Wednesday, June 30, 2021

มหาขันธกะ : ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ 



ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ

       102.ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค 5 ชนิด * * * ( 1 ) กระทบเข้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช

       รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 )  โรค 5 ชนิดนั้นคือ 

       โรคเรื้อน 1 

       โรคฝี 1 

       โรคกลาก 1 

       โรคมองคร่อ 1 

       โรคลมบ้าหมู 1 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 224 


- END -

มหาขันธกะ : อันตรายิกธรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : อันตรายิกธรรม



อันตรายิกธรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 101 ) 


       ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น 5 ชนิด คือ

       โรคเรื้อน 1

       โรคฝี 1

       โรคกลาก 1

       โรคมองคร่อ 1 

       โรคลมบ้าหมู 1 

       ประชาชนอันโรค 5 ชนิดกระทบเข้าแล้ว ได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณา ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย … 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : อันตรายิกธรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 223 



- END -

มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี 



ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี 

       1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ในพระธรรมวินัยนี้ เข้าบ้านไม่เช้าเกินไป กลับไม่สายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี 


       2.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี 


       3.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอดส่องในการนั้น อาจทำได้ อาจจัดการได้ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี 


       4.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียนอรรถกถา ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา* * * ( 1 )  แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี 


       5.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์

       ตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวติครูคนนั้น ติความเห็น ความชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ

       เมื่อเขากล่าวติพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ

       ก็หรือตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ

       เมื่อเขากล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ ร่าเริง ชอบใจ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติที่ชวนให้สงฆ์ยินดี แห่งกุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี


       กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีเช่นนี้แล มาแล้วพึงอุปสมบทให้ 


       100.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เปลือยกายมา ต้องแสวงหาจีวรซึ่งมีอุปัชฌายะเป็นเจ้าของ

       ถ้ายังมิได้ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์ เพื่อปลงผม 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชฎิลผู้บูชาไฟเหล่านั้นมาแล้ว พึงอุปสมบทให้ ไม่ต้องให้ปริวาสแก่พวกเธอ

       ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

       ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะชฎิลเหล่านั้น เป็นกรรมวาที กิริยวาที


       101.ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็น อัญญเดียรถีย์ มา เธอมาแล้วพึงอุปสมบทให้ ไม่ต้องให้ปริวาสแก่เธอ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราให้บริหารข้อนี้เป็นส่วนพิเศษเฉพาะหมู่ญาติ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) ในส่วนนี้มีบาลีว่า “ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ อุทฺเทเส ปริปุจฺฉาย อธิสีเล อธิจิตฺเต อธิปญฺญาย ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2535 แปลว่า เป็นผู้มีฉันทะแรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา – ผู้รวบรวม



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 222 , 223



- END -
   



มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี  


ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี

       1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ในพระธรรมวินัยนี้ เข้าบ้านเช้าเกินไป กลับสายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี 


       2.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร หรือมีภิกษุณีเป็นโคจร

       แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี 


       3.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ขยัน เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อน สพรหมจารี ทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอดส่องในการนั้น ไม่อาจทำ ไม่อาจจัดการ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี 


       4.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียน อรรถกถา ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา * * * ( 1 )  

       แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 ) ในส่วนนี้มีบาลีว่า “น ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ อุทฺเทเส ปริปุจฺฉาย อธิสีเล อธิจิตฺเต อธิปญฺญาย ฯ

       ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2535 แปลว่า เป็นผู้ไม่มีฉันทะแรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา คัมภีร์อรรถกถา ( วิ.อ. 3/87/53 ) ได้ให้ความเห็นว่า อุทเทส หมายถึง การเรียนบาลี ปริปุจฉา หมายถึง อรรถกถา

       ส่วนพจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า อุทเทส หมายถึง การยกขึ้นแสดง , การชี้แจง , การบรรยาย เป็นต้น

       ปริปุจฉา หมายถึง การถาม – ผู้รวบรวม


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 220 , 221
 


- END -

มหาขันธกะ : ติตถิยปริวาส

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : ติตถิยปริวาส



ติตถิยปริวาส 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 100 ) 


       96.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ อันพระอุปัชฌายะว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของอุปัชฌายะเสีย แล้วเข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นดังเดิม มาแล้ว

       ไม่พึงอุปสมบทให้ 


       97.แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ปริวาส 4 เดือนแก่เธอ 


       98.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ ติตถิยปริวาส อย่างนี้


วิธีให้ติตถิยปริวาส

       ชั้นต้น พึงให้กุลบุตรที่เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วนั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี สั่งว่า จงว่าอย่างนี้ 

       แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้ 

* * * ไตรสรณคมน์ 

       พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

       ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง 


       ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

       ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง 


       สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ 

       ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง 


       ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

       ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง 


       ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

       ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง 


       ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ 

       ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง 


       ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

       ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม 


       ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ 

       ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม 


       ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ 

       ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอติตถิยปริวาสอย่างนี้ ว่าดังนี้


* * * คำขอติตถิยปริวาส

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าผู้มีชื่อนี้ เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาส 4 เดือนต่อสงฆ์ 

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง 

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาให้ ติตถิยปริวาส

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส 4 เดือนต่อสงฆ์

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส 4 เดือน แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

       นี่เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ผู้มีชื่อนี้ เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส 4 เดือนต่อสงฆ์

       สงฆ์ให้ปริวาส 4 เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์

       การให้ปริวาส 4 เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

       ปริวาส 4 เดือน สงฆ์ให้แล้วแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       99.ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้ และ เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : ติตถิยปริวาส 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 218 , 219 , 220
 


- END -




Monday, June 28, 2021

มหาขันธกะ : องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 14 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 14 หมวด



องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 14 หมวด 
* * * ( 1 )


* * * กัณหปักษ์ 1


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 99 ) 


       82.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ 

       2.ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ 

       3.ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       6.มีพรรษาหย่อน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 1

       83.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ 

       2.ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ

       3.ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       6.มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 2 

       84.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ 

       2.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ 

       3.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       6.มีพรรษาหย่อน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 2

       85.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ

       2.ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ

       3.ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ

       5.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       6.มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 3 
 
       86.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 

       2.เป็นผู้ไม่มีหิริ 

       3.เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ 

       4.เป็นผู้เกียจคร้าน 

       5.เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน 

       6.เป็นผู้มีพรรษาหย่อน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


* * * ศุกลปักษ์ 3 

       87.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้มีศรัทธา 

       2.เป็นผู้มีหิริ 

       3.เป็นผู้มีโอตตัปปะ 

       4.เป็นผู้ปรารภความเพียร 

       5.เป็นผู้มีสติตั้งมั่น 

       6.เป็นผู้มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 4

       88.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล 

       2.เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร 

       3.เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง

       4.เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย

       5.เป็นผู้มีปัญญาทราม

       6.เป็นผู้มีพรรษาหย่อน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 4 

       89.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้ไม่มีวิบัติด้วยศีล ในอธิศีล 

       2.เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร

       3.เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง 

       4.เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก 

       5.เป็นผู้มีปัญญา 

       6.เป็นผู้มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


* * * กัณหปักษ์ 5  

       90.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาล อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ 

       2.ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน 

       3.ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       4.ไม่รู้จักอาบัติ 

       5.ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ 

       6.มีพรรษาหย่อน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 5

       91.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.อาจพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาล อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ

       2.อาจระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน

       3.อาจบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย อันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       4.รู้จักอาบัติ 

       5.รู้จักวิธีออกจากอาบัต 

       6.มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 6

       92.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่อาจฝึกปรือ อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร 

       2.ไม่อาจแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

       3.ไม่อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป 

       4.ไม่อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป 

       5.ไม่อาจเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       6.มีพรรษาหย่อน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 6 

       93.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.อาจฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร 

       2.อาจแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ 

       3.อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป 

       4.อาจแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป 

       5.อาจเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       6.มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 7

       94.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.ไม่รู้จักอาบัติ 

       2.ไม่รู้จักอนาบัติ 

       3.ไม่รู้จักอาบัติเบา 

       4.ไม่รู้จักอาบัติหนัก

       5.เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ 

       6.มีพรรษาหย่อน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 7 

       95.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.รู้จักอาบัติ 

       2.รู้จักอนาบัติ 

       3.รู้จักอาบัติเบา 

       4.รู้จักอาบัติหนัก 

       5.เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ 

       6.มีพรรษาได้ 10 หรือพรรษาเกิน 10

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 ) ในพระไตรภาษาบาลีฉบับสยามรัฐระบุว่ามี 16 หมวด แต่นับหมวดได้จริงเพียง 14 หมวด และในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2500 และฉบับเฉลิมพระเกียรติฯ พ.ศ.2549 ระบุว่ามี 14 หมวด – ผู้รวบรวม 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 14 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 211 , 212 , 213 , 214 , 215 , 216 , 217 



- END -



มหาขันธกะ : องค์ 5 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 16 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : องค์ 5 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 16 หมวด 



องค์ 5 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 16 หมวด


* * * กัณหปักษ์ 1


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 98 ) 


