Tuesday, September 27, 2022

ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการอาบน้ำ

 




ข้ออนุญาตในการอาบน้ำ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 607 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วย จุณ /////  

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       เราอนุญาต รำดินเหนียว 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 608 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น 

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 609 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำใน เรือนไฟ  /////  

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 610 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่งสายน้ำ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำทวนกระแส 

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 611 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอาบน้ำ 

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 612 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ 

       รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       เราอนุญาตให้อาบน้ำ ที่ท่าสำหรับหญิงอาบ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ภิกขุนีขันธกะ จบ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการอาบน้ำ  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 998
 


- จบ -

เรือนไฟ

 




( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 84 )  


       สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า  

       126. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง 



       พื้นที่ถมพังลงมา … ตรัสว่า 

       127. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม 3 ชนิด คือ 

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยหิน 1 

       ก่อด้วยไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า 

       128. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 ชนิด คือ 

       บันไดอิฐ 1 

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       129. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด 



       เรือนไฟไม่มี บานประตู … ตรัสว่า  

       130. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิงกลอน ลิ่ม ช่องดาน ช่องสำหรับชักเชือก เชือกสำหรับชัก 



       เชิงฝาเรือนไฟชำรุด … ตรัสว่า 

       131. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อให้ต่ำ 



       เรือนไฟไม่มีปล่องควัน … ตรัสว่า 

       132. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปล่องควัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 85 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไฟไว้กลางเรือนไฟขนาดเล็ก ไม่มี อุปจาร /////  … 

       133. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่ตั้งเตาไฟไว้ส่วนข้างหนึ่ง เฉพาะเรือนไฟขนาดเล็ก เรือนไฟขนาดกว้าง ตั้งไว้ตรงกลางได้ 



       ไฟในเรือนไฟลวกหน้า … ตรัสว่า 

       134. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินสำหรับทาหน้า 



       ภิกษุทั้งหลายละลายดินด้วยมือ … ตรัสว่า 

       135. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราง สำหรับละลายดิน 



       ดินมีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า  

       136. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ อบกลิ่น 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 86 )  


       สมัยต่อมา ไฟในเรือนไฟลนกาย … ตรัสว่า 

       137. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตักน้ำมาไว้มากๆ 



       ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้าง ตักน้ำ … ตรัสว่า 

       138. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ขังน้ำ ขันตักน้ำ 



       เรือนไฟที่มุงด้วยหญ้า ไหม้เกรียม … ตรัสว่า 

       139. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง 



       เรือนไฟเป็นตม … ตรัสว่า 

       140. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูเครื่องลาด 3 อย่าง คือ 

       เครื่องลาดอิฐ 1 

       เครื่องลาดหิน 1 

       เครื่องลาดไม้ 1


 
       เรือนไฟ ก็ยังเป็นตมอยู่นั้นเอง … ตรัสว่า 

       141. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชำระล้าง 



       น้ำขัง … ตรัสว่า 

       142. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 87 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ เนื้อตัวคัน … ตรัสว่า 

       143. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ตั่ง /////  ในเรือนไฟ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 88 )  


       สมัยต่อมา เรือนไฟยังไม่มีเครื่องล้อม … ตรัสว่า 

       144. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว 3 อย่าง คือ 

       รั้วอิฐ 1 

       รั้วหิน 1 

       รั้วไม้ 1 



       ซุ้มไม่มี … ตรัสว่า

       145. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม 



       ซุ้มต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า 

       146. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำพื้นที่ให้สูง 



       พื้นที่ก่อพัง … ตรัสว่า

       147. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน 3 อย่าง คือ

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยหิน 1 

       ก่อด้วยไม้ 1



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า  

       148. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 อย่าง คือ 

       บันไดอิฐ 1 

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       149. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด



       ซุ้มยังไม่มีประตู … ตรัสว่า  

       150. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 89 )  


       สมัยต่อมา ผงหญ้าหล่นเกลื่อนซุ้ม … ตรัสว่า 

       151. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว

       สีดำ 

       สีเหลือง

       จำหลักเป็นพวงดอกไม้

       เครือไม้ 

       ฟันมังกร

       ดอกจอกห้ากลีบ  



       บริเวณเป็นตม … ตรัสว่า 

       152. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่ 



       กรวดแร่ยังไม่เต็ม … ตรัสว่า 

       153. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเรียบ 



       น้ำขัง … ตรัสว่า 

       154. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ  



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://www.tuvalink.com/W-2Bd-01-01-04-D-650424-2208.html  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการถ่ายอุจจาระ

