Tuesday, May 31, 2022

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตหมอน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตหมอน
 



ทรงอนุญาตหมอน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 218 )  


       366. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวกึ่งกาย 

       รูปใดใช้ ต้อง อาบัติทุกกฏ /////  


       367.เราอนุญาต ให้ทำหมอนพอดีกับศีรษะ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตหมอน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 857
 


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตด้าย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตด้าย
 


ทรงอนุญาตด้าย


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 217 )  


       สมัยนั้น ด้ายบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า 

       362. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายไว้ถักเตียง 



       ตัวเตียงกินด้ายมาก … ตรัสว่า 

       363. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจาะตัวเตียงแล้วถักเป็นตาหมากรุก 


       364. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น 


       365. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สางออกทำเป็นหมอน นุ่นมี 3 ชนิด คือ

       นุ่นต้นไม้ 1 

       นุ่นเถาวัลย์ 1 

       นุ่นหญ้า 1  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตด้าย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 856 



- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง



ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 215 )  


       สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด … ตรัสว่า 

       359. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 216 )  


       360. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เขียงรองเท้าเตียงสูง 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       361. ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียงสูง 8 นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 856
 


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง


ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 214 )  


       358. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง 

       รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 856



- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตม้าชนิดต่างๆ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตม้าชนิดต่างๆ


ทรงอนุญาตม้าชนิดต่างๆ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 213 )  


       สมัยนั้น ม้าสี่เหลี่ยมบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า 

       347. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม 


       348. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูง 


       349.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้าน 


       350. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูง 


       351. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ตั่งหวาย /////  


       352. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า 


       353. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย 


       354. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้ามมะขามป้อม 


       355. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน 


       356. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้ 


       357.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตม้าชนิดต่างๆ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 855 , 856
 


- จบ -



เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ
 



ทรงอนุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 209 )  


       สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า 

       339. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่สอดเข้าในเท้า 



       ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า บังเกิดแล้ว … ตรัสว่า 

       340. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ตั่ง /////  มีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 210 )  


       สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า 

       341. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า 



       ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้าบังเกิดแล้ว … ตรัสว่า  

       342. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 211 )  


       สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า 

       343. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าดังก้ามปู 



       ตั่งมีเท้าดังก้ามปูบังเกิดแล้ว … ตรัสว่า 

       344. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าดังก้ามปู 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 212 )  


       สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า … ตรัสว่า  

       345. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าจดแม่แคร่ 



       ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่บังเกิดแล้ว … ตรัสว่า 

       346. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเตียงและตั่งชนิดต่างๆ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 854 , 855 



- จบ -





Sunday, May 29, 2022

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องลาด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องลาด



ทรงอนุญาตเครื่องลาด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 208 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรแปดเปื้อนด้วยฝุ่น … ตรัสว่า 

       336. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดด้วยหญ้า 



       หญ้าที่ลาดถูกหนูบ้าง ปลวกบ้างกัด … ตรัสว่า 

       337. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดานคล้าย ตั่ง /////  



       เมื่อนอนบนแผ่นกระดานคล้ายตั่ง เนื้อตัวไม่สบาย … ตรัสว่า   

       338. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงถักหรือสาน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องลาด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 854
 


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานหน้าต่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานหน้าต่าง



ทรงอนุญาตบานหน้าต่าง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 207 )  


       สมัยนั้น วิหารยังไม่มีหน้าต่าง ไม่เป็นประโยชน์แก่นัยน์ตา อบกลิ่นเหม็นไว้ … ตรัสว่า 

       333. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง 3 ชนิด คือ 

       หน้าต่างมีชุกชี 1  

       หน้าต่างมีข่าย 1 

       หน้าต่างมีซี่กรง 1  



       ที่ซอกหน้าต่าง กระแตและค้างคาวเข้าไปได้ … ตรัสว่า 

       334. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง 



       ที่ริมผ้าผืนเล็ก กระแตและค้างคาวยังเข้าไปได้ … ตรัสว่า

       335. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้าต่าง มู่ลี่หน้าต่าง 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานหน้าต่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 853 , 854
 


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตลูกดาล

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตลูกดาล
 


ทรงอนุญาตลูกดาล


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 205 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดบานประตูได้ … ตรัสว่า 

       330. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องลูกดาล ลูกดาล ///// มี 3 ชนิด  คือ 

       ลูกดาลโลหะ 1 

       ลูกดาลไม้ 1 

       ลูกดาลเขา 1 



       ภิกษุทั้งหลายไขลูกดาลเข้าไป วิหารยังคุ้มไม่ได้ … ตรัสว่า 

       331. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 206 )  


       สมัยนั้น วิหารมุงด้วยหญ้า ถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อนก็ร้อน … ตรัสว่า 

       332. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตลูกดาล 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 853
 


- จบ -

ลูกดาล

 

ลูกดาล


       ลูกดาล คือ เหล็กสำหรับไขดาลประตู มีรูปเป็นมุมฉาก 2 ทบ


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานประตู

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานประตู
 



ทรงอนุญาตบานประตู


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 204 )  


       ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหารแล้ว จึงช่วยกันสร้างวิหารถวายโดยเคารพ วิหารเหล่านั้นยังไม่มีบานประตู งู แมลงป่อง และตะขาบเข้าอาศัย … ตรัสว่า 

       326. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู 



       ภิกษุทั้งหลายเจาะช่องฝา ผูกบานประตูด้วยเถาวัลย์บ้าง เชือกบ้าง หนูและปลวกกัดเชือกที่ผูกไว้ถูกกัดขาด บานประตูล้มลงมา … ตรัสว่า 

       327. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบน 



       บานประตูปิดไม่สนิท … ตรัสว่า  

       328. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ช่องเชือกชักเชือกสำหรับชัก 



       บานประตูปิดไม่อยู่ … ตรัสว่า 

       329. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตบานประตู 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 852 , 853



- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเสนาสนะ 5 ชนิด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเสนาสนะ 5 ชนิด
 


ทรงอนุญาตเสนาสนะ 5 ชนิด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 200 )  


       ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำ ธรรมีกถา /////  ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

       325. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ 5 ชนิด คือ 

       วิหาร 1

       เรือนมุงแถบเดียว 1 

       เรือนชั้น 1 

       เรือนโล้น 1 

       ถ้ำ 1 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ทรงอนุญาตเสนาสนะ 5 ชนิด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 852
 


- จบ -

ธรรมีกถา

 

ธรรมีกถา 



       ธรรมีกถา ( อ่านว่า ทำ-มี-กะ-ถา ) ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม , การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม , คำบรรยายหรืออธิบายธรรม 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

กถา

       กถา แปลว่า ถ้อยคำ , คำพูด , เรื่อง , การกล่าว , การพูด , การอธิบาย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวหรือเรื่องแต่งขึ้นเพื่อสื่อความ เพื่ออธิบายความ หรือเพื่อชี้แจงรายละเอียด เป็นต้น เป็นสำนวนร้อยแก้ว คือมีสำนวนภาษาไพเราะสละสลวย เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย เช่น บทเทศน์ บทความ คำปรารภ


       กถา นิยมใช้ตามหลังคำอื่น ๆ เช่น

* * * ธรรมมีกถา หมายถึงการกล่าวธรรม การกล่าวเรื่องราวที่เป็นธรรม  

* * * ขันติกถา หมายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับขันติ 

* * * อนุโมทนากถา หมายถึงการกล่าวอนุโมทนาถ้อยคำที่แสดงความยินดี 

* * * อารัมภกถา หมายถึงคำปรารภ คำนำ คำเริ่มต้น 


- จบ -

เสนาสนะขันธกะ : ราชคหเศรษฐีถวายวิหาร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เสนาสนะขันธกะ : ราชคหเศรษฐีถวายวิหาร
 



ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ราชคหเศรษฐีถวายวิหาร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 199 )  


       สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็นภิกษุเหล่านั้นเดินออกจากที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่ มีอาการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ 

       ครั้นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า หากข้าพเจ้าสร้างวิหารถวาย พระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหารของข้าพเจ้าหรือไม่ 

       ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรคหบดี พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตวิหาร 

       เศรษฐีกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วแจ้งแก่ข้าพเจ้า 


       ภิกษุเหล่านั้นรับคำของราชคหเศรษฐี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ราชคหเศรษฐีประสงค์จะสร้างวิหารถวาย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เสนาสนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เสนาสนะขันธกะ : ราชคหเศรษฐีถวายวิหาร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 852 



- จบ -

Friday, May 27, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เป็นต้น

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เป็นต้น
 



ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 196 )  


       322. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องโลหะทุกชนิด เว้นเครื่องประหาร 


       323. อนุญาตเครื่องไม้ทุกชนิด เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้ และเขียงไม้ 


       324. อนุญาตเครื่องดินทุกชนิด เว้น เครื่องเช็ดเท้าและ กุฎี /////  ที่ทำด้วยดินเผา 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ขุททกวัตถุขันธกะ จบ  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เป็นต้น 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 851 



- จบ -

กุฎี

 

กุฎี


       กุฏิ หรือ กุฎี ( อ่านว่า กุด หรือ กุดติ ) บางครั้งปรากฏคำสะกด กุฏี หมายถึงที่พักอาศัยของนักบวชในศาสนาหรือความเชื่อ ในศาสนาคริสต์บางนิกายอาจเรียกอาราม และในศาสนาฮินดูอาจเรียกอาศรม


ในศาสนาพุทธ

       กุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถว

       สำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า พระคันธกุฎี เพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลา 

       กุฏิที่อยู่อาศัย พุทธบัญญัติเดิมกําหนดขนาดของ กุฏิให้พอดีที่พระภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวก มีเนื้อที่กําหนดความยาว 12 คืบพระสุคต และกว้าง 7 คืบพระสุคต คือ ประมาณ 3.00 เมตร x 1.75 เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัย โดยแท้จริงมิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆด้วยเลยตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบัน

       การที่พระภิกษุแต่ละรูปจะมีกุฏิอยู่อาศัยเองได้นั้น จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง 3 ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทํา ดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วงละเมิด ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

       หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกันนั้น ก็จะต้องมีการกำหนด แบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่า เขตของการครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกำหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบัง จะถือเอากำหนดหัตถบาสที่มีระยะหนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกำหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาตให้อย่างมาก 7 อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ 98 เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวร หมายถึง เขตที่พระภิกษุ จะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร ( ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่ ) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลากลางคืน จนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษาไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจากตัว แม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจากความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระภิกษุรูปอื่นใหม่ เพื่อให้เป็นพยานจึงนำมานุ่งห่มได้อีก การที่มีบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของตน ไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่าย 

       ลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามที่ปฏิบัติกันมานั้น กุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการกำหนดจำแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้ 

       1. ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ที่ไม่มีผู้คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต 

       2. บุคคลปลูกถวายพระภิกษุด้วยความศรัทธา 

       3. บุคคลยกเรือนเดิมรื้อมาถวายอุทิศให้พระภิกษุอยู่อาศัย 


       โดยเฉพาะในกรณีข้อ 3 นี้มักปรากฏอยู่เนืองๆ บุคคลในที่นี้อาจเป็นราษฎร หรืออาจเป็นผู้มีอำนาจปกครองก็ได้ กรณีที่ราษฎรยกบ้านเรือนถวายแก่สงฆ์มักเป็นกรณีที่ บ้านเรือนนั้นอยู่อาศัยไม่เป็นปกติ เกิดมีความเจ็บไข้หรือมี คนตายเนืองๆ หรือบ้านเรือนนั้นอาจมีสิ่งที่ไม่เป็นมงคลเช่น เชื่อกันว่ามีผีปิศาจสิง ทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัยเกิดความหวาดกลัว หรือเป็นเรือนที่เจ้าของเสียชีวิตไม่มีผู้อยู่อาศัยต่อมา ทายาทจึงได้รื้อเรือนไปปลูกถวายวัด หรือพระมหากษัตริย์ ถวายเรือนของบรรพชนนำมาสร้างเป็นกุฏิสงฆ์ ดังที่เคย กล่าวมาแล้วในตอนต้น


       ลักษณะกุฏิเท่าที่นิยมสร้างกันมานั้นสังเกตว่าอาจ จำแนกวิธีการสร้างได้เป็น 3 ประเภท คือ

       1. กุฏิเดี่ยว เป็นกุฏิชนิดที่มีพระภิกษุอยู่อาศัยเพียงรูปเดียว มีห้องที่อาศัยหลับนอนเพียงหนึ่งห้อง มีชานนั่งหน้าห้องแบบชานพะไลเรือน กุฏิประเภทนี้มักนิยมใช้เป็นแบบกุฏิของภิกษุ ที่ปรารถนาปฏิบัติวิปัสสนาธรรมปลูกแยกห่างจากกัน เหมาะสำหรับการสร้างในที่ดอนและตามป่า 


       2. กุฏิแถว เป็นกุฏิเช่นเดียวกับกุฏิเดี่ยวแต่ต่อเรียง ติดกันหลายห้อง มีชานแล่นให้เดินติดต่อ กันได้ตลอด กุฏิชนิดนี้เป็นกุฏิที่ต้องการ ความสะดวกในการอยู่รวมกันจำนวนมากๆ มักนิยมปลูกในวัดที่มีพระภิกษุจำนวนมาก และในที่ที่น้ำท่วมถึง 


       3. คณะกุฏิ เป็นกุฏิชนิดเกาะหมู่อยู่รวมกัน โดยทำเป็นกุฏิแถวล้อมสองด้านหรือสี่ด้าน มีหอฉันหรือลานอยู่กลาง กุฏิชนิดนี้มักจะทำขึ้นในวัดที่มีการแบ่งการควบคุม ดูแลเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่าคณะหลายๆ คณะ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       กุฎี คือ กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ 



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ประพฤติอนาจารต่างๆ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ประพฤติอนาจารต่างๆ
 



ประพฤติอนาจารต่างๆ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 195 )  


       สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ

       ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ตาข่ายประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง

       ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน

       นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน 

       นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ

       นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม 

       นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด 

       นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง

       นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ตาข่าย ประดับอก

       เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งสกุล เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี 


       ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งสกุล สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี 


       ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำ บ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิง ฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง … ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง

       เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยบ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง

       หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง 

       วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง

       ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง

       ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง

       ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง 

       ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง … ตรัสว่า 


       321. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ

       รูปใดประพฤติ พึงปรับ อาบัติ ///// ตามธรรม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ประพฤติอนาจารต่างๆ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 850 , 851



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตวัจจกุฎี

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตวัจจกุฎี
 



ทรงอนุญาตวัจจกุฎี


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 191 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้ง ลำบากด้วยร้อนบ้าง หนาวบ้าง … ตรัสว่า 

