Sunday, December 26, 2021

ธรรมวาที

 

ธรรมวาที 


       ธรรมวาที หมายถึง ผู้ที่กล่าวแสดงธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง เรียกว่า ธรรม วาที    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อธรรมวาที หมายถึง ผู้ที่กล่าวธรรมไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความเป็นจริง   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ธรรมวาที หมายถึง ผู้ที่กล่าวแสดงธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง เรียกว่า ธรรมวาที

       อธรรมวาที หมายถึง ผู้ที่กล่าวธรรมไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความเป็นจริง

       ดังข้อความในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม 4 ภาค 2 หน้า 91 

       ข้อความตอนหนึ่งจาก... ธรรมวาทีปัญหาสูตร ว่าด้วยปัญหาผู้เป็นธรรมวาที 

       ( 499 ) ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ ถามท่านพระสารีบุตร ว่า "ดูก่อนท่านพระสารีบุตรใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครหนอเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครหนอเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก" 

       ท่านพระสารีบุตรตอบว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก อนึ่ง ผู้ใดปฏิบัติ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใดละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน กระทำมิให้มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ท่านผู้นั้น เป็นผู้ไปดีแล้วในโลก" 

       ผู้ที่เป็นธรรมวาที ยิ่งกว่า ธรรมวาทีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ตรัสรู้ความจริง แสดงธรรม ที่เป็นวาจาสัจจะ ที่เป็น วาที วาจาที่ทำให้สัตว์โลกเกิดปัญญา และละกิเลสได้ในที่สุด ครับ 


- จบ - 

Tartarus Pro - สีขาว - Web Expression

 

Tartarus Pro - สีขาว - Web Expression


( วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2565 )




- จบ -

Friday, December 24, 2021

อธิกรณ์

 

อธิกรณ์



       อธิกรณ์ ( อ่านว่า อะ-ทิ-กอน ) - เหตุ โทษ คดี เรื่องราว 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อธิกรณ์มี 4 คือ

       1. วิวาทาธิกรณ์ - การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

       2. อนุวาทาธิกรณ์ - การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ เป็นต้น 

       3. อาปัตตาธิกรณ์ - การต้องอาบัติ และ

       4. กิจจาธิกรณ์ - เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม



       ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะของอธิกรณ์แต่ละอย่าง พร้อมทั้งมูลเหตุโดยพิสดาร ในที่สุดตรัสสรุปว่า อธิกรณ์แต่ละอย่างจะระงับได้ด้วยสมถะ (วิธีระงับ) อะไรบ้าง ดังนี้

       1. วิวาทาธิกรณ์ - การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ย่อมระงับด้วยวิธีระงับ 2 ประการ คือ

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 

* * * * * * ระงับโดยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ( เยภุยยสิกา ) 



       2. อนุวาทาธิกรณ์ - การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับศีล ) อาจารวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ ) ทิฏฐิวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับความเห็น ) และอาชีววิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ ) ระงับด้วยวิธีระงับ 4 ประการ คือ

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 

* * * * * * ระงับด้วยยกให้ว่ามีสติ ( สติวินัย ) 

* * * * * * ระงับด้วยยกให้ว่าเป็นบ้า ( อมูฬหวินัย )

* * * * * * ระงับด้วยการลงโทษ ( ตัสสปาปิยสิกา ) 



       3. อาปัตตาธิกรณ์ - การต้องอาบัติต่าง ๆ ระงับด้วยวิธีระงับ 3 ประการ คือ 

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย )  

* * * * * * ระงับด้วยถือคำสารภาพ ( ปฏิญญาตกรณะ ) 

* * * * * * ระงับด้วยให้เลิกแล้วกัน ( ติณวัตถารกะ ) 



       4. กิจาธิกรณ์ - เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม ระงับด้วยวิธีระงับประการเดียว คือระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 


       ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเสร็จไปแล้ว และปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุ ผู้ให้ฉันทะแล้วบ่นว่าในภายหลัง ( เว้นแต่อธิกรณ์นั้นชำระไม่เป็นธรรม )


- จบ -

Wednesday, December 22, 2021

อุกเขปนียกรรม

 

อุกเขปนียกรรม 



       อุกเขปนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย 

       หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย ( ทิฏฐิบาป ) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา

       โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย พูดง่ายๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       นิคคหกรรม

       กรรมทั้ง 5 อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม”

       ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้

       1. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

       2. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ไม่มีมารยาท

       3. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม

       4. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์

       5. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนาจะทำคืน ( แสดง ) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัตินั้น ดังต่อไปนี้ 

       1. ไม่พึงให้อุปสมบท 

       2. ไม่พึงให้นิสัย 

       3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 

       4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี 

       6. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น 

       7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       9. ไม่พึงติกรรม 

       10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       11. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตะภิกษุ 

       12. ไม่พึงยินดีการยืนรับของปกตัตตะภิกษุ 

       13. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรมของปกตัตตะภิกษุ 

       14. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตะภิกษุ 

       15. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตะภิกษุ 

       16. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตะภิกษุ 

       17. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ ไม่พึงยินดีการตั้งตั่งรองเท้าให้ของ ปกตัตตะภิกษุ

       18. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตะภิกษุ

       19. ไม่พึงยินดีการรับบาตรจีวรของปกตัตตะภิกษุ 

       20. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ 

       21. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ 

       22. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ 

       23. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฐิวิบัติ 

       24. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ 

       25. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน

       26. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ 

       27. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ 

       28. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์ 

       29. พึงคบพวกภิกษุ

       30. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ 

       31. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ 

       32. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ 

       33. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ 

       34. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ 

       35. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุข้างใน หรือข้างนอกวิหาร

       36. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ 

       37. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ 

       38. ไม่พึงทำการไต่สวน 

       39. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ 

       40. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       41. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       42. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 

       43. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน 


- จบ -

ปฏิสารณียกรรม

 

ปฏิสารณียกรรม


       ปฏิสารณียกรรม - กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป

       หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นทายก อุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย 4 เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย

       ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       นิคคหกรรม

       กรรมทั้ง 5 อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม”

       ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้

       1. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

       2. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ไม่มีมารยาท

       3. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม

       4. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์

       5. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนาจะทำคืน ( แสดง ) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       นิคหกรรม ( อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ

       นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น

       นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะ เป็นคำคู่กับปัคหะคือการยกย่อง ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือในการปกครอง มีความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์

       เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์ทำนิคหกรรมแก่ผู้นั้นตามพระธรรมวินัย 

       นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ และต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยเท่านั้น  


       วิธีการตัดสิน - นิคหกรรม ที่ระบุไว้ในพระธรรมวินัยมี 6 วิธี คือ

       1. ตัชนียกรรม ข่มไว้ด้วยการตำหนิโทษ

       2. นิยสกรรม ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่ 

       3. ปัพพาชนียกรรม ขับไล่ออกจากหมู่คณะ ให้สึก 

       4. ปฏิสารณียกรรม บังคับให้ขอขมาเมื่อล่วงเกินคฤหัสถ์  

       5. อุกเขปนียกรรม ตัดสิทธิ์ที่จะพึงได้บางอย่าง 

       6. ตัสสาปาปิยสิกากรรม ลงโทษหนักกว่าความผิดฐานให้การกลับไปกลับมา 


- จบ -

ปัพพาชนียกรรม

 

ปัพพาชนียกรรม



       ปัพพาชนียกรรม ( ปับพาชะนียะกำ ใช้ว่า บัพพาชนียกรรม ก็ได้ ) - คือการลงโทษพระภิกษุที่กระทำผิดโดยการขับออกจากคณะสงฆ์

       ในทางศาสนาพุทธ ปัพพาชนียกรรมหมายถึงการขับภิกษุออกจากหมู่คณะ การไล่ภิกษุออกจากวัด เป็นกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงไล่เสีย จัดเป็นนิคหกรรมคือการลงโทษภิกษุอย่างหนึ่งใน 6 อย่าง วิธีทำกรรมนี้ต้องทำเป็นสังฆกรรม คือ ญัตติจตุตถกรรม

       ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร คลุกคลีกับคฤหัสถ์ เป็นผู้วิบัติทางศีลอาจาระ และทิฐิ กล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพ  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       การลงโทษขับไล่ ( ปัพพาชนียกรรม )  

       ภิกษุที่เป็นพวกของพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะซึ่งอยู่ ณ ชนบท ชื่อกิฏาคิรี เป็นพระอลัชชีประพฤติสิ่งที่ไม่สมควร เช่น ปลูกต้นไม้เอง ใช้ให้ปลูกต้นไม้ให้คฤหัสถ์ ร้อยดอกไม้ให้คฤหัสถ์ บริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล ดื่มน้ำเมา ทัดทรงดอกไม้ ฟ้อนรำขับร้อง และเล่นซนอื่น ๆ 

       พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงส่งพระสาริบุตร พระโมคคัลลานะให้ไปจัดการลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทรงแนะวิธีทำ วิธีสวดประกาศ มิให้ภิกษุพวกของพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ อยู่ในชนบทชื่อกิฏาคิรีต่อไป 

       ทรงแสดงลักษณะการทำปัพพาชนียกรรมว่าอย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม ซึ่งมีข้อกำหนดเหมือนตัชชนียกรรมซึ่งกล่าวมาแล้ว 

       แล้วทรงแสดงลักษณะของภิกษุผู้ควรลงปัพพาชนียกรรม ( ขับไล่ ) หลายประการ มีทั้งความไม่ดี ไม่งาม แบบที่กล่าวไว้ในตัชชนียกรรม และนิยสกรรม มีทั้งความไม่ดีไม่งาม อันเนื่องด้วยความประพฤติ ไม่สมควรทางกายวาจา และการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เป็นต้น 

       การเสียสิทธิของภิกษุผู้ถูกลงปัพพาชนียกรรม คงมี 18 อย่างเช่นเดียวกับตัชชนียกรรม ( แต่ที่พิเศษออกไปก็คือ การถูกขับไล่ไม่ให้อยู่ในที่อยู่ของตน ) 

       แล้วทรงแสดงลักษณะที่ไม่ควรระงับการลงโทษ และควรระงับการลงโทษเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว 


- จบ -

นิยสกรรม

 

นิยสกรรม



       นิยสกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ ได้แก่ การถอดยศ

       เป็นชื่อนิคคหกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่ควร โดยปรับให้ถือนิสัยใหม่อีก 


ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B9%D4%C2%CA%A1%C3%C3%C1  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       นิคคหกรรม

       กรรมทั้ง 5 อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม”

       ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้

       1. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

       2. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ไม่มีมารยาท

       3. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม 

       4. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์ 

       5. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนาจะทำคืน ( แสดง ) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       นิคหกรรม ที่ระบุไว้ในพระวินัยมี 6 วิธี คือ

       1 ) ตัชชนียกรรม ข่มไว้ด้วยการตำหนิโทษ 

       2) นิยสกรรม ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่

       3) ปัพพาชนียกรรม ขับไล่ออกจากหมู่คณะ 

       4) ปฏิสารณียกรรม บังคับให้ขอขมาเมื่อล่วงเกินคฤหัสถ์ 

       5) อุกเขปนียกรรม ตัดสิทธิที่จะพึงได้บางอย่าง 

       6) ตัสสปาปิยสิกากรรม ลงโทษหนักกว่าความผิดฐานให้การกลับไปกลับมา


       นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีความผิดร้ายแรงหรือครุกาบัติ และต้องเป็นตามพระธรรมวินัยเท่านั้น 


- จบ -

ตัชชนียกรรม

 

ตัชชนียกรรม


       ตัชชนียกรรม ( อ่านว่า ตัด-ชะ-นี-ยะ-กำ ) - ชื่อการลงโทษสถานหนึ่งตามวินัยสงฆ์ คือ การลงโทษตามปฏิญญา หมายความว่าต้องให้ภิกษุผู้เป็นจำเลยให้การก่อน แล้วสงฆ์จึงประกาศถอนสิทธิบางประการ จนกว่าจะกลับตัวได้

       การลงโทษแบบนี้ใช้สำหรับภิกษุที่ทำความผิดไม่หนัก แต่หลายเรื่องสับสนและชอบก่อความบาดหมางในวงสงฆ์ 


- จบ -

ตัสสปาปิยสิกากรรม

 

ตัสสปาปิยสิกากรรม 



       ตัสสปาปิยสิกากรรม ( อ่านว่า ตัด-สะ-ปา-ปิ-ยะ-สิ-กา ) - ชื่อวิธีการลงโทษแก่ภิกษุผู้ผิดอย่างหนึ่ง ภิกษุใดชอบพูดพล่อยๆ เถลไถล เมื่อสงฆ์ซักถามเกี่ยวกับความผิด ให้ลงโทษสถานนี้ คือ ประกาศตัดสิทธิ์บางประการชั่วคราว  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม

       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า

       สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ตัสสปาปิยสิกา ( การระงับด้วยการลงโทษ ) 

       ภิกษุชื่ออุปวาฬะ ถูกฟ้องด้วยเรื่องต้องอาบัติในที่ประชุมสงฆ์ ปฏิเสธแล้วกลับรับ รับแล้วกลับปฏิเสธ ให้การกลับกลอก กล่าวเท็จทั้ง ๆ รู้ 

       พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงทรงแนะให้สงฆ์ใช้วิธีตัสสปาปิยสิกา คือให้สวดประกาศเป็นการสงฆ์ลงโทษจำเลย ( ตามควรแก่อาบัติ )


- จบ -

สติวินัย

 

สติวินัย



       สติวินัย - วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณาเพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สติวินัย - เป็นหนึ่งในอธิกรณ์สมถะ 7 อย่าง เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้ว

       ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ

       พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า

       ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว

       ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล

       อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้ ฯ 


- จบ -

อมูฬหวินัย

 

อมูฬหวินัย 


       อมูฬหวินัย คือ ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว

       วิธีระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุผู้หายจากเป็นบ้า ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์

       อธิบายว่า จำเลยเป็นบ้าทำการล่วงละเมิดอาบัติ แม้จะเป็นจริงก็เป็นอนาบัติ เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทด้วยอาบัติระหว่างเป็นบ้านั้นไม่รู้จบ ท่านให้สงฆ์สวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่า อมูฬหวินัย ยกฟ้องของโจทเสีย ภายหลังมีผู้โจทด้วยอาบัตินั้น หรืออาบัติเช่นนั้น ในความที่เป็นบ้า ก็ให้อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วยอมูฬหวินัย  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อมูฬหวินัย - ภิกษุชื่อคุคคะ เป็นบ้า ได้ทำความผิดหลายประการ มีผู้โจทฟ้อง พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะให้ระงับด้วยอมูฬวินัย โดยให้ผู้ถูกฟ้อง ( ซึ่งหายแล้ว ) ขออมูฬหวินัย และให้สงฆ์สวดประกาศให้อมูฬหวินัย เป็นอันระงับด้วยยกให้เป็นบ้าในขณะทำความผิด 

       แต่ก็ทรงวางเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าทำความผิดขณะที่รู้สึกตนและไม่เป็นบ้า แต่แก้ตัวว่าไม่รู้สึกตน หรือรู้สึกเหมือนฝัน หรือแก้ตัวอ้างความเป็นบ้าสงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ ดังนี้ เรียกว่าไม่เป็นธรรม

       ถ้าตรงกันข้าม คือทำไปในขณะเป็นบ้าไม่รู้สึกตัวจริง ๆ การให้อมูฬหวินัยจึงเป็นธรรม.


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ

       พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว

       ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าถึงความเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดละเมิดไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมุฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล

       อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้ ฯ  


- จบ -

Sunday, December 19, 2021

ทำเส้นดินสอ ให้เป็น Vector ใน Illustrator - หน้า 3

 

- หน้า 3 ( หน้าสุดท้าย ) -


 1  <  2  <  3  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

7. เอา สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ ออก 

ข้างล่างนี้ )

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

ภาพบน ) เลือกคำสั่ง Object > Unlock All

ตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้


ณ.ตอนนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ทั้งตัว Object และสิ่งรอบๆ

จะถูก "ปลด Lock" หมดแล้ว


 ( ภาพบน ) สังเกตุว่า สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ ได้ Active ขึ้นมาแล้ว

วิธีสังเกตุคือ เมื่อดูตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน-ฟ้า ทั้ง 8 อัน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้

จะเห็น สี่เหลี่ยมเล็กๆ ปรากฏอยู่ตามมุมต่างๆของ สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ

การที่มี สี่เหลี่ยมเล็กๆ ปรากฏอยู่ ก็หมายความว่า

ตัว สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ นั้น ได้ Active ขึ้นมาแล้ว 


ภาพบน ) คลิก “ซ้าย” 1 ครั้ง ไปที่ด้านนอก สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ

โดยจะคลิกตรงไหนก็ได้ ( ที่อยู่ ด้านนอก สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ )

ยกตัวอย่างเช่น คลิกไปตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้


ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือภาพ "ก่อน

คลิก “ซ้าย” 1 ครั้ง ไปที่ด้านนอก Bounding Box

( ที่เราทำไป ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" ใน "ภาพก่อนหน้านี้" ) 

เมื่อดูตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน-ฟ้า ทั้ง 8 อัน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็น สี่เหลี่ยมเล็กๆ ปรากฏอยู่ตามมุมต่างๆของ สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ

การที่มี สี่เหลี่ยมเล็กๆ ปรากฏอยู่ ก็หมายความว่า

ตัว สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ กำลัง Active อยู่ 



ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือภาพ "หลัง

คลิก “ซ้าย” 1 ครั้ง ไปที่ด้านนอก Bounding Box

( ที่เราทำไป ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" ใน "ภาพก่อนหน้านี้" ) 

