Thursday, January 27, 2022

ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 : วิธีทำปัพพาชนียกรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 : วิธีทำปัพพาชนียกรรม



วิธีทำ ปัพพาชนียกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 88 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ปัพพาชนียกรรม ///// พึงทำอย่างนี้ คือ

       พึงโจทภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะก่อน

       ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ

       ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้


* * * กรรมวาจาทำ ปัพพาชนียกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย

       สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี

       การทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย

       สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี

       การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด  


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย

       สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรม แก่พวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี 

       การทำ ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 : วิธีทำปัพพาชนียกรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 614 , 615 , 616
 


- จบ -

ปัพพาชนียกรรม ที่ 3

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปัพพาชนียกรรม ที่ 3
 



ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 

* * * เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 84 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกอัสสชิและปุพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ

       ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง

       ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี

       ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มนำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล
สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี

       ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มนำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง

       เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง

       เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง

       เล่นเลียนคนพิการบ้าง

       หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง

       วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง

       ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง

       ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง

       ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิงเธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง 

       ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง …


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 87 )  


       พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ … ทรงสอบถาม … ทรงติเตียน … รับสั่งกะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่า


       ไปเถิดสารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงท ำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ 


       พวกข้าพระพุทธเจ้า จะทำ ปัพพาชนียกรรม /////  แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้นดุร้าย หยาบคาย พระพุทธเจ้าข้า 


       ดูกรสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป 


       อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 613 , 614 



- จบ -

นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด



วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 

* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 80 )  


       74. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม ///// แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1. ไม่ให้อุปสมบท 

       2. ไม่ให้นิสัย 

       3. ไม่ให้สามเณร อุปัฏฐาก ///// 

       4. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี 



* *  * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 81 )  


       75. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ

       1. ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม เพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น

       2. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

       3. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ไม่ติกรรม 

       5. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 82 )  


       76. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ไม่ห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ ///// 

       2. ไม่ห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ

       3. ไม่ทำการไต่สวน 

       4. ไม่เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ ///// 

       5. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. ไม่โจทภิกษุอื่น 

       7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ ///// กัน



วิธีระงับนิยสกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 83 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะ นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ 


* * * คำขอระงับนิยสกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับ นิยสกรรม

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง 

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 



       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี


* * * กรรมวาจาระงับนิยสกรรม

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ

       นี่เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ 

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ 

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 610 , 611 , 612
 


- จบ -

นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด



วัตรที่ไม่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 

* * * หมวดที่ 1 

       71. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ///// แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ

       1. ให้อุปสมบท 

       2. ให้นิสัย 

       3. ให้สามเณร อุปัฏฐาก ///// 

       4. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 78 )  


       72. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น 

       2. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       3. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ติกรรม 

       5. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 79 )  


       73. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ ///// 

       2. ห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ทำการไต่สวน 

       4. เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ ///// 

       5. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. โจทภิกษุอื่น 

       7. ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ ///// กัน



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 609 , 610



- จบ -

Friday, January 21, 2022

นิยสกรรม ที่ 2 : วัตร 18 ข้อ ในนิยสกรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : วัตร 18 ข้อ ในนิยสกรรม



วัตร 18 ข้อ ในนิยสกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 75 )  


       69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม ///// แล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ


       70. วิธีประพฤติโดยชอบใน นิยสกรรม นั้น ดังต่อไปนี้ 

       1. ไม่พึงให้อุปสมบท

       2. ไม่พึงให้นิสัย

       3. ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก ///// 

       4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5.แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

       6. ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

       7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       9. ไม่พึงติกรรม 

       10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       11. ไม่พึงห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ ///// 

       12. ไม่พึงห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       13. ไม่พึงทำการไต่สวน 

       14. ไม่พึงเริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ ///// 

       15. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 

       18. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ ///// กัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 76 )  


       ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลง นิยสกรรม แก่ พระเสยยสกะ แล้ว คือ ให้กลับถือนิสัยอีก

       เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพ คบหา นั่งใกล้กัลยาณมิตร ขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชองในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป … ตรัสว่า


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 77 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุ เสยยสกะ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : วัตร 18 ข้อ ในนิยสกรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 608 , 609



- จบ -

ปวารณา

 

ปวารณา 


       ปวารณา ( อ่านว่า ปะ-วา-ระ-นา ) มีความหมาย 2 อย่างคือ 

       1. หมายถึง ยอมให้ขอ , ยอมรับใช้ คือพูดอนุญาตให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการได้ หรือยอมทำสิ่งที่ต้องการให้ ผู้ยอมให้ขอหรือยอมรับใช้ด้วยการพูดอย่างนี้ เรียกว่า ผู้ปวารณา ถ้าเขียนเป็นหนังสือปวารณา เรียกว่า ใบปวารณา

       2. หมายถึง ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน เป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้วต้องทำเป็นการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป


       ปวารณานี้กำหนดให้ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา จึงเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา 


       พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด โดย พระมหาโพธิวงศาจารย์ ( ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 , ราชบัณฑิต ) 


- จบ -



อุโบสถ

 

อุโบสถ 



       อุโบสถ ( อ่านว่า อุ-โบ-สด ) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรม

       ซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น

       แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม 


       คำว่า อุโบสถ มาจากรากศัพท์ว่า อุป + วส + อถ ปัจจัย โดยมีการแปลงรูปตามภาษาบาลีดังต่อไปนี้

       “อุโบสถ” บาลีเป็น “อุโปสถ” อ่านว่า อุ-โป-สะ-ถะ รากศัพท์มาจาก อุป- อุปสรรค ( เข้าไป , ใกล้ , มั่น ) + วสฺ ธาตุ ( อยู่ ) + -อถ ปัจจัย , แปลง อะ ที่ ( อุ ) -ป กับ ว-( สฺ ) เป็น โอ ( อุป + วสฺ > อุโปสฺ ) 

       : อุป + วสฺ = อุปวสฺ > อุโปสฺ + อถ = อุโปสถ ( ปุงลิงค์ ) ( อุโปสโถ ) แปลตามศัพท์ว่า

       ( 1 ) “ธรรมเป็นที่เข้าจำ”, “กาลเป็นที่เข้าจำ” ( คือเข้าไปอยู่โดยการถือศีลหรืออดอาหาร ) 

       ( 2 ) “กาลเป็นที่เข้าถึงการอดอาหารหรือเข้าถึงศีลเป็นต้นแล้วอยู่” 


       และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง

* * * สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์

* * * การเข้าจำ คือการรักษาศีล 8 ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ เรียกว่า รักษาอุโบสถ และรักษาอุโบสถศีล 

* * * วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัสถ์ วันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถกัน เรียกว่า วันอุโบสถ 

* * * วันที่พระสงค์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่าวันอุโบสถ 

* * * การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ 

* * * โบสถ์ เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา

* * * โบสถ์ เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือ โรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม

* * * โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า วิสุงคามสีมา



       ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมาก่อน 

       เดิมทีมีผู้อธิบายว่า อุโบสถ มาจากคำว่า อุป + โอสถ แล้วแปลว่า เข้าถึงยาแก้โรค หรือ เข้าไปใกล้ยารักษาโรค ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดและไม่ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี

       ที่ถูกคือ อุป + วสฺ ธาตุ + อถ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น อุโบสถ ดังอธิบายข้างต้นแล้ว 


- จบ -

อุปัฏฐาก

 

อุปัฏฐาก



       อุปัฏฐาก ( อ่านว่า อุ-ปัด-ถาก ก็ได้ อุบ-ปัด-ถาก ก็ได้ ) -   

       “อุปัฏฐาก” บาลีเขียน “อุปฏฺฐาก” อ่านว่า อุ-ปัด-ถา-กะ รากศัพท์มาจาก อุป ( คำอุปสรรค = เข้าไป , ใกล้ , มั่น ) + ฐา ( ธาตุ = ยืน , ตั้งอยู่ ) + ณฺวุ ปัจจัย , แปลง ณฺวุ เป็น อก ( อะ-กะ ) , ซ้อน ฏฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ ( อุป + ฏฺ + ฐา ) 

