Thursday, October 28, 2021

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ยาตา เป็นต้น

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ยาตา เป็นต้น
 



ทรงอนุญาตยาตา เป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 37 )  


       54. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาตา คือ

       ยาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง

       ยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่างๆ

       ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำ เป็นต้น หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ



       พวกภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยเครื่องยาที่จะบดผสมกับยาตา

       … ตรัสว่า  

       55. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

       ไม้จันทร์ 

       กฤษณา 

       กะลัมพัก 

       ใบเฉียง  

       แห้วหมู 



       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอบ้าง ในขันบ้าง ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ปลิวลง

       … ตรัสว่า 

       56. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา 


       57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ ( คือ ชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง )

       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ  


       58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา

       ที่ทำด้วยกระดูก

       ทำด้วยงา 

       ทำด้วยเขา  

       ทำด้วยไม้อ้อ   

       
ทำด้วยไม้ไผ่  

       ทำด้วยยาง 

       ทำด้วยผลไม้ 

       ทำด้วยโลหะ  

       ทำด้วยเปลือกสังข์ 


       59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด ( กลักยาตา ) 



       ฝาปิดยังตกได้ พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

       60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกด้าย แล้วพันกับกลักยาตา



       กลักยาตาแตก พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  

       61. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถักด้วยด้าย 


       62. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา



       สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายตาชนิดต่างๆ คือ ที่ทำด้วยทองคำบ้าง ที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม

       … ตรัสว่า 

       63. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่างๆ ( คือ ชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง ) 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       64. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา

       ที่ทำด้วยกระดูก  

       ทำด้วยงา 

       ทำด้วยเขา  

       ทำด้วยเปลือกสังข์ 


       65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภาชนะสำหรับเก็บไม้ป้ายยาตา 


       66. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา 



       หูถุงสำหรับสะพายไม่มี 

       … ตรัสว่า 

       67. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ยาตา เป็นต้น 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 430 , 431



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเนื้อดิบและเลือดสด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเนื้อดิบและเลือดสด



ทรงอนุญาตเนื้อดิบและเลือดสด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 36 )  


53. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า * * * ( 1 ) 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


* * * ( 1 )
 คำนี้มีบาลีว่า อมนุสฺสิกาพาเธ ซึ่งแปลได้ว่า อาพาธเพราะอมนุษย์ - ผู้รวบรวม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเนื้อดิบและเลือดสด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 430
 


- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องกรอง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องกรอง
 



ทรงอนุญาตเครื่องกรอง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 35 )  


       51. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง 


       52. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องกรอง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 430



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต จุณเภสัช เป็นต้น

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต จุณเภสัช เป็นต้น
 



ทรงอนุญาตจุณเภสัช เป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 34 )  


       48. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัชชนิดผง สำหรับภิกษุผู้เป็นฝีก็ดี พุพองก็ดี สิวก็ดี โรคฝีดาษ หรืออีสุกอีใสก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี 


       49. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโคมัย ดินเหนียว กากน้ำย้อม สำหรับภิกษุไม่อาพาธ 


       50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ครก สาก 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต จุณเภสัช เป็นต้น 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 429 , 430 



- จบ -

Sunday, October 24, 2021

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต โลณเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต โลณเภสัช
 



ทรงอนุญาต โลณเภสัช


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 33 )  


       47. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ 

       เกลือสมุทร  

       เกลือดำ  

       เกลือสินเธาว์ 

       เกลือดินโป่ง  

       เกลือหุง

       ก็หรือ โลณเภสัช ชนิดอื่นใดบรรดามี 

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว  

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค 

       รับประเคนโลณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ  

       ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้  

       เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค  ต้องอาบัติทุกกฏ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต โลณเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 429


- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ชตุเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ชตุเภสัช
 




ทรงอนุญาต ชตุเภสัช


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 32 )  


       46. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ

       ยางอันไหลออกจากต้นหิงคุ  

       ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ  

       ยางอันเขาเคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วย ยาง
อันไหลออกจากยอดไม้ตกะ 

       ยางอันไหลออกจากใบแห่งต้นตกะ 

       ยางอันเขาเคี่ยวจากใบหรือไหลออกจากก้านแห่งต้นตกะ 

       กำยาน 

       ก็หรือ ชตุเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว  

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค 

       รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ  

       ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ 

       เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ชตุเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 429 



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ผลเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ผลเภสัช
 



ทรงอนุญาต ผลเภสัช 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 31 )  


       45. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ

       ลูกพิลังกาสา 

       ดีปลี 

       พริก 

       สมอไทย  

       สมอพิเภก  

       มะขามป้อม  

       ผลแห่งโกฐ  

       ก็หรือผลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี  

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว  

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค  

       รับประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ  

       ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้  

       เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ผลเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 428  