 




ข้ออนุญาตในการถ่ายอุจจาระ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 606 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระใน วัจจกุฎี  /////  

       ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ยังครรภ์ให้ตกในวัจจกุฎีนั้นเอง 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี 

       รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ


       เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ซึ่ง เปิดข้างล่าง ปิดข้างบน



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการถ่ายอุจจาระ  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 997



- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ทรงห้ามภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ

 




ทรงห้ามภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 604 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสซ่นเท้า 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ 

       รูปใดนั่ง ต้อง อาบัติทุกกฏ /////  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 605 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นขัดสมาธิไม่สบาย

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งพับเพียบได้



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ทรงห้ามภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 997



- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : เรื่องภิกษุณีเข้ารีดเดียรถีย์

 




เรื่องภิกษุณีเข้ารีดเดียรถีย์


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 602 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครอง ผ้ากาสาวะ /////  ไป เข้ารีด /////  เดียรถีย์ /////  นางกลับมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใด ครองผ้ากาสาวะไปเข้ารีดเดียรถีย์ นางนั้นมาแล้วไม่พึงให้อุปสมบท 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 603 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยินดีการอภิวาท การปลงผม การตัดเล็บ การรักษาแผล จากบุรุษทั้งหลาย

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : เรื่องภิกษุณีเข้ารีดเดียรถีย์  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 997



- จบ -

รีต/เข้ารีต

 




       เข้ารีต - ไปถือลัทธิศาสนาอื่น , ผู้ที่ออกจากศาสนาหนึ่ง แล้วไปปฏิญาณตนถือศาสนาใหม่ 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/เข้ารีต 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : เรื่องภิกษุณีไม่บอกลาสิกขา

 




เรื่องภิกษุณีไม่บอกลาสิกขา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 601 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่ได้บอก ลาสิกขา /////  สึกไปแล้ว นางกลับมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ต้องบอกลาสิกขา 

       นางสึกแล้วเมื่อใดไม่เป็นภิกษุณีเมื่อนั้น 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : เรื่องภิกษุณีไม่บอกลาสิกขา  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 996 



- จบ -

สิกขา/ลาสิกขา

 




       ลาสิกขา หมายถึงการลาจากเพศสมณะของภิกษุ ใช้ว่า ลาสึก ก็มี ที่เรียกว่าลาสิกขา เพราะภิกษุนั้นมีสิกขาหรือข้อที่พึงศึกษาอยู่คือศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อต้องการจะบอกคืนหรือบอกลาข้อที่ศึกษานั้นโดยจะไม่ศึกษาต่อไปจึงเรียกว่า ลาสิกขา 

       การลาสิกขาของภิกษุเรียกว่า ลาสิกขา ไม่ใช่ ลาสิกขาบท 

       ลาสิกขาบท หมายถึงการลาจากสิกขาบทคือศีลที่สมาทาน เช่น แม่ชีหรือผู้ถือเพศนุ่งขาวห่มขาวไม่ปลงผม ประพฤติพรหมจรรย์โดยถือสมาทานสิกขาบท 8 ข้อไว้เป็นการชั่วคราว เมื่ออกจากการถือเพศนั้นโดยการบอกคืนสิกขาบท จึงเรียกว่า ลาสิกขาบท หรือ ลาศีล 
 


ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ลาสิกขา  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน

 




ทรงอนุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 599 )  


       สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวชแล้วเด็กจึงคลอด

       ครั้งนั้น นางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่างไรหนอ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดู จนกว่าเด็กนั้นจะรู้เดียงสา



       นางคิดว่าเราจะอยู่แต่ตามลำพังไม่ได้ และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเด็กชายอื่นก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น 



วิธีสมมติ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ 

       พึงขอร้องภิกษุณีก่อน 

       ครั้นแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา /////  ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาให้สมมติ 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ 

       นี้เป็นญัตติ 


       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด 


       สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



       ครั้งนั้น ภิกษุณีเพื่อนของนางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่างไรหนอ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติในเด็กชายนั้นเหมือนปฏิบัติในบุรุษอื่น เว้นการนอนร่วมเรือนเดียวกัน



