Wednesday, August 31, 2022

วัตตขันธกะ : อาจริยวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อาจริยวัตร
 



อาจริยวัตร  * * * ( 1 ) 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 442 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอาจริยวัตรแก่ภิกษุ อันเตวาสิก ///// ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอันเตวาสิกทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอาจารย์ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 443 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ 

       วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้ 

       อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้ว ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปู อาสนะ ///// ไว้ 

       ถ้า ยาคู ///// มี พึงล้างภาชนะเสียก่อนแล้วน้อมยาคูเข้าไป  

       เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อยอย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ 

       เมื่ออาจารย์ลุกแล้วพึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 


       ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวาย ประคดเอว ///// พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย 

       พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ 


       ถ้าอาจารย์ปรารถนาจะให้เป็น ปัจฉาสมณะ ///// พึงปกปิดกายให้มี มณฑลสาม /////  นุ่งให้เป็นปริมณฑล /////  คาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่ม 2 ชั้น ห่มคลุม กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไปเป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ 

       ไม่พึงเดินให้ห่างนักให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร 


       เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ 


       อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย


       เมื่อกลับ พึงกลับมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่ง รองเท้า ///// กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 

       พึงลุกรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา 

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงพับจีวร เมื่อจะพับจีวรพึงพับให้เหลื่อมมุมกันสี่นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร 


       ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไป พึงถามอาจารย์ถึงน้ำ  

       เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ 

       รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด  

       พึงเก็บบาตร จีวร 

       เมื่อเก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร 

       แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง 

       เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ สายระเดียง /////  แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บเถิด


       เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า 

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 

       ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย  

       ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย  

       ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย  


       ถ้าอาจารย์ใคร่จะเข้าเรือนไฟ พึง บดจุณ /////  แช่ดิน ถือ ตั่ง ///// สำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลังอาจารย์ไป  

       ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       พึงถวายจุณ ถวายดิน

       ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ 

       อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ

       เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ 


       แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ 

       พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ

       ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 

       พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำดื่ม 


       ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถาพึงสอบถาม  * * * ( 2 )  


       อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาดเสีย 

       เมื่อปัดกวาด วิหาร /////  พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ขนฟูก หมอน ออกวางไว้ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่าให้ครูดสีกระทบกระแทกบานและกรอบประตู ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  

       เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  

       เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 


       ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อพึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย  

       ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดเช็ดเสีย  

       ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย  

       ระวังอย่าให้ฝุ่นฟุ้ง

       พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 


       เครื่องปูพื้นพึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม 

       เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดขัด เช็ด แล้วขนกลับไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม 

       เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับจัดตั้งไว้ตามเดิม  

       ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระ ล้าง ตบ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม


       พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อจะเก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร 

       แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง  


       เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวรเถิด 


       ถ้า ลมเจือด้วยผงคลี /////  พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก 

       ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก  

       ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ  

       ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ 


       ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิดเสีย 

       ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด 


       ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก ///// พึงปัดกวาดเสีย 


       ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ 


       ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำ ธรรมกถา /////  แก่อาจารย์นั้น  

       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น  

       ถ้าทิฐิบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น 

       ถ้าอาจารย์ต้อง อาบัติหนัก /////  ควรแก่ ปริวาส /////  อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์  

       ถ้าอาจารย์ควรแก่การซักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าในอาบัติเดิม

       ถ้าอาจารย์ควรแก่ มานัด /////  อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์  

       ถ้าอาจารย์ควร อัพภาน /////  อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์ 

       ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม /////  นิยสกรรม /////  ปัพพาชนียกรรม /////  ปฏิสารณียกรรม /////  หรือ อุกเขปนียกรรม /////  อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแกอาจารย์ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา  

       หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบหายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย 


       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์  

       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์  

       ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้มเอง หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์  

       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์  

       เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสายอย่าพึงหลีกไปเสีย 


       อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่ารับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุบางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้


       อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าหลีกไปสู่ทิศ 


       ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะหาย 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอาจาริยวัตรของอันเตวาสิกทั้งหลาย ซึ่งอันเตวาสิกทั้งหลาย พึงประพฤติชอบในอาจารย์ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 ) : อาจริยวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 190 - ผู้รวบรวม  


* * * ( 2 ) : ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติ ปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2535 แปลว่า “ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม” - ผู้รวบรวม  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อาจริยวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 928 , 929 , 930 , 931 , 932



- จบ -


อันเตวาสิก

 

อันเตวาสิก


       อันเตวาสิก - ผู้อยู่ในสำนัก , ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก , ศิษย์ ( ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์ )

       อันเตวาสิกมี 4 ประเภทคือ 

       1. ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา 

       2. อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท 

       3. นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย 

       4. ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม   



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D1%B9%E0%B5%C7%D2%CA%D4%A1    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

Tuesday, August 30, 2022

วัตตขันธกะ : สัทธิวิหาริกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : สัทธิวิหาริกวัตร
 



