นักวิชาการผู้ทรงคุณธรรมเข้าด้วย  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ความหมายของคำว่า “ปริปุจฺฉา”  


       ในกลุ่มคำที่มาคู่กันเสมอๆ จะพบศัพท์ชุดนี้ คือ อุทเทส และ ปริปุจฉา โดยทั่วไปคำว่า อุทเทส จะหมายถึง ตัวพระบาฬีเอง การเรียน การสอน พระบาฬีนั้นบ้าง

       ส่วน ปริปุจฉา จะหมายถึง อรรถกถา ซึ่งได้แก่ อรรถถาธิบายพระบาฬีนั้น บ้าง การเรียนเอาซึ่งอรรถาธิบายนั้น บ้าง โดยมีรากศัพท์มาจากว่า “สอบถาม” 

       เมื่อสืบค้นในคัมภีร์ต่างๆแล้ว กลับพบว่า คำว่า ปริปุจฉา ยังมีสาระที่นอกเหนือจากที่รู้กันว่า ได้แก่ อรรถกถา ซึ่งแตกต่างกันไปตามควรแก่อาคตสถานอันเป็นบริบทที่พบ 

       เนื่องจาก ปริปุจฉา เป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับการถามเป็นมูลเหตุ จึงควรทราบคำจำกัดความเสียก่อน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 นัย คือ โดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมความหมายทั้งหมด และ โดยเฉพาะบริบท 

       1 ) คำจำกัดความโดยทั่วไป 

       ศัพท์ว่า ปริปุจฺฉา ในที่นี้ หมายถึง การไต่ถาม ซึ่งอรรถแห่งพระบาฬีทุกแง่ทุกมุม เช่น บาฬีนี้คืออะไร และความหมายของบาฬีนี้คืออะไร และ อรรถาธิบาย กล่าวคือ อรรถกถา อัตถวัณณนา ของพระบาฬี อรรถาธิบาย 

       ( ก ) การไต่ถามโดยรอบ

       ปริ = ปุนปฺปุนํ หรือ สมนฺต + ปุจฺฉา มีวิเคราะห์เป็นฉัฏฐีกัมมตัปปุริสสมาส ว่า 

       ปุนปฺปุนํ , สมนฺตโต วา ปาฬิยา อตฺถสฺส ปุจฺฉนํ = ปริปุจฺฉา ( ปาจิตฺ.โย. ) การถาม ซึ่งอรรถแห่งพระบาฬีโดยรอบ  กรณีนี้ เป็นการไต่ถามโดยตรง 


       ( ข ) อรรถาธิบายของพระบาฬี 

       ปริ = ปรา, ปรโต ภายหลัง + ปุจฺฉา มีวิเคราะห์เป็นอัพยยีภาวสมาส ว่า 

       ปุจฺฉาย ปรโต ปวตฺตา กถา = ปริปุจฺฉา 

       กถาอันเป็นไปภายหลังจากการไต่ถาม ชื่อว่า ปริปุจฺฉา.( ปฏิสัมภิทาวิภังคมูลฏี 718 ) 

       ปริปุจฺฉาเหตุ ปวตฺตา กถา ปริปุจฺฉาติ วุตฺตาติ อาห ‘‘ปุจฺฉาย…เป.… ปริปุจฺฉาติ วุตฺตา’’ติฯ 

       ปริปุจฺฉา หมายถึง กถาที่เป็นไปเพราะเหตุแห่งปริปุจฉา ( ปฏิสัมภิทาวิภังคอนุฏี 718 ) 

       ปรา ปุจฺฉาย ปรโต ปวตฺตา ปริปุจฺฉา อฏฺฐกถา  

       กถาอันเป็นไปภายหลังการไต่ถาม ชื่อว่า ปริปุจฉา ( สมนฺต.โยชนา. 2/48/38 ) 

       วิเคราะห์นี้ ได้แก่ อรรถกถา ซึ่งเป็นคำสรุปใจความได้หลังจากที่ไต่ถามคำอรรถาธิบายของบาฬีแล้ว ใคร่ครวญสอบสวน กระทั่งได้ข้อสรุปเป็นข้อวินิจฉัยนั่นเอง    



- จบ -

อุเทศ

 

อุเทศ 


       อุเทศ - การแสดง , การชี้แจง , คำอธิบาย , การอธิบาย , การอ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ   