เมื่อดูตรงที่ 
ปีกกาสีส้ม ทั้ง 4 อัน ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้

    จะเห็นได้ว่า สี่เหลี่ยมเล็กๆ ทั้ง 8 อัน ได้ "หายไปหมดแล้ว"

การที่ จะเห็นได้ว่า สี่เหลี่ยมเล็กๆ ทั้ง 8 อัน ได้ "หายไปหมดแล้ว"

ก็แสดงว่า สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ นี้ "
ไม่Active แล้วนั่นเอง 


ภาพบน ) ณ.ตอนนี้ "หน้าจอ" คอมพิวเตอร์ของเรา

จะเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 


ภาพบน ) คลิก "ซ้าย" 1 ครั้ง ไปที่บริเวณใดก็ได้ของ สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ

ยกตัวอย่างเช่น คลิกไปตรงที่ 
ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้



ภาพบน ) ผลของการคลิก "ซ้าย" 1 ครั้ง

ไปที่บริเวณใดก็ได้ของ สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ 

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ทั้ง 8 อัน ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า ได้ปรากฏ สี่เหลี่ยมเล็กๆ ขึ้นมาแล้ว

การที่ปรากฏ สี่เหลี่ยมเล็กๆ ขึ้นมารอบๆ สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ 

ก็แสดงว่า สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ นี้ ได้ Active แล้ว


ภาพบน ) กด ปุ่ม Delete



ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือภาพ "ก่อน" การกด ปุ่ม Delete  

( ที่เราทำไป ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" ใน "ภาพก่อนหน้านี้" ) 

เมื่อดูตรงที่ ลูกศรสีน้ำเงิน-ฟ้า ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า ยังปรากฏ 
สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ อยู่   




ภาพบน ) ข้างบนนี้ คือภาพ "หลัง" การกด ปุ่ม Delete  

( ที่เราทำไป ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" ใน "ภาพก่อนหน้านี้" ) 

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า สี่เหลี่ยม-เขียวทึบ ได้หายไปแล้ว 


ภาพบน ) ณ.ตอนนี้ "หน้าจอ" คอมพิวเตอร์ของเรา

จะเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

8. "ลบ" ส่วนที่ไม่ต้องการออก

ข้างล่างนี้ )

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

ภาพบน ) กด ปุ่ม V 


ภาพบน ) กด ปุ่ม V ก็จะเหมือนการคลิกไปที่

ศรดำ - Selection Tool ที่อยู่ที่ "กล่องเครื่องมือ"

ตรงที่ 
ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) เคอร์เซอร์ เมาส์ จะเปลี่ยนเป็น สัญลักษณ์ ลูกศรสีดำ

เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

เครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Selection Tool 


ภาพบน ) จากนั้นก็ให้เอา เคอร์เซอร์ เมาส์ ( ศรดำ )

ทำการ "ลากคร่อม" ตัว Object เป็น "แนวทะแยง"

คือลากไปตามแนวของ เส้นประลูกศรสีม่วง

แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) "ปล่อย" ปุ่มเมาส์



ภาพบน ) ผลของการเอา เคอร์เซอร์ เมาส์ ( ศรดำ )

ทำการ "ลากคร่อม" ตัว Object เป็น "แนวทะแยง"

แล้ว "ปล่อย" ปุ่มเมาส์ แล้ว      

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า ตัว Object นั้น Active แล้ว


ภาพบน ) เลือกคำสั่ง Object > Ungroup

ตรงที่ 
ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) ผลของการเลือกคำสั่ง Object > Ungroup     

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า ณ.ตอนนี้ Object นี้ ได้ ถูก “Ungroup” เรียบร้อยแล้ว


ภาพบน ) คลิก “ซ้าย” 1 ครั้ง ไปที่ด้านนอก Bounding Box

โดยจะคลิกตรงไหนก็ได้ ( ที่อยู่ ด้านนอก Bounding Box )

ยกตัวอย่างเช่น คลิกไปตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 



ภาพบน ) ผลของการ  คลิก “ซ้าย” 1 ครั้ง ไปที่ด้านนอก Bounding Box     

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า ตัว Object นี้ "
ไม่Active แล้ว


