Sunday, January 31, 2021

ความปรารถนาที่ไม่ได้ดั่งใจ

 

คำเทศน์ของ พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

เรื่อง ความปรารถนาที่ไม่ได้ดั่งใจ 

ถอดเทป เนื้อหาในวีดีโอ

ที่ เทศน์เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2564 

ช่วง เวลา 17.30 น. ถึง เวลา 24.40 น.


/ ( ข้างล่างนี้ คือการถอดเทป ที่ "เริ่ม" ตั้งแต่เวลา 17.30 น. ) 

       สังขาร การปรุงแต่งนั้น มีขึ้นมาได้อย่างไร? พระองค์บอกว่า มีเพราะ "ไม่รู้"

       "ไม่รู้" ว่าระบบนี้ ระบบการปรุงแต่ง สังขตาธาตุ ธาตุที่มันถูกปรุงแต่งได้ มันเกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เพราะไม่รู้ตรงนี้ เท่านั้นเอง ก็เลยทำให้เราเข้ามายึด

       แต่ความเป็นตัวนี้เกิดขึ้นได้จากอะไร? / จากการที่เรามันพอใจในธาตุนี้ พระองค์จึงบอกเรามี ฉันทะ มีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในธรรมธาตุเหล่านี้ ความยึดถือว่าตัวตนจึงเกิดขึ้น

       ก็เกิดความพอใจ เกิดความยึดถือ ว่านี่เรา นี่ความเห็นเรา นี่ตัวเรา นี่ความจำเรา นี่วิญญาณของเรา เห็นวิญญาณเป็นตน ตนเป็นวิญญาณ วิญญาณมีในตน ตนมีในวิญญาณ ความรู้สึกถึงความเป็นตัวเป็นตน มีอยู่ในธาตุนั้นๆ

       นี้คนไม่ภาวนาก็ดูไม่ออก หรือภาวนายังไม่ถึงที่ ก็ดูไม่ออกอีก เมื่อดูไม่ออก ก็เลยใช้ธาตุเหล่านี้ โดยความเป็นตัวตน
       พอมีตัวตน ก็มีของตน แล้วเวลาสิ่งเหล่านี้ มันเสื่อม มันแตกสลาย มันไม่ได้ดั่งใจ ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้น เพราะปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       ความปรารถนาของคนในโลกมีมากมาย มันไม่ได้มีเรื่องเดียว อยากเรื่องนั้นั อยากเรื่องนี้ ต้องการเรื่องนั้น ต้องการสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ ต้องการสิ่งนั้น เป็นอย่างนั้น วันๆนึงมีความปรารถนาเกิดขึ้นไม่รู้จบ เต็มไปหมดเลย

       ถ้าเราพิจารณาไม่เป็น ความทุกข์ก็มีมาก เราจะมีแต่ความทุกข์ในชีวิต วันๆก็มีแต่ความทุกข์ความเครียด เพราะว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ อยากจะกินแต่ไม่ได้กิน อยากจะไปแต่ไม่ได้ไป อยากจะทำงานแต่ไม่ได้ทำ หรือไม่อยากทำงานแต่ต้องได้ทำ มันก็ทุกข์หมด นี่คือปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       และความปรารถนาที่ไม่มีใครในโลกต้านทานได้ คือ ปรารถนาว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเนี่ย อย่าแก่เลย ร่างกายนี้อย่าแก่เลย  /  สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย /  สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย ปรารถนาไปเถอะ ไม่ได้แน่นอน  /  สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย เราปรารถนาสิ่งเหล่านี้ มันไม่สำเร็จ ไม่ว่าคุณจะมี ฤทธานุภาพ เป็นพรหม เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ มียศศักดิ์ หรือทรัพย์มากมายขนาดไหนก็ตาม จะไม่ได้ตามปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ พระองค์บอก นี่แหละ คือปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       สิ่งเหล่านี้แหละทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิต เกิดความพอใจ ไม่พอใจขึ้น เพราะไม่ได้ตามปรารถนา
ความปรารถนาของคนมันไม่มีจบ สำเร็จเรื่องนี้ มันก็ไปปรารถนาเรื่องนั้นสำเร็จเรื่องนั้นไปปรารถนาเรื่องใหม่ เพราะว่า เหตุปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

       เรากินอาหารทุกวัน เราก็จะมีความปรารถนาในเรื่องอาหารทุกๆวันเหมือนกัน และถ้าไม่ได้ตามความปรารถนา ก็เป็นทุกข์อีก

       คือมันจบไม่ได้ จบจนกว่าจะตายนั่นแหละ พอตายแล้ว ถ้าจริงๆ มันก็ไม่จบอีก เพราะว่า มันจบแต่รูป กายแตก แต่ผู้ยึดติด ก็ยังยึด จิต มโน วิญญาณ ก็ยังยึด เวทนา สัญญา สังขาร ยึดนามธรรมอยู่ มันก็ไปต่อ ไปเกิดต่อ

       ดังนั้น ตัวความพอใจจึงเป็นเหตุของการยึดถือซึ่งตัวตน ตัวฉันทะ ฉันทะ พระองค์จึงบอกว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุของความทุกข์

