Wednesday, October 19, 2022

ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : คำขอขมาโทษ

 




คำขอขมาโทษ

* * * พิธีขมาหลายคน

ผู้ขอ - เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง , สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต. ( 3 หน ) 

ผู้รับ - อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง 

ผู้ขอ -  ขะมามะ ภันเต 



* * * พิธีขมาคนเดียว

ผู้ขอ - เถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง , สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต. ( 3 หน ) 

ผู้รับ - อะหัง ขะมามิ ตะยาปิ เม ขะมิตัพพัง 

ผู้ขอ - ขะมามิ ภันเต 



* * * คำตอบรับผู้มาขอขมา ( ที่เป็นพุทธวจน )

-บาลี จุลฺล. วิ. 7/180/369

       “ยะโต จะ โข ตะวัง อาวุโส อัจจะยัง อัจจะยะโต ทิส๎วา ยะถาธัมมัง ปะฏิกะโรสิ ตันเต มะยัง ปะฏิคคัณหามะ วุทธิ เหสา อาวุโส อะริยัสสะ วินะเย โย อัจจะยัง อัจจะยะโต ทิส๎วา ยะถาธัมมัง ปะฏิกะโรติ อายะติง สังวะรัง อาปัชชะติ” 

       เมื่อใดท่านเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้น เรารับโทษนั้นของท่าน เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้ว ทำคืนตามธรรม /////  ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย 



* * * คำสัตตาหะกะระณียะ

       “สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ ตัสมา มะยา คันตัพพัง อิมัส๎มิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ” 



* * * คำ กรานกฐิน  /////  

ผ้าสังฆาฏิ - อิมายะ สังฆาฏิยากะฐินัง อัตถะรามิ 

ผ้าอุตตราสงค์ - อิมินา อุตตะราสังเฆนะ กะฐินัง อัตถะรามิ 

ผ้าอันตรวาสก - อิมินา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ 



* * * คำอนุโมทนากฐิน 

       อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม ผ้าอุตราสงค์ /////  เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า 

       “อัตถะตัง อาวุโส ( ภันเต ) สังฆัสสะ กะฐินัง , ธัมมิโก กะฐินัตถาโร , อะนุโมทะถะ

       ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม

       ขอท่านทั้งหลาย อนุโมทนาเถิด” 


       ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ ว่า

       “อัตถะตัง ภันเต ( อาวุโส ) สังฆัสสะ กะฐินัง , ธัมมิโก กะฐินัตถาโร , อะนุโมทามะ

       ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม 

       เราทั้งหลาย อนุโมทนา” 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : คำขอขมาโทษ  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,100 , 1,101



- จบ -

กรานกฐิน

 



กรานกฐิน

       บาลีว่าอย่างไร 

       อ่านว่า กฺราน-กะ-ถิน 

       “กราน” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ขึง” คือทำให้ตึง 

       “กฐิน” เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” 

       “กรานกฐิน” ก็คือ “ขึงไม้สะดึง” คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง แล้วเย็บจนทำเป็นจีวรสำเร็จพร้อมที่จะครองคือใช้ห่มต่อไป 

       “กรานกฐิน” แปลเป็นภาษาบาลีว่า “กฐินตฺถาร” ( กะ-ถิ-นัด-ถา-ระ ) ประกอบด้วยคำว่า กฐิน + อตฺถาร 


( 1 ) “กฐิน”

       บาลีอ่านว่า กะ-ถิ-นะ รากศัพท์มาจาก กฐฺ ( ธาตุ = อยู่ลำบาก ) + อิน ปัจจัย

       : กฐฺ + อิน = กฐิน แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่อยู