ภาพบน ) ณ.ตอนนี้ "หน้าจอ" คอมพิวเตอร์ของเรา

จะเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ


 ( ภาพบน ) ถ้า สังเกตุให้ดี จะเห็น จุดเล็กๆ

ตรงที่ 
ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

ซึ่ง “ติดมา” ตอนที่เรา Scan ภาพมาจากกระดาษตั้งแต่ครั้งแรก



ภาพบน ) กด ปุ่ม V 


ภาพบน ) กด ปุ่ม V ก็จะเหมือนการคลิกไปที่

ศรดำ - Selection Tool ที่อยู่ที่ "กล่องเครื่องมือ"

ตรงที่ 
ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) เคอร์เซอร์ เมาส์ จะเปลี่ยนเป็น สัญลักษณ์ ลูกศรสีดำ

เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 

เครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Selection Tool 


ภาพบน ) จากนั้นก็ให้เอา เคอร์เซอร์ เมาส์ ( ศรดำ )

ทำการ "ลากคร่อมจุดเล็กๆ ที่ว่านั้น เป็น "แนวทะแยง"

คือลากไปตามแนวของ เส้นประลูกศรสีม่วง

แบบที่เห็นในภาพข้างบนนี้ 


ภาพบน ) ผลของการเอา เคอร์เซอร์ เมาส์ ( ศรดำ )

ทำการ "ลากคร่อมจุดเล็กๆ ที่ว่านั้น เป็น "แนวทะแยง"      

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า 
จุดเล็กๆ นั้น ได้ Active แล้ว


ภาพบน ) กด ปุ่ม Delete  


ภาพบน ) ผลของการ กด ปุ่ม Delete  

( ใน "ขั้นตอนก่อนหน้านี้" - ใน "ภาพก่อนหน้านี้" )  

เมื่อดูตรงที่ 
ลูกศรสีส้ม-เหลือง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ 

จะเห็นได้ว่า 
จุดเล็กๆ นั้นได้ “หายไป” เรียบร้อยแล้ว  

ภาพบน ) ณ.ตอนนี้ "หน้าจอ" คอมพิวเตอร์ของเรา

จะเป็นเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

สรุปสั้นๆอีกครั้งหนึ่งนะครับ

ข้างล่างนี้ )

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     


       สรุปสั้นๆได้ว่า ขั้นตอนการเปลี่่ยนเส้นดินสอให้เป็น Vector นั้น ให้ทำตามลำดับดังนี้คือ

       1. วาดภาพด้วยดินสอก่อน

       2. แสกนภาพนั้น

       3. เปิดภาพใน Photoshop

       4. ใข้หลอดดูดสีขาว  

       5. Save ภาพเอาไว้ ใน Photoshop

       6. ใช้คำสั่ง New ใน Illustrator 

       7. เพิ่ม Layer ให้เป็น 2 Layers

       8. จากนั้นก็ Place ภาพที่ Layer ด้านบน ( Layer ที่ 2 ) โดยใช้คำสั่ง File > Place เพื่อเปิดภาพที่เรา Save มาจาก Photoshop

       9. ใส่พื้นเขียว ( สี่เหลี่ยม-สีเขียว ) ไว้ข้างล่าง โดยใช้คำสั่ง Arrange > Send to Back ไปที่ สี่เหลี่ยม-สีเขียว

       10. แล่ว Lock สี่เหลี่ยม-สีเขียว เอาไว้ โดยใช้คำสั่ง Object > lock > Sellection  /  จะได้ดูสี ( สี่เหลี่ยม-สีเขียว นี้ ให้อยู่ใน Layer เดียวกันกับ  Layer ที่ 2 )

       11. กด Emblem เพื่อผังภาพ  /  เลือกตัวเลือก Flatten Layer to a Single Image แล้วกด OK

       12. กด Live Trace แล้วเลือก Photo High Fidelity

       13. ใช้คำสั่ง Object > Expand 

       14. ลากคลุมแล้วใช้คำสั่ง Object > ungroup 

       15. ใช้ Magic wand tool เลือกสีขาว - มันจะเลือกสีขาวทุกที่ 

       16. จากนั้น กดปุ่ม Delete เพื่อลบสีขาวทั้งหมดออก

       17. ที่เหลือเราก็ใช้ ศรดำ ลากคลุม / เครื่องหมาย Fill จะเป็น ? ซึ่งเราก็ไม่ต้องสนใจ

       18. เติมสีดำลงไปเลย

       19. ใช้คำสั่ง Ungroup อีกครั้ง

       20. ลบส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่นพวกเม็ดเล็กๆ ที่ติดมากับการ Scan ภาพตั้งแต่แรก


       จบแล้วครับ ...



- จบ -

 1  <  2  <  3