       301. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต วัจจกุฎี /////  



       วัจจกุฎีไม่มีบานประตู … ตรัสว่า

       302. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับ เดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก 



       ผงหญ้าที่มุงวัจจกุฎีตกลงเกลื่อน … ตรัสว่า 

       303. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่างทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร /////  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 192 )  


       สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ ถ่ายอุจจาระแล้วลุกขึ้นล้มลง … ตรัสว่า 

       304. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกห้อยสำหรับเหนี่ยว 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 193 )  


       สมัยนั้น วัจจกุฎีไม่ได้ล้อม … ตรัสว่า 

       305. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม 3 อย่าง คือ 

       อิฐ 

       ศิลา 

       ไม้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 194 )  


       ซุ้มประตูไม่มี … ตรัสว่า 

       306. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู 



       ซุ้มประตูมีพื้นต่ำ … ตรัสว่า 

       307. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถมพื้นให้สูง 



       ดินที่ถมพัง … ตรัสว่า 

       308. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ 3 อย่าง คือ

       ก่อด้วยอิฐ 

       ก่อด้วยศิลา  

       ก่อด้วยไม้ 



       ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า 

       309. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 อย่าง คือ 

       บันไดอิฐ 

       บันไดหิน 

       บันไดไม้ 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       310. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด 



       บานซุ้มประตูไม่มี … ตรัสว่า 

       311. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรอง เดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก 



       ผงหญ้าที่มุงบนซุ้มประตูหล่นเกลื่อน … ตรัสว่า 

       312. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบด้วยดินทั้งข้างบน ข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ



       บริเวณลื่น … ตรัสว่า

       313. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่ 



       กรวดแร่ไม่เต็ม … ตรัสว่า

       314. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเลียบ 



       น้ำขัง … ตรัสว่า 

       315. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ 



       หม้ออุจจาระไม่มี … ตรัสว่า  

       316. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้ออุจจาระ 



       กระบอกตักน้ำชำระอุจจาระไม่มี … ตรัสว่า 

       317. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกตักน้ำชำระอุจจาระ 



       ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายลำบาก … ตรัสว่า 

       318. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงไม้สำหรับนั่งถ่าย 



       เขียงไม้สำหรับนั่งถ่ายอยู่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย … ตรัสว่า 

       319. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม 3 ชนิด คือ

       อิฐ 

       ศิลา 

       ไม้ 



       หม้ออุจจาระไม่ได้ปิด ผงหญ้าและขี้ฝุ่นตกลง … ตรัสว่า

       320. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตวัจจกุฎี 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 848 , 849 , 850



- จบ -

วัจจกุฎี

 

วัจจกุฎี 



       วจฺจกุฏิ แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้

       วัจ- , วัจจะ แปลว่า อุจจาระ 

       กุฏี แปลว่า ที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ 

       วัจจกุฏ จึงแปลว่า ที่ถ่ายอุจจาระ , ส้วม ใช้สำหรับบรรพชิต 


       พื้นที่ในเขตศาสนสถานทั่วไป สามารถแบ่งออกได้ 2 พื้นที่ ได้แก่ 

       1. เขตพุทธาวาส เป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ปรากฏสถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น เจดีย์ วิหาร อุโบสถ 


       2. เขตสังฆาวาส เป็นพื้นที่ที่กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมทางศาสนาโดยตรง ซึ่งมีอาคารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ วัจจกุฎี ห้องสรงน้ำ เป็นต้น 


       “วัจจกุฎี” เป็นอาคารสำหรับขับถ่ายหรือห้องส้วมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ โดยปรากฏในพระวินัยปิฎก จุลวรรค มีเนื้อความที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเกี่ยวกับที่สำหรับขับถ่ายไว้ดังนี้ เรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ เขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ ทรงอนุญาตเครื่องล้อม ๓ ชนิด และฝาปิดหม้อปัสสาวะ ส่วนเรื่องอุจจาระ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ อนุญาตก่อพื้นยกสูง มีบันไดและราวบันได ให้ลาดพื้นเจาะช่องตรงกลางหลุม ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระ และฝาปิดหลุมอุจจาระ และทรงมีพุทธานุญาตในการสร้างวัจจกุฎีด้วย นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงกำหนด “วัจจกุฎีวัตร” หรือท่าทางปฏิบัติในการใช้วัจจกุฎีของพระสงฆ์ให้มีความเรียบร้อย 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark/view/22729-วัจจกุฎี    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

การถ่ายทุกข์ ( วัจจกุฎีวัตร ) 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้ รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างใน ก็พึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวร หรือบนสายระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป 

       ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระ แล้วจึงค่อยเวิกผ้า ไม่พึงถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ 

       ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ 

       ไม่พึงถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ 

       ไม่พึงบ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะ 

       ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ 

       ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ 

       ยืนบนเขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า 

       ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าออกมา 

       ยืนบนเขียงชำระ แล้วพึงเวิกผ้า 

       ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ 

       ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ 

       ยืนบนเขียงชำระ แล้วพึงปิดผ้า 

       ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้องล้างเสีย 

       ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ 

       ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาดวัจจกุฎี 

       ถ้าชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตูรก พึงกวาดเสีย  

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตร ซึ่งภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย 