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ปัณณเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ปัณณเภสัช



ทรงอนุญาต ปัณณเภสัช 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 30 )  


       44. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นเภสัช คือ

       ใบสะเดา 

       ใบมูกมัน

       ใบกระดอม หรือขี้กา 

       ใบกะเพรา หรือแมงลัก 

       ใบฝ้าย 

       ก็หรือ ปัณณเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี 

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว 

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของควรบริโภค 

       รับประเคน ปัณณเภสัช เหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ  

       ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ 

       เมื่อเหตุไม่มีภิกษุบริโภค  ต้องอาบัติทุกกฏ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต ปัณณเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 428 


- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กสาวเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กสาวเภสัช
 



ทรงอนุญาต กสาวเภสัช


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 29 )  


       43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นเภสัช คือ

       น้ำฝาดสะเดาะ

       น้ำฝาดมูกมัน  

       น้ำฝาดกระดอม หรือขี้กา 

       น้ำฝาดบรเพ็ด หรือพญามือเหล็ก  

       น้ำฝาดกถินพิมาน

       ก็หรือ กสาวเภสัช แม้ชนิดอื่น ใดบรรดามี

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว  

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค 

       รับประเคน กสาวเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ

       ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้

       เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กสาวเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 428



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องบดยา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องบดยา
 



ทรงอนุญาตเครื่องบดยา 


       42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตเครื่องบดยา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 427 



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตมูลเภสัช

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตมูลเภสัช



ทรงอนุญาตมูลเภสัช


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 28 )  


       41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นเภสัช คือ

       ขมิ้น 

       ขิง 

       ว่านน้ำ

       ว่านเปราะ 

       อุตพิด

       ข่า  

       แฝก 

       แห้วหมู 

       ก็หรือมูลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว 

       ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค

       รับประเคนมูลเภสัชเหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ

       ต่อมีเหต จึงให้บริโภคได้ 

       เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตมูลเภสัช 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 427 



- จบ -

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตน้ำมันเปลว

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตน้ำมันเปลว



ทรงอนุญาตน้ำมันเปลว


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 27 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยน้ำมันเปลวเป็นเภสัช 

       … ตรัสว่า  


       36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันเปลวเป็นเภสัช คือ

       น้ำมันเปลวหมี

       น้ำมันเปลวปลา

       น้ำเปลวปลาฉลาม

       น้ำมันเปลวหมู 

       น้ำมันเปลวลา


       ที่รับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล

       บริโภคอย่างน้ำมัน 


       37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล

       หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น 

       ต้องอาบัติทุกกฏ 3 ตัว 


       38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล 

       หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น 

       ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว 


       39. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล  

       หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น  

       ต้องอาบัติทุกกฏ 1 ตัว


       40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล 

       หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น

       ไม่ต้องอาบัติ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาตน้ำมันเปลว 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 426 , 427
 


- จบ -

Thursday, October 21, 2021

เภสัชชขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเภสัช 5

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเภสัช 5
 



ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ 

หมวดว่าด้วยยา 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเภสัช 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 25 )  


       … ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

       เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น

       พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น

       เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอเป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัวและเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลกและไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช 5 นี้แล คือ

       เนยใส 

       เนยข้น 

       น้ำมัน  

       น้ำผึ้ง 

       น้ำอ้อย 

       เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัชทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ

       ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช 5 นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วบริโภคในกาล


       34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช 5 นั้นในกาล แล้วบริโภคในกาล 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 26 )  


       35. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช 5 นั้น

       แล้วบริโภคได้ทั้งในกาลทั้งนอกกาล 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเภสัช 5 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 426



- จบ -

จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตพิเศษ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตพิเศษ



ข้ออนุญาตพิเศษ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 23 )  


       29. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป 

       เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ 5 ได้ทั่วปัจจันตชนบท 


* * * กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท 

       บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้ :- 


       ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึงมหาสาลนคร นอกนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ( จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของประเทศ ) 


       ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำอสัลลวตี นอกแม่น้ำสัลลวตีนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท 


       ในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท 


       ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคามชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท 


       ในทิศอุดร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ 5 ได้ ทั่วปัจจันตชนบทเห็นปานนี้ 



       30. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหงกีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท 


       31. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ 

       เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท 


       32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล 

       เราอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ทั่วปัจจันตชนบท 


       33. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีได้จีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรีตลอดเวลาที่ยังไม่ถึงมือ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

จัมมขันธกะ จบ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตพิเศษ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 424 , 425 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน



ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 19 )  


       28. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้านได้



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 424



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน
 



ทรงห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 19 )  


       27. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าเข้าบ้าน  

       รูปใดสวมเข้าไป  ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 423 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังโค

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังโค
 



ทรงห้ามใช้หนังโค 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 18 )  