- จบ -

อาปุจฉา

 

อาปุจฉา


       อาปุจฉา บอกกล่าว , ถามเชิงขออนุญาต เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ , แจ้งให้ทราบ เช่น ภิกษุผู้อ่อนพรรษาจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน    


- จบ -

Monday, July 4, 2022

วัตตขันธกะ : อารัญญกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อารัญญกวัตร
 



อารัญญกวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 428 )  


       549. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ วัตร /////  แก่พวกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรพึงประพฤติเรียบร้อย 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 429 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ พึงสวมถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจาก เสนาสนะ /////  

       กำหนดรู้ว่าจักเข้าบ้านเดี๋ยวนี้ พึงถอดรองเท้าเคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่า เมื่อปกปิด มณฑล 3 /////  พึง นุ่งให้เป็นปริมณฑล /////  คาด ประคดเอว /////  ห่มผ้าซ้อน 2 ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน 

       พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน  

       พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน … 

       อย่าเดิน  กระหย่ง ///// ไปในละแวกบ้าน 


       เมื่อเข้าสู่นิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกมา อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับเร็วนัก

       ยืนอยู่พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวาย ภิกษา ///// หรือไม่ประสงค์จะถวาย 

       ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา 

       พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา 

       พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย

       ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขาประสงค์จะถวาย 


       เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน 

       พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน … 

       ไม่พึงเดินกระหย่งไปในละแวกบ้าน  


       ออกจากบ้านแล้ว เข้าถุงบาตรคล้องบ่า พับจีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงตั้งน้ำฉัน พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟไว้ พึงเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงเตรียมไม้เท้าไว้ พึงเรียนทาง นักษัตร /////  ทั้งสิ้น หรือบางส่วนไว้ พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อารัญญกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 914 , 915 


- จบ -

นักษัตร

 

นักษัตร 



       คำว่า นักษัตร ( อ่านว่า นัก-สัด ) หมายถึง ชื่อรอบเวลา กำหนด 12 ปี เป็น 1 รอบ เรียกว่า 12 นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ 

       ปีชวด มีหนูเป็นเครื่องหมาย 

       ปีฉลู มีวัวเป็นเครื่องหมาย  

       ปีขาล มีเสือเป็นเครื่องหมาย  

       ปีเถาะ มีกระต่ายเป็นเครื่องหมาย  

       ปีมะโรง มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย  

       ปีมะเส็ง มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย 

       ปีมะเมีย มีม้าเป็นเครื่องหมาย 

       ปีมะแม มีแพะเป็นเครื่องหมาย 

       ปีวอก มีลิงเป็นเครื่องหมาย 

       ปีระกา มีไก่เป็นเครื่องหมาย  

       ปีจอ มีหมาเป็นเครื่องหมาย 

       ปีกุน มีหมูเป็นเครื่องหมาย 


       การนับปีหรือกำหนดปีโดยมีสัตว์เป็นเครื่องหมายนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กันในแถบเอเชีย เช่น ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ทิเบต ส่วนทางซีกโลกตะวันตกจะใช้ตัวเลขเป็นเครื่องกำหนด 


       ที่มาที่ไปของการใช้รูปสัตว์เป็นเครื่องหมายในแต่ละปีนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ใดหรือชาติใดเป็นผู้คิดขึ้น และคิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ในประเทศไทยนั้น มีหลักฐานว่า ไทยใช้ปีนักษัตรมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 10 ว่า “เมืองนี้หาย 1214 ศกปีมะโรง” และด้านที่ 4 บรรทัดที่ 3 - 4 ว่า “ชาวอูชาวของมาออก 1207 ศกปีกุน”

       วิธีการคำนวณว่าพุทธศักราชใด ตรงกับปีนักษัตรใดนั้น ให้เอาปีพุทธศักราชตั้ง หารด้วย 12 แล้วเอาเศษมาเทียบดังต่อไปนี้ 