สัทธิวิหาริกวัตร  * * * ( 1 ) 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 440 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ สัทธิวิหาริกวัตร แก่ อุปัชฌายะ /////  ทั้งหลาย โดยประการที่อุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน สัทธิวิหาริก /////



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 441 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก 

       วิธีประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น ดังต่อไปนี้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วย อุเทศ /////  ปริปุจฉา /////  โอวาท อนุศาสนี /////  

       ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก  

       ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก 

       ถ้าอุปัชฌายะมี บริขาร /////  สัทธิวิหาริกไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก 

       ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะพึงลุกแต่เช้าตรู่แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้นำล้างหน้า ปู อาสนะ ///// 

       ถ้า ยาคู ///// มีพึงล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้  

       เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ 

       รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ 

       เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ  


       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 


       ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ ประคดเอว /////  พึงซ้อนผ้าห่ม 2 ชั้นให้ 

       พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ 

       พึงปูอาสนะไว้ด้วยคิดว่า เพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา 

       พึงวางน้ำล้างเท้า  ตั่ง รองเท้า ///// กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 


       พึงลุกรับบาตรจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา 

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อพึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด  

       พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรพึงพับให้เหลื่อมมุมกัน 4 นิ้ว ด้วยตั้งใจ 

       มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร  


       ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำบิณฑบาตเข้าไป พึงถามสัทธิวิหาริกถึงน้ำฉัน 

       เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึงให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 


       พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง  


       เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือ สายระเดียง /////  แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บ 


       เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า  

       ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสีย 


       ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ 

       ถ้าต้องการน้ำเย็นพึงจัดน้ำเย็นให้ 

       ถ้าต้องการน้ำร้อนพึงจัดน้ำร้อนให้ 


       ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่เข้าเรือนไฟ พึง บดจุณ /////  แช่ดิน ถือ ตั่ง /////  สำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       พึงให้จุณ ให้ดิน 

       ถ้าอุตสาหะอยู่พึงเข้าเรือนไฟ 

       เมื่อเข้าเรือนไฟพึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ  


       อย่านั่งเบียดภิกษุผู้ เถระ ///// 

       อย่า เกียดกัน ///// อาสนะภิกษุใหม่  


       พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ 


       เมื่อออกจากเรือนไฟพึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปิดทั้งข้างหน้าและข้างหลังออกจากเรือนไฟ 


       พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ 

       อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อนทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ  

       ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน 


       สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุปัชฌายะอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด

       เมื่อปัดกวาดวิหาร 

       พึงขนบาตร จีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง


       … ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ 


       ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดง ธรรมกถา /////  แก่สัทธิวิหาริกนั้น


       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น  

       ถ้าทิฐิบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น 

       ถ้าสัทธิวิหาริกต้อง อาบัติหนัก /////  ควรแก่ ปริวาส /////  อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก 

       ถ้าสัทธิวิหาริก ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม 

       ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่ มานัด /////  อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก 

       ถ้าสัทธิวิหาริกควร อัพภาน /////  อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก  


       ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม /////  นิยสกรรม /////  ปัพพาชนียกรรม /////  ปฏิสารณียกรรม /////  หรือ อุกเขปนียกรรม /////  อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา  

       หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรือ อุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌายะ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย


       ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของสัทธิวิหาริก  

       ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงสั่งว่าท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก  

       ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึงสั่งว่าท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก  

       ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึง ย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก 

       เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย 


       ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นสัทธิวิหาริกวัตรของอุปัชฌายะทั้งหลายซึ่งอุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก 
 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 ) : สัทธิวิหาริกวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 176 - ผู้รวบรวม  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : สัทธิวิหาริกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 925 , 926 , 927 , 928 



- จบ -

จุณ-บดจุณ

 

จุณ-บดจุณ


       จุณ - แป้งที่ใช้ในการอาบน้ำ   



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.watnyanaves.net/uploads/File/news/NewsletterY8V3.pdf  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

Monday, August 29, 2022

วัตตขันธกะ : อุปัชฌายวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อุปัชฌายวัตร
 



อุปัชฌายวัตร * * * ( 1 )  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 438 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอุปัชฌายวัตรแก่ สัทธิวิหาริก /////  ทั้งหลาย โดยประการที่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยใน อุปัชฌายะ /////  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 439 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ

       วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น ดังต่อไปนี้ 

       สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปู อาสนะ ///// ไว้ 

       ถ้า ยาคู ///// มี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไป 

       เมื่ออุปัชฌายะดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ 

       เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้วพึงเก็บอาสนะ  ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสีย

       ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวาย ประคดเอว ///// พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อมทั้งน้ำ 

       ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาให้เป็น ปัจฉาสมณะ /////  พึงปกปิดกายให้มี มณฑลสาม /////  นุ่งให้เป็นปริมณฑล /////  คาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้น ห่มคลุมกลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือไป

       เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนักให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร 

       เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ 

       เมื่ออุปัชฌายะกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย 

       เมื่อกลับพึงกลับมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่ง /////  รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 

       พึงรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงพับจีวร เมื่อจะพับจีวรพึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน 4 นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง 

       พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร

       ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไป พึงถามอุปัชฌายะถึงน้ำฉัน 

       เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว พึงถวายน้ำรับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อยอย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำแล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง 

       เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ สายระเดียง /////  แล้วทำชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วเก็บจีวร

       เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า 

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย

       ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย 

       ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย  ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย  

       ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลังอุปัชฌายะไป 

       ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน 

       ถ้าอุตสาหะอยู่พึงเข้าเรือนไฟ 

       เมื่อเข้าเรือนไฟพึงเอาดินทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังแล้วเข้าเรือนไฟ 

       อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ 

       อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่

       พึงทำบริกรรมแก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ  

       เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ  

       พึงทำบริกรรมอุปัชฌายะแม้ในน้ำ 

       อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอุปัชฌายะ

       พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 

       พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำดื่ม 


       ถ้าประสงค์จะเรียนบาลีพึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถาพึงสอบถาม* * * ( 2 ) 


       อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาดเสีย 

       เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวรออกก่อนแล้ววางไว้ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  

       พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เขียงรองเท้า เตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง 

       เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิมแล้วขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย 

       ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำหรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำพึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหารดังนี้  

       พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เครื่องปูพื้นพึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ดังเดิม 

       เขียงรองเท้าเตียงพึงผึ่งแดด ปัด เช็ด แล้วขนกลับไปไว้ที่เดิม 

       เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดขัดสี เคาะยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม 

       ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระล้าง เคาะ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม  

       พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร 

       แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง 

       เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บจีวร 


       ถ้า ลมเจือด้วยผงคลี /////  พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก  

       ถ้าลมเจือผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก 

       ถ้าลมเจือผงคลีพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ 

       ถ้าลมเจือผงคลีพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ 

       ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิดเสีย  

       ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด 


       ถ้าบริเวณซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก /////  พึงปัดกวาดเสีย 

       ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ 

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ  


       ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดง ธรรมกถา /////  แก่อุปัชฌายะนั้น 

       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทาหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌายะ 

       ถ้าทิฐิบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยหรือพึงแสดง ธรรมกถา แก่อุปัชฌายะนั้น 

       ถ้าอุปัชฌายะต้อง อาบัติหนัก /////  ควรแก่ ปริวาส /////  สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌายะ

       ถ้าอุปัชฌายะผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม 

       ถ้าอุปัชฌายะผู้ควรแก่ มานัด /////  สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอสงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ 

       ถ้าอุปัชฌายะควร อัพภาน /////  สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ 

       ถ้าสงฆ์ใคร่กระทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือ ตัชชนียกรรม /////  นิยสกรรม /////  ปัพพาชนียกรรม /////  ปฏิสารณียกรรม /////  หรือ อุกเขปนียกรรม /////  สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา

       หรืออุปัชฌายะนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย 


       ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌายะ 

       ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ 


       ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌายะจะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้มเอง หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆพึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌายะ 

       ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ  

       เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไปเสีย 


       สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่ารับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุบางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป อย่าสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้ 


       ไม่บอกลาอุปัชฌายะก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าหลีกไปสู่ทิศ 


       ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอุปัชฌายะวัตรของสัทธิวิหาริกทั้งหลาย ซึ่งสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 ) : อุปัชฌายวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 171 - ผู้รวบรวม  


* * * ( 2 ) : ในย่อหน้านี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติ ปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. 2535 แปลว่า “ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม” - ผู้รวบรวม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อุปัชฌายวัตร  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 920 , 921 , 922 , 923 , 924  



- จบ -

ธรรมกถา

 

ธรรมกถา 


       ธรรมกถา ( อ่านว่า ทำ-มะ-กะ-ถา ) แปลว่า การกล่าวธรรม , ถ้อยคำที่เป็นธรรม  



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wiktionary.org/wiki/ธรรมกถา  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ปัจฉาสมณะ

 

ปัจฉาสมณะ



       ปัจฉาสมณะ - สมณะผู้ตามหลัง คือ พระผู้น้อยมีหน้าที่เดินตามหลังพระผู้ใหญ่  



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/ปัจฉาสมณะ   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -   

- จบ -

Sunday, August 28, 2022

ลมเจือด้วยผงคลี

 

ลมเจือด้วยผงคลี


       ลมเจือด้วยผงคลี คือ ลมที่มีฝุ่นละเอียด , ละออง ผสมอยู่   



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=19620    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

สัทธิวิหาริก

 

สัทธิวิหาริก 


       สัทธิวิหาริก ( อ่านว่า สัด-ทิ-วิ-หา-ริก ) - คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น  



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wiktionary.org/wiki/สัทธิวิหาริก 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

วัตตขันธกะ : วัจจกุฎีวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : วัจจกุฎีวัตร



วัจจกุฎีวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 434 )  


       554. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้ 

       รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 435 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้แก่กว่า นวกะภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ 

       พวกเธอกลั้นอุจจาระจนสลบล้มลง … 

       ตรัสว่า 


       555. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า 

       รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ 


       556. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 436 )  


       557. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฎีวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 437 )  


       ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น 

       แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ 


       พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี

       ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก 

       ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป

       ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วจึงค่อยเวิกผ้า 

       ไม่พึงถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ 

       ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ 

       ไม่พึงถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ 

       ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ  

       ไม่พึงบ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะ  

       ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ 

       ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ 

       ยืนบนเขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า 

       ไม่พึงออกมาเร็วนัก 

       ไม่พึงเวิกผ้าออกมา 

       ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงเวิกผ้า  

       ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ  

       ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ 

       ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงปิดผ้า 


       ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะต้องล้างเสีย  

       ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ  


       ถ้าวัจจกุฎีรกพึงกวาดวัจจกุฎี 

       ถ้าชานภายนอกบริเวณซุ้มประตูรก พึงกวาดเสีย  

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี จึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : วัจจกุฎีวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 919 , 920  



- จบ -

วัตตขันธกะ : ชันตาฆรวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : ชันตาฆรวัตร
 



ชันตาฆรวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 432 )  


       551. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอัน พระเถระ /////  ในเรือนไฟห้ามอยู่ ไม่พึงอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ

       รูปใดติดไฟ ต้องอาบัติทุกกฏ  


       552. อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตูแล้วนั่งขวางประตู

       รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ 


       553. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 433 )  


       ภิกษุใดไปสู่เรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามาก พึงเทเถ้าทิ้งเสีย 

       ถ้าเรือนไฟรกพึงกวาดเสีย 

       ถ้าชานภายนอกรกพึงกวาดเสีย 

       ถ้าบริเวณซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟรกพึงกวาดเสีย 

       พึงบดจุณไว้ พึงแช่ดินเหนียว พึงตักน้ำไว้ในรางน้ำ

       เมื่อจะเข้าไปสู่เรือนไฟพึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลังแล้วจึงเข้าไปสู่เรือนไฟ 

       ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ

       ไม่พึง เกียดกัน /////  อาสนะ 

       ภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะอยู่พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟ


       เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ 

       ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระ

       แม้ในนน้ำ ไม่พึงอาบน้ำข้างหน้าพระเถระ

       แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงอาบ 

       อาบแล้วเมื่อจะขึ้น พึงให้ทางแก่พระเถระผู้จะลง 


       ภิกษุใดออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อนพึงล้างให้สะอาด

       พึงล้างรางแช่ดินเก็บตั่งสำหรับเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตู แล้วจึงหลีกไป 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรในเรือนไฟของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : ชันตาฆรวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 918



- จบ - 

Saturday, August 27, 2022

650826-0010

 

อ้างอิง : "ในลิงก์นี้ ผมให้ฟังแค่ 3 นาทีกว่าๆนะครับ ไม่ต้องฟังท้งหมด"  /  คนถือศีลแล้วมีกลิ่นหอมทวนลม ที่เวลา 2.25.00 ถึงเวลา 2.28.20 ของลิงก์  https://www.youtube.com/watch?v=eQ9-dCgNXUA&t=7899s 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

พูดเรื่องศีล 5 ครับ

       ศีลข้อที่ 1 นั้น ถ้าเราไม่ได้ฆ่าสัตว์ ( คือแค่เบียดเบียน เช่นทำร้าย ) ก็ถือว่าศีลยังไม่ขาด  /  แค่บกพร่อง

       ศีลข้อที่ 2 นั้น ถ้าเรายังไม่ได้ลงมือขโมยของ ก็คือว่าศีลยังไม่ขาด   

       ศีลข้อที่ 3 นั้น ถ้าเรายังไม่ได้เสพเมถุนกับเมียชาวบ้าน แค่ทำอย่างอื่นเช่นกอด จูบ ก็ถือว่าศีลยังไม่ขาด  /  แค่บกพร่อง 

       ศีลข้อที่ 4 ถ้าเรายังไม่ได้พูดปด ก็ถือว่าศีลยังไม่ขาด เช่น เราพูดคำจริง แต่คำพูดนั้นเป็นการพูดยุยงให้คนแตกกัน ทำให้คนแตกความสามัคคีกัน ก็เป็นบาปอย่างหนึ่งแต่ยังไม่ถึงกับศีลขาด

       แต่ศีลข้อที่ 5 นั้น ผิดได้ง่ายที่สุด เพราะเพียงแค่เราดื่มของมึนเมาแค่ "อึกเดียว" ก็ศีลขาดทันที ( จะเห็นได้ว่าต่างจากศีลทั้ง 4 ข้อที่อ่านมาข้างบน ) เพราะในบทศึล 5 ไม่ได้บอกว่า ต้องดื่มมาก ถึงจะศีลขาด แต่บอกไว้ว่าการดื่มน้ำเมาคือศึลขาด ไม่เกี่ยวกับเรื่องปริมาณ