       เราพอใจอย่างนี้ ปรารถนาอย่างนี้ ไม่ได้ตามปรารถนา ก็เป็นทุกข์

       เหมือน กุมาร กุมารี เล่นเรือนในน้อยๆ พอกุมาร กุมารี ไม่ได้ตามปรารถนาในเรือนน้อยๆ กุมาร กุมารี ก็เป็นทุกข์ เรือนน้อยๆ มันต้องแตกสลาย แต่เพราะเขาไม่มีปัญญารู้เห็น ตามที่เป็นจริง

       ดังนั้น ปัญญาความรู้เห็นตามที่เป็นจริง คือ วิชชา มันจะมีขึ้นได้เพราะเราได้รู้เรื่องของ อริยสัจ 4

       คราวนี้ อริยสัจ 4 เราจะรู้เอง ก็ไม่ใช่ฐานะ อาจจะได้ ถ้าโยมตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า โยมก็รู้เองได้ แต่ถ้าใครตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ก็ต้องยอมรับว่าอีกนาน


/ ( ข้างบนนี้ คือการ "จบ" การถอดเทป ที่เวลา 24.40 น. )


- END - 

อวิชฺชา / ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ธมฺมา

 

คำเทศน์ของ พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

เรื่อง อวิชฺชา / ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ธมฺมา

เทศน์เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2564


/ ( เวลา 00.17.30 น. ) 

       สังขาร การปรุงแต่งนั้น มีขึ้นมาได้อย่างไร? พระองค์บอกว่า มีเพราะ "ไม่รู้"

       "ไม่รู้" ว่าระบบนี้ ระบบการปรุงแต่ง สังขตาธาตุ ธาตุที่มันถูกปรุงแต่งได้ มันเกิดจากการปรุงแต่ง มันไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เพราะไม่รู้ตรงนี้ เท่านั้นเอง ก็เลยทำให้เราเข้ามายึด

       แต่ความเป็นตัวนี้เกิดขึ้นได้จากอะไร? / จากการที่เรามันพอใจในธาตุนี้ พระองค์จึงบอกเรามี ฉันทะ มีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในธรรมธาตุเหล่านี้ ความยึดถือว่าตัวตนจึงเกิดขึ้น

       ก็เกิดความพอใจ เกิดความยึดถือ ว่านี่เรา นี่ความเห็นเรา นี่ตัวเรา นี่ความจำเรา นี่วิญญาณของเรา เห็นวิญญาณเป็นตน ตนเป็นวิญญาณ วิญญาณมีในตน ตนมีในวิญญาณ ความรู้สึกถึงความเป็นตัวเป็นตน มีอยู่ในธาตุนั้นๆ

       นี้คนไม่ภาวนาก็ดูไม่ออก หรือภาวนายังไม่ถึงที่ ก็ดูไม่ออกอีก เมื่อดูไม่ออก ก็เลยใช้ธาตุเหล่านี้ โดยความเป็นตัวตน
       พอมีตัวตน ก็มีของตน แล้วเวลาสิ่งเหล่านี้ มันเสื่อม มันแตกสลาย มันไม่ได้ดั่งใจ ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้น เพราะปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       ความปรารถนาของคนในโลกมีมากมาย มันไม่ได้มีเรื่องเดียว อยากเรื่องนั้นั อยากเรื่องนี้ ต้องการเรื่องนั้น ต้องการสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ ต้องการสิ่งนั้น เป็นอย่างนั้น วันๆนึงมีความปรารถนาเกิดขึ้นไม่รู้จบ เต็มไปหมดเลย

       ถ้าเราพิจารณาไม่เป็น ความทุกข์ก็มีมาก เราจะมีแต่ความทุกข์ในชีวิต วันๆก็มีแต่ความทุกข์ความเครียด เพราะว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ อยากจะกินแต่ไม่ได้กิน อยากจะไปแต่ไม่ได้ไป อยากจะทำงานแต่ไม่ได้ทำ หรือไม่อยากทำงานแต่ต้องได้ทำ มันก็ทุกข์หมด นี่คือปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       และความปรารถนาที่ไม่มีใครในโลกต้านทานได้ คือ ปรารถนาว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเนี่ย อย่าแก่เลย ร่างกายนี้อย่าแก่เลย  /  สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย /  สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย ปรารถนาไปเถอะ ไม่ได้แน่นอน  /  สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย เราปรารถนาสิ่งเหล่านี้ มันไม่สำเร็จ ไม่ว่าคุณจะมี ฤทธานุภาพ เป็นพรหม เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ มียศศักดิ์ หรือทรัพย์มากมายขนาดไหนก็ตาม จะไม่ได้ตามปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ พระองค์บอก นี่แหละ คือปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

       สิ่งเหล่านี้แหละทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิต เกิดความพอใจ ไม่พอใจขึ้น เพราะไม่ได้ตามปรารถนา
ความปรารถนาของคนมันไม่มีจบ สำเร็จเรื่องนี้ มันก็ไปปรารถนาเรื่องนั้นสำเร็จเรื่องนั้นไปปรารถนาเรื่องใหม่ เพราะว่า เหตุปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

       เรากินอาหารทุกวัน เราก็จะมีความปรารถนาในเรื่องอาหารทุกๆวันเหมือนกัน และถ้าไม่ได้ตามความปรารถนา ก็เป็นทุกข์อีก