       เศษ 1 ปี ตรงกับปีมะเมีย 

       เศษ 2 ปี ตรงกับปีมะแม 

       เศษ 3 ปี ตรงกับปีวอก 

       เศษ 4 ปี ตรงกับปีระกา 

       เศษ 5 ปี ตรงกับปีจอ 

       เศษ 6 ปี ตรงกับปีกุน 

       เศษ 7 ปี ตรงกับปีชวด 

       เศษ 8 ปี ตรงกับปีฉลู 

       เศษ 9 ปี ตรงกับปีขาล 

       เศษ 10 ปี ตรงกับปีเถาะ 

       เศษ 11 ปี ตรงกับปีมะโรง 

       และถ้าลงตัวไม่เหลือเศษ ก็จะเป็นปีมะเส็ง   


- จบ -

Sunday, July 3, 2022

วัตตขันธกะ : ปิณฑจาริกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : ปิณฑจาริกวัตร
 



ปิณฑจาริกวัตร 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 426 )  


       548. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ วัตร ///// แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 427 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิด  มณฑล 3 /////  พึง นุ่งให้เป็นปริมณฑล /////  คาด ประคดเอว /////  ห่มผ้าซ้อน 2 ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อยไม่ต้องรีบร้อน

       พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน 

       พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน  

       พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน  

       อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน  

       อย่าหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน  

       พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน 

       อย่าโยกกายไปในละแวกบ้าน  

       อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน 

       อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน 

       อย่าค่ำกายไปในละแวกบ้าน  

       อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน  

       อย่าเดิน กระหย่ง ///// ไปในละแวกบ้าน 

       เมื่อเข้า นิเวศน์ /////  พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ 

       อย่ารีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก 

       อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก

       อย่ายืนนานนัก อย่ากลับเร็วนัก  

       พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวาย ภิกษา ///// หรือไม่ประสงค์จะถวาย 

       ถ้าเขาพักการงานลุกจากที่นั่งจับทัพพีหรือจับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย 

       เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา 

       พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย 

       ถ้าเขาจับทัพพีจับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย

       เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน  

       พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน  

       พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน  

       พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน  

       พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงไกวแขนไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน  

       ไม่พึงเดินกระหย่งไปในละแวกบ้าน 


       ภิกษุใดกลับบิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้นพึงปู อาสนะ ///// ไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า 

       พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ 

       พึงตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ 

       ภิกษุใดกลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน ถ้าไม่จำนงก็พึงเททิ้งในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์  

       ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

       พึงล้างภาชนะรองของฉันเก็บไว้  

       พึงเก็บน้ำฉันน้ำใช้ 

       พึงกวาดโรงฉัน 

       ภิกษุใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไปตั้งไว้  

       ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : ปิณฑจาริกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 913 , 914 



- จบ -



นิเวศน์

 

นิเวศน์ 


       นิเวศน์ ( นิเวด ) น. ที่อยู่ บ้าน วัง  


- จบ -

Saturday, July 2, 2022

วัตตขันธกะ : ภัตตัคควัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : ภัตตัคควัตร



ภัตตัคควัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 424 )  


       547. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 425 )  


       ถ้า ภัตตุเทสก์ /////  บอก ภัตกาล /////  ในอาราม ภิกษุเมื่อปกปิด มณฑล 3 /////  พึง นุ่งให้เป็นปริมณฑล /////  คาด ประคดเอว /////  ห่มผ้าซ้อน 2 ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน 

       ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าพระเถระทั้งหลาย  พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไปในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปใน
ละแวกบ้าน อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่า เดินกระโหย่ง ///// ไปในละแวกบ้าน 

       พึงปกปิดกายด้วยดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีนั่งในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน อย่าหัวเราะลั่นนั่งในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน อย่าโยกกายนั่งในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน อย่าค้ำกายนั่งในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน อย่านั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน อย่านั่งเบียดเสียด พระ เถระ /////  อย่าเกียดกันภิกษุใหม่ด้วย อาสนะ /////  อย่านั่งทับ สังฆาฏิ ///// ในละแวกบ้าน

       เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับน้ำ พึงล้างบาตรถือต่ำๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี 

       ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถนด้วยคิดว่ากระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น 

       ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงที่พื้นดินด้วยคิดว่าภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น 

       เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับข้าวสุก พึงเว้นเนื้อที่ไว้สำหรับแกง 

       ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม พระเถระควรบอกว่า จงจัดถวายภิกษุทั้งหลายเท่าๆ กันทุกรูป 