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 600 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้อง อาบัติหนัก /////  แล้วกำลังประพฤติ มานัต /////  นางคิดว่าเราอยู่แต่ลำพังผู้เดียว และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเราก็ไม่ได้ เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น 


วิธีสมมติ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ 

       พึงขอร้องภิกษุณีก่อน 

       ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้


* * * กรรมวาจาให้สมมติ 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ 

       นี้เป็นญัตติ 


       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของ ภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใดแม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด 


       สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 995 , 996
 


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการอยู่ป่า

 




ข้ออนุญาตในการอยู่ป่า


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 597 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า พวกนักเลงประทุษร้าย

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า 

       รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 598 )  


       สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์

       … ตรัสว่า  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ 



       โรงเก็บของไม่พอ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่ 



       ที่อยู่ไม่พอ

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต นวกรรม /////  



       นวกรรมไม่พอ 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำแม้เป็นส่วนบุคคล 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตในการอยู่ป่า  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 994 , 995



- จบ -

กาสาวะ/ผ้ากาสาวะ

 




       กาสาวพัสตร์ ( อ่านว่า กาสาวะพัด ) แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด ( บาลี: kasāva กาสาว; สันสกฤต: काषाय kāṣāya กาษาย ; จีน: 袈裟 ; พินอิน : jiāshā ; ญี่ปุ่น : 袈裟 ; ทับศัพท์ : kesa ; เกาหลี : 가사 ; ฮันจา : 袈裟 ; อาร์อาร์ : gasa ; เวียดนาม : cà-sa ) เป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแก่นขนุนหรือสีกรัก ก็เรียกว่าเป็นผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นของสูง เป็นของพระอริยะ เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้ จัดเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง 

       ผ้ากาสาวะ หรือ "กาสาวพัสตร์" ในพระไตรปิฎกท่านเรียกว่า "อรหทฺธช" แปลกันว่า "ธงชัยของพระอรหันต์" ( The flag or banner of an Arahant ) มีนัยว่า ผู้ครองผ้ากาวะ หรือ "แต่งเครื่องแบบชนิดนี้" ก็คือ ผู้ประกาศตน หรือ "ชูธง" ที่จะมุ่งดำเนินไปสู่ความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง 

       คำว่า กาสาวพัสตร์ ในความหมายรวมๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เช่น แม่พูดกับลูกว่า “ลูกเอ๋ย บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก” คำว่า ผ้าเหลือง ในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นเอง 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/กาสาวพัสตร์  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต

 




ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 595 )  


       โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี บวชในสำนักภิกษุณี ก็นางปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถีด้วยตั้งใจว่า จักอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พวกนักเลงได้ทราบข่าวว่าหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี ปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถีจึงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง นางได้ทราบข่าวว่า พวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง จึงส่งทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า หม่อมฉันปรารถนาจะอุปสมบท หม่อมฉันจะพึงปฏิบัติอย่างไร

       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำ ธรรมีกถา /////  ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า 


       625. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบท แม้โดยทูต 


       ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบท โดย ภิกษุ /////  เป็นทูต

       … ตรัสว่า 


       626. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูต

       รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดย สิกขมานา /////  เป็นทูต … 


       ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดย สามเณร /////  เป็นทูต … 


       ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดย สามเณรี /////  เป็นทูต … 


       ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดย ภิกษุณี /////  ผู้เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต


       … ตรัสว่า 


       627.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต 

       รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถเป็นทูต 


       ภิกษุณีผู้เป็นทูตนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้ 

       พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ /////  ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า 


       พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       แม้ครั้งที่สอง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า 


       พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       แม้ครั้งที่สาม นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า 



* * * ญัตติจตุตถกรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 596 )  


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา /////  ว่าดังนี้ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น ปวัตตินี /////  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง 

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น
ปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       นางชื่อนี้ อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอก นิสัย 3 /////  อกรณียกิจ 8 /////  แก่ภิกษุณีนั้น 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 992 , 993 , 994



- จบ -

นิสสัย

 



คำว่านิสสัยนั้นก็มีอยู่ 2 อย่าง   

* * * นิสสัยที่เป็นภายนอก ได้แก่ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยซึ่งนับว่าจำต้องอาศัยขาดไม่ได้ 


