Sunday, February 27, 2022

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
 


วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 257 )  


       239. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้วต้องประพฤติชอบ


       240. วิธีประพฤติชอบใน อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัตินั้นดังนี้ 

       1. ไม่พึงให้ อุปสมบท /////

       2. ไม่พึงให้ นิสัย /////

       3. ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก /////

       4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5.แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี 

       6. สงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น 

       7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       9. ไม่พึงติกรรม 

       10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       11. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ ของ ปกตัตตะภิกษุ /////  

       12. ไม่พึงยินดีการยืนรับ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       13. ไม่พึงยินดี อัญชลีกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       14. ไม่พึงยินดี สามีจิกรรม ///// ของปกตัตตะภิกษุ 

       15. ไม่พึงยินดีการนำ อาสนะ ///// มาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       16. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ  

       17. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ของ ปกตัตตะภิกษุ

       18. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ

       19. ไม่พึงยินดีการรับบาตร จีวร ของ ปกตัตตะภิกษ 

       20. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุ

       21. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ศีลวิบัติ /////

       22. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาจารวิบัติ ///// 

       23. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ทิฏฐิวิบัติ ///// 

       24. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาชีววิบัติ ///// 

       25. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน 

       26. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง คฤหัสถ์ ///// 

       27. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง เดียรถีย์ ///// 

       28. ไม่พึงคบพวก เดียรถีย์ 

       29. พึงคบพวกภิกษุ 

       30. พึงศึกษา สิกขา /////  ของภิกษุ 

       31. ไม่พึงอยู่ใน อาวาส /////  มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       32. ไม่พึงอยู่ใน อนาวาส /////  มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       33. ไม่พึงอยู่ใน อาวาส หรือใน อนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       34. เห็น ปกตัตตะภิกษุ แล้วพึงลุกจาก อาสนะ 

       35. ไม่พึงรุกราน ปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอก วิหาร ///// 

       36. ไม่พึงห้าม อุโบสถ /////  แก่ ปกตัตตะภิกษุ  

       37. ไม่พึงห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       38. ไม่พึงทำการไต่สวน 

       39. ไม่พึงเริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  

       40. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       41. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       42. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 

       43. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ กัน ///// 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 679 , 680
 


- จบ -



อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด

ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด 

* * * หมวดที่ 1  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 251 )  


       233. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 เมื่อสงฆ์จำนง พึงลง อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ 

       1. ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ /////  ในสงฆ์ 

       2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร 

       3. อยู่คลุกคลีกับ คฤหัสถ์ /////  ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 252 )  


       234. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ 

       1. เป็นผู้มี ศีลวิบัติ ///// ใน อธิศีล ///// 

       2. เป็นผู้มี อาจารวิบัติ /////  ใน อัธยาจาร /////  

       3. เป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ///// ใน อติทิฏฐิ  



* * * หมวดที่ 3  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 253 )  


       235. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ

       1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. กล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 254 )  


       236. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ 3 รูป คือ 

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ ///// ในสงฆ์ 

       2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติ /////   มาก มีมรรยาทไม่สมควร 

       3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับ คฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร  



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 255 )  


       237. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ 

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้มี ศีลวิบัติ ใน อธิศีล 

       2. รูปหนึ่งเป็นผู้มี อาจารวิบัติ ใน อัชฌาจาร /////  

       3. รูปหนึ่งเป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ใน อติทิฏฐิ 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 256 )  


       238. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ 

       1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 677 , 678



- จบ -

อัชฌาจาร

 

อัชฌาจาร 


       อัชฌาจาร หมายถึง ความประพฤติชั่ว การล่วงมรรยาท การละเมิดประเพณี 


- จบ -

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด



ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด 

* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 239 )  

       221. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม /////   ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 2 เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำต่อหน้า 

       2. สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ทำตามปฏิญาณ  



* * * หมวดที่ 2  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 240 )  