       ดังนั้นจึงต้องระวังให้มาก เพราะเราอุตส่าไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดลูกเมียคนอื่น ไม่พูดปดแล้วแท้ๆ แต่แค่เอาเงินไปซื้อเหล้ามาดื่ม ( ซึ่งเราคิดว่าคนอื่นเขาก็กินกันเยอะแยะ ) แต่ปรากฏว่าผลที่ได้จากการดื่มเหล้าก็คือศีลขาดทันที ต้องได้รับผลร้ายแรงเหมือนกับการฆ่าสัตว์ ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน ฯลฯ เลยทีเดียว  

       ก็ต้องพิจารณาเอาเองนะครับ บางคนบอกว่าต้องกินเหล้าเพราะเครียดกับงานเหลือเกิน ฯลฯ ก็คิดเอาเองว่ามันคุ้มกันไหม ที่เราจะต้องได้ผลของกรรมเทียบเท่ากับการที่เราไปฆ่าสัตว์ ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน ฯลฯ  /  ไปหาความสุขด้วยวิธีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผิดศีลจะดีกว่าไหม?  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       คนที่ไม่มีเครดิต ก็ไม่มีคนอยากคุยด้วย เหมือนกับคนที่เป็นหนี้เป็นสิน คนเล่นการพนัน ก็ถือว่าไม่มีเครดิต  /  ถ้าคนที่คุยด้วย "เขารู้เรื่องนี้" ( คือเขารู้ว่าคุณเป็นคนที่เป็นหนี้เป็นสิน คนเล่นการพนัน ) คนอื่นก็จะไม่อยากคุยด้วย ไม่อยากทำธุรกิจด้วย

       ฉันใด ก็ฉันนั้น ในโลกของกายทิพย์ ในโลกของวิญญาณ ถ้าคุณเป็นคนศีลขาด ก็เหมือนการที่คุณเป็นคนไม่มีเครดิต  พวกกายทิพย์เขาก็ไม่คุยกับคุณ 


* * * ถามว่า กายทิพย์เขารู้ได้อย่างไรว่าคุณศีลขาด

       ที่รู้ก็เพราะว่า คนที่มีศีล 5 จะมีกลิน่หอม ( ตามที่อ้างอิงไว้ที่เวลา 2.25.00 ถึงเวลา 2.28.20 ของลิงก์  https://www.youtube.com/watch?v=eQ9-dCgNXUA&t=7899s )  /  ถ้าคุณศีลขาด คุณก็จะไม่มีกลิ่นหอมพวกนี้ พวกกายทิพย์เขาก็จะไม่คุยกับคุณ 


* * * การคุยกับกายทิพย์มีความสำคัญอย่างไร? ทำไมเราควรทำตัวให้มีกลิ่นหอมเพื่อจะได้คุยกับการทิพย์ได้?

       ก็คือว่าในกรณีที่เราจะคุยกับเจ้ากรรมนายเวรของเราเอง เจ้ากรรมนายเวรของลูกเรา เจ้ากรรมนายเวรของพ่อแม่เรา เพื่อจะต่อรองผ่อนผันหรือขอให้ไม่จองเวรได้ไหม? ฯลฯ เราจะต้องมีเครดิต คือมีศีล เขาถึงจะคุยกับเรา  

       กรณีที่มีพระห้อยเต็มคอ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ติดตัวเยอะ ก็ไม่ช่วยอะไรเรา เพราะถึงจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่กับตัว แต่เขาไม่อยากอยู่กับเรา ไม่อยากคุยกับเรา ไม่อยากเสวนากับเรา 

       แต่ถ้าเรามีศีล จะทำให้เรามีกลิ่นตัวหอม ซึ่งแม้ว่าเราจะไม่มีพระเครื่องห้อยคอเลยก็ตาม แต่กายทิพย์ที่อยู่รอบๆ ยกตัวอย่างเช่นเทวดาที่อยู่ในต้นไม้ เขาก็จะมาดูแลเรา โดยที่เราไม่ต้องร้องขออะไรเลย เพราะเขาทนกลิ่นหอมยั่วยวนนี้ไม่ได้เลย 

       เหมือนเรา "มีเพื่อนเป็นหมอ" ก็จะมีประโยชน์คือ แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าเราเป็นโรคอะไร ( เพราะเราไม่ใช่หมอ ) แต่หมอที่เป็นเพื่อนเรา เขาจะรู้

       เมื่อหมอที่เป็นเพื่อนเราเขารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร เขาก็จะช่วยรักษาให้เรา โดยที่เราไม่ต้องร้องขออะไรเลย ( เพราะเรามีหมอเป็นเพื่อนนั่นเอง ด้วยความเป็นเพื่อนเขาจึงดูแลเรา โดยที่เราไม่ต้องไปขอร้องเขาให้เขาช่วย )

       ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเราถือศีล ก็จะทำให้เรามีกลิ่นตัวหอม และไปถูกใจเทวดาที่อยู่รอบๆ เทวดาเขาก็จะมาเป็นเพื่อนเรา