* * * นิสสัยที่เป็นภายใน ได้แก่นิสสัยจิตใจ ก็หมายถึงพื้นแพของจิตใจ 


       นิสสัยภายนอก คือปัจจัยเครื่องอาศัยที่จำเป็นสำหรับผู้บวช ก็คือเที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนต้นไม้ ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ดังที่ได้บอกกันเมื่ออุปสมบทเสร็จใหม่ นั้นแล้ว 

       ทำไมจึงต้องบอกนิสสัย 4 นี้ ก็เพราะว่าเมื่อออกจากบ้านจากเรือน มาเป็น อนาคาริยะ คือคนไม่มีบ้านไม่มีเรือน จะทำอย่างไร ? ครอบครัวก็ไม่มี ก็ต้องเที่ยวขอเขา คือเที่ยวบิณฑบาต ผ้านุ่งห่มจะได้ที่ไหน ก็ต้องเที่ยวเก็บเอาผ้าที่เขาทิ้ง เขาไม่ต้องการ มาทำเป็นผ้านุ่งห่มสำหรับตน ที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ไหน บ้านก็ไม่มี โดยที่สุดก็ต้องอยู่ตามโคนไม้ เมื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น จะได้หยูกยาที่ไหน เมื่ออยู่ตามโคนไม้ ก็ตองเก็บเอาผลไม้ที่เป็นยา มาทำเป็นยากันแก้ไข้ตามมีตามได้

       เพราะฉะนั้น นิสสัย 4 นี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับผู้ที่บวช ตามความหมายดั้งเดิมนั้น คือว่าออกมาเป็นคนไม่มีบ้านไม่มีเรือน ก็ต้องอาศัยนิสสัย 4 นี้เท่านั้น 

       แต่ต่อมาเมื่อนักบวชได้มาเกี่ยวข้องกับชาวบ้านชาวเมือง ในฐานะที่มาเที่ยวสั่งสอนอบรมเขา มาเป็นบุญเขต คือนาบุญของเขา เมื่อเขามีศรัทธาเขาก็สร้างวัดให้อยู่ ก็กลายมาเป็นนักบวชที่อยู่วัด เมื่อมาอยู่วัดเข้า ชาวบ้านชาวเมืองศรัทธามากขึ้น เขาก็มาบำรุงด้วยอติเรกลาภต่าง ๆ จนมากมายด้วยกำลังศรัทธาของเขา ดังที่ปรากฏอยู่นี้ เพราะฉะนั้น ในบัดนี้มักมักจะลืมเลือนไปถึงความหมายเดิมของการบวช ลืมเลือนนิสสัย 4 ของการบวช ชักให้ประมาท ลืมความเป็นนักบวชคือความเป็นผู้ออกดังกล่าวของตน แล้วก็ประพฤติตนไม่สมควร ก็กลายเป็นก่อบาป ก่ออกุศลขึ้น ฉะนั้นจึงควรที่จะระลึกถึงความหมายของการบวช ระลึกถึงนิสสัย 4 ของการบวชที่มีความหมายเกี่ยวพันกันดังกล่าวมานั้น แล้วก็ไม่ประมาทตั้งใจบวชปฏิบัติพระธรรมวินัยตามกำลังสามารถ 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=608&articlegroup_id=121  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  



- จบ -

อกรณียกิจ

 



อกรณียกิจ

       อย่าปล่อยให้ทำผิดแล้วอ้างว่า “ไม่รู้” 

       อ่านว่า อะ-กะ-ระ-นี-ยะ-กิด 

       แยกคำเป็น อกรณีย + กิจ 

       ( 1 ) “อกรณีย” 

       บาลีอ่านว่า อะ-กะ-ระ-นี-ยะ รากศัพท์มาจาก น + กรณีย

              ( ก ) “น” ( นะ ) 

              เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่ , ไม่ใช่ ( no , not ) 


              ( ข ) “กรณีย” 

              บาลีอ่านว่า กะ-ระ-นี-ยะ รากศัพท์มาจาก กร ( ธาตุ = ทำ ) + อนีย ปัจจัย ( แปลว่า ควร , พึง ) , แปลง น เป็น ณ


       : กร + อนีย = กรนีย > กรณีย แปลตามศัพท์ว่า “พึงทำ” หรือ “ควรทำ” หมายถึง กิจที่ควรทำ , สิ่งที่ควรทำ , ข้อผูกพัน , หน้าที่ , การงาน ( what ought to be done , duty , obligation ; affairs , business )

       น + กรณีย แปลง น เป็น อ ตามกฎการประสมของ น + กล่าวคือ : 