       พึงรับบิณฑบาต โดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรรับบิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง พึงรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร

       พระเถระไม่พึงฉันก่อนจนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป 

       พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันบิณฑบาตไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึงกลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุกเพราะอยากได้มาก 

       ไม่อาพาธ ไม่พึงขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน 

       ไม่พึงแลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ด้วยหมายจะยกโทษ 

       ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่นัก พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าปาก กำลังฉันไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ปากยังมีคำข้าวไม่พึงพูด 

       ไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกะพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ดๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส  

       พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ 

       เมื่อเขาถวายน้ำพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับน้ำ พึงค่อยๆ ล้างบาตรถือต่ำๆให้ดี อย่าให้ครูดสี 

       ถ้ากระโถนมี พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่ากระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น 

       ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ด้วยคิดว่าภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น

       ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน 


       เมื่อกลับภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง 

       พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปใน
ละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล วัตรในโรงฉันของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน 
 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : ภัตตัคควัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 911 , 912 , 913
 



- จบ -



กระโหย่ง-เดินกระโหย่ง

 

กระโหย่ง-เดินกระโหย่ง


       กระโหย่ง ( -โหฺย่ง ) ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า

       ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง 2 รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า   


- จบ -

ปริมณฑล-ห่มเป็นปริมณฑล

 

ปริมณฑล-ห่มเป็นปริมณฑล


       ห่มเป็นปริมณฑล คือในวัดห่มเฉวียงบ่าคือปิดบ่าและแขนซ้าย เปิดบ่าและแขนขวา ปกเข่าลงมาขนาดเท่าผ้านุ่ง ( สบง ) เมื่อเข้าบ้านห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้งสองข้าง ปิดหลุมคอ ข้างล่างปิดหัวเข่าทั้งสองข้างเหมือนในวัด ( ดูห่มดอง ห่มคลุม ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปริมณฑล ( ศาสนาพุทธ )

       ริมณฑล ในคำวัดหมายถึงความเรียบร้อย , ความสวยงาม , ความเป็นระเบียบ 

       ปริมณฑล ใช้เรียกการนุ่งห่มของภิกษุสามเณรว่า นุ่งห่มเป็นปริมณฑล คือนุ่งห่มเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ ถูกธรรมเนียมนิยม 

       นุ่งเป็นปริมณฑล คือด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปืดหัวเข่าลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า  คือ การนุ่งของพระสงฆ์ในส่วนสบง ( ผ้าที่ใช้นุ่ง ) ปรากฏในพระวินัยส่วนเสขิยวัตรสารูป สิกขาบทที่ 1 ว่า "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล ให้เรียบร้อย" 

       การนุ่งเป็นปริมณฑลนี้ หมายถึง การนุ่งสบงโดยส่วนบนปิดตั้งแต่สะดือลงมา ส่วนล่างปิดตั้งแต่ใต้เข่าขี้นไป 


       ห่มเป็นปริมณฑล คือในวัดห่มเฉวียงบ่าคือปิดบ่าและแขนซ้าย เปิดบ่าและแขนขวา ปกเข่าลงมาขนาดเท่าผ้านุ่ง ( สบง ) เมื่อเข้าบ้านห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้งสองข้าง ปิดหลุมคอ ข้างล่างปิดหัวเข่าทั้งสองข้างเหมือนในวัด ( ดูห่มดอง ห่มคลุม )   


- จบ -

ปริมณฑล-นุ่งให้เป็นปริมณฑล

 

ปริมณฑล-นุ่งให้เป็นปริมณฑล



       นุ่งเป็นปริมณฑล - คือด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปืดหัวเข่าลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า คือ การนุ่งของพระสงฆ์ในส่วนสบง ( ผ้าที่ใช้นุ่ง ) ปรากฏในพระวินัยส่วนเสขิยวัตรสารูป สิกขาบทที่ 1 ว่า "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล ให้เรียบร้อย" 

       การนุ่งเป็นปริมณฑลนี้ หมายถึง การนุ่งสบงโดยส่วนบนปิดตั้งแต่สะดือลงมา ส่วนล่างปิดตั้งแต่ใต้เข่าขี้นไป  



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปริมณฑล ( ศาสนาพุทธ )