       เมื่อเทวดามาเป็นเพื่อนเรา ด้วยตาทิพย์ของเทวดาเขาจะรู้ได้ทันทีว่าเราโดนทำคุณไสยใส่ เขาก็จะช่วยยับยั้งให้ ทำให้เราปลอดภัย 

       ซึ่งแม้ว่าเทวดาจะเอาของออกจากตัวเราไม่ได้ก็จริง แต่เทวดาท่านจะผ่อนหนักเป็นเบาได้

       จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการถือศีล แล้วทำให้กลิ่นตัวเราหอมนั่นเอง


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * คนที่ "โดนทำของใส่" ห้ามทำผิดศีลเด็ดขาด เพราะจะทำให้ตายเร็วขึ้นอีกหลายเท่าตัว

       ตามปกติ คนเราทุกคนมักจะมีวิญญาณสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าเรา "โดนทำของใส่" มันจะเป็นเรื่องของการทำคุณไสย ซึ่งคนทำวิชาพวกนี้จะมีพลังมาก 

       แต่ถ้าตัวเราเองถือศีล 5 ก็จะมีพวกเทวดา พวกสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วยคุ้มครองให้เรา แม้ว่าจะเอาของที่ทำคุณไสยนั้นออกจากตัวไม่ได้ แต่ก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ 

       แต่เมื่อไรที่เราทำผิดศีล 5 เช่นการดื่มเหล้าแม้แต่เพียงอึกเดียว ( ซึ่งจะทำให้ศีลขาดทันที ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะไม่คุ้มครองเรา แม้ว่าเราจะห้อยพระเครื่องอยู่เต็มคอก็ตาม และของที่เป็นคุณไสยนั้นก็จะเริ่มทำงานของมันทันที

       การทำงานของคุณไสยนั้น ถ้าของที่ทำคุณไสยนั้นเป็นพวกปอบ เมื่อเราดื่มเราแม้เพียงอึกเดียว ( ซึ่งทำให้ศีลขาดทันที ) มันจะกินอวัยวะภายในโดยเริ่มจากตับก่อน แล้วก็ไปไต  /  โดยที่ว่าแม้ว่าภายหลังจากที่เราเอาคุณไสยออกไปจากตัวแล้ว ตับและไตนั้นก็จะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก  /  เพราะฉะนั้น ทางที่ดีคือถือศีล 5 ด้วยการไม่กินเหล้าเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันตัวเอง แล้วระหว่างที่เราป้องกันตัวเองอยู่นั้น ( ด้วยการถือศีล 5 ) เราก็ค่อยหาวิธีเอาคุณไสยออก  

       ยกตัวอย่างเช่น มีคนสองคน  คนหนึ่งโดนคุณไสย  อีกคนหนึ่งยังไม่โดนคุณไสย ถ้าสองคนนี้ดื่มเหล้าเหมือนกัน คนที่โดนคุณไสยจะเป็นโรคตับแข็ง แต่คนที่ไม่โดนคุณไสยจะไม่เป็นไร 


* * * สรุปว่ามันเป็นความซวยของคุณเองที่โดนคุณไสย คุณก็เลยกินเหล้าไม่ได้  /  ส่วนคนอื่นที่เขากินเหล้าได้ เพราะเขาไม่โดนคุณไสยไงครับ 

       ถ้าคุณอยากอายุยืน อยากอยู่ดูแลลูกเมียให้นานๆ และรู้ตัวเองว่าโดนคุณไสยเสียแล้ว ก็จงถือศีล 5 ด้วยการไม่ดื่มเหล้า แล้วค่อยๆหาทางเอาคุณไสยออก นั่นจะทำให้คุณอายุยืน แม้ว่าตับไตที่เสียไปบางส่วนแล้ว ก็ช่างมัน ยังดีกว่าเสียไปทั้งหมด


- จบ -


650826-0008

 

* * * บทแผ่เมตตาที่ถูกต้องที่สุด อยู่ที่ลิงก์นี้ครับ   https://www.youtube.com/watch?v=g__-6_gHUUI  

       ซึ่งพระพุทธเจ้าทานใช้อันนี้บทเดียวเท่านั้น ไม่มีบทอื่นครับ อันนี้ยืนยันได้

       ตัวผมทองได้แล้ว แต่คนที่ยังท่องได้ไม่หมด ก็ใช้วิธีเปิดลิงก์ Youtube นี้ แล้วคิดตามไปก็ได้ครับ


* * * เรื่องการส่งบุญให้เฉพาะตัวนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนนะครับ แต่พระสาวกเขาจะสอนมา ก็ใช้ได้บ้าง แต่จะสู้ของพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย แต่ก็เอาเป็นว่าให้รู้ไว้ประดับความรู้ก็ได้ครับ

       การส่่งบุญเฉพาะตัวที่ผมพูดถึงนี้ ก็เป็นดังนี้ครับ

       "ด้วยบุญทั้งหมดที่ข้าพเจ้าสั่งสมมา ทั้งในชาตินี้และอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ทั้งที่ยังระลึกไม่ได้ก็ดี และบุญที่ข้าพเจ้าได้ยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะในบัดนี้  