              ( 1 ) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง น เป็น อ- 


              ( 2 ) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ ( อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ) แปลง น เป็น อน- 


              ในที่นี้ “กรณีย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ ก- จึงต้องแปลง น เป็น อ

              : น + กรณีย = นกรณีย > อกรณีย แปลว่า “ที่ไม่ควรทำ” 

              ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อกรณีย์” ไว้ บอกไว้ว่า –

              “อกรณีย์ : ( คำนาม ) กิจที่ไม่ควรทํา. ( ป. )” 


       ( 2 ) “กิจ” 

       บาลีเป็น “กิจฺจ” ( กิด-จะ ) รากศัพท์มาจาก กรฺ ( ธาตุ = กระทำ ) + ริจฺจ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ กรฺ และ ร ที่ ริจฺจ ( ริจฺจ ลบ ร = อิจฺจ ) 

       : กรฺ > ก + ริจฺจ > อิจฺจ : ก + อิจฺจ = กิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงทำ” หมายถึง หน้าที่ , การงาน , การบริการ ; พิธี , การกระทำ ( duty , obligation , service , attention ; ceremony , performance ) 

       “กิจฺจ” ในภาษาไทย ตัดตัวสะกดออก ใช้ทับศัพท์ว่า “กิจ” ( กิด ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -


       “กิจ , กิจ- : ( คำนาม ) ธุระ , งาน. ( ป. กิจฺจ )” 

       อกรณีย + กิจ = อกรณียกิจ แปลว่า “กิจที่ไม่ควรทำ”


อธิบาย :

       “อกรณียกิจ” เป็นส่วนหนึ่งใน “อนุศาสน์”

       พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “อนุศาสน์” ไว้ดังนี้ -


…………..

       อนุศาสน์ : คำสอนตามพุทธบัญญัติ ที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ในเวลาอุปสมบทเสร็จ ประกอบด้วย นิสสัย 4 และ อกรณียะ 4 ท่านเรียกรวมว่า “อนุศาสน์” บางทีก็เรียกบอกจำนวนด้วยว่า “อนุศาสน์ 8” (อกรณีย์ หรือ อกรณียะ 4 นิยมเรียกกันว่า อกรณียกิจ 4 ) 


       นิสสัย 4 คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต 4 อย่าง ได้แก่ 1. เที่ยวบิณฑบาต 2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล 3. อยู่โคนไม้ 4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ( ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย 4 พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ ) 

       อกรณีย์ 4 ( นิยมเรียกว่า อกรณียกิจ 4 ) ข้อที่ไม่ควรทำ หมายถึงกิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ 4 อย่าง ได้แก่ 1. เสพเมถุน 2. ลักของเขา 3. ฆ่าสัตว์ ( ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุ หมายเอาฆ่ามนุษย์ ) 4. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน 


…………..

ขยายความ :

       การบวชเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนาเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากชาวบ้านมาเป็นชาววัด เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ทันทีมี 2 ส่วน

       เรื่องอื่นๆ ที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ต่อไปยังมีอีกมาก แต่ 2 ส่วนนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องศึกษาเรียนรู้ทันที คือ

       1 วิธีดำรงชีพ คือจะกินจะอยู่ จะนุ่งจะห่มอย่างไร ต้องรู้ทันที เพราะเมื่อเปลี่ยนเพศแล้วจะกินจะอยู่อย่างชาวบ้านไม่ได้ ส่วนนี้ท่านเรียกว่า “นิสสัย” 


       2 สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด ส่วนนี้ก็ต้องรีบบอกให้รู้ไว้ เพราะถ้าไม่บอกไว้ก่อน แล้วไปทำเข้า จะขาดจากความเป็นบรรพชิตทันที ส่วนนี้ท่านเรียกว่า “อกรณียกิจ”


       เรื่องทั้ง 2 ส่วนนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ท่านจึงรีบสอนกันตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่บวชเข้ามา

       เพราะฉะนั้น บรรพชิตในพระพุทธศาสนาจะอ้างไม่ได้เลยว่า “ไม่รู้” 

       เมื่อเร็ววันนี้มีข่าวพระภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนกับสตรี ท่านอ้างว่าทำไปเพราะ “ไม่รู้”

       พูดตามสำนวนสมัยใหม่ก็ต้องว่า เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://dhamma.serichon.us/2019/08/14/อกรณียกิจ-อย่าปล่อยให้ท/  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตการไปด้วยยาน