       ริมณฑล ในคำวัดหมายถึงความเรียบร้อย , ความสวยงาม , ความเป็นระเบียบ 

       ปริมณฑล ใช้เรียกการนุ่งห่มของภิกษุสามเณรว่า นุ่งห่มเป็นปริมณฑล คือนุ่งห่มเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ ถูกธรรมเนียมนิยม 

       นุ่งเป็นปริมณฑล คือด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปืดหัวเข่าลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า  คือ การนุ่งของพระสงฆ์ในส่วนสบง ( ผ้าที่ใช้นุ่ง ) ปรากฏในพระวินัยส่วนเสขิยวัตรสารูป สิกขาบทที่ 1 ว่า "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล ให้เรียบร้อย" 

       การนุ่งเป็นปริมณฑลนี้ หมายถึง การนุ่งสบงโดยส่วนบนปิดตั้งแต่สะดือลงมา ส่วนล่างปิดตั้งแต่ใต้เข่าขี้นไป 


       ห่มเป็นปริมณฑล คือในวัดห่มเฉวียงบ่าคือปิดบ่าและแขนซ้าย เปิดบ่าและแขนขวา ปกเข่าลงมาขนาดเท่าผ้านุ่ง ( สบง ) เมื่อเข้าบ้านห่มคลุมปิดบ่าและแขนทั้งสองข้าง ปิดหลุมคอ ข้างล่างปิดหัวเข่าทั้งสองข้างเหมือนในวัด ( ดูห่มดอง ห่มคลุม ) 


- จบ -

มณฑล 3

 

มณฑล 3


       มณฑล 3 คือ ถ้าเป็นผ้า อุตตราสงค์ ( ผ้าห่ม ) ///// ต้องห่มปิดหลุมคอและทำชายจีวรทั้ง 2 ข้างให้เสมอกัน 

       ถ้าเป็น อ้นตรวาสก /////  ต้องนุ่งปิดสะดือ และปิดเข่าทั้ง 2 ข้าง ( ดู วิ.มหา.( แปล ) 2/576-577/650-651 ) 


- จบ -

ภัตกาล

 

ภัตกาล 


       ภัตกาล - เวลาฉันอาหาร , เวลารับประทานอาหาร เดิมเขียน ภัตตกาล   



- จบ -

Friday, July 1, 2022

วัตตขันธกะ : ภัตตานุโมทนา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : ภัตตานุโมทนา
 



ภัตตานุโมทนา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 420 )  


       543. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ อนุโมทนา /////  ในโรงฉัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 421 )  


       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอพึงอนุโมทนาในโรงฉัน … ตรัสว่า 

       544. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ เถระ ///// อนุโมทนาในโรงฉัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 422 )  


       สมัยนั้น ประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่านพระสารีบุตรเป็นสังฆเถระ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน จึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียว แล้วพากันกลับไป … ตรัสว่า 

       545. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ภิกษุเถรานุเถระ ///// 4 - 5 รูปรออยู่ในโรงฉัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 423 )  


       สมัยต่อมา พระเถระ รูปหนึ่งปวดอุจจาระรออยู่ในโรงฉัน เธอกลั้นอุจจาระอยู่จนสลบล้มลง … ตรัสว่า 

       546. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกรณียกิจ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ แล้วไปได้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : ภัตตานุโมทนา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 910
 


- จบ -

อนุโมทนา

 

อนุโมทนา


       อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม , ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

       อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย 

       เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา ( ดูสัมโมทนียกถาประกอบ ) 

       เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า อนุโมทนาบัตร หรือ ใบอนุโมทนา 

       เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ 


- จบ -

เถรานุเถระ-ภิกษุเถรานุเถระ

 

เถรานุเถระ-ภิกษุเถรานุเถระ



       เถรานุเถระ - พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

เถรานุเถระ 

       อ่านว่า เถ-รา-นุ-เถ-ระ 

       ประกอบด้วย เถร + อนุเถระ 

* * * ( 1 ) “เถร” (เถ-ระ) รากศัพท์มาจาก – 

       (1) ฐา ( ธาตุ = ยืน, ตั้งอยู่ ) + อิร ปัจจัย, ลบ อา ที่ ฐา ( ฐา > ฐ ) , แปลง ฐ เป็น ถ , แผลง อิ ที่ อิ- ( ร ) เป็น เอ  