       : อุป + ฏฺ + ฐา = อุปฏฺฐา + ณฺวุ > อก = อุปฏฺฐาก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เข้าไปยืน ( รับใช้ )” “ผู้ยืนใกล้” หมายถึง ผู้อุปัฏฐาก , ผู้รับใช้ , ผู้ปรนนิบัติ ( “famulus”, a servitor , personal attendant , servant ) 

       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

       “อุปัฏฐาก : (คำนาม) ผู้อุปถัมภ์บํารุงพระภิกษุสามเณร , ถ้าเป็นหญิงใช้ อุปัฏฐายิกา. (ป.).” 

       “อุปัฏฐายิกา” บาลีเขียน “อุปฏฺฐายิกา” อ่านว่า อุ-ปัด-ถา-ยิ-กา คือ อุปฏฺฐา + ย อาคม + อิ อาคม + ณฺวุ > อก + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 


       : อุปฏฺฐา + ย + อิ = อุปฏฺฐายิ + ณฺวุ > อก = อุปฏฺฐายิก + อา = อุปฏฺฐายิกา แปลเหมือนกัน เปลี่ยนแต่เป็นเพศหญิง 


…………..

อภิปราย :

       ความหมายของ “อุปัฏฐาก” คือผู้อุปถัมภ์บํารุงพระภิกษุสามเณร ตามที่พจนานุกรมฯ ว่าไว้นั้นเป็นความหมายตามรูปศัพท์ แต่โดยความเป็นจริงตามที่เป็นมาแต่เดิมนั้น อุปัฏฐากคือผู้ที่ทำหน้าที่รับใช้วัด อุทิศเวลาทำกิจทั้งปวงตามแต่วัดหรือพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นๆ จะเรียกใช้ โดยเฉพาะกิจที่พระภิกษุสามเณรไม่สะดวกที่จะทำด้วยตนเองเช่นการรับเงินจ่ายเงินเป็นต้น ทำนองเดียวกับที่ในปัจจุบันเรียกว่า “ไวยาวัจกร” 

       กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ปัจจุบันเรียกกันว่า “ไวยาวัจกร” นั้นคนสมัยก่อนเรียกว่า “อุปัฏฐาก” หรือ “อุปัฏฐากวัด” 

       “ไวยาวัจกร” พจนานุกรมฯ บอกความหมายไว้ว่า “คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ”

       ดูตามพจนานุกรมฯ “อุปัฏฐาก” สมัยก่อนทำหน้าที่เบิกจ่าย นิตยภัต ( คือเงิน ) และดูแลทรัพย์สินของวัดด้วย รับใช้กิจทั้งปวงของวัดอีกด้วย


       นั่นคือ “อุปัฏฐาก” สมัยก่อนทำงานมากกว่า “ไวยาวัจกร” สมัยนี้



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อุปัฏฐาก - [ อุปัดถาก อุบปัดถาก ] น. ผู้อุปถัมภ์บํารุงพระภิกษุสามเณร ถ้าเป็นหญิงใช้ อุปัฏฐายิกา. ( ป. ). 


- จบ -

นิยสกรรม ที่ 2 : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด



ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด

* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 69 )  


       63. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม ///// ก็ได้ คือ

       1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ 

       2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร 

       3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร  



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 70 )  


       64. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม ก็ได้ คือ

       1. เป็นผู้มี ศีลวิบัติ ///// ใน อธิศีล /////

       2. เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ///// ใน อัธยาจาร /////

       3. เป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ///// ใน อติทิฏฐิ 



* *  * หมวดที่ 3


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 71 )  


       65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม ก็ได้ คือ 

       1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. กล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 72 )  


       66. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม แก่ภิกษุ 3 รูป คือ 

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ 

       2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร

       3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 73 )  

