Monday, July 19, 2021

อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้ 



* * * พึงสงเคราะห์พระพหูสูต 


       334.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูปด้วยกัน ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

       พวกเธอไม่รู้อุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์

       ภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เป็นผู้คงแก่เรียน ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงเธอด้วยจุณดิน ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก

       ถ้าไม่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงด้วยจุณดิน ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ทรงให้ส่งพระไปเรียนปาติโมกข์ 


       335.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุในศาสนานี้อยู่ด้วยกันมากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

       พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือโดยพิสดารมา

       ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี 

       ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกๆ รูปพึงพากันไปสู่อาวาสที่มีภิกษุรู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์

       ถ้าไม่พากันไป ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้ 


       336.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ อยู่จำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูปด้วยกัน ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

       พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือโดยพิสดารมา

       ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

       ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วระยะกาล 7 วัน ด้วยสั่งว่า ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา 

       ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

       ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้น ถ้าขืนอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้   



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 284 , 285 


- END -


อุโบสถขันธกะ : จะไปไหนต้องขออนุญาตก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : จะไปไหนต้องขออนุญาตก่อน
 



จะไปไหนต้องขออนุญาตก่อน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 180 )


       332.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้หลายรูปด้วยกันเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

       ไปสู่ทิศ ไม่อำลาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ 

       พวกเธออันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์พึงถามว่า ท่านทั้งหลายจักไปไหน จักไปกับใคร 

       ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พูดอ้างถึงภิกษุเหล่าอื่นที่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดด้วยกัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่พึงอนุญาต

       ถ้าอนุญาต ต้องอาบัติทุกกฏ 


       333.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด อันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่อนุญาต ถ้ายังขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : จะไปไหนต้องขออนุญาตก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 283 , 284



- END -

อุโบสถขันธกะ : บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ



บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 179 )


       ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง โรงอุโบสถรก

       พวกพระอาคันตุกะพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่กวาดโรงอุโบสถเล่า …

       ตรัสว่า


       323.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ 



       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงกวาดโรงอุโบสถ …

       ตรัสว่า 


       324.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบัญชาภิกษุนวกะ



       ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมกวาด …

       ตรัสว่า 


       325.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่กวาดไม่ได้

       รูปใดไม่กวาด ต้องอาบัติทุกกฏ 



       สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถไม่มีใครปูอาสนะไว้

       ภิกษุทั้งหลายนั่งที่พื้นดิน ทั้งตัว ทั้งจีวร เปื้อนฝุ่น …

       ตรัสว่า  


       326.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูอาสนะในโรงอุโบสถ 



       ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงปูอาสนะในโรงอุโบสถ …

       ตรัสว่า 


       327.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ



       ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ปูอาสนะ …

       ตรัสว่า 


       328.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ปูอาสนะไม่ได้

       รูปใดไม่ปู ต้องอาบัติทุกกฏ 



       สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถ ไม่ได้ตามประทีปไว้.

       เวลาค่ำคืนภิกษุทั้งหลายเหยียบกายกันบ้าง เหยียบจีวรกันบ้าง …

       ตรัสว่า 


       329.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามประทีปในโรงอุโบสถ 



       ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงตามประทีปในโรงอุโบสถ …

       ตรัสว่า 


       330.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ



       ภิกษุนวกะทั้งหลาย อันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมตามประทีป …

       ตรัสว่า 


       331.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ตามประทีปไม่ได้

       รูปใดไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : บุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 282 , 283



- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้บอกวันอุโบสถ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้บอกวันอุโบสถ



ทรงอนุญาตให้บอกวันอุโบสถ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 178 )


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไปบิณฑบาต ณ หมู่บ้านที่ไกล

       พวกเธอมาถึงเมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ก็มี มาถึงเมื่อสวดจบแล้วก็มี …

       ตรัสว่า 


       319.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ 


       320.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบอกแต่เช้าตรู่ 


       321.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกแม้ในเวลาภัตตกาล 


       322.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกในกาลที่ตนระลึกได้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้บอกวันอุโบสถ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 282
 


- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เรียน ปักขคณนา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เรียน ปักขคณนา



ทรงอนุญาตให้เรียน ปักขคณนา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 177 )


       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองโจทนาวัตถุ ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จกลับมายังพระนครราชคฤห์อีก

       ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า ดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์เจ้าข้า

       ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้เลย 

       ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้เพียงนับปักษ์ พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้คุณความดีอะไรอย่างอื่นเล่า …

       ตรัสว่า 


       315.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เรียน ปักขคณนา 


       316.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกๆ รูปเรียน ปักขคณนา 



       ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า

       ภิกษุมีจำนวนเท่าไรเจ้าข้า.

       ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้เลย

       ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้พวกกันเอง พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉนจักรู้ความดีอะไรอย่างอื่นเล่า …

       ตรัสว่า 


       317.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุ 


       318.…เราอนุญาตให้นับภิกษุด้วยเรียกชื่อหรือให้จับสลากในวันอุโบสถ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เรียน ปักขคณนา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 281 



- END -

Friday, July 16, 2021

อุโบสถขันธกะ : หน้าที่สวดปาติโมกข์

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : หน้าที่สวดปาติโมกข์ 



หน้าที่สวดปาติโมกข์  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 175 ) 


       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกโดยมรรคาอันจะไปเมืองโจทนาวัตถุ

       เสด็จจาริกโดยลำดับ ลุถึงเมืองโจทนาวัตถุแล้ว

       ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง มีภิกษุอยู่ด้วยกันมากรูป

       บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ท่านไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์

       จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วว่า ปาติโมกข์เป็นหน้าที่ของพระเถระ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ 

       ตรัสว่า 


       311.ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาด สามารถ เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปนั้น 


* * * ทรงให้ส่งภิกษุไปศึกษาปาติโมกข์


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 176 ) 


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ ภิกษุในศาสนานี้อยู่ด้วยกันมาก ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

       พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือ วิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือ วิธีสวดปาติโมกข์

       พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ

       ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้

       พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ 2 ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ

       แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้

       พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ 3 ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ

       แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้

       พวกเธอได้อาราธนาจนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า ขอคุณจงสวดปาติโมกข์ 

       แม้เธอรูปนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ขอรับ 


       312.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า

       ดูกรอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา



       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงส่งภิกษุรูปไหนหนอไป …

       ตรัสว่า 


       313.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุผู้นวกะไป 



       ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมไป …

       ตรัสว่า 


       314.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้วจะไม่ยอมไปไม่ได้

       รูปใดไม่ยอมไป ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : หน้าที่สวดปาติโมกข์ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 279 , 280 , 281 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้ 



ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 174 ) 


       309.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์

       รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ 


       310.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 279 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ 



ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 173 ) 


       308.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย

       รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 279 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน 



ทรงห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 172 ) 


       306.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สวดปาติโมกข์ไม่พึงแกล้งสวดไม่ให้ได้ยิน

       รูปใดสวดไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ 


       307.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่สวดปาติโมกข์ พยายามสวดด้วยตั้งใจว่าจะสวดให้ได้ยินถ้อยคำทั่วกัน

       เมื่อพยายาม ไม่ต้องอาบัติ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 279 



- END -





Wednesday, July 14, 2021

อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม



ทรงห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 171 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์ …

       ตรัสว่า 


       302.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์

       รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       พระฉัพพัคคีย์ยังขืนทำกรรมไม่เป็นธรรมอยู่ตามเดิม …

       ตรัสว่า 


       303.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุทำกรรมไม่เป็นธรรม 



       สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักพากันคัดค้านในเมื่อพระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรม

       พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย …  

       ตรัสว่า 
 

       304.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำความเห็นแย้งได้ 



       ภิกษุทั้งหลายทำความเห็นแย้ง ในสำนักพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นนั่นแหละ 

       พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย …

       ตรัสว่า 


       305.ดูกรภิกษุทั้งหลาย

       เราอนุญาตให้ภิกษุ 4 - 5 รูปคัดค้าน

       ให้ภิกษุ 2 - 3 รูป ทำความเห็นแย้ง

       ให้ภิกษุรูปเดียวนึกในใจว่า กรรมนั้นไม่ควรแก่เรา 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 278 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล



ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล


       สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พวกเราทำโอกาสก่อนดังนี้

       จึงรีบขอให้ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ทำโอกาสในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่องไม่มีเหตุ …

       ตรัสว่า 


       300.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขอให้ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำโอกาสในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ

       รูปใดขอให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ  


       301.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงขอให้ทำโอกาส 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 278 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ก่อนโจทต้องพิจารณาดูบุคคล

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ก่อนโจทต้องพิจารณาดูบุคคล 



ก่อนโจทต้องพิจารณาดูบุคคล 


       มัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้พระฉัพพัคคีย์ทำโอกาสแล้วโจทก์ด้วยอาบัติ

       พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย …

       ตรัสว่า 


       299.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทแม้เมื่อจำเลยทำโอกาสแล้วพิจารณาดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ก่อนโจทต้องพิจารณาดูบุคคล 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 277



- END -

Tuesday, July 13, 2021

อุโบสถขันธกะ : โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย 



โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 170 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ …

       ตรัสว่า 


       297.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโจทภิกษุผู้มิได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ

       รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ 


       298.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทก์ขอให้จำเลยทำโอกาส ด้วยคำว่า

       ขอท่านจงทำโอกาส ผมใคร่จะกล่าวกะท่าน ดังนี้

       แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 277 



- END -

อุโบสถขันธกะ : วิสัชนาวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : วิสัชนาวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน



วิธีสมมติเป็นผู้วิสัชนา 

       295.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสมมติอย่างนี้

       ตนเองสมมติตนก็ได้

       ภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่นก็ได้ 


       อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติตน

       พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้วขอวิสัชนา

       อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน 


       อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติผู้อื่น

       พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ผู้มีชื่อนี้อันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้วขอวิสัชนา 

       อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น 


วิสัชนาวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน 

       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ววิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์

       พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย … ตรัสว่า


       296.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงวิสัชนาวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : วิสัชนาวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 276 , 277



- END -

อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน 



วิธีสมมติเป็นผู้ถาม 

       291.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงสมมติอย่างนี้

       ตนเองสมมติตนก็ได้

       ภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่นก็ได้ 


       อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้


* * *  กรรมวาจาสมมติตน 

       พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า * * * ( 1 )  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้

       อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน 



       อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติผู้อื่น 

       พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้

       อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น 



ถามวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน

       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว ถามพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์.

       พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย …

       ตรัสว่า 


       292.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคล แล้วจึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ 


       สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับสมมติ วิสัชนาพระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ … 

       ตรัสว่า 


       293.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงวิสัชนาวินัยในท่ามกลางสงฆ์

       รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       294.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาวินัยในท่ามกลางสงฆ์ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) ในช่วงต้นของหนังสือเล่มนี้ ใช้สำนวนแปลว่า “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า” – ผู้รวบรวม


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 275 , 276 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน



ถามวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 169 ) 


       289.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์

       รูปใดถาม ต้องอาบัติทุกกฏ  


       290.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว ถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ได้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ถามวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 275 



- END -


อุโบสถขันธกะ : จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับอาราธนาก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับอาราธนาก่อน 



จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับอาราธนาก่อน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 168 ) 


       287.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์

       รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ 


       288.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมเอง

       หรือให้อาราธนาผู้อื่นแสดง


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : จะแสดงธรรมท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับอาราธนาก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 274 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย 




ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย


       284.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ 


* * * อันตราย 10 ประการ 

       285.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ

       รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ 


       286.เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ 


       อันตรายในเรื่องนั้นเหล่านี้ คือ 

       1.พระราชาเสด็จมา ( ราชนฺตราโย )  

       2.โจรมาปล้น ( โจรนฺตราโย )  

       3.ไฟไหม้ ( อคฺยนฺตราโย )  

       4.น้ำหลากมา ( อุทกนฺตราโย ) 

       5.คนมามาก ( มนุสฺสนฺตราโย )  

       6. ผีเข้าภิกษุ ( อมนุสฺสนฺตราโย ) * * * ( 1 ) 

       7. สัตว์ร้ายเข้ามา (วาฬนฺตราโย)

       8.งูร้ายเลื้อยเข้ามา ( สิรึสปนฺตราโย ) 

       9.ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต ( ชีวิตนฺตราโย ) 

       10.มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ( พฺรหฺมจริยนฺตราโย )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตรายเห็นปานนี้

       เมื่อไม่มีอันตราย ให้สวดโดยพิสดาร 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) บาลีมีว่า อมนุสฺสนฺตราโย สามารถแปลได้ว่า อันตรายเกิดจากอมนุษย์ – ผู้รวบรวม


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 273 , 274



- END -

Monday, July 12, 2021

อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5



ปาติโมกขุเทศ 5


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 167 ) 


       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ …

       ตรัสว่า 


       282.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศนี้มี 5 คือ 

       ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 1 

       สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 2

       สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 3 

       สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 สวดอนิยต 2 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 4 

       สวดโดยพิสดารหมด เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 5 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ 5 นี้แล 


* * * ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ

       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง …

       ตรัสว่า 


       283. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ

       รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 273 



- END -

อุโบสถขันธกะ : การทำอุโบสถ 4 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : การทำอุโบสถ 4 อย่าง



การทำอุโบสถ 4 อย่าง


       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า การทำอุโบสถมีเท่าไรหนอ …

       ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี 4 คือ 

       1.การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม 

       2.การทำอุโบสถพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม 

       3.การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยธรรม 

       4.การทำอุโบสถพร้อมเพรียงโดยธรรม 


       278.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใดเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต 


       279.ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต 


       280.ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด เป็นวรรคโดยธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต  


       281.ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียงโดยธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ควรทำ และเราก็อนุญาต 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละพวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำอุโบสถกรรมชนิดที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ดังนี้

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : การทำอุโบสถ 4 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 272 



- END -


อุโบสถขันธกะ : วันอุโบสถ 2

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : วันอุโบสถ 2  



วันอุโบสถ 2


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 166 ) 


       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า วันอุโบสถมีเท่าไรหนอ …

       ตรัสว่า  


       277.ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี 2 คือ

       อุโบสถมีในวัน 14 ค่ำ 

       อุโบสถมีในวัน 15 ค่ำ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถ 2 นี้แล 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : วันอุโบสถ 2 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 272
 


- END -

Sunday, July 11, 2021

อุโบสถขันธกะ : ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน



ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 161 ) 


       262.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาวาสในพระนครราชคฤห์นี้ก็หลายแห่ง มีสีมาอันเดียวกัน

       ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น วิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทุกๆ รูปพึงประชุมทำอุโบสถแห่งเดียวกัน

       ก็หรือภิกษุผู้เถระอยู่ในอาวาสใด พึงประชุมทำอุโบสถในอาวาสนั้น

       แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถ

       รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * พระมหากัสสปเถระ เดินทางไปทำอุโบสถ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 162 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป มาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ

       ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ เกือบถูกน้ำพัดไป จีวรของท่านเปียก 

       ภิกษุทั้งหลายได้ถามท่านพระมหากัสสป ว่า อาวุโส เพราะเหตุไรจีวรของท่านจึงเปียก 

       ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมมาจาก อันธกวินทวิหาร สู่ พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ได้ข้ามแม่น้ำ ในระหว่างทาง เกือบถูกน้ำพัดไป เพราะเหตุนั้น จีวรของผมจึงเปียก …

       ตรัสว่า 


       263.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร 


วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส 

       264.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติ ติจีวราวิปปวาสสีมา อย่างนี้ 


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * *  กรรมวาจาสมมติ ติจีวราวิปปวาส

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร

       นี้เป็นญัตติ


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร

       การสมมติสีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       สีมานั้นสงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสมมติ ติจีวราวิปปวาส แล้ว จึงเก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน จีวรเหล่านั้นหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง

       ภิกษุทั้งหลายมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมอง

       ภิกษุทั้งหลายจึงถามกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เพราะเหตุไร พวกท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมองเล่า 

       ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผมทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสมมติ ติจีวราวิปปวาส แล้ว จึงเก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน ณ ตำบลนี้  จีวรเหล่านั้นหายเสียบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมอง …

       ตรัสว่า 


       265.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร

       เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้าน  


วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส

       266.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติ ติจีวราวิปปวาสสีมา อย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้


* * * กรรมวาจาสมมติติจีวราวิปปวาส 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้าน และอุปจารแห่งบ้าน

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้าน

       การสมมติ สีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรเว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้าน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       สีมานั้นสงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรเว้นบ้าน และอุปจารแห่งบ้านแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 163 ) 


       267.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะสมมติสีมา พึงสมมติ สมานสังวาสสีมา ก่อน ภายหลังจึงสมมติ ติจีวราวิปปวาส 

       เมื่อจะถอนสีมา พึงถอน ติจีวราวิปปวาส ก่อน ภายหลังจึงถอน สมานสังวาสสีมา 


วิธีถอนติจีวราวิปปวาส

       268.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอน ติจีวราวิปปวาส อย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาถอน ติจีวราวิปปวาส 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่งแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น 

       การถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น สงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้  


วิธีถอนสมานสังวาสสีมา 

       269.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนสมานสังวาสสีมาอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาถอน สมานสังวาสสีมา

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนสีมานั้น

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่งสีมานั้น

       การถอนสีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       สีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนั้น อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 


* * * อพัทธสีมา 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 164 ) 