       คือมันจบไม่ได้ จบจนกว่าจะตายนั่นแหละ พอตายแล้ว ถ้าจริงๆ มันก็ไม่จบอีก เพราะว่า มันจบแต่รูป กายแตก แต่ผู้ยึดติด ก็ยังยึด จิต มโน วิญญาณ ก็ยังยึด เวทนา สัญญา สังขาร ยึดนามธรรมอยู่ มันก็ไปต่อ ไปเกิดต่อ

       ดังนั้น ตัวความพอใจจึงเป็นเหตุของการยึดถือซึ่งตัวตน ตัวฉันทะ ฉันทะ พระองค์จึงบอกว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุของความทุกข์

       เราพอใจอย่างนี้ ปรารถนาอย่างนี้ ไม่ได้ตามปรารถนา ก็เป็นทุกข์

       เหมือน กุมาร กุมารี เล่นเรือนในน้อยๆ พอกุมาร กุมารี ไม่ได้ตามปรารถนาในเรือนน้อยๆ กุมาร กุมารี ก็เป็นทุกข์ เรือนน้อยๆ มันต้องแตกสลาย แต่เพราะเขาไม่มีปัญญารู้เห็น ตามที่เป็นจริง

       ดังนั้น ปัญญาความรู้เห็นตามที่เป็นจริง คือ วิชชา มันจะมีขึ้นได้เพราะเราได้รู้เรื่องของ อริยสัจ 4

       คราวนี้ อริยสัจ 4 เราจะรู้เอง ก็ไม่ใช่ฐานะ อาจจะได้ ถ้าโยมตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า โยมก็รู้เองได้ แต่ถ้าใครตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ก็ต้องยอมรับว่าอีกนาน


/ ( เวลา 00.24.40 น. ) 


- END - 

Thursday, January 28, 2021

การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด

   

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด

      ภิกษุทั้งหลาย ! ความไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด เรากล่าวบุคคลผู้นั้น ว่าเป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติในอริยวินัย  

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขานี้ ว่าเป็นการกู้หนี้

       เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของเขา เขาตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขา ดําริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา ขวนขวายทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้ ว่าเป็นดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้

       เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าวปรารภเขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ ทําอะไรๆ ( ทุจริต ) อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทําอะไรๆ ( ทุจริต ) อย่างนี้” เรากล่าวการถูกกล่าวอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้

       เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่างก็ตาม อกุศลวิตกอันเป็นบาปประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ ย่อมเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขา เรากล่าวอาการอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกติดตามเพื่อทวงหนี้

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ภายหลังแต่การตายเพราะการแตกทําลายแห่งกาย ย่อมถูกจองจําอยู่ในนรกบ้าง ในกําเนิดเดรัจฉานบ้าง

       ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นการจองจําอื่นแม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจําในนรก หรือในกําเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

      ( คาถาผนวกท้ายพระสูตร  ) 

       ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ในโลก

       คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะเจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง  

       การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคนบูชาการได้กาม

       ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน

       ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสมแต่บาปกรรม กระทํากายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วยการกระทําทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา ผู้นั้นพอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ในที่นั้น ๆ

       คนชั่วทําบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยากจนกู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน

       ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร ( เครื่องร้อนใจ ) อันเป็นเครื่องทรมานใจ ย่อมติดตามเขาทั้งในบ้านและในป่า 

       คนชั่วทําบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่กําเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจําอยู่ในนรก การถูกจองจํานั้นเป็นทุกข์ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ  /  หัวข้อใหญ่ : นรก  /  หัวข้อย่อย : การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด  /  หัวข้อเลขที่ : 27  /  -บาลี ฉกฺก. อํ. 22/393/316.  /  หน้าที่ : 98 , 99 , 100 


- END -

อายุนรก

 

 อายุนรก

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีความปรารถนาอันเลวทราม ตกอยู่ในอํานาจแห่งความปรารถนาอันเลวทราม พระเจ้าข้า!


       โกกาลิกะ ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้

       โกกาลิกะ! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะมีศีลเป็นที่รัก

       แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

       แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลอีก พระผู้มีพระภาคตรัสห้าม 

       ลําดับนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทําประทักษิณแล้วหลีกไป ...

       ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า


       ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม มีรัศมีอันงามยิ่ง ทําวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว อุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ” ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว กระทําประทักษิณแล้ว ได้อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง.

       ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ประมาณอายุในปทุมนรก นานเพียงใด พระเจ้าข้า ! 

       ภิกษุทั้งหลาย ! ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทําได้ง่าย

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทําการเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า !

       ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

       ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงา ของชาวโกศลมีอัตรา 20 ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออกหนึ่งเมล็ด

       ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารีนั้น จะพึงถึงความสิ้นไป หมดไปโดยลําดับ นี้ยังเร็วเสียกว่า ส่วน 1 อัพพุทนรกยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย

       ภิกษุทั้งหลาย ! 20 อัพพุทนรก เป็น 1 นิรัพพุทนรก

       20 นิรัพพุทนรก เป็น 1 อัพพนรก

       20 อัพพนรก เป็น 1 อหหนรก

       20 อหหนรก เป็น 1 อฏฏนรก  

       20 อฏฏนรก เป็น 1 กุมุทนรก  

       20 กุมุทนรก เป็น 1 โสคันธิกนรก 

       20 โสคันธิกนรก เป็น 1 อุปลกนรก

       20 อุปลกนรก เป็น 1 ปุณฑรีกนรก 

       20 ปุณฑรีกนรก เป็น 1 ปทุมนรก


       อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

      ( คาถาผนวกท้ายพระสูตร )

       ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว  

       เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล  

       ผู้กล่าวคําทุภาษิต

       ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา

       หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ

       ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก

       ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น

       การแพ้ด้วยทรัพย์เพราะเล่นการพนัน

       เป็นโทษเพียงเล็กน้อย

       โทษของผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดี

       นี้แลเป็นโทษมากกว่า

       บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปไว้แล้ว

       เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้า

       ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล

       ประมาณด้วยการนับปี 136,000 นิรัพพุทะ และ 5 อัพพุทะ

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ  /  หัวข้อใหญ่ : นรก  /  หัวข้อย่อย : อายุนรก  /  หัวข้อเลขที่ : 24  /  -บาลี ทสก.อํ. 24/181/89.  /  หน้าที่ : 89 , 90 , 91 , 92  


- END -



อุปมาความทุกข์ในนรก

 

  

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุปมาความทุกข์ในนรก


       ภิกษุทั้งหลาย! ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นพาลของคนพาลนี้ มี 3 อย่าง

       3 อย่าง อย่างไรเล่า ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลในโลกนี้

       มักคิดความคิดที่ชั่ว

       มักพูดคําพูดที่ชั่ว

       มักทําการทําที่ชั่ว

       ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคําพูดที่ชั่ว และทําการทําที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคําพูดที่ชั่ว และมักทําการทําที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นสัตบุรุษ.

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกขโทมนัส 3 อย่างในปัจจุบัน

       ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้าคนพาลมักเป็นผู้ทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ําเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้นแล คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสข้อที่ 1 ดังนี้ในปัจจุบัน

       ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นพระราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ

       ( 1 ) โบยด้วยแส้บ้าง

       ( 2 ) โบยด้วยหวายบ้าง

       ( 3 ) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง

       ( 4 ) ตัดมือบ้าง

       ( 5 ) ตัดเท้าบ้าง

       ( 6 ) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง

       ( 7 ) ตัดหูบ้าง

       ( 8 ) ตัดจมูกบ้าง

       ( 9 ) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง

       ( 10 ) ลงกรรมกรณ์วิธี หม้อเคี่ยวน้ําส้ม บ้าง

       ( 11 ) ลงกรรมกรณ์วิธี ขอดสังข์ บ้าง

       ( 12 ) ลงกรรมกรณ์วิธี ปากราหู บ้าง

       ( 13 ) ลงกรรมกรณ์วิธี มาลัยไฟ บ้าง

       ( 14 ) ลงกรรมกรณ์วิธี คบมือ บ้าง

       ( 15 ) ลงกรรมกรณ์วิธี ริ้วส่าย บ้าง

       ( 16 ) ลงกรรมกรณ์วิธี นุ่งเปลือกไม้ บ้าง

       ( 17 ) ลงกรรมกรณ์วิธี ยืนกวาง บ้าง

       ( 18 ) ลงกรรมกรณ์วิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด บ้าง 

       ( 19 ) ลงกรรมกรณ์วิธี เหรียญกษาปณ์ บ้าง

       ( 20 ) ลงกรรมกรณ์วิธี แปรงแสบ บ้าง

       ( 21 ) ลงกรรมกรณ์วิธี กางเวียน บ้าง

       ( 22 ) ลงกรรมกรณ์วิธี ตั้งฟาง บ้าง

       ( 23 ) ราดด้วยน้ํามันเดือด ๆ บ้าง

       ( 24 ) ให้สุนัขทิ้งบ้าง

       ( 25 ) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง 

       ( 26 ) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง


       ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง... ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้วสั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ... ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ 2 แม้ดังนี้ในปัจจุบัน

       ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทําไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั๋ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงายอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงําแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใด

       ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทําไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั๋ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น

       ภิกษุทั้งหลาย ! ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่าเราไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทําแต่ความชั่ว ทําแต่ความร้าย ทําแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทําแต่ความชั่ว ความร้าย และความเลว เป็นกําหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ําครวญ ทุบอกให้ ถึงความหลงใหลอยู่

       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ 3 แม้ดังนี้ในปัจจุบัน


       ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

       ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจโดยส่วนเดียว

       ภิกษุทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา ถึงความทุกข์ในนรก ก็ไม่ใช่ง่ายนัก 


       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ ?

       ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

       ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจร ผู้ประพฤติผิดมาแสดงแด่พระราชาว่า “ขอเดชะ ! ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์โปรดลงอาชญาที่ทรงพระราชประสงค์แก่มันเถิด” พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่ม แทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่ม แทงบุรุษนั้นในเวลาเช้า

       ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร ?” พวกราชบุรุษกราบทูลว่า “ขอเดชะ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิม พระเจ้าข้า !” พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลากลางวัน” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น ในเวลากลางวัน

       ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “พ่อมหาจําเริญ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร ?” พวกราชบุรุษกราบทูลว่า “ขอเดชะ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้า !” พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเย็น


       ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงนั้นเป็นเหตุบ้าง หรือหนอ?

       ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ! บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็เสวยทุกขโทมนัสเพราะเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม

       ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

       ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? แผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน?