       67. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้มี ศีลวิบัติ ใน อธิศีล

       2. รูปหนึ่งเป็นผู้มี อาจารวิบัติ ในอัธยาจาร

       3. รูปหนึ่งเป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ใน อติทิฏฐิ



* * * หมวดที่ 6


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 74 )  


       68. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลง นิยสกรรม แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ

       1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 606 , 607 


- จบ -



นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด
 



ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด


* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 57 )  


       51. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ///// ที่ประกอบด้วยองค์ 3 เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำต่อหน้า 

       2. สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ทำตามปฏิญาณ


* * * หมวดที่ 2


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 58 )  


       52. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะต้องอาบัติ

       2. ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี ///// 

       3. ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 59 )  


       53. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ

       2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       3. ปรับอาบัติแล้วทำ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 60 )  


       54. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำต่อหน้า 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 61 )  


       55. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. สอบถามก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 62 )  


       56. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 7 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 63 )  

       57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำเพราะต้องอาบัติ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 8 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 64 )  


       58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี 

       2. ทำโดยธรรม

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 9


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 65 )  


       59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง 

       2. ทำโดยธรรม

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 10 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 66 )  


       60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 11 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 67 )  


       61. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม  

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 12 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 68 )  


       62. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ปรับอาบัติแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 602 , 603 , 604 , 605 , 606



- จบ -

นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด



ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 


* * * หมวดที่ 1


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 45 )  


       39. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ///// ที่ประกอบด้วยองค์ 3 เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำลับหลัง 

       2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ไม่ทำตามปฏิญาณ 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 46 )  


       40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ 

       2. ทำเพราะอาบัติมิใช่ เทสนาคามินี /////

       3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 47 )  


       41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก  เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ

       2. ไม่ให้จำเลยให้การแล้วทำ

       3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ



* * * หมวดที่ 4 


       42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ทำลับหลัง 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 49 )  


       43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 50 )  


       44. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่ทำตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 7 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 51 )  


       45. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ



* * * หมวดที่ 8 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 52 )  


       46. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติมิใช่ เทสนาคามินี

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ



* * * หมวดที่ 9 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 53 )  


       47. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 10 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 54 )  


       48. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 11


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 55 )  


       49. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม  

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 12 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 56 )  


       50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรม ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 599 , 600 , 601 , 602


- จบ -

Sunday, January 16, 2022

นิยสกรรม ที่ 2

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2
 



นิยสกรรม ที่ 2


* * * เรื่องพระเสยยสกะ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 43 )  

       ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะ ///// ภิกษุ ทั้งหลายให้ ปริวาส ///// ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้ มานัต ///// อัพภาน ///// อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็น
ผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน …



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 44 )  


       พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ … ทรงสอบถาม … ทรงติเตียน … รับสั่งว่า


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำ นิยสกรรม ///// แก่ภิกษุเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก 


วิธีทำ นิยสกรรม

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำ นิยสกรรม อย่างนี้ คือ

       ชั้นต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ

       ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ

       ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ 



* * * กรรมวาจาทำนิยสกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ นิยสกรรม แก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่

       สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก

       การทำ นิยสกรรม แก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่

       สงฆ์ทำ นิยสกรรม แก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก

       การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม … 

       นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 598 , 599 



- จบ -

มานัต

 

มานัต



       มานัต ชื่อ วุฏฐานวิธี คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ แปลว่า นับหมายถึงการนับราตรี 6 ราตรี คือภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว เมื่อจะปลดเปลื้องตนจากอาบัติ ตามธรรมเนียมแห่งอาบัติสังฆาทิเสส จะต้องไปหาสงฆ์จตุรวรรค ทำผ้าห่มเฉวียงป่าข้างหนึ่ง กราบภิกษุแก่กว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวคำขอมานัตตามอาบัติที่ต้อง ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศให้มานัตแล้ว ภิกษุรูปนั้นประพฤติมานัต 6 ราตรี เป็นวุฏฐานวิธีเบื้องต้นแห่งการออกจากครุกาบัติ แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัตินั้น ( แต่ถ้าปกปิดอาบัติไว้ ต้องอยู่ปริวาสก่อนจึงประพฤติมานัตได้ ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       มานัต, มานัตต์ ชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ 