       270.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ยังไม่ได้กำหนดสีมา ภิกษุเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เขตของบ้านนั้นเป็นคามสีมาบ้าง เขตของนิคมนั้นเป็นนิคมสีมาบ้าง สีมานี้มีสังวาสเสมอกันมีอุโบสถเดียวกัน ในบ้านหรือนิคมนั้น 


       271.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ ชั่ว 7 อัพภันดร * * * ( 1 )  โดยรอบ เป็น สัตตัพภันดรสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันในป่านั้น 


       272.ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ สมุทรทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้  ชาตสระ * * * ( 2 ) ทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ 


       273.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำในสมุทร หรือในชาตสระชั่ววักน้ำสาด โดยรอบแห่งมัชฌิมบุรุษ เป็น อุทกุกเขปสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ในน่านน้ำนั้น 


* * * สีมาสังกระ 

( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 165 ) 


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

       สีมาอันภิกษุเหล่าใด สมมติแล้วในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ 


       274.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา

       รูปใดสมมติคาบเกี่ยว ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * สีมาทับสีมา 

       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

       สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติแล้วในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ 


       275.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา

       รูปใดสมมติทับ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       276.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะสมมติสีมา เว้นสีมันตริก * * * ( 3 ) ไว้ แล้วสมมติสีมา



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) อัพภันดร หมายถึง ชื่อมาตรวัดในบาลี ราว 7 วา เป็น 1 อัพภันดร ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 – ผู้รวบรวม 


* * * ( 2 ) ชาตสระ หมายถึง สระธรรมชาติ ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 – ผู้รวบรวม 


* * * ( 3 ) สีมันตริก หมายถึง ช่องว่างในระหว่างสีมา ที่มา : พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2535 – ผู้รวบรวม 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 266 , 267 , 268 , 269 , 270 , 271



- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้พระเถระลงประชุมก่อน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้พระเถระลงประชุมก่อน



ทรงอนุญาตให้พระเถระลงประชุมก่อน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 160 ) 


       261.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงอนุญาตให้พระเถระลงประชุมก่อน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 266
 


- END -






Saturday, July 10, 2021

อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด 



ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 159 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด

       ถึงวันอุโบสถ ภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก  ภิกษุทั้งหลายต้องนั่งฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติ

       ภิกษุเหล่านั้นจึงได้หารือกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า พึงสมมติโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถดังนี้ ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติอุโบสถ เป็นอันพวกเราทำแล้ว หรือไม่เป็นอันทำหนอ …

       ตรัสว่า   


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่งในพื้นที่ซึ่งสมมติแล้วก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม เพราะได้ฟังปาติโมกข์ ฉะนั้นอุโบสถย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้วเหมือนกัน 


       259.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถให้ใหญ่เท่าที่จำนง 


วิธีสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ

       260.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอย่างนี้ 


       พึงทักนิมิตก่อน

       ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบเพียงไร

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ ด้วยนิมิตเหล่านั้น

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบเพียงไร  สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น

       การสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอันสงฆ์สมมติแล้วด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 265 , 266 



- END -

อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน 



ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 158 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ 2 แห่ง

       ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงอุโบสถทั้งสองด้วยตั้งใจว่า สงฆ์จักทำอุโบสถที่นี้ สงฆ์จักทำอุโบสถ ณ ที่นี้ …

       ตรัสว่า 


       256.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่ง

       รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ  


       257.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง

       แล้วทำอุโบสถในโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง


วิธีถอนโรงอุโบสถ 

       258.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้


* * * กรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้

       นี้เป็นญัตติ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่งโรงอุโบสถมีชื่อนี้

       การถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 

       โรงอุโบสถมีชื่อนี้อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ทรงห้ามสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 264 , 265 



- END -

อุโบสถขันธกะ : การสมมติโรงอุโบสถ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุโบสถขันธกะ : การสมมติโรงอุโบสถ



การสมมติโรงอุโบสถ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 157 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ตามบริเวณวิหารโดยมิได้กำหนดที่

       พระอาคันตุกะทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้พระสงฆ์จักทำอุโบสถที่ไหน …

       ตรัสว่า 


       253.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ตามบริเวณวิหารโดยมิได้กำหนดที่

       รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ 


       254.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์จำนงให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว

       ทำอุโบสถ 


วิธีสมมติโรงอุโบสถ 

       255.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ ซึ่งวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นโรงอุโบสถ

       การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       วิหารมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : การสมมติโรงอุโบสถ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 263 , 264 



- END -