( 7/434 - 437/158-160 )   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

วัจจกุฏิวัตร ( วัตรเกี่ยวกับส้วม )   

       ก่อนที่จะทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ทรงบัญญัติให้ภิกษุผู้ถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วใช้น้ำชำระ ถ้าไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ และทรงอนุญาตให้เข้าสู่วัจจกุฏิตามลำดับที่ไปก่อนหลัง ( ไม่ต้องคอยตามลำดับ พรรษา ซึ่งภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนกว่าเดือดร้อน ) และทรงปรารภความไม่เรียบร้อยในการเข้า การใช้วัจจกุฏิของภิกษุเบญจวัคคีย์ จึงทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ดังต่อไปนี้ -

       ภิกษุผู้ไปสู่วัจจกุฏิ พึงยืนอยู่ข้างนอก ทำเสียงกระแอม ถ้ามีภิกษุอยู่ข้างใน พึงกระแอมรับ จึงพาดจีวรไว้ที่ห่วงสำหรับแขวนหรือราวสำหรับพาด พึงเข้าไปด้วยดี ไม่รีบด่วน ไม่พึงเลิกผ้าเข้าไป ต่อเมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้วจึงเลิกผ้า , ไม่พึงเบ่งถ่าย , ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันขณะถ่าย , ไม่พึงถ่ายนอกหลุมอุจจาระนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงใช้ไม้ชำระที่หยาบ ( คมแข็ง ) ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในหลุมถ่าย เมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้ว พึงปกปิด ( ดึงผ้านุ่งลงไปปกปิด ) ไม่ถึงออกโดยรีบร้อน ไม่พึงเลิกผ้าออกมา

       ( เมื่อจะชำระ ) ยืนอยู่บนเขียงรองเหยียบสำหรับชำระแล้วจึงเลิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดัง 

       ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในขันชำระ เมื่อยืนบนเขียงสำหรับเหยียบแล้ว ถึงปกปิด ( แสดงว่าที่ถ่ายกับที่ชำระอยู่แยกกันแต่ใก้ลกัน) 

       ถ้าวัจจกุฏิเปื้อน พึงล้างเสีย ถ้าไม่ทิ้งไม้ชำระเต็ม พึงนำไม้ชำระไปทิ้ง

       ถ้าวัจจกุฏิรก พึงปัดกวาด ถ้าชานภายนอก , บริเวณ , ซุ้ม รก ก็พึงปัดกวาด ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี ก็พึงตักน้ำใส่ 


- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ



ทรงอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 190 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระลงในที่นั้นๆ ในอารามอารามสกปรก … ตรัสว่า 

       288. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 



       อารามมีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า 

       289.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ 



       ขอบปากหลุมพัง … ตรัสว่า 

       290. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ 3 อย่าง คือ 

       ก่อด้วยอิฐ 

       ก่อด้วยศิลา 

       ก่อด้วยไม้ 



       หลุมอุจจาระมีพื้นต่ำน้ำท่วมได้ … ตรัสว่า 

       291. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง 



       ดินที่ถมพื้นพัง … ตรัสว่า 

       292. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ 3 อย่าง คือ

       ก่อด้วยอิฐ 

       ก่อด้วยศิลา 

       ก่อด้วยไม้ 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า 

       293. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 อย่าง คือ 

       บันไดอิฐ 

       บันไดหิน  

       บันไดไม้ 



       ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       294. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด 



       ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุมพลัดตกลงไป … ตรัสว่า 

       295. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้นแล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง 



       ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระลำบาก … ตรัสว่า 

       296. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ 



       ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก … ตรัสว่า 

       297. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ 



       ไม้ชำระไม่มี … ตรัสว่า 

       298. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ



       ตะกร้ารองรับไม้ชำระ ไม่มี … ตรัสว่า 

       299. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตะกร้ารองรับไม้ชำระ 



       หลุมอุจจาระ ไม่ได้ปิดมีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า 

       300. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 847 , 848



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ
 



ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 169 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้นๆ ในอาราม อารามสกปรก … ตรัสว่า 

       283. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 


       284. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อปัสสาวะ 


       285. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ 


       เขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะเปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่ายปัสสาวะ …

       286. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม 3 ชนิด คือ 

       เครื่องล้อมอิฐ  

       เครื่องล้อมหิน  

       ฝาไม้ 


       หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่นเหม็น … 

       287. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 847 



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันกระเทียม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันกระเทียม
 



ทรงห้ามฉันกระเทียม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 187 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำไมหนอ ภิกษุนั้นจึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง


       ภิกษุนั้นฉันกระเทียม พระพุทธเจ้าข้า แลเธอคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่ารบกวน จึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันของใดแล้ว จะพึงเป็นผู้เหินห่างจากธรรมกถาเห็นปานนี้ ภิกษุควรฉันของนั้นหรือ 