       แปลว่า “นับ” หมายถึงการนับราตรี 6 ราตรี คือ 

       ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว เมื่อจะปลดเปลื้องตนจากอาบัติ ตามธรรมเนียมแห่งอาบัติสังฆาทิเสส จะต้องไปหาสงฆ์จตุรวรรค ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบภิกษุแก่กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวคำขอมานัตตามอาบัติที่ต้อง

       ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศให้มานัตแล้ว 

       ภิกษุรูปนั้นประพฤติมานัต 6 ราตรี เป็นวุฏฐานวิธีเบื้องต้น แห่งการออกจากครุกาบัติ แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัตินั้น ( แต่ถ้าปกปิดอาบัติไว้ ต้องอยู่ปริวาสก่อนจึงประพฤติมานัตได้ ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       มานัต แปลความโดยขอบเขต หมายถึง นับ ได้แก่ นับราตรี การนับราตรี 

       การนับราตรี หรือ มานัต นั้น เป็นเงื่อนไขต่อจากการประพฤติปริวาสของภิกษุผู้อยู่กรรม เมื่ออยู่ปริวาส 3 ตรี หรือตามที่คณะสงฆ์กำหนดแล้ว เมื่อคณะสงฆ์พิจารณาว่า ปริวาส ที่ภิกษุประพฤตินั้นบริสุทธิ์ในการพิจารณาของสงฆ์แล้ว

       สงฆ์ก็จะเรียกผู้ประประพฤติปริวาสนั้นว่า “มานัตตารหภิกษุ” แปลว่า “ภิกษุผู้ควรแก่มานัต” มานัต หรือการนับราตรีนั้น ได้แก่การ นับราตรี 6 ราตรีเป็นอย่างน้อย ซึ่งเกินกว่านี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้อยกว่า 6 ราตรีไม่ได้ ซึ่งเป็นพระวินัยกำหนดไว้เช่นนั้น 

       ซึ่งการนับราตรีของ มานัต นั้นก็มีเงื่อนไขที่ทำให้นับราตรีไม่ได้เช่นกัน เรียกว่า การขาดแห่งราตรี หรือ การนับราตรีเป็นโมฆะ 


เงื่อนไขที่ทำให้นับราตรีไม่ได้ สำหรับ มานัต มีด้วยกัน 4 อย่าง คือ 

       1.สหวาโส คือ การอยู่ร่วม มีข้อกำหนดเหมือนปริวาส ไม่มีข้อแตกต่างกัน 


       2.วิปปวาโส คือ การอยู่ปราศ ในส่วนข้อนี้มีความแตกต่างตรงที่ การประพฤติปริวาสนั้น จะสมาทานประพฤติวัตรกับคณะสงฆ์อาจารย์กรรมรูปเดียวก็ได้ แต่ มานัต นั้น ต้องสมาทานกับสงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป

       หรือ ในกรณีที่ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย อาพาธขึ้นในระหว่าง มานัต จำต้องไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ต้องมีสงฆ์อย่างน้อย 4 รูป ไปเฝ้าไข้ ซึ่งถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ต้องอนุญาตให้ไปรักษาอาพาธนั้นให้หายเป็นปกติก่อน

       เมื่อหายเป็นปกติแล้วให้ภิกษุนั้น กลับมาสมาทานวัตรเพียงรูปเดียวในภายหลัง ( แต่ถ้าเก็บวัตรแล้วก็ไม่เป็นไร ) ส่วนการ บอกวัตร นั้นถ้าบอกเป็นครั้งแรกในวันนั้นต้องบอกกับสงฆ์หมดทุกรูป แต่ถ้าการบอกวัตรนั้นเป็นการบอกครั้งที่สองไม่ต้องบอกหมดทุกรูป 