       ขอให้ผลบุญทั้งหมดนี้ จงสำเร็จแก่ "สิ่งๆหนึ่ง" ใน "อสังขตาธาตุ วิราคะธรรม" ( อ่านว่า อะ-สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ-วิ-รา-คะ-ธรรม ) ขอให้ "สิ่งๆหนึ่ง" ใน "อสังขตาธาตุ วิราคะธรรม" จงมีความสุขเถิด

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาและบิดาทั้งในชาตินี้และอดีตชาติของข้าพเจ้า  / ขอให้มารดาและบิดาทั้งในชาตินี้และอดีตชาติของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิด 

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของตัวข้าพเจ้าเองทั้งในชาตินี้และอดีตชาติของข้าพเจ้า  / ขอให้ญาติทั้งหลายของตัวข้าพเจ้าเองทั้งในชาตินี้และอดีตชาติ จงมีความสุขเถิด 

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูบาอาจารย์ของตัวข้าพเจ้าเองทั้งในชาตินี้และอดีตชาติของข้าพเจ้า  / ขอให้ครูบาอาจารย์ของตัวข้าพเจ้าเองทั้งในชาตินี้และอดีตชาติ จงมีความสุขเถิด 

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ท่านเทพเทวดาทั้งหลาย  / ขอให้ท่านเทพเทวดาทั้งหลาย จงมีความสุขเถิด 

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย  / ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุขเถิด 

       ขอให้ผลบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตตานังทั้งปวงในสังขตาธาตุ ( อ่านว่า สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ )  / ขอให้สัตตานังทั้งปวงในสังขตาธาตุ จงมีความสุขเถิด 


* * * ความแตกต่างกันของการแผ่เมตตาของพระพุทธเจ้า กับคำแผ่เมตตาของสาวกจะมีดังนี้ครับ

ประการที่ 1 - ถ้าเราแผ่เมตตาเฉพาะตัว เช่นแผเมตตาให้วิญญานชื่อ A โดยใช้คำว่า "ด้วยบุญทั้งหมดที่ข้าพเจ้าสั่งสมมา ทั้งในชาตินี้และอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ทั้งที่ยังระลึกไม่ได้ก็ดี และบุญที่ข้าพเจ้าได้ยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะในบัดนี้  

       ขอให้ผลบุญทั้งหมดนี้
จงสำเร็จแก่นาย A ขอให้นาย A จงเป็นสุขเถิิด"

       ปัญหาคือ ถ้าวิญญานนาย A "ไม่รับบุญนั้น" ด้วยเหตุที่ว่า ยังโกรธเราอยู่ ( เช่นเป็นเจ้ากรรมนายเวร ) หรือ วิญญาณนาย A เป็ํนคนที่ฆ่าตัวตาย ก็เลยคิดวนเวียนแต่ในเรื่องความเศร้า ไม่ทันได้ฟังการแผ่เมตตาของเรา การแผ่เมตตานั้นก็จะสูญเปล่า

       "แต่" ถ้าเราแผ่เมตตาตามแบบของพระพุธเจ้า ( คือแผ่ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=g__-6_gHUUI ) สมมติว่า วิญญานนาย A "ไม่รับบุญนั้น" แต่เทวดาและกายทิพย์ที่อยู่รอบข้าง ก็จะได้รับบุญที่เราแผ่เมตตาทันที 
 
       เราอุตส่าห์สร้างมุญของเรามาด้วยความยากลำบาก  สมมติว่าความยากลำบากนั้นเทียบเป็นเงิน 1 ล้านบา พอเราเอาบุญนั้นมาแผ่เมตตา แล้วเราแผ่เมตตาตามแบบของพระพุทธเจ้า ( คือแผ่ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=g__-6_gHUUI ) ก็คือ ทุกคนจะได้รับเงิน 1 ล้านบาทของเราเท่ากันทุกคน ทั้งวิญญาณนาย A และกายทิพย์คนอื่นๆ

       แต่ถ้าเราแผ่เมตตาเฉพาะตัวด้วยการกล่าวว่า  "ด้วยบุญทั้งหมดที่ข้าพเจ้าสั่งสมมา ทั้งในชาตินี้และอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ทั้งที่ยังระลึกไม่ได้ก็ดี และบุญที่ข้าพเจ้าได้ยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะในบัดนี้  

       ขอให้ผลบุญทั้งหมดนี้
จงสำเร็จแก่นาย A ขอให้นาย A จงเป็นสุขเถิิด"  แล้วนาย A ไม่รับบุญนั้น ก็เหมือนกับเงิน 1 ล้านบาทที่เราให้ไปนั้น หายไปเลย ไม่มีใครได้ประโยชน์เลย - น่าเสียดาย  


       สรุปว่า ให้แผ่เมตตาตามแบบของพระพุธเจ้าดีที่สุด ( คือแผ่ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=g__-6_gHUUI )