 




ข้ออนุญาตการไปด้วยยาน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 592 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขี่ยานที่ เทียม /////  ด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง 

       ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า …เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา และ แม่น้ำมหี 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปด้วยยาน 

       รูปใดไป พึงปรับตามธรรม 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 593 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่อาจไปด้วยเท้าได้ … 

       ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธไปด้วยยานได้ 



       ลำดับนั้น ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า ยานนั้นเทียมด้วยโคตัวเมียหรือเทียมด้วยโคตัวผู้ 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวเมีย 

       ยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ 

       และยานที่ลากด้วยมือ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 594 )  


       สมัยต่อมา ความไม่สบายอย่างแรงกล้าได้มีแก่ภิกษุณีรูปหนึ่งเพราะความกระเทือนแห่งยาน 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหามมีตั่งนั่งเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ข้ออนุญาตการไปด้วยยาน  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 991 , 992



- จบ -

เทียม/เทียมเกวียน

 




       เทียม - มีความหมายว่า เอาสัตว์พาหนะ เช่น วัว ควาย ลา ล่อ ผูกเข้ากับยานพาหนะ หรือเครื่องมือทางการเกษตร อย่างคราดหรือไถ เพื่อให้สัตว์ลากพาหนะหรือเครื่องมือนั้นไป เป็นวิธีการใช้งานสัตว์เหล่านั้น

       เช่น เราใช้วัวเทียมเกวียนเพื่อให้วัวลากเกวียนไปยังที่ที่เราต้องการ , ชาวนาเทียมควายเข้ากับไถเพื่อใช้ควายไถนา 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://legacy.orst.go.th/?knowledges=เทียม-๒-๒๓-มิถุนายน-๒๕๕๒  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  



- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการงดอุโบสถ เป็นต้น

 




ทรงอนุญาตการงดอุโบสถ เป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 590 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายงด อุโบสถ /////  งด ปวารณา /////  ทำการไต่สวน เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////  ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุทั้งหลาย 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ 

       แม้งดก็ไม่เป็นอันงด 

       ภิกษุณีผู้งด ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ 

       แม้งดก็ไม่เป็นอันงด 

       ภิกษุณีผู้งด ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีไม่พึงทำการสืบสวนภิกษุ 

       แม้ทำก็ไม่เป็นอันทำ 

       ภิกษุณีผู้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ  



       ภิกษุณีไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ 

       แม้เริ่มก็ไม่เป็นอันเริ่ม 

       ภิกษุณีผู้เริ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีไม่พึงให้ภิกษุทำโอกาส 

       แม้ให้ทำก็ไม่เป็นอันให้ทำ 

       ภิกษุณีผู้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีไม่พึงโจทภิกษุ 

       แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท 

       ภิกษุณีผู้โจท ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีไม่พึงสืบพยานภิกษุ 

       แม้สืบก็ไม่เป็นอันสืบ 

       ภิกษุณีผู้สืบพยาน ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 591 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำการสืบสวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุณีทั้งหลาย 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี 

       แม้งดแล้วเป็นอันงดด้วยดี 

       ภิกษุผู้งด ไม่ต้องอาบัติ 



       ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี 

       แม้งดแล้วเป็นอันงดด้วยดี 

       ภิกษุผู้งด ไม่ต้องอาบัติ 



       ให้ทำการสืบสวนภิกษุณี 

       แม้ทำแล้วเป็นอันทำด้วยดี  

       ภิกษุผู้ทำ ไม่ต้องอาบัติ 



       ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์  

       แม้เริ่มแล้วเป็นอันเริ่มด้วยดี  

       ภิกษุผู้เริ่ม ไม่ต้องอาบัติ



       ให้ภิกษุณีทำโอกาส  

       แม้ให้ทำแล้วเป็นอันให้ทำด้วยดี  

       ภิกษุผู้ให้ทำ ไม่ต้องอาบัติ 



       ให้โจทภิกษุณี  

       แม้โจทแล้วเป็นอันโจทด้วยดี  

       ภิกษุผู้โจทก์ ไม่ต้องอาบัติ  



       ให้สืบพยานแก่ภิกษุณี 

       แม้สืบแล้วเป็นอันสืบด้วยดี  

       ภิกษุผู้ให้สืบ ไม่ต้องอาบัติ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการงดอุโบสถ เป็นต้น  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 990 , 991