       66.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ 

       2.ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ 

       3.ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 1

       67.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ 

       2.ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ 

       3.ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


* * * กัณหปักษ์ 2

       68.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ

       2.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ

       3.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ

       5.ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 2

       69.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ

       2.ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ 

       3.ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ 

       4.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ 

       5.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 3 

       70.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.เป็นผู้ไม่มีศรัทธา 

       2.เป็นผู้ไม่มีหิริ 

       3.เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ 

       4.เป็นผู้เกียจคร้าน 

       5.เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 3 

       71.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้มีศรัทธา 

       2.เป็นผู้มีหิริ 

       3.เป็นผู้มีโอตตัปปะ 

       4.เป็นผู้ปรารภความเพียร

       5.เป็นผู้มีสติตั้งมั่น 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 4 

       72.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล 

       2.เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร

       3.เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง

       4.เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย 

       5.เป็นผู้มีปัญญาทราม 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 4

       73.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล

       2.เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร 

       3.เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง 

       4.เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก 

       5.เป็นผู้มีปัญญา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 5 

       74.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาล อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ 

       2.ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน 

       3.ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       4.ไม่รู้จักอาบัติ 

       5.ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 5 

       75.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.อาจจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาล อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ผู้อาพาธ 

       2.อาจจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน

       3.อาจจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย อันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       4.รู้จักอาบัติ 

       5.รู้จักวิธีออกจากอาบัติ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 6

       76.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่อาจจะฝึกปรือ อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิสมาจาร 

       2.ไม่อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ 

       3.ไม่อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป 

       4.ไม่อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป 

       5.ไม่อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 6 

       77.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.อาจจะฝึกปรือ อันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็น อภิสมาจาร 

       2.อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ 

       3.อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป 

       4.อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป 

       5.อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 7

       78.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.ไม่รู้จักอาบัติ 

       2.ไม่รู้จักอนาบัติ 

       3.ไม่รู้จักอาบัติเบา 

       4.ไม่รู้จักอาบัติหนัก 

       5.เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 7 

       79.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.รู้จักอาบัติ 

       2.รู้จักอนาบัติ 

       3.รู้จักอาบัติเบา 

       4.รู้จักอาบัติหนัก 

       5.เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * กัณหปักษ์ 8 

       80.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ 

       1.ไม่รู้จักอาบัติ 

       2.ไม่รู้จักอนาบัติ 

       3.ไม่รู้จักอาบัติเบา 

       4.ไม่รู้จักอาบัติหนัก 

       5.มีพรรษาหย่อน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก 


* * * ศุกลปักษ์ 8 

       81.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

       1.รู้จักอาบัติ 

       2.รู้จักอนาบัติ 

       3.รู้จักอาบัติเบา 

       4.รู้จักอาบัติหนัก 

       5.มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : องค์ 5 แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท 16 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 204 , 205 , 206 , 207 , 208 , 209 , 210 , 211



- END -

มหาขันธกะ : ว่าด้วยการประณาม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : ว่าด้วยการประณาม




ว่าด้วยการประณาม 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 95 ) 


       47.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก จะไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ไม่ได้ 

       รูปใดไม่ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       48.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประณาม อันเตวาสิก ผู้ไม่ประพฤติชอบ 


* * * วิธีประณาม 

       49.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาจารย์พึงประณาม อันเตวาสิก อย่างนี้ว่า

       ฉันประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย หรือพึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน

       ดังนี้ก็ได้ 

       อาจารย์ย่อมยัง อันเตวาสิก ให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้

       อันเตวาสิก ชื่อว่าเป็นอันถูกประณามแล้ว

       ถ้ามิให้รู้ด้วยกาย มิให้รู้ด้วยวาจา มิให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจา 

       อันเตวาสิก ไม่ชื่อว่าถูกประณาม 


       สมัยต่อมา พวก อันเตวาสิก ถูกประณามแล้ว ไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ

       ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 

       50.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ อันเตวาสิก ขอให้อาจารย์ อดโทษ 


       51.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อาจารย์อดโทษไม่ได้

       รูปใดไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายอันเหล่า อันเตวาสิก ขอให้อดโทษอยู่ ก็ไม่ยอมอดโทษ … ตรัสว่า 

       52.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาจารย์อดโทษ 


       53.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์อันพวก อันเตวาสิก ขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้

       รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายประณาม อันเตวาสิก ผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณาม อันเตวาสิก ผู้ประพฤติมิชอบ … ตรัสว่า 

       54.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ผู้ประพฤติชอบ อาจารย์ไม่พึงประณาม

       รูปใดประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ 


       55.แต่ อันเตวาสิก ผู้ประพฤติมิชอบ อาจารย์จะไม่ประณามไม่ได้

       รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * องค์แห่งการประณาม 

       56.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณาม อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วย องค์ 5 คือ