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้

       ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแล ทุกขโทมนัสที่บุรุษกําลังเสวยเพราะการถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ เปรียบเทียบทุกข์ของนรกยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ 
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

* * * ข้างล่างนี้ มีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฏกด้วย แต่ไม่ได้เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า  เป็นคำแต่งใหม่ที่ใส่เพิ่มเข้าไป

* * * ในหระไตรปิฏก ระบุไว้ว่าเป็นกฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 ( พิมพ์ตามต้นฉบับกฎหมายตราสามดวง ฉบับหลวง )

       หมวด พระไอยการกระบดศึก พิมพ์ครั้งที่ 2 สํานักพิมพ์คุรุสภา

       ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2536


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -   

       1.หม้อเดี๋ยวน้ําส้ม คือ ให้ต่อยกระบานศีศะเลิกออกเสีย แล้ว เอาคีมคีบก้อนเหลกแดงใหญ่ใส่ลง ให้มันสะหมองศีศะพลุ่งฟูขึ้น ดั่งม่อเคี่ยวน้ําส้มพะอูม 

       2.ขอดสังข์ คือ ให้ตัดแต่หนังจำระเบื้องหน้า ถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเปนกําหนด ถึงหมวกหูทั้งสองข้างเปนกําหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเปนกําหนด แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคนโยกถอนคลอนสั่น เพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้ว เอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชําระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์

       3.ปากราหู คือ เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้แล้วตามประทีปไว้ในปาก ไนยหนึ่งเอาปากสิ่วอันคมนั้น แสะแหวะผ่าปากจนหมวกหูทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเตมปาก

       4.มาลัยไฟ คือ เอาผ้าชุ่มน้ํามันพันให้ทั่วกายแล้วเอาเพลิงจุด

       5.คบมือ คือ เอาผ้าชุบน้ํามันพันนิ้วมือสิ้นทั้ง 10 นิ้วแล้วเอาเพลิงจุด 

       6.ริ้วส่าย คือ เชือดเนื้อให้เปนแร่ง เปนริ้ว อย่าให้ขาด ให้เนื่องด้วยหนังตั้งแต่ใต้ตอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจําให้เดิรเหยียบย้ําริ้วเนื้อ ริ้วหนังแห่งตนให้ฉุดคร่าตีจําให้เดิรไปจนกว่าจะตาย 

       7.น่งเปลือกไม้ คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเปนแร่ง เปนริ้ว แต่ใต้คอลงมาถึงเอวแล้วเชือดแต่เอวให้เป็นแร่ง เปนริ้วลงมาถึงข้อเท้า กระทําเนื้อเบื้องบนนั้นให้เปนริ้วตกปกคลุมลงมา เหมือนนุ่งผ้าคากรอง

       8.ยืนกวาง คือ เอาห่วงเหลกสวมข้อสอกทังสองข้อเข่าทังสองข้างให้หมั้นแล้วเอาหลักเหลกสอดลงในวงเหลกแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงลนให้รอบตัวกว่าจะตาย

       9.เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือ เอาเบดใหญ่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วกาย เพิกหนังเนื้อแลเอนน้อยใหญ่ให้หลุดขาดออกมากว่าจะตาย 

       10.เหรียญกษาปณ์ คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกมาจากกาย แต่ที่ละตําลึงกว่าจะสิ้นมังสะ

       11.แปรงแสบ คือ ให้แล่สับฟันทั่วกาย แล้วเอาแปรงหวีชุบน้ําแสบกรีดครูดขุดเซาะหนังแลเนื้อแลเอนน้อยใหญ่ ให้ลอกออกมาให้สิ้น ให้อยู่แต่ร่างกระดูก

       12.กางเวียน คือ ให้นอนลงโดยข้าง ๆ หนึ่งแล้ว ให้เอาหลาวเหลกตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดิน แล้วจับเท้าทังสองหันเวียนไปดังบุทคลทําบังเวียน

       13.ดั่งฟาง คือ ทํามิให้เนื้อพังหนังขาด เอาลูกศีลาบดทุบกระดูกให้แหลกย่อยแล้วรวบผมเข้าทั้งสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทําให้เนื้อเปนกองเปนลอม แล้วพับห่อเนื้อหนังกับทังกระดูกนั้นทอดวางไว้ ทําดั่งตั้งอันทําด้วยฟางซึ่งไว้เชดเท้า

       14.ราดด้วยน้ํามันเดือด ๆ คือ เคี่ยวน้ํามันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วรดสาดลงมาแต่ศีศะกว่าจะตาย

       15.ให้สุนัขทึ้ง คือ ให้กักขังสูนักขร้ายทังหลายไว้ ให้อดอาหารหลายวันให้เตมหยาก แล้วปล่อยออกให้กัดทิ้งเนื้อหนังกิน ให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ  /  หัวข้อใหญ่ : นรก  /  หัวข้อย่อย : อุปมาความทุกข์ในนรก  /  หัวข้อเลขที่ : 22  /  -บาลี อุปริ. ม. 14/311-315/468-474.  /  หน้าที่ : 63 , 64 , 65 , 66 , 67 , 68 , 69 , 70 , 71 , 72    


- END -

ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อปหาสะ

 

  

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อปหาสะ 


      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เคยได้ยินค้าของนักเต้นราผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า นักเต้นรําคนใด ทําให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคําจริงบ้าง คําเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร ?