       ไม่ควรฉัน พระพุทธเจ้าข้า 


       281. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม  

       รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 188 )  


       282. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้เพราะเหตุอาพาธ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันกระเทียม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 846
 


- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : การให้พรเมื่อมีผู้จาม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : การให้พรเมื่อมีผู้จาม



การให้พรเมื่อมีผู้จาม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 185 )  


       สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว กำลังทรงแสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวายพระพรอย่างอึงมี่ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระชนมายุ ขอพระสุคตจงทรงพระชนมายุเถิด พระพุทธเจ้าข้า 

       ธรรมกถาได้พักในระหว่างเพราะเสียงนั้น จึงพระผู้มีพระภาค รับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ถูกเขาให้พรว่าขอจงเจริญชนมายุในเวลาจาม จะพึงเป็น หรือพึงตายเพราะเหตุที่ให้พรนั้นหรือ 


       ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า 

       279.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวคำให้พรว่า ขอจงมีชนมายุ ในเวลาที่เขาจาม  

       รูปใดให้พร ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 186 )  


       280. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ที่เขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ ดังนี้ ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชนมายุยืนนาน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : การให้พรเมื่อมีผู้จาม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 846
 


- จบ -

Thursday, May 26, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามเรียนดิรัจฉานวิชา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามเรียนดิรัจฉานวิชา
 


ทรงห้ามเรียนดิรัจฉานวิชา 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 183 )  


       277.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียน ดิรัจฉานวิชา /////  

       รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 184 )  


       278.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา 

       รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามเรียนดิรัจฉานวิชา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 845



- จบ -

ดิรัจฉานวิชา

 

ดิรัจฉานวิชา 



       ดิรัจฉานวิชา - อ่านว่า ดิ-รัด-ฉาน-วิ-ชา

       ประกอบด้วยคำว่า ดิรัจฉาน + วิชา

       ( 1 ) “ดิรัจฉาน” บาลีเป็น “ติรจฺฉาน” ( ติ-รัด-ฉา-นะ ) รากศัพท์มาจาก ติรจฺฉ + ยุ ปัจจัย 

       ( ก ) “ติรจฺฉ” รากศัพท์มาจาก ติริย ( ขวาง ) + อญฺช ( ธาตุ = ไป , เป็นไป ) + อ ปัจจัย, แปลง ติริย เป็น ติร, อญฺช เป็น จฺฉ  

       : ติริย > ติร + อญฺช + อ = ติรญฺช > ติรจฺฉ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปขวาง” 

       ( ข ) ติรจฺฉ + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน ( อะ-นะ ) , ทีฆะ อะ ที่ อ-( น ) เป็น อา

       : ติรจฺฉ + ยุ > อน = ติรจฺฉน > ติรจฺฉาน แปลเท่าศัพท์เดิม คือ “ผู้ไปขวาง” หมายความว่า เจริญเติบโตโดยทางขวางซึ่งตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่โตไปทางสูง 

       “ติรจฺฉาน” ( ปุงลิงค์ ) หมายถึง สัตว์ทั่วไปที่ไม่ใช่มนุษย์ ( an animal ) 


       ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

       “ดิรัจฉาน : ( คำนาม ) สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย ( มักใช้เป็นคําด่า ) , ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. ( ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง , ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง )” 


       ( 1 ) “วิชา” 

       บาลีเป็น “วิชฺชา” ( วิด-ชา, ช สองตัว ) รากศัพท์มาจาก วิทฺ ( ธาตุ = รู้ ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ , แปลง ทฺย ( คือ ( วิ )-ทฺ + ( ณฺ )-ย ) เป็น ชฺช + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

       : วิทฺ + ณฺย = วิทฺณย > วิทฺย > วิชฺช + อา = วิชฺชา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้” หรือ “ตัวรู้” หมายถึง ความรู้, ปัญญาหยั่งรู้ ( knowledge ; transcendental wisdom ) 

       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิชฺชา” ไว้ 2 นัย คือ – 

       ( 1 ) ความหมายทั่วไป : science , craft , art , charm , spell ( ศาสตร์ , งานอาชีพ , ศิลปะ , มนต์ , คำสาป ) 

       ( 2 ) ความหมายเฉพาะ ( เช่นที่ใช้ในศาสนา ) : science , study , higher knowledge ( วิทยาศาสตร์ , การศึกษา , ความรู้ที่สูงกว่า ) 

       อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์ คำว่า “วิชฺชา” มักใช้ในความหมายเฉพาะ คือหมายถึงญาณปัญญาที่บรรลุได้ด้วยการฝึกจิต 

       ในที่นี้ “วิชฺชา” ใช้ในความหมายตามข้อ ( 1 ) 

       บาลี “วิชฺชา” ในภาษาไทยใช้ว่า “วิชา” ( ตัด ช ออกตัวหนึ่ง ) 

       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

       “วิชา : ( คำนาม ) ความรู้ , ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน , เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ  ( ป. วิชฺชา ; ส. วิทฺยา )” 