       1.หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้ 

       2.หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้ 

       3.หาความละอายอย่างยิ่งมิได้ 

       4.หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ 

       5.หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณาม อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล 


       57.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณาม อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1.มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์ 

       2.มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง 

       3.มีความละอายอย่างยิ่ง 

       4.มีความเคารพอย่างยิ่ง

       5.มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณาม อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล 


       58.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรประณามคือ 

       1.หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้ 

       2.หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้

       3.หาความละอายอย่างยิ่งมิได้ 

       4.หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ 

       5.หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรประณาม 


       59.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ควรประณาม คือ

       1.มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์ 

       2.มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง 

       3.มีความละอายอย่างยิ่ง 

       4.มีความเคารพอย่างยิ่ง 

       5.มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรประณาม 


       60.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ

       1.หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้ 

       2.หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้ 

       3.หาความละอายอย่างยิ่งมิได้ 

       4.หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้

       5.หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ 


       61.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ 5  อาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ คือ

       1.มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์

       2.มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง 

       3.มีความละอายอย่างยิ่ง 

       4.มีความเคารพอย่างยิ่ง 

       5.มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล อาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ 


* * * การให้นิสสัย 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 92 ) 


       62.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้นิสสัย รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       63.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ มีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 ให้นิสสัย 


* * * นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 97 ) 


       64.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ 5 อย่างดังนี้ คือ 

       1.อุปัชฌายะหลีกไป 

       2.สึกเสีย 

       3.ถึงมรณภาพ 

       4.ไปเข้ารีดเดียรถีย์ 

       5.สั่งบังคับ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ 5 อย่างนี้แล 


       65.ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ 6 อย่าง ดังนี้ คือ 

       1.อาจารย์หลีกไป 

       2.สึกเสีย

       3.ถึงมรณภาพ 

       4.ไปเข้ารีดเดียรถีย์ 

       5.สั่งบังคับ 

       6.ไปร่วมเข้ากับอุปัชฌายะ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ 6 อย่างนี้แล 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : ว่าด้วยการประณาม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 199 , 200 , 201 , 202 , 203 



- END -

มหาขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร 


สิกวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 94 ) 


       45.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบใน อันเตวาสิก 


       46. วิธีประพฤติชอบใน อันเตวาสิก นั้น ดังต่อไปนี้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันเตวาสิก ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสน์ 

       ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิก ไม่มีบาตร อาจารย์พึงให้บาตรแก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตร
พึงบังเกิดแก่ อันเตวาสิก

       ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิก ไม่มีจีวร อาจารย์พึงให้จีวรแก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่ อันเตวาสิก 

       ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิก ไม่มีบริขาร อาจารย์พึงให้บริขารแก่ อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่ อันเตวาสิก

       ถ้า อันเตวาสิก อาพาธ อาจารย์ลุกแต่เช้าตรู่ แล้วพึงให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ 

       ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วนำยาคูเข้าไปให้

       เมื่ออันเตวาสิกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ

       รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้

       เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 

       ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นให้

       พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำด้วย

       พึงปูผ้าอาสนะที่นั่งฉันไว้ด้วยกำหนดในใจว่า เพียงเวลาเท่านี้ อันเตวาสิก จักกลับมา

       น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงเตรียมตั้งไว้

       พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด

       พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน 4 นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง

       พึงทำประคตเอวไว้ในขนด อันตรวาสก

       ถ้าบิณฑบาตมี และ อันเตวาสิก ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำบิณฑบาตเข้าไปให้

       พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน

       เมื่อ อันเตวาสิก ฉันแล้ว พึงให้น้ำ

       รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงเก็บบาตรจีวร

       เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง 

       เมื่อเก็บจีวร เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร 

       เมื่อ อันเตวาสิก ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 

       ถ้า อันเตวาสิก ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้

       ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้

       ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให

       ถ้า อันเตวาสิก ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไป ให้ตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง

       พึงให้จุณ ให้ดิน

       ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ

       เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ

       ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ 

       เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ 

       พึงทำบริกรรมแก่ อันเตวาสิก แม้ในน้ำ

       อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของ อันเตวาสิก

       พึงให้ผ้านุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ

       พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้

       พึงถาม อันเตวาสิก ด้วยน้ำฉัน 

       อันเตวาสิก อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย

       เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เตียงตั่งอาจารย์พึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ดเสีย

       ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน พื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย

       ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย

       ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัดเสีย ขนกลับปูไว้ตามเดิม

       เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ด เสีย ขนกลับตั้งไว้ที่เดิม