       อย่าเลยคามณี ! ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย

       คามณิได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ และพระผู้มีพระภาคตรัสห้าม

       คามณิได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า


       คามณี ! เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรํารวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

       เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรํารวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น 

       เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรําย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น 

       นักเต้นรํานั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อ ปหาสะ

       อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรําคนใด ทําให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วยคําจริงบ้าง คําเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรํา ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะดังนี้ไซร้ ความเห็นของเขานั้น เป็นความเห็นผิด.

       คามณี ! ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกําเนิดเดรัจฉาน ของบุคคล ผู้มีความเห็นผิด

* * *  
( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ  /  หัวข้อใหญ่ : นรก  /  หัวข้อย่อย : ปฏิปทาให้เข้าถึงนรกชื่อปหาสะ  /  หัวข้อเลขที่ : 19  /  -บาลี สฬา. สํ. 18/377/589.  /  หน้าที่ : 57 , 58 

 

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง ( ตัดมาบางส่วน )

ข้างล่างนี้ )

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

อายุนรก

ข้างล่างนี้ )

      ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ประมาณอายุในปทุมนรก นานเพียงใด พระเจ้าข้า ! 

       ภิกษุทั้งหลาย ! ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก การนับประมาณอายุในปทุมนรกนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่ทําได้ง่าย

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระองค์สามารถจะทรงกระทําการเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า !

       ภิกษุทั้งหลาย ! อาจเปรียบได้

       ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุกงา ของชาวโกศลมีอัตรา 20 ขารี เมื่อล่วงไปทุกแสนปี บุรุษพึงหยิบเมล็ดงาขึ้นจากเกวียนนั้นออกหนึ่งเมล็ด

       ภิกษุทั้งหลาย ! เกวียนที่บรรทุกงาของชาวโกศล มีอัตรา 20 ขารีนั้น จะพึงถึงความสิ้นไป หมดไปโดยลําดับ นี้ยังเร็วเสียกว่า ส่วน 1 อัพพุทนรกยังไม่พึงถึงความสิ้นไป หมดไปได้เลย

       ภิกษุทั้งหลาย ! 20 อัพพุทนรก เป็น 1 นิรัพพุทนรก

       20 นิรัพพุทนรก เป็น 1 อัพพนรก

       20 อัพพนรก เป็น 1 อหหนรก

       20 อหหนรก เป็น 1 อฏฏนรก  

       20 อฏฏนรก เป็น 1 กุมุทนรก  

       20 กุมุทนรก เป็น 1 โสคันธิกนรก 

       20 โสคันธิกนรก เป็น 1 อุปลกนรก

       20 อุปลกนรก เป็น 1 ปุณฑรีกนรก 

       20 ปุณฑรีกนรก เป็น 1 ปทุมนรก


       อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ


 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 
  

การจองจำที่ทารุณเจ็บปวด

ข้างล่างนี้ )

      ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นการจองจําอื่นแม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจําในนรก หรือในกําเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้



- END -


Wednesday, January 27, 2021

อานิสงส์แห่งการให้ทาน

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อานิสงส์แห่งการให้ทาน


       ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งการให้ทาน 5 ประการนี้มีอยู่  5 ประการเป็นอย่างไร คือ

       ( 1 ) ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก

       ( 2 ) สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน

       ( 3 ) กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป

       ( 4 ) ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์

       ( 5 ) ผู้ให้ทานเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


       ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล อานิสงส์แห่งการให้ทาน 5 ประการ.

       ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่า ดําเนินตามธรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สํารวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : ทำไมจึงให้ทาน  /  หัวข้อย่อย : อานิสงส์แห่งการให้ทาน  /  หัวข้อเลขที่ : 4  /  -บาลี ปญฺจก. อํ. 22/43/35.  /  หน้าที่ : 7 


- END - 

ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ


       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ

       สามารถ สีหะ !  

       สีหะ! ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก แม้ข้อนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง

       อีกประการหนึ่ง สัปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาทายก ผู้เป็นทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง

       อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็นทานบดีย่อมขจร แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง

       อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง

       อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายะ

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : ทำไมจึงให้ทาน  /  หัวข้อย่อย : ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ  /  หัวข้อเลขที่ : 3  /  -บาลี ปญฺจก. อํ. 22/41/34.  /  หน้าที่ : 6  


- END -


จาคะ ( การบริจาค ) เป็นอย่างไร?

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จาคะ ( การบริจาค ) เป็นอย่างไร?


       คหบดี ! ก็จาคสัมปทา ( ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค ) เป็นอย่างไร

       อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทินคือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจํา มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา 

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : ความหมายของทาน  /  หัวข้อย่อย : จาคะ ( การบริจาค ) เป็นอย่างไร?  /  หัวข้อเลขที่ : 2  /  -บาลี จตุกฺก. อํ. 21/85/61.  /  หน้าที่ : 3  


- END - 

ทาน ( การให้ ) เป็นอย่างไร?

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ทาน ( การให้ ) เป็นอย่างไร?


       มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ํา เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป โคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ - โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก

* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : ความหมายของทาน  /  หัวข้อย่อย : ทาน ( การให้ ) เป็นอย่างไร?  /  หัวข้อเลขที่ : 1  /  -บาลี อุปริ. ม. 14/376/579.  /  หน้าที่ : 2  


- END - 

Tuesday, January 26, 2021

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ เรื่อง คำแผ่เมตตา ที่ตรัสจากพระโอษฐ์

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์

เรื่อง คำแผ่เมตตา ที่ตรัสจากพระโอษฐ์ 


เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน

และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้

เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน

และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากบาป อกุศลที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด  /  เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด  /  เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ  /  ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข  /  จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แล้วแลอยู่



สระโบกขรณี มีน้ำ ใส จืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์

ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ

อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ

เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ

และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด

เธอมาถึงธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา

และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง 



เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้ง 4 ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด

ในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น 

ในกรุณาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น  

ในมุทิตาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น  

ในอุเบกขาเจโตวิมุตติ ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น 



เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใดๆ

ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ  /  ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ  /  นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ  /  นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ



เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 อย่าง คือ หลับเป็นสุข  /  ตื่นเป็นสุข  /  ไม่ฝันร้าย  /  เป็นที่รักของพวกมนุษย์  /  เป็นที่รักของพวกอมนุษย์  /  เทวดารักษา

/  ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น  /  จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว  /  สีหน้าผุดผ่อง  /  ไม่หลงทำกาละ  /  เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก 



เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสมำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 อย่างนี้แล


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : ภาคผนวก  /  หัวข้อย่อย : วิธีการเจริญเมตตาและการเจริญพรหมวิหาร  /  หัวข้อเลขที่ : 82  /  -บาลี มู. ม. 12/614/482., -บาลี อฏฺฐก. อํ. 23/309/160., -บาลี เอกาทสก. อํ. 24/370/222.  /  หน้าที่ : 190 , 191 , 192 , 193


* * * ( หมายเหตุ จากผู้ทำเว็บ - การเว้นวรรค การคั่นหน้าต่างๆในข้อมูลข้างบนนี้ เป็นการทำของผู้ทำเว็บเอง เพื่อให้สะดวกต่อการท่องจำ และผู้ทำเว็บแนะนำให้พิมพ์ใส่โปรแกรม Microsoft Word ก่อน แล้วเอาไว้ท่องจำ จะจำได้ง่ายขึ้นครับ


* * * ( หมายเหตุ จากผู้ทำเว็บ - การเว้นวรรค การคั่นหน้าต่างๆในข้อมูลข้างบนนี้ เป็นการทำของผู้ทำเว็บเอง เพื่อให้สะดวกต่อการท่องจำ และผู้ทำเว็บแนะนำให้พิมพ์ใส่โปรแกรม Microsoft Word ก่อน แล้วเอาไว้ท่องจำ จะจำได้ง่ายขึ้นครับ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

ข้างล่างนี้ )


* * * จากพระสูตรข้างบนนี้  ตอนที่ตรัสว่า

"เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไป ตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง

ตรง ตัวหนังสือสีแดง ที่เขียนว่า ตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง นั้น มีพระสูตรอีกอันหนึ่งที่อธิบายไว้ ( ดูข้างล่างนี้ .... )



ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์แผ่รัศมี ส่องแสงให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณเท่าใด

โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง


ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภูเขาสิเนรุ อย่างละพันหนึ่ง  /  มีชมพูทวีป

อมรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหะทวีป อย่างละพันหนึ่ง  /  มีมหาสมุทร มีมหาราช อย่างละสี่พัน  /  มีสวรรค์ชั้น จาตุมมหาราชิกา ตาวตีสา ยามา ตุสิตา นิมมานรตี 

ปรนิมมิตวสวัตตี และพรหม ชั้นละพันหนึ่ง นี้เรียกว่า

สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ  /  โลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล 


สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน

นั้นเรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ  /  โลกธาตุกลางมีล้านจักรวาล


ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้นโดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ  /  โลกธาตุใหญ่มีแสนโกฏิจักรวาล  


* * * หมายเหตุ จากผู้ทำเว็บ - คำอธิบายข้างบนนี้ เป็นการอธิบายคำว่า "โลก" เท่านั้นนะครับ จะเห็นได้ว่า ยังมีโลกแบบที่เราอยู่นี้ ถึงแสนโกฏิจักรวาล

       ในระบบทั้งหมดนั้น ยังมีสิ่งที่อยู่นอกเหนือจาก "โลก" ( ที่มีแสนโกฏิจักรวาล ) นี้อีก พูดให้ฟังได้ดังนี้

       1."โลก" ( ที่มีแสนโกฏิจักรวาล ) นั้น จะอยู่แค่ใน "กามธาตุ" เท่านั้น


       2.ในระบบนั้น มี "กามธาตุ" ( ที่ "โลก" แสนโกฏิจักรวาล ตั้งอยู่ ) แล้วยังมี "รูปธาตุ" และ "อรูปธาตุ" อยู่อีก


       3.โดย "กามธาตุ" ( ที่ "โลก" แสนโกฏิจักรวาล ตั้งอยู่ ) และ "รูปธาตุ" และ "อรูปธาตุ" นั้น จะอยู่ใน "สังขตาธาตุ" อีกทีหนึ่ง


       4."ระบบทั้งหมด" นั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า จะมี สังขตาธาตุ ( อ่านว่า สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ ) , อสังขตาธาตุ ( อ่านว่า อะ-สัง-ขะ-ตา-ธา-ตุ )


       5.และใน อสังขธาตุนั้น จะมีส่วนที่เป็น นิพพาน ที่จะ "ซ้อนอยู่" น อสังขธาตุ อีกทีหนึ่ง  /  ส่วนที่ "ซ้อน" อยู่นี้ เรียกว่า "วิราคะธรรม" ( อ่านว่า วิ-รา-คะ-ธรรม  )