       ถึงจะยาวหน่อย แต่ว่ามันถูกต้องและครอบคลุมทั้งหมด  /  สำหรับวิธีการท่องของผม ก็ใช้วิธีค่อยๆท่องไปวันละนิด สักวันหนึ่งก็จะจำได้ทั้งหมดเอง ข้อดีคือสามารถนำไปใช้ได้ตลอดกาล ใช้ได้ทุกที่ เหนื่อยแค่ครั้งเดียว ( คือเหนื่อยในการค่อยๆท่องจำ ) แต่ว่าใช้ได้ตลอด 


ประการที่ 2 - สมมติว่ามีเทวดาอาศัยอยู่ในต้นไม้หน้าบ้าน "แต่เราไม่รู้" ( เพราะเราไม่มีตาทิพย์ ) ถ้าเราแผ่เมตตาแบบเฉพาะตัว  เทวดาท่านนี้ก็จะไม่ได้รับผลบุญนั้น

       แต่ถ้าเราแผ่เมตตาตามหลักของพระพุทธเจ้า  แม้ว่า เราจะไม่รู้ว่ามีเทวดาอยู่ที่ต้นไม้นั้น  แต่เทวดาท่านนั้นก็จะได้รับผลบุญจากเราอยู่ดี ( แม้ว่าเราจะไม่รู้ก็ตาม )  /  เมื่อเทวดาที่รับบุญจากเรา เขาก็จะรักเรา ( อันนี้มีปรากฏอยู่ในคำแผ่เมตตาด้วย ลองฟังให้ดีนะครับ - คือฟังที่ลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=g__-6_gHUUI  )


- จบ -

อสังขตาธาตุ-วิราคะธรรม

 

อสังขตาธาตุ-วิราคะธรรม  


       อสังขตาธาตุ-วิราคะธรรม ( อ่านว่า อะ-สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ-วิ-รา-คะ-ทำ )   


       มีระบบที่ใหญ่ที่สุดสองระบบคือ ระบบของ "อสังขตาธาตุ" ( อ่านว่า อะ-สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ ) และระบบของ "สังตาธาตุ" ( อ่านว่า สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ )

       อธิบายง่ายๆก็คือว่า "อสังขตาธาตุ" ก็คือความว่าง 

       ส่วน "สังขตาธาตุ" ก็คือส่วนที่สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เทวดา มนุษย์ เปรต นรกภูมิ ฯลฯ

       รูปแบบของการทำงานก็คือว่า ส่วนที่อยู่ในความว่าง ( หรืออสังขตาธาตุ ) มารู้สึกมีความสุขในรูปรสกลิ่นเสียง บวกกับความที่มี "อวิชชา" ก็เลยทำให้ "ยึดติด" แล้วส่งผลให้ต้องมาเกิดอยู่ในส่วนของสังขตาธาตุ แล้วก็เวียนว่ายตายเกิดอย่างนั้นหลายล้านชาติ

       เราเรียกส่วนที่มารู้สึกมีความสุขในรูปรสกลิ่นเสียง บวกกับความที่มี "อวิชชา" ก็เลยทำให้มาเกิดอยู่ในส่วนของสังขตาธาตุ นี้ว่า "สัตตานัง" ( อ่านว่า สัด-ตา-นัง ) 

       แต่เมื่อ "สัตตานัง" นั้น มีวิชชา คือมีความรู้แจ้งแล้ว ยกตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระปัจเจกพุทธเจ้า , พระอรหันต์ ก็จะกลับไปที่ อสังตาธาตุ ( คือความว่าง ) นั้นอีกครั้งหนึ่ง

       ประเด็นที่คนสงสัยก็คือว่า ถ้าอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระปัจเจกพุทธเจ้า , พระอรหันต์ ก็อาจจะมาเกิดใหม่เป็นสัตตานังได้สิ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระปัจเจกพุทธเจ้า , พระอรหันต์ ก็อยู่ใน "อสังขตาธาตุ" แล้ววันนึงก็ต้องมีโอกาสมาเกิดในสังตาธาตุได้อีก

       แต่ความเป็นจริงนั้น ในส่วนของ "อสังขตาธาตุ" นั้น มีแยกเป็นสองส่วนคือ

       1.อสังขตาธาตุ ที่ยังไม่มีวิชชา 

       2.อสังขตาธาตุ ที่มีวิชชาแล้ว - คือมีวิชชา จนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระปัจเจกพุทธเจ้า , พระอรหันต์ แล้วกลับจาก "สังขตาธาตุ" มาสู่ "อสังขตาธาตุ" อีกครั้ง 


* * * ดังนั้น "อสังขตาธาตุ" ที่มีวิชชาแล้ว จึงไม่กลับไปเกิดที่ "สังขตาธาตุ" อีก 


* * * เราเรียก  "อสังขตาธาตุ" ที่มีวิชชาแล้วนี้ว่า อสังขตาธาตุ-วิราคะธรรม ( อ่านว่า อะ-สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ-วิ-รา-คะ-ทำ )


- จบ -