       222. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ทำเพราะต้องอาบัติ 

       2. ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี ///// 

       3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง  



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 241 )  


       223. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ให้จำเลยให้การแล้วทำ 

       3. ปรับอาบัติแล้วทำ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 242 )  


       224. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำต่อหน้า 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* *  * หมวดที่ 5


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 243 )  


       225. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. สอบถามก่อนแล้วทำ

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 244 )  


       226. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 7 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 245 )  


       227.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะต้องอาบัติ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 8 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 246 )  


       228. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 9  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 247 )  


       229. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 10 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 248 )  


       230. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ  



* * * หมวดที่ 11 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 249 )  


       231. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ

       1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 12 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 250 )  


       32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ปรับอาบัติแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 674 , 675 , 676 , 677



- จบ -

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด


ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 

* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 227 )  


       209. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม /////  ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำลับหลัง 

       2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ทำไม่ตามปฏิญาณ 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 228 )  


       210. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ /////  

       2. ทำเพราะอาบัติมิใช่ เทสนาคามินี ///// 

       3. ทำเพราะ อาบัติ ที่แสดงแล้ว 



* *  * หมวดที่ 3  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 229 )  


       211. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       3. ไม่ปรับ อาบัติ แล้วทำ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 230 )  


       212. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำลับหลัง 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ///// ทำ 



* * * หมวดที่ 5


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 231 )  


       213. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 232 )  


       214. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำไม่ตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 7 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 233 )  


       215. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 8 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 234 )  


       216. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ
ระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะมิใช่ อาบัติ เป็น เทสนาคามินี 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 9


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 235 )  


       217. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะ อาบัติ ที่แสดงแล้ว 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 10 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 236 )  


       218. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 11 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 237 )  


       219. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ 



* * * หมวดที่ 12 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 238 )  


       220. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และ ระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่ปรับ อาบัติ แล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็น วรรค ทำ  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 670 , 671 , 672 , 673 , 674



- จบ -

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ


วิธีทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 226 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำ อุกเขปนียกรรม /////  ฐานไม่ทำคืนอาบัติ พึงทำอย่างนี้ 

       พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ 

       ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรม วาจา /////  ว่าดังนี้ 



* * * กรรมวาจาทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค ///// กับสงฆ์

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะคืนอาบัติ สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม  

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์

       การทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระฉันนะอันสงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 669 , 670



- จบ -

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ


อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ

เรื่องพระฉันนะ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 225 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้น นั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า …

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ คือ ห้าม สมโภค ///// กับสงฆ์  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 669



- จบ -

Wednesday, February 23, 2022

อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
 


วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 224 )  


       208. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่เห็นอาบัติ พึงระงับอย่างนี้ 

       ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์ ///// เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้น อย่างนี้ ว่าดังนี้ 



* * * คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ


       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง 

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ///// ว่าดังนี้ 



* * * กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้

       บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ 

       บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ 

       สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ

       การระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแล้วแก้ตัวได้ 

       บัดนี้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

       สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 668 , 669 



- จบ -

อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด
 


วัตรที่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด 


* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 216 )  


       200. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1. ไม่ให้ อุปสมบท /////

       2. ไม่ให้ นิสัย /////  

       3. ไม่ให้สามเณร อุปัฏฐาก ///// 

       4. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 217 )  


       201. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. สงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น 

       2. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       3. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ไม่ติกรรม 

       5. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 218 )  


       202. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของ ปกตัตตะภิกษุ /////  

       2. ไม่ยินดีการยืนรับ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ไม่ยินดี อัญชลีกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       4. ไม่ยินดี สามีจิกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       5. ไม่ยินดีการนำ อาสนะ ///// มาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 219 )  


       203. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ

       1. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       2. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ

       3. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       4. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของ ปกตัตตะภิกษุ

       5. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุ 



* * * หมวดที่ 5


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 220 )  