       โดยส่วนตัวแล้ว เวลาแผ่เมตตา ( ที่อยู่ในส่วนบนของหน้าเว็บนี้ ) ผู้ทำเว็บชอบพูดว่า แผ่ไปให้ครอบคลุมทั้ง ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ - โลกธาตุใหญ่มีแสนโกฏิจักรวาล , ครอบคลุมทั้ง กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ , สังขตาธาตุ , อสังขตาธาตุ , วิราคะธรรม



* * * ส่วนเวลาตักบาตรตอนเช้า ผู้ทำเว็บ ก็ขอบพูดในใจตอนที่หย่อนอาหารลงบาตรพระว่า "บุญนี้ เป็นการให้เพื่อเป็นเครื่องประดับจิต บริขารจิต คือการละความตระหนี่อันเป็นมลทิน ให้แล้วไม่คิดจะเอาคืน ให้ของที่ให้ได้โดยยาก และ บุญนี้ขออุทิศให้ ทุกท่านในสังขตาธาตุ , และทุกสิ่งทุกอย่างใน อสังขตาธาตุ , วิราคะธรรม" ( ไม่มี คำว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ เพราะว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ เขาอยู่ใน สังขตาธาตุ อยู่แล้ว )

       การที่ผู้ทำเว็บชอบใช้คำว่า ทุกท่านในสังขตาธาตุ , และทุกสิ่งทุกอย่างใน อสังขตาธาตุ , วิราคะธรรม  ก็เพราะว่าผู้ทำเว็บจะได้ "มั่นใจ" ว่าได้กล่าวครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในระบบจริงๆ ไม่มีการตกหล่นอย่างแน่นอน  




- END - 



Thursday, January 14, 2021

ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ....

 


อานาปานสติ

เทคนิค : ควรนำบทนี้ไป "ท่อง"  /   แล้วตอนเรานั่งสมาธิ ให้นึกถึงคำที่เรา "ท่อง" นี้ เราจะทำอานาปานสติได้ดีขึ้น

ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และ จิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน

เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี

( ข้างล่างนี้ มาจากหนังสือ อานาปานสติ หน้า 1 )

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทําให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทําให้ มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู่ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทํา กายสังขารให้รํางับ  หายใจเข้า ว่า “เราเป็นผู้ทํากายสังขารให้รํางับ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทํา จิตตสังขารให้รํางับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิตตสังขารให้รํางับ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ตั้งมั่น หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ปล่อยอยู่  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทํา จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจํา หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจํา หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจํา  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจํา หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจํา  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจํา หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจํา หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจํา หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

( เสริม - จากพระสูตรอื่น ) พยายามตั้งใจพอดี พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป  เปรียบเหมือนการจับนกด้วยมือ บีบแรงไป นกตาย จับหลวมไป นกหลุดมือ ให้จับพอดี พอดี


- END - 

การวางจิตเมื่อให้ทาน

 

พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง การวางจิตเมื่อให้ทาน 


      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

       สารีบตร! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม ( บุญ ) ให้ทานโดยคิดว่า “เราตายไปจักได้ เสวยผลของทานนี้” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ํา เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ ... เขาให้ทาน นั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา เหล่าจาตุมหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น อย่างนี้

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม ( บุญ ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้” แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ ทานเป็นการดี” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ํา .. ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทาน เป็นการดี” แต่ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทํามา เราก็ไม่ควรทําให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า ยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ 

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ...ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทํามา เราก็ไม่ควรทําให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า ดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มี ความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้  ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จําแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชา มหายัญ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา ... ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่งเทวดาเหล่านิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ ความเป็นอย่างนี้

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดย ไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็น ผู้จําแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ... ภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความ เป็นอย่างนี้

       สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มี ความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทาน อย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิตปรุงแต่งจิต ( จิตตาลงการ์ จิตตปริกชาร์ ) เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ํา... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าพรหมกายิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

       สารีบุตร ! นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ทาน  /  หัวข้อใหญ่ : องค์ประกอบของทานที่ให้แล้วมีผลมาก  /  หัวข้อย่อย : การวางจิตเมื่อให้ทาน  /  หัวข้อเลขที่ : 56  /  -บาลี สตฺตก. อํ. 23/60/49.  /  หน้าที่ : 129 , 130 , 131 , 132  


- END - 

บทสวด ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์

  

บทสวด ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ 

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ

       ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

       ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี

       ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ

       เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ

       เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ

       เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ

       เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ยะทิทัง

       ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา

       เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง

       เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง

       เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง

       เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส

       เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา

       เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา

       เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง

       เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว

       เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ภะวะปัจจะยา ชาติ

       เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ

       เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ

       ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ

       เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ

       แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว

       จึงมีความดับแห่งสังขาร

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งสังขาร

       จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ

       จึงมีความดับแห่งนามรูป

นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งนามรูป

       จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ

       จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งผัสสะ

       จึงมีความดับแห่งเวทนา

เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งเวทนา

       จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งตัณหา

       จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน

       จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ

       เพราะมีความดับแห่งภพ

       จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ 

       เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล

       ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส

       อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ

       ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

       ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้


- END -