- จบ -

ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการปวารณาของภิกษุณี

 




ทรงอนุญาตการปวารณาของภิกษุณี


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 584 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายไม่ ปวารณา  /////  

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ 

       รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม 



* * * ปวารณาด้วยตนเอง 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 585 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีปวารณาด้วยตนเอง ไม่ปวารณาต่อสงฆ์

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีปวารณาด้วยตนเอง ไม่ปวารณาต่อสงฆ์ไม่ได้ 

       รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม 



* * * ปวารณาพร้อมกับภิกษุ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 586 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย ได้ทำความโกลาหล

       … ตรัสว่า


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย 

       รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ปวารณาก่อนภัตร 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 587 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในกาลก่อน ภัตร /////  ยังกาลให้ล่วงไป 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในกาลหลังภัตร 



       ภิกษุณีทั้งหลายแม้ปวารณาในกาลหลังภัตร เวลาพลบค่ำลง 

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาต่อภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ 

       แล้วปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น 



* * * ปวารณาทั้งหมด 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 588 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมดปวารณาอยู่ ได้ทำความโกลาหล

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปหนึ่งให้ปวารณาต่อสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ 



วิธีสมมติ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ 

       พึงขอร้องภิกษุณีก่อน 

       ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ 



* * * ญัตติกรรมวาจา 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ 

       นี้เป็นญัตติ 


       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์  

       การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด 


       ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติแล้วให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 589 )  


       ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้ 



* * * คำปวารณา 

       พระคุณเจ้า เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี 

       ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จัก ทำคืน /////  


       พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง … 


       พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี 

       ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : ทรงอนุญาตการปวารณาของภิกษุณี  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 988 , 989 , 990


- จบ -

Monday, September 26, 2022

ภิกขุนีขันธกะ : อันตรายิกธรรมของภิกษุณี




อันตรายิกธรรมของภิกษุณี


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 573 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีนิมิตบ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง มีผ้าซับในเสมอบ้าง มีน้ำ มูตรกะปริบกะปรอยบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นหญิงบัณเฑาะก์บ้าง เป็นหญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง 2 เพศบ้าง

       … ตรัสว่า 


       622. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถามอันตรายิกธรรม 24 ประการแก่ภิกษุณีผู้จะอุปสมบท 



วิธีถามอันตรายิกธรรม


       623. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอย่างนี้

       เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิตหรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิตหรือ มิใช่ผู้ไม่มีโลหิตหรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอหรือ มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอหรือ มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอยหรือ มิใช่ผู้มีเดือยหรือ มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชายหรือ มิใช่ผู้เป็นหญิงมีมรรคระคนกันหรือ มิใช่เป็นหญิง 2 เพศหรือ

       อาพาธเหมือนอย่างนี้ของเธอมีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู 

       เธอเป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทยหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็น ราชภัฏ หรือ /////  มารดาบิดาสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ 20 ปีแล้วหรือ บาตร จีวร ของเธอครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร  ปวัตตินี ///// ของเธอชื่ออะไร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 574 )  


       สมัยนั้น ภิกษุถาม อันตรายิกธรรม /////  ของภิกษุณี หญิงผู้ อุปสัมปทาเปกขะ /////  ย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้

       … ตรัสว่า 


       624. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นางอุปสัมปทาเปกขะอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ แล้วอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 575 )  


       สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะนางอุปสัมปทาเปกขะผู้ยังไม่ได้สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจ ตอบได้

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วถามอันตรายิกธรรมต่อภายหลัง 



       ภิกษุณีทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง นางอุปสัมปทาเปกขะยังกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างนั้น

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์ 



วิธีสอนซ้อม

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสอนซ้อมอย่างนี้ 

       พึงให้ถืออุปัชฌายะก่อน 

       ครั้นแล้วพึงบอก บาตรจีวรว่า

       นี้ บาตรของเธอ นี้ ผ้าสังฆาฏิ นี้ ผ้าอุดราสงค์ นี้ ผ้าอันตรวาสก นี้ ผ้ารัดอก นี้ ผ้าอาบน้ำ เธอจงไปยืนอยู่ ณ โอกาสโน้น 



       ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะผู้ถูกสอน ซ้อมไม่ดี ย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม 

       รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุณีมิได้รับสมมติสอนซ้อม

       … ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีมิได้รับสมมติไม่พึงสอนซ้อม 

       รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติอย่างนี้ ตนเองพึงสมมติตน หรือผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น 



วิธีสมมติตน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 576 )  


       ก็ตนเองพึงสมมติตน อย่างไร 

       ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้



* * * ญัตติกรรมวาจาสมมติตน

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน

       นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉันพึงสอนซ้อมนางชื่อนี้ 


       อย่างนี้ชื่อว่าตนเองสมมติตน 



วิธีสมมติผู้อื่น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 577 )  


       ก็ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น อย่างไร 

       ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้



* * * ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ภิกษุณีชื่อนี้พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้ 


       อย่างนี้ชื่อว่าผู้อื่นสมมติผู้อื่น 



* * * คำสอนซ้อม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 578 )  


       ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหานางอุปสัมปทาเปกขะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       นางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อถูกถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งอันเกิดแล้วมีอยู่พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่า ไม่มี

       เธออย่ากระดาก เธออย่าเก้อเขิน 

       ภิกษุณีทั้งหลายจักถามเธอ อย่างนี้ 

       เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิตหรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิตหรือ มิใช่ผู้ไม่มีโลหิตหรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอหรือ มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอหรือ มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกระปริบกระปรอยหรือ มิใช่ผู้มีเดือยหรือ มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชายหรือ มิใช่เป็นหญิงมีมรรคระคนกันหรือ มิใช่เป็นหญิง 2 เพศหรือ 

       อาพาธเหมือนอย่างนี้ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู 

       เธอเป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทยหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็นราชภัฏหรือ มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ 20 ปีแล้วหรือ มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ 

       เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร 



       ภิกษุณีผู้สอนซ้อม กับนางอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน

       … ตรัสว่า 


       ไม่พึงมาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 



* * * ญัตติกรรมวาจา

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ 

       นางอันดิฉันสอนซ้อมแล้วถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว นางชื่อนี้พึงมา


       ภิกษุณีนั้นพึงกล่าวว่า

       เธอจงมา พึงให้นางอุปสัมปทาเปกขะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุณีทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่งประคองอัญชลี ขออุปสมบท ว่าดังนี้ 



* * * คำขออุปสมบท 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 

       ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้ 



* * * ญัตติกรรมวาจา 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วดิฉันพึงถามอันตรายิกธรรมกะนางชื่อนี้ 



* * * คำถามอันตรายิกธรรม 

       แน่ะนางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ ฉันถามถึงสิ่งที่เกิดแล้วมีอยู่ เธอพึงบอกว่ามี ไม่มีเธอพึงบอกว่าไม่มี 

       เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิตหรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิตหรือ … 

       เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร  


       ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วย ญัตติจตุตถกรรม วาจา /////  ว่าดังนี้ 



* * * ญัตติจตุตถกรรมวาจา 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ 


       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี  

       การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม 

       แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน 

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี  

       การอุปสมบทนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง  

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 579 )  


       ขณะนั้นเอง ภิกษุณีทั้งหลาย พึงพานางเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี ขออุปสมบท ว่าดังนี 



* * * คำขออุปสมบท

       พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 


       พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 


       พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิดเจ้าข้า 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 580 )  


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้ 


* * * ญัตติจตุตถกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี  

       การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง  

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ 

       นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี  

       การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



วัดเงาแดดเป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 581 )  


       ทันใดนั้นพึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอกนิสัย 3  อกรณียกิจ 8 แก่ภิกษุณีนี 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 582 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายยึดถืออาสนะในโรงภัตร ยับยั้งอยู่ตลอดกาล 

       … ตรัสว่า 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณี 8 รูป ตามลำดับพรรษา

       ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 583 )  


       โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตภิกษุณี 8 รูปตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา ในที่ ทุกแห่ง ภิกษุณี 8 รูปเท่านั้นห้ามตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับที่มา

       … ตรัสว่า 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโรงภัตรเราอนุญาตภิกษุณี 6 รูป ตามลำดับพรรษา 

       นอกนั้นตามลำดับที่มา 

       ในที่อื่นไม่พึงห้ามตามลำดับพรรษา 

       รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ 




* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 6 : ภิกขุนีขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภิกขุนีขันธกะ : อันตรายิกธรรมของภิกษุณี  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 980 , 981 , 982 , 983 , 984 , 985 , 986 , 987




- จบ -