       “วิชา” ตามความหมายในภาษาไทย ตรงกับคำว่า “สิปฺป” ( สิบ-ปะ ) ที่เราเอามาใช้ว่า “ศิลปะ” 

       “สิปฺป” ในบาลีหมายถึง ความสามารถที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นผลสำเร็จได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทำได้ทำเป็นไม่ว่าจะในเรื่องอะไร นั่นแหละคือ “สิปฺป-ศิลปะ” หรือ “วิชา” ตามที่เข้าใจกันในภาษาไทย 

       ติรจฺฉาน + วิชฺชา = ติรจฺฉานวิชฺชา ( ติ-รัด-ฉา-นะ-วิด-ชา ) แปลตามศัพท์ว่า “วิชาที่ขวาง”

       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ติรจฺฉานวิชฺชา” ว่า a low art , a pseudo-science ( วิชาที่ต่ำทราม , เดรัจฉานวิชา ) 

       “ติรจฺฉานวิชฺชา” ภาษาไทยเขียน “ดิรัจฉานวิชา” คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฯ 


ขยายความ :

       หนังสือ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน สุชีพ ปุญญานุภาพ จัดทำ 

       ในหน้า 291 มีคำสรุปความหมายของ “ดิรัจฉานวิชา” ไว้ดังนี้ 


……………..

       ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา อย่างพิสดาร ฝรั่งใช้คำว่า low art เมื่อพิจารณาตามศัพท์ “ติรัจฉาน” ซึ่งแปลว่า “ไปขวาง” ก็หมายความว่าวิชาเหล่านี้ “ขวาง” หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะ มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์ดิรัจฉาน เพราะฉะนั้นถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือ ถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป. วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นติรัจฉานวิชาคือวิชาที่ขวางหรือขัดกับความเป็นพระ 

       ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้น เพ่งกิริยาที่ไม่ได้ตั้งตัวตรงเดินไปอย่างคน แต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรงชื่อว่าไปขวาง 


……………..

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายไว้ดังนี้ –

       ดิรัจฉานวิชา : ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้เวทมนตร์ที่จะทำให้คนถึงวิบัติ เป็นหมอผี หมอดู หมองู หมอยา ทำพิธีบวงสรวง บนบาน แก้บน เป็นต้น เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น และส่วนมากทำให้ผู้คนลุ่มหลงงมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่หรือประกอบการตามเหตุผล โดยเฉพาะตัวพระภิกษุก็จะขวางกั้นขัดถ่วงตนเองให้ไม่มีกำลังและเวลาที่จะบำเพ็ญสมณธรรม, การงดเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา เป็นศีลของพระภิกษุตามหลักมหาศีล , ศีลนี้สำเร็จด้วยการปฏิบัติตามสิกขาบทในพระวินัยปิฎกข้อที่กำหนดแก่ภิกษุทั้งหลาย มิให้เรียน มิให้สอนดิรัจฉานวิชา และแก่ภิกษุณีทั้งหลายเช่นเดียวกัน 


……………..

       ในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 9 ข้อ 19-25 แสดงรายวิชาของ “เดรัจฉานวิชา” ไว้อย่างละเอียด ประมวลความได้รายวิชาบางส่วน เช่น –

       วิชาบวงสรวงสังเวยและพิธีกรรมต่างๆ 

       วิชาปลุกเสก 

       วิชาหมอยา 

       วิชาหมอดูประเภทต่างๆ เช่น วิชาทายลักษณะคน ลักษณะสัตว์ และลักษณะสิ่งของว่าดีร้ายอย่างไร วิชาให้ฤกษ์ยาตราทัพ 

       ดาราศาสตร์ 

       โหราศาสตร์ 

       ไสยศาสตร์ประเภทต่างๆ 

       วิชาทำนายดินฟ้าอากาศ 

       วิชาทรงเจ้าเข้าผี 

       ควรสังเกตด้วยว่า “เดรัจฉานวิชา” ที่เกิดโทษสำหรับพระภิกษุซึ่งท่านตำหนิไว้ เป็นระดับที่เรียนเพื่อประกอบอาชีพ หรือเรียนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ หรือรับประโยชน์จากวิชาโดยตรง



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ในพระสุตตันตปิฏก เล่ม 1 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มหาศีล หัวข้อ ติรัจฉานวิชา มีกล่าวถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำหลายเรื่อง เช่น การเป็น หมอดู พรมน้ำมนต์ ดูฤกษ์ยาตราทัพ เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน ทำนายฝัน ทำพิธีบูชาไฟ พยากรณ์โดยการดูดวงดาว ให้ฤกษ์แต่งงาน ทำพิธีแก้บน และการบวงสรวงต่างๆ 

       พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้างที่เป็น ติรัจฉานวิชา  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า 