       ยกเว้นเมื่อบอกวัตรไปแล้วในขณะนั้นแต่ชั่วครู่นั้นมีพระอาคันตุกะแวะเวียนเข้ามา การบอกวัตรครั้งที่สองนี้จะบอกเดี่ยวสำหรับพระอาคันตุกะหรือจะบอกเป็นสงฆ์ก็ได้ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์พระอาจารย์กรรมกำหนด 

       ซึ่งถ้าบอกเป็นสงฆ์ก็ต้องหาพระอาจารย์กรรม รวมทั้งพระอาคันตุกะนั้นให้ครบองค์สงฆ์คือ 4 รูป แต่ส่วนมากจะบอกเดี่ยวเพื่อความสะดวกรวดเร็ว 


       3. อนาโรจนา คือ การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ ซึ่งการการประพฤติ มานัต นั้น จะต้องบอกวัตรทุกวัน ไม่บอกไม่ได้ แตกต่างกับปริวาสซึ่งจะบอกก็ได้ไม่บอกก็ได้ เพราะอยู่ปริวาสนั้นบอกวัตรครั้งเดียวแล้วอยู่ต่อไปอีกสามวันโดยที่ไม่บอกอีกก็ได้ ทั้งนี้หมายความว่าจะต้องไม่ทำผิดกฏข้ออื่น ๆ อีก


       4. อูเน คเณ จรณํ คือ การประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง หมายถึง การประพฤติวัตรของพระมานัตในที่ที่มีสงฆ์ไม่ครบ 4 รูปตามพระวินัยกำหนด เช่นนี้ถือว่า ประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง ซึ่งจะทำให้การนับราตรีเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้ 



       มานัต หรือการ นับราตรี นั้น มีอยู่ 4 อย่าง คือ 

       1. อัปปฏิจฉันนมานัต คือ เป็นมานัตที่ภิกษุไม่ต้องอยู่ปริวาส สามารถขอมานัตได้เลย ยกเว้นพวกเดียรถีย์ต้องอยู่ปริวาส 4 เดือน


       2. ปฏิฉันนมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติไว้ หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม 


       3. ปักขมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุณี 15 ราตรีเท่านั้น ( ครึ่งปักษ์ ) จะปิดอาบัติไว้หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม 


       4. สโมธานมานัต คือ มานัตที่มีไว้เพื่ออาบัติที่ประมวลเข้าด้วยกันอันเนื่องมาจากสโมธานปริวาสนั้น ซึ่ง สโมธานมานัต นี้เป็นมานัตที่สงฆ์นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

'พระพุทธศาสนา'ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ! ตอน 6...

       สัปดาห์นี้เอ่ยถึงโทษสถานกลาง เป็นอาบัติสังฆาทิเสส และโทษสถานหนักซึ่งเป็นอาบัติปาราชิก ที่เกิดแก่ภิกษุที่ล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัย แตกต่างกันอย่างไร??

       “โทษสถานกลาง” เป็นอาบัติสังฆาทิเสสที่เกิดแก่ภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัย มี 13 ข้อ คือ...

       1. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน 

       2. แตะต้องสัมผัสกายสตรี 

       3. พูดเกี้ยวพาราสีสตรี 

       4. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้ 

       5. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ

       6. สร้างกุฏิด้วยการขอ 

       7. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน 

       8. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

       9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล 

       10.ทำสงฆ์แตกแยก ( สังฆเภท ) 

       11. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก

       12. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ 

       13. ประจบสอพลอคฤหัสถ์


       “โทษสถานกลาง” เป็นอาบัติสังฆาทิเสส เป็นโทษที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอยู่ “ปาริวาสกรรม” โดยอาศัยสงฆ์ในกรณีที่ปกปิดความผิดไว้ และ “การขอมานัต” ในกรณีที่ไม่ได้ปกปิดความผิด มีความแตกต่างไปจาก “โทษสถานหนัก” ซึ่งเป็นอาบัติปาราชิก กล่าวคือ...... 