       22. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงชักชวนในการฆ่าสัตว์

       รูปใดชักชวน  พึงปรับอาบัติตามธรรม 


       23. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง หนังโคอันภิกษุไม่พึงใช้  

       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ  


       24. หนังอะไรๆ ภิกษุไม่พึงใช้

       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       สมัยต่อมา เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ของชาวบ้าน เขาหุ้มด้วยหนัง ถักด้วยหนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

       พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  

       25. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งที่เป็นอย่างคฤหัสถ์ 

       แต่ไม่อนุญาตให้นอนทับ 


       สมัยต่อมา วิหารทั้งหลายเขาผูกรัดด้วยเชือกหนัง ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งพิง

       … ตรัสว่า 

       26. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งพิงเฉพาะเชือก 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังโค 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 423



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังผืนใหญ่

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังผืนใหญ่
 



ทรงห้ามใช้หนังผืนใหญ่


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 16 )  


       21. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หนังผืนใหญ่คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง  

       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้หนังผืนใหญ่ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 423



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่
 



ทรงห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 15 )  


       71. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ 

       1. เตียงมีเท้าสูงเกินประมาณ 


       2. เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย 


       3. ผ้าโกเชาว์ขนยาว 


       4. เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรลวดลาย 


       5. เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว 


       6. เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ 


       7. เครื่องลาดที่ยัดนุ่น 


       8. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น 


       9. เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง 


       10. เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว 


       11. เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม 


       12. เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน 


       13. เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน 16 คน 


       14. เครื่องลาดหลังช้าง 


       15. เครื่องลาดหลังม้า 


       16. เครื่องลาดในรถ 


       17. เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุ่ม 


       18. เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด 


       19. เครื่องลาดมีเพดาน 


       20. เครื่องลาดมีหมอนข้าง  


       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 422 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเรื่องยาน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเรื่องยาน
 



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเรื่องยาน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 14 )  


       67. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน 

       รูปใดไป  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       68. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ 


       69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ใช้มือลาก 


       70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเรื่องยาน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 421 



- จบ -

Wednesday, October 20, 2021

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามจับโค

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามจับโค



ทรงห้ามจับโค 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 13 )  


       60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค 

       รูปใดจับ  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       61. … ไม่พึงจับหูโค … 


       62. … ไม่พึงจับคอโค … 


       63. … ไม่พึงจับหางโค … 


       64. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขี่หลังโค  

       รูปใดจับและขึ้นขี่  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง

       รูปใดถูกต้อง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย 


       66. ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค

       รูปใดฆ่า  พึงปรับอาบัติตามธรรม 




* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามจับโค 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 421



- จบ -



จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด



ทรงห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 12 )  


       43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า  

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       44. … เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง … 


       45. … เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง … 


       46. … เขียงเท้าสานด้วยแฝก … 


       47. … เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ …


       48. … เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ … 


       49. … เขียงเท้าประดับด้วยเงิน … 


       50. … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี … 


       51. … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ … 


       52. … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก … 


       53. … เขียงเท้าประดับด้วยทองสัมฤทธิ์ … 


       54. … เขียงเท้าประดับด้วยกระจก … 


       55. … เขียงเท้าทำด้วยดีบุก …  


       56. … เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี … 


       57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยทองแดง  

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อันภิกษุไม่พึงสวม

       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับใช้สวมเดิน 3 ชนิด

       คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ 1 

       เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ 1 

       เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ 1 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 420 , 421



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่
 



ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ


       42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึงสวม  

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ
 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 420 



- จบ -



จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล
 



ทรงห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 11 )  


       41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อันภิกษุไม่พึงสวม 

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 419 


- จบ -

Monday, October 18, 2021

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้
 



ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้


       
40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุไม่พึงสวม  

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 419 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ
 



ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 10 )  


       37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธมีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้ 


       38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้าในขณะที่คิดว่าประเดี๋ยวจักขึ้นเตียงหรือขึ้นตั่ง 


       สมัยต่อมา เวลากลางคืน ภิกษุทั้งหลายเดินไปสู่โรงอุโบสถก็ดี สู่ที่ประชุมก็ดี ย่อมเหยียบตอบ้าง หนามบ้าง ในที่มืดเท้าทั้งสองได้รับบาดเจ็บ … ตรัสว่า  


       39. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภายในอาราม เราอนุญาตให้สวมรองเท้า และใช้คบเพลิง ประทีป ไม้เท้าได้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 419 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
 



ทรงห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 8 )  


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าเมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า จริงหรือ 


       จริงพระพุทธเจ้าข้า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า 

       อันคฤหัสถ์ชื่อเหล่านี้นุ่งห่มผ้าขาว ยังมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค ในอาจารย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งศิลปะซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีพอยู่