       204. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ

       1. ไม่กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ศีลวิบัติ /////

       2. ไม่กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาจารวิบัติ ///// 

       3. ไม่กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ทิฏฐิวิบัติ ///// 

       4. ไม่กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาชีววิบัติ ///// 

       5. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน 



* * * หมวดที่ 6  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 221 )  


       205. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง คฤหัสถ์ ///// 

       2. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง เดียรถีย์ ///// 

       3. ไม่คบพวก เดียรถีย์ 

       4. คบพวกภิกษุ 

       5. ศึกษา สิกขา /////  ของภิกษุ 



* * * หมวดที่ 7


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 222 )  


       206. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ไม่อยู่ใน อาวาส ///// มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       2. ไม่อยู่ใน อนาวาส ///// มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ไม่อยู่ใน อาวาส หรือใน อนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       4. เห็น ปกตัตตะภิกษุ แล้วลุกจาก อาสนะ /////

       5. ไม่รุกราน ปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอก วิหาร ///// 



* * * หมวดที่ 8


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 223 )  


       207. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ไม่ห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       2. ไม่ห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ไม่ทำการไต่สวน 

       4. ไม่เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  

       5. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. ไม่โจทภิกษุอื่น 

       7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ กัน ///// 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 665 , 666 , 667
 



- จบ -

อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด
 



วัตรที่ไม่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด 


* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 208 )  


       192. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1. ให้ อุปสมบท /////

       2. ให้ นิสัย /////  

       3. ให้สามเณร อุปัฏฐาก /////

       4. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี 



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 209 )  


       193. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ

       1. สงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น 

       2. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       3. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ติกรรม 

       5. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* *  * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 210 )  


       194. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ยินดีการกราบไหว้ ของ ปกตัตตะภิกษุ /////  

       2. ยินดีการยืนรับ ของ ปกตัตตะภิกษุ

       3. ยินดี อัญชลีกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       4. ยินดี สามีจิกรรม /////  ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       5. ยินดีการนำ อาสนะ ///// มาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 211 )  


       195. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       2. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       4. ยินดีการรับบาตรจีวร ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       5. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของ ปกตัตตะภิกษุ 



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 212 )  


       196. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ศีลวิบัติ /////

       2. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาจารวิบัติ ///// 

       3. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ทิฏฐิวิบัติ ///// 

       4. กำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาชีววิบัติ ///// 

       ๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 213 )  


       197.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง คฤหัสถ์ ///// 

       2. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง เดียรถีย์ ///// 

       3. คบพวก เดียรถีย์ 

       4. ไม่คบพวกภิกษุ 

       5. ไม่ศึกษา สิกขา /////  ของภิกษุ 



* * * หมวดที่ 7 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 214 )  


       198. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ 

       1. อยู่ใน อาวาส /////  มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

       2. อยู่ใน อนาวาส /////  มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

       3. อยู่ใน อาวาส หรือใน อนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

       4. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว ไม่ลุกจาก อาสนะ /////

       5. รุกราน ปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอก วิหาร ///// 



* * * หมวดที่ 8


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 215 )  


       199. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ห้าม อุโบสถ /////  แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       2. ห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       3. ทำการไต่สวน 

       4. เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  

       5. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. โจทภิกษุอื่น 

       7. ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ กัน ///// 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตรที่ไม่ควรระงับ 43 ข้อ 8 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 662 , 663 , 664 



- จบ -



วิหาร

 

วิหาร 


       วิหารตามความหมายในทางพุทธศาสนา หมายถึง ที่พักอาศัยในป่า กระท่อม ที่อยู่อาศัย ที่พัก กุฏิ ( สำหรับพระภิกษุ ) สถานที่ประชุมของภิกษุ ตึกใหญ่สำหรับภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัย วิหาร และวัด เป็นต้น

       คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร 

       คำว่า "วิหาร" ยังกำหนดใช้เป็นคำลงท้ายสร้อยนามพระอารามหลวงต่างๆ เพื่อแสดงให้รู้ว่าวัดที่มีสร้อยนามอย่างนี้เป็นพระอารามหลวงสำคัญ 

       จากหนังสือ ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา ระบุเนื้อความในพุทธประวัติ ตอนที่พญานาคเข้าปรกกันพายุฝนให้พุทธองค์ จากหนังสือที่ยกมานี้อธิบายอย่างชัดเจนว่านาคนั้นแปลงปรกเป็นอาคาร โดยมีการ "ผกพังพานเป็นเพดานบังปิดเบื้องบน" จึงอาจสันนิษฐานว่า วิหารคือคือนาคที่แปลงมาเป็นอาคาร    



ที่มา

       วิหารแห่งแรก ได้ปรากฏในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงกล่าวอนุญาต เสนาสนะ คือ ที่นอน ที่พำนัก 5 ชนิด หนึ่งในนั้น ได้แก่ วิหาร ซึ่งหมายถึงกุฏิมีหลังคา มีชายคา สองข้าง เป็นลักษณะของสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นที่เร้น เพื่อความ สำราญ เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสนา ยังประโยชน์แก่พระศาสนา 



ประเภท

       วิหารมีหลายแบบ เช่น

* * * วิหารคด คือวิหารที่มีลักษณะคดอยู่ตรงมุมกำแพงแก้วของอุโบสถ อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมี 4 มุม และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน 

* * * วิหารทิศ คือวิหารที่สร้างออกทั้ง 4 ด้านของพระสถูปเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง 

* * * วิหารยอด คือวิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่นวิหารยอดเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง

* * * วิหารหลวง คือวิหารที่ด้านท้ายเชื่อมต่อกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ 


- จบ -

อาสนะ

 

อาสนะ


       อาสนะ หมายถึงที่นั่ง เครื่องปูรองนั่ง สำหรับพระสงฆ์ ส่วนใหญ่จะหมายถึงผ้าปูรองนั่ง เช่น พรมหรือผ้าที่ตัดเย็บเป็นผืนสี่เหลี่ยมเล็กๆ พอนั่งได้คนเดียว เรียกว่า ผ้าอาสนะ

       แม้ผ้าขาวยาวๆ ที่ปูลาดให้พระนั่งในเวลาทำพิธีก็เรียกว่า อาสนะ เช่นกัน 


- จบ -

อนาวาส

 

อนาวาส 


       อนาวาส ความหมาย คือ ถิ่นที่มิใช่อาวาส คือ ไม่เป็นวัด    


- จบ -

อาวาส

 

อาวาส 


       อาวาส มีความหมายหลายอย่าง คือ

       1. แปลว่า วัด  เช่น เจ้าอาวาส



       2. แปลว่า ที่อยู่ เช่น 

* * * พุทธาวาส ( พุทธ + อาวาส ) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งก็หมายถึง โบสถ์ วิหาร  

* * * สังฆาวาส ( สังฆ + อาวาส ) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์ 



       3.แปลว่า ผู้ครอบครอง เช่น 

* * * ฆราวาส ( ฆร + อาวาส ) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน    


- จบ -

สิกขา

 

สิกขา


       สิกขา สิกขาบท หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่ต้องปฏิบัติ ในทางศาสนาหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา

       ในคำไทยนำมาใช้ว่า ศึกษา หมายถึงการเล่าเรียน หรือพูดซ้ำว่า การศึกษาเล่าเรียน 

       สิกขาบท หมายถึงข้อศีล ข้อวินัย คือศีลแต่ละข้อ วินัยแต่ละข้อ

       เช่นศีลของสามเณรมี 10 ข้อ เรียกว่ามี 10 สิกขาบท ศีลของพระภิกษุ มี 227 ข้อ เรียกว่ามี 227 สิกขาบท   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สิกขา 3 ประการ   

       สิกขา 3 ประการ หรือ ไตรสิกขา คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไป จนสามารถบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ประกอบด้วย