       เตียงตั่งพึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม

       ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม

       กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม

       พึงเก็บบาตรจีวร

       เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง 

       เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร

       ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก

       ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก

       ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ

       ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

       ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน

       ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน 

       ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย

       ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำไว้ในหม้อชำระ 

       ถ้าความกระสันบังเกิดแก่ อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่ อันเตวาสิก นั้น

       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่ อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่ อันเตวาสิก นั้น

       ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่ อันเตวาสิก อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมีกถาแก่ อันเตวาสิก นั้น

       ถ้า อันเตวาสิก ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่ อันเตวาสิก

       ถ้า อันเตวาสิก ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชัก อันเตวาสิก เข้าหาอาบัติเดิม

       ถ้า อันเตวาสิก ควรมานัต อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอสงฆ์พึงให้มานัตแก่ อันเตวาสิก

       ถ้า อันเตวาสิก ควร อัพภาน อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึง อัพภาน อันเตวาสิก

       ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่ อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อาจารยพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่ อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา

       หรืออันเตวาสิกนั้น ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม แล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อันเตวาสิก พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย

       ถ้าจีวรของ อันเตวาสิก จะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของ อันเตวาสิก

       ถ้าจีวรของ อันเตวาสิก จะต้องทำ อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึงทำจีวรของ อันเตวาสิก

       ถ้าน้ำย้อมของ อันเตวาสิก จะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของ อันเตวาสิก

       ถ้าจีวรของ อันเตวาสิก จะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของ อันเตวาสิก

       เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย

       ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 195 , 196 , 197 , 198 , 199 



- END -

มหาขันธกะ : อาจริยวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : อาจริยวัตร



อาจริยวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 93 ) 


       43.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิก พึงประพฤติชอบในอาจารย์ 


       44.วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้ 

       อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้

       ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย

       เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ

       รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้

       เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย 

       ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวายประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำด้วย 

       ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้น กลัดดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์

       ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก

       พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร 

       เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง

       อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติพึงห้ามเสีย

       เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา 

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด

       พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน 4 นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง

       พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก

       ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปถวาย

       พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน

       เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ

       รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงเก็บบาตรจีวร

       เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง

       เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร 

       เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 

       ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย

       ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย

       ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย 

       ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วเดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       พึงถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ

       เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ

       ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ

       เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ 

       พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ

       อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน

       ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์

       พึงถวายผ้านุ่ง พึงถวายผ้าสังฆาฏิ

       ถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอาจารย์ด้วย
น้ำฉัน 

       ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น

       ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม * * * ( 1 )  

       อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย

       เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เตียงตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน 

       กรอบหน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย

       ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าเช็ดน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย

       ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย

       ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

       เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม 

       เขียงรองเตียงพึงผึ่งแดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม

       เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม

       ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดดทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม

       กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม 

       พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร

       พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตร บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง 

       เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร

       ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก

       ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก

       ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ

       ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

       ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน 

       ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน

       ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย

       ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ 

       ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิก พึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น

       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิก พึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น 

       ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิก พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น

       ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์

       ถ้าอาจารย์ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม 

       ถ้าอาจารย์ควรมานัต อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์

       ถ้าอาจารย์ควร อัพภาน อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอสงฆ์พึง อัพภาน อาจารย์

       ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา

       หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิก พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย 

       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิก พึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์

       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิก พึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์

       ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิก พึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์

       ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิก พึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์

       เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย

       อันเตวาสิก ไม่บอกอาจารย์ก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้

       ไม่บอกลาอาจารย์ก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ

       ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) 
ในส่วนนี้ บาลีมีว่า “สเจ อุทฺทิสาเปตุกาโม โหติ อุทฺทิสาเปตพฺโพ สเจ ปริปุจฺฉิตุกาโม โหติ ปริปุจฺฉิตพฺโพ ฯ” ซึ่งในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ.2435 แปลว่า “ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม” – ผู้รวบรวม 
   

- END -

มหาขันธกะ : วิธีถือนิสสัย

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง มหาขันธกะ : วิธีถือนิสสัย 



วิธีถือนิสสัย

       42.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึงถืออาจารย์อย่างนี้

       อันเตวาสิกนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ 3 หน 

       ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่ 

       ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่ 

       ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่ 


       อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ

       หรือรับว่า จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด

       ดังนี้ก็ได้ 


       รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้

       เป็นอันว่า อันเตวาสิก ถืออาจารย์แล้ว


       ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา

       ไม่เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : วิธีถือนิสสัย 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 190 



- END -