       1. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

       - ทายอวัยวะ 

       - ทายนิมิต 

       - ทายอุปบาต 

       - ทำนายฝัน 

       - ทำนายลักษณะ 

       - ทำนายหนูกัดผ้า 

       - ทำพิธีบูชาไฟ 

       - ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน 

       - ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ 

       - ทำพิธีซัดรำ บูชาไฟ 

       - ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ 

       - ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ 

       - ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ 

       - ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ 

       - ทำพลีกรรมด้วยโลหิต 

       - เป็นหมอดูอวัยวะ 

       - ดูลักษณะที่บ้าน 

       - ดูลักษณะที่นา 

       - เป็นหมอ ปลุกเสก 

       - เป็นหมอผี 

       - เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน 

       - เป็นหมองู 

       - เป็นหมอยาพิษ 

       - เป็นหมอแมลงป่อง 

       - เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด 

       - เป็นหมอทายเสียงนก 

       - เป็นหมอทางเสียงกา 

       - เป็นหมอทายอายุ  

       - เป็นหมอเสกกันลูกศร 

       - เป็นหมอทายเสียงสัตว์ 


       2. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา 

       - ทายลักษณะแก้วมณี 

       - ทายลักษณะไม้พลอง 

       - ทายลักษณะผ้า 

       - ทายลักษณะศาตรา 

       - ทายลักษณะดาบ 

       - ทายลักษณะศร 

       - ทายลักษณะธนู 

       - ทายลักษณะอาวุธ

       - ทายลักษณะสตรี 

       - ทายลักษณะบุรุษ 

       - ทายลักษณะกุมาร 

       - ทายลักษณะกุมารี 

       - ทายลักษณะทาส 

       - ทายลักษณะทาสี 

       - ทายลักษณะช้าง 

       - ทายลักษณะม้า 

       - ทายลักษณะกระบือ 

       - ทายลักษณะโคอุสภะ 

       - ทายลักษณะโค 

       - ทายลักษณะแพะ 

       - ทายลักษณะแกะ 

       - ทายลักษณะไก่ 

       - ทายลักษณะนกกระทา 

       - ทายลักษณะเหี้ย 

       - ทายลักษณะตุ่น 

       - ทายลักษณะเต่า 

       -ทายลักษณะมฤค 


       3. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักไม่ยกออก 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักถอย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักถอย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักมีชัย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักปราชัย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายนอกจักมีชัย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาภายในจักปราชัย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย 

       - ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย 


       4. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

       - พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส 

       - พยากรณ์ว่า จักมีสุริยคราส 

       - พยากรณ์ว่า จักมีนักษัตรคราส 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง 

       - พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง 

       - พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง 

       - พยากรณ์ว่า จักมีอุกกาบาต 

       - พยากรณ์ว่า จักมีดาวหาง 

       - พยากรณ์ว่า จักมีแผ่นดินไหว 

       - พยากรณ์ว่า จักมีฟ้าร้อง 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง 

       - พยากรณ์ว่า จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้ 

       - พยากรณ์ว่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ 


       5. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา 

       - พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี 

       - พยากรณ์ว่า จักมีฝนแล้ง 

       - พยากรณ์ว่า จักมีภิกษาหาได้ง่าย 

       - พยากรณ์ว่า จักมีภิกษาหาได้ยาก

       - พยากรณ์ว่า จักมีความเกษม 

       - พยากรณ์ว่า จักมีภัย จักเกิดโรค 

       - พยากรณ์ว่า จักมีความสำราญหาโรคมิได้ 

       - หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์ 


       6. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา

       - ให้ฤกษ์อาวาหมงคล 

       - ให้ฤกษ์วิวาหมงคล 

       - ดูฤกษ์เรียงหมอน 

       - ดูฤกษ์หย่าร้าง 

       - ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ 

       - ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ 

       - ดูโชคดี 

       - ดูเคราะห์ร้าย 

       - ให้ยาผดุงครรภ์ 

       - ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง 

       - ร่ายมนต์ให้คางแข็ง 

       - ร่ายมนต์ให้มือสั่น 

       - ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง 

       - เป็นหมอทรงกระจก 

       - เป็นหมอทรงหญิงสาว 

       - เป็นหมอทรงเจ้า 

       - บวงสรวงพระอาทิตย์ 

       - บวงสรวงท้าวมหาพรหม 

       - ร่ายมนต์พ่นไฟ 

       - ทำพิธีเชิญขวัญ 


       7. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชา 

       - ทำพิธีบนบาน 

       - ทำพิธีแก้บน 

       - ร่ายมนต์ขับผี 

       - สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน 

       - ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย

       - ทำชายให้กลายเป็นกะเทย 

       - ทำพิธีปลูกเรือน 

       - ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ 

       - พ่นน้ำมนต์ 

       - รดน้ำมนต์ 

       - ทำพิธีบูชาไฟ 

       - ปรุงยาสำรอก 

       - ปรุงยาถ่าย 

       - ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน 

       - ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง 

       - ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ 

       - หุงน้ำมันหยอดหู 

       - ปรุงยาตา 

       - ปรุงยานัดถุ์ 

       - ปรุงยาทากัด 

       - ปรุงยาทาสมาน 

       - ป้ายยาตา 

       - ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก 

       - ใส่ยา ชะแผล 


- จบ -