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงงามในธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ถ้าพวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค อยู่ในอาจารย์ ในภิกษุปูนอาจารย์ในอุปัชฌายะ ในภิกษุปูนอุปัชฌายะ…


       35. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์ ภิกษุปูนอาจารย์ อุปัชฌายะ ภิกษุปูนอุปัชฌายะเดินมิได้สวมรองเท้า ภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า 

       รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ 


       36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม 

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 418 , 419



- จบ -

Sunday, October 17, 2021

จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
 



ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 7 )  


       33. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว 


       34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รองเท้าหลายชั้นที่ใหม่ ภิกษุไม่พึงสวม

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 418 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง
 



ทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง 

       26. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       27. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง … 


       
28. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด … 


       29. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก … 


       30. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว …  


       31. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง …  


       32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า  

       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 417 , 418 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด
 



ทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด 

       16. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น

       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       17. …ไม่พึงสวมรองเท้าหุ้มแข้ง… 


       18. …ไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า… 


       19. …ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น… 


       20. …ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทา… 


       21. …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแกะ…


       22. …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ…  


       23. …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง… 


       24. …ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง… 


       25. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าที่อันวิจิตร  

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 417 



- จบ -

จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร



ทรงห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร 


       9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว 

       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       10. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง … 


       11. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง … 


       
12. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น … 


       13. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีดำ … 


       14. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด … 


       15. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีชมพู 
 
       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 416 , 417 


- จบ -





จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ



ทรงห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 6 )  


       2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน 

       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       3. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีเหลืองล้วน … 


       4. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีแดงล้วน … 


       5. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน … 


       6. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีดำล้วน … 


       7.… ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน …  


       8. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีชมพูล้วน 

       รูปใดสวม  ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 416 


- จบ -




จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้า

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้า
 



คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 

( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * 

มหาวรรค ภาค 2 : แบ่งเป็น 6 ขันธ์  มี 748 สิกขาบท 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ 

หมวดว่าด้วยหนัง


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงอนุญาตรองเท้า


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 5 )  


       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว  

       ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า 2 ชั้น

       ไม่พึงสวมรองเท้า 3 ชั้น 

       ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้น 


       รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : จัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมมขันธกะ : ทรงอนุญาตรองเท้า 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 415 , 416 


- จบ -

Friday, October 15, 2021

ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณา



ทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 251 )  


       1186. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง 

       เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

       หากภิกษุทั้งหลายในสังฆสันนิบาตนั้นคิดกันอย่างนี้ว่า

       พวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง

       เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไป 



วิธีเลื่อนปวารณา

       1187. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาอย่างนี้ 

       ภิกษุทุกๆ รูปต้องประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาเลื่อนปวารณา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

       หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง 

       เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาออกไป

       บัดนี้พึงทำอุโบสถสวดปาติโมกข์ พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่ครบ 4 เดือนที่จะมาถึง 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

       หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง 

       เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ 

       สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณาออกไป

       บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่ครบ 4 เดือนที่จะมาถึง  

       การกระทำซึ่งการเลื่อนปวารณาออกไป เดี๋ยวนี้สงฆ์จักทำอุโบสถสวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่ครบ 4 เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       การเลื่อนปวารณาอันสงฆ์ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถสวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่ครบ 4 เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ไม่เป็นใหญ่ในปวารณา 

       1188. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไปแล้ว หากจะมีภิกษุสักรูปหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกไปสู่จาริกตามชนบท เพราะผมมีกิจจำเป็นที่ชนบท 


       ภิกษุรูปนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 

       ดีแล้วอาวุโส ท่านปวารณาแล้วจึงค่อยไป 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นอันสงฆ์ปวารณาอยู่ งดปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งเสีย

       ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

       อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่ในการปวารณาของผมๆ จักยังไม่ปวารณาก่อน


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งห้ามปวารณาของภิกษุรูปนั้น 

       สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง 2 ฝ่าย แล้วปรับอาบัติตามธรรม 


       1189. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นทำกรณียกิจนั้นในชนบทเสร็จแล้ว กลับมาสู่อาวาสนั้นภายในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่ครบ 4 เดือน 

       หากเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ภิกษุอีกรูปหนึ่ง งดปวารณาของภิกษุรูปนั้น 

       ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกงดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 

       อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะผมปวารณาเสร็จแล้ว 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเมื่อภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุอีกรูปหนึ่ง

       ทั้ง 2 ฝ่ายสงฆ์พึงสอบสวน สืบสวนเป็นการสงฆ์

       ปรับอาบัติตามธรรม

       แล้วจึงปวารณาเถิด


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ปวารณาขันธกะ จบ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 412 , 413 , 414
 


- จบ -