       1. อธิสีลสิกขา 

       อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง การเรียนรู้และปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่ในอธิศีล ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมความประพฤติทางกายและวาจาให้เรียบร้อย ได้แก่การตั้งตนอยู่ในปาริสุทธิศีล 4 



       2. อธิจิตตสิกขา 

       อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้บรรลุถึงสมาบัติ 8 เพื่อนำมาเป็นฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไป 



       3. อธิปัญญาสิกขา 

       อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง เพื่อให้เห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 ซึ่งจัดเป็นปัญญาขั้นสูงยิ่งกว่าปัญญาขั้นอื่น ๆ 


- จบ -

อุกเขปนียกรรมที่ 5 : สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรมที่ 5 : สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม



สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 207 )  


       ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลง อุกเขปนียกรรม /////  ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค ///// กับสงฆ์

       เธอถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น

       ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้น ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำ อัญชลีกรรม /////  ไม่ทำ สามีจิกรรม /////  ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา

       เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้นั้น สู่อาวาสอื่น

       ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นแม้นั้น ก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำ อัญชลีกรรม ไม่ทำ สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา

       เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสแม้นั้นสู่อาวาสอื่น

       ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นแม้นั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำ อัญชลีกรรม ไม่ทำ สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา

       เธออันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป … ตรัสว่า  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่ภิกษุฉันนะ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรมที่ 5 : สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 661 



- จบ -

Sunday, February 20, 2022

อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
 



วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 206 )  


       190. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม /////  ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ


       191. วิธีประพฤติชอบใน อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้น ดังต่อไปนี้ 

       1. ไม่พึงให้ อุปสมบท /////

       2. ไม่พึงให้ นิสัย /////  

       3. ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก /////  

       4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5.แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี 

       6. สงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น 

       7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       9. ไม่พึงติกรรม 

       10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       11. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของ ปกตัตตะภิกษุ /////  

       12. ไม่พึงยินดีการยืนรับของ ปกตัตตะภิกษุ 

       13. ไม่พึงยินดี อัญชลีกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       14. ไม่พึงยินดี สามีจิกรรม ///// ของ ปกตัตตะภิกษุ

       15. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       16. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       17. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้าให้ของ ปกตัตตะภิกษุ 

       18. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ 

       19. ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของ ปกตัตตะภิกษุ 

       20. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของ ปกตัตตะภิกษุ 

       21. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ศีลวิบัติ /////  

       22. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาจารวิบัติ ///// 

       23. ไม่พึงกำจัด ปกตัตตะภิกษุ ด้วย ทิฏฐิวิบัติ ///// 

       24. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วย อาชีววิบัติ ///// 

       25. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

       26. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง คฤหัสถ์ ///// 

       27. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่าง เดียรถีย์ ///// 

       28. ไม่พึงคบพวก เดียรถีย์ 

       29. พึงคบพวกภิกษุ 

       30. พึงศึกษา สิกขา ///// ของภิกษุ

       31. ไม่พึงอยู่ใน อาวาส ///// มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       32. ไม่พึงอยู่ใน อนาวาส ///// มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ 

       33. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตะภิกษุ

       34. เห็น ปกตัตตะภิกษุ แล้วพึงลุกจาก อาสนะ /////

       35. ไม่พึงรุกราน ปกตัตตะภิกษุ ข้างใน หรือข้างนอก วิหาร /////

       36. ไม่พึงห้าม อุโบสถ /////  แก่ ปกตัตตะภิกษุ 

       37. ไม่พึงห้าม ปวารณา /////  แก่ ปกตัตตะภิกษุ  

       38. ไม่พึงทำการไต่สวน 

       39. ไม่พึงเริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  

       40. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       41. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       42. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 

       43. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ กัน ///// 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรมที่ 5 : วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 659 , 660 , 661



- จบ -