       : ฐา > ฐ + อิร = ฐิร > ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคงอยู่” ( ถ้าเป็นพระก็คือยังไม่มรณภาพ หรือยังไม่ลาสิกขา )  


       ( 2 ) ถิร ( ธาตุ = มั่นคง ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ ถิ-( ร ) เป็น เอ

       : ถิร + ณ = ถิรณ > ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มั่นคง” ( ดำรงเพศภิกษุอยู่อย่างมั่นคง , มีจิตใจมั่นคง )  


       ( 3 ) ถุ ( ธาตุ = สรรเสริญ , ชมเชย ) + อิร ปัจจัย , ลบ อุ ที่ ถุ , แผลง อิ ที่ อิ- ( ร ) เป็น เอ 

       : ถุ > ถ + อิร = ถิร > เถร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้น่าสรรเสริญยกย่อง” 

       “เถร” ( เป็นคำนาม ) หมายถึง พระเถระ , พระผู้ใหญ่ , พระภิกษุผู้มีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ; ( เป็นคำคุณศัพท์ ) หมายถึง ผู้เป็นพระเถระ , ผู้แก่ , ผู้เฒ่า , ผู้ใหญ่ 



* * * ( 2 ) “อนุเถร” ( อะ-นุ-เถ-ระ ) มาจาก อนุ ( น้อย , ภายหลัง , ตาม ) + เถร = อนุเถร แปลตามศัพท์ว่า “พระเถระชั้นรอง” หมายถึง เป็นพระเถระตามเกณฑ์ เช่นมีพรรษา 10 แล้ว แต่เมื่ออยู่ในหมู่พระเถระด้วยกันยังมีพระเถระที่อาวุโสมากกว่า 

       เถร + อนุเถร = เถรานุเถร แปลทับศัพท์ว่า “พระเถระและพระอนุเถระ”

       พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “เถรานุเถร” เป็นอังกฤษว่า senior monks in general 

       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความ “เถรานุเถร” ว่า seniors & those next to them in age dating not from birth, but from admission to the Order ( ภิกษุชั้นพระเถระและอนุเถระ โดยนับพรรษาที่บวชมา มิใช่นับอายุ ) 

       เถรานุเถร เขียนแบบไทยเป็น “เถรานุเถระ” 

       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

       “เถรานุเถระ : ( คำนาม ) พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. ( ป. )” 

       พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [ 322 ] แสดง เถรธรรม – คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระเถระ 10 ประการ ดังนี้ : 

       1. เถโร รตฺตญฺญู ( เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน รู้เห็นกิจการ ทรงจำเรื่องราวไว้ได้มาก — Thero rattaññū: to be an elder monk of long experience ) 

       2. สีลวา ( มีศีล เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — Sīlavā: to be virtuous; to have good conduct ) 

       3. พหุสฺสุโต ( เป็นพหูสูตทรงความรู้ — Bahussuto: to be much learned ) 

       4. สฺวาคตปาฏิโมกฺโข ( ทรงปาฏิโมกข์ รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยดี — Svāgatapāṭimokkho: to be well versed in the codes of discipline ) 

       5. อธิกรณสมุปฺปาทวูปสมกุสโล ( ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น — Adhikaraṇasamuppādavūpasamakusalo: to be skilled in settling a legal question that has arisen ) 

       6. ธมฺมกาโม ( เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟังและรู้จักพูด ทำให้เป็นที่ชื่นชมสนิทสนมสบายใจ น่าเข้าไปปรึกษาสนทนา และชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไป — Dhammakāmo: to love the Dhamma , be pleasant to consult and converse with, and find joy in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline )

       7. สนฺตุฏฺโฐ ( เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้ — Santuṭṭho: to be content with whatsoever supply of the four requisites he may get ) 

       8. ปาสาทิโก ( จะไปจะมา มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้าน ก็สำรวมเป็นอันดี — Pāsādiko: to be charming and perfectly composed in his goings out and comings in and in sitting in the house ) 

       9. ฌานลาภี ( ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — Jhānalābhī: to be able to gain pleasure of the Four Absorptions ) 

       10. วิมุตฺโต ( บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ — Vimutto: to have gained the Deliverance )  