       ภิกษุที่ล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัยที่เป็นอาบัติปาราชิกต้องขาดจากความเป็นภิกษุเพียงสถานเดียว ถึงแม้จะไม่ยอมลาสิกขาก็ไม่มีความเป็นภิกษุหลงเหลืออยู่อีกต่อไป เป็นเพียงอลัชชีที่ทำลายพระพุทธศาสนาซึ่งไม่มีความสำนึกผิดและละอายชั่วกลัวบาป ส่วนอาบัติสังฆาทิเสสเป็นโทษที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอยู่ปาริวาสกรรมโดยอาศัยสงฆ์ในกรณีที่ปกปิดความผิดไว้

       การอยู่ “ปริวาสกรรม” โดยอาศัยสงฆ์เป็นการอยู่ชดใช้กรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสได้ปกปิดความผิดของตนไว้จะต้องชดใช้กรรมเพื่อเป็นการลงโทษตนเองด้วยการชดใช้กรรมให้ครบเท่าจำนวนวันที่ได้กระทำความผิด

       ในระหว่างที่อยู่ “ปริวาสกรรม” โดยอาศัยสงฆ์นั้นต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเอง ในกรณีที่ไม่ได้ปกปิดความผิดต้องขอมานัตเพื่อประพฤติวัตรเช่นเดียวกับการอยู่ “ปริวาสกรรม” เป็นจำนวน 6 ราตรี ไม่ว่าจะแก้ไขอาบัติสังฆาทิเสสด้วยการอยู่ปาริวาสกรรมหรือ การขอมานัต เมื่อครบตามจำนวนวันแล้วก็ยังต้องขออัพภานเพื่อให้สงฆ์รับเข้าหมู่คณะดังเดิม... 

       หากภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสไม่แก้ไขด้วยการอยู่ “ปาริวาสกรรม” หรือ “ขอมานัต” ก็เป็นเพียงแค่ภิกษุทุศีลที่ทำลายพระพุทธศาสนาเช่นกัน 

       ทุกวันนี้มีภิกษุที่ต้อง “อาบัติปาราชิก” แต่ไม่ยอมลาสิกขา และภิกษุที่ต้อง “อาบัติสังฆาทิเสส” แต่ไม่ยอมอยู่ปาริวาสกรรมหรือ ขอมานัต เป็นจำนวนไม่น้อยที่ปะปนอยู่ในวงการสงฆ์ ซึ่งมีศีลบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นระดับสังฆาธิการหรือภิกษุทั่วๆ ไป 

       ถือเป็นพฤติการณ์ที่ดูหมิ่นและไม่เคารพยำเกรงต่อ “พระธรรม” ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และ “พระวินัย” ที่ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความมัวหมองและความเสื่อมเสียแก่ “พระพุทธศาสนา” ดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน  


- จบ -

ตัชชนียกรรมที่ 1 : วิธีระงับ ตัชชนียกรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ตัชชนียกรรมที่ 1 : วิธีระงับ ตัชชนียกรรม



วิธีระงับ ตัชชนียกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 42 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม ///// อย่างนี้ คือ 

       ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ โลหิตกะ นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ 


* *  * คำขอระงับตัชชนียกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม แล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับ ตัชชนียกรรม

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี้



* * * กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ ตัชชนียกรรม 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ ตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ

       การระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า … 


       การระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ

       การระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ตัชชนียกรรมที่ 1 : วิธีระงับ ตัชชนียกรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 596 , 597 



- จบ -



ตัชชนียกรรมที่ 1 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ตัชชนียกรรมที่ 1 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด



วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 


* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 39 )  


       36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1. ไม่ให้อุปสมบท 

       2. ไม่ให้นิสัย 

       3. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก 

       4. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี 



* *  * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 40 )  


       37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม เพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น 

       2. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       3. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ไม่ติกรรม  

       5. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* *  * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 41 )  


       38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ ปกตัตตะภิกษุ

       2. ไม่ห้ามปวารณาแก่ ปกตัตตะภิกษุ

       3. ไม่ทำการไต่สวน 

       4. ไม่เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  

       5. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. ไม่โจทภิกษุอื่น 

       7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ไม่ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ตัชชนียกรรมที่ 1 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 595 , 596



- จบ -