———

       ในงานที่มีพระสงฆ์ไปชุมนุมกันอยู่ด้วย ผู้ประกาศในพิธีมักเอ่ยคำ เช่น “นมัสการพระเถรานุเถระที่เคารพ” เป็นต้น ในคำเช่นนี้มิได้หมายความว่าในสถานที่นั้นมีแต่พระภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้นไปเท่านั้น ที่มีพรรษาต่ำกว่านั้นไม่มี หรือผู้พูดตั้งใจนมัสการเฉพาะพระภิกษุที่มีพรรษา 10 ขึ้นไปเท่านั้น ที่ต่ำกว่านั้นไม่นมัสการก็หาไม่

       คำว่า “พระเถรานุเถระ” ในที่เช่นนั้นย่อมหมายถึง “พระภิกษุทั้งปวง” โดยเอ่ยถึงพระภิกษุระดับพระเถระเป็นประธาน ละพระภิกษุระดับต่ำกว่าไว้ในฐานเข้าใจ 

       คือเถระ :

       อายุเป็นเพียงตัวเลข 

       ชั้นโทชั้นเอกเป็นหัวโขน 

       คุณธรรมประจำใจไม่เอนโอน 

       ตรงตลอดยอดถึงโคน-คือเถระ 


- จบ -

วัตตขันธกะ : คมิกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : คมิกวัตร



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 418 )  


       542. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียมจะไป โดยประการที่ภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติเรียบร้อย



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 419 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง มอบหมาย เสนาสนะ /////  

       ถ้า ภิกษุ /////  ไม่มี พึงมอบหมาย สามเณร ///// 

       ถ้าสามเณรไม่มี พึงมอบหมายคนวัด 

       ถ้าคนวัดไม่มี พึงมอบหมาย อุบาสก ///// 

       ถ้าไม่มีภิกษุสามเณรคนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลา 4 แผ่น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยก ตั่ง ///// ซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน 

       เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงหลีกไป 

       ถ้า วิหาร /////  ฝนรั่ว ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงมุง หรือพึงทำความขวนขวายว่าจะมุงวิหารได้อย่างไร 

       ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี 

       ถ้าไม่ได้ ที่ใดฝนไม่รั่ว พึงยกเตียงขึ้นวางบนศิลา 4 แผ่น ในที่นั้น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน 

       เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงหลีกไป 

       ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้านหรือพึงทำความขวนขวายว่าจะขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้านอย่างไร

       ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี 

       ถ้าไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางบนก้อนศิลา 4 แผ่น ในที่แจ้ง แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน 

       เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน แล้วคลุมด้วยหญ้าหรือใบไม้ แล้วจึงหลีกไปด้วยคิดว่าอย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่งคงเหลืออยู่บ้าง


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็น วัตร ///// ของภิกษุผู้เตรียมจะไป ซึ่งภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติเรียบร้อย 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : คมิกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 909 , 910 



- จบ -

วัตตขันธกะ : อาวาสิกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อาวาสิกวัตร
 



อาวาสิกวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 416 )  


       541. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 417 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นภิกษุ อาคันตุกะ ///// ผู้แก่กว่าแล้ว พึงปู อาสนะ ///// พึงตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงลุกรับบาตร จีวร 

       พึงถามด้วยน้ำฉัน พึงถามด้วยน้ำใช้ 

       ถ้าอุตสาหะ พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง 

       พึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า 

       พึงจัด เสนาสนะ /////  ถวายว่าเสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ 

       พึงบอก โคจรคาม ///// พึงบอกอโจรคาม 

       พึงบอกสกุลที่เป็น เสกขะ /////  สมมติ 

       พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ  

       พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ 

       พึงบอกไม้เท้า 

       พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก 


       ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอกว่า ท่านจงวางบาตรที่นั่น จงวางจีวรที่นั่น จงนั่งอาสนะนี้ 

       พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ 

       พึงบอกผ้าเช็ดรองเท้า

       พึงแนะนำภิกษุอาคันตุกะให้อภิวาท 

       พึงบอกเสนาสนะว่าเสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่

       พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม 

       พึงบอกสกุลที่เป็นเสกขะสมมติ 

       พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ 

       พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้

       พึงบอกไม้เท้า 

       พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็น วัตร ///// ของภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายซึ่งภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อาวาสิกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 908 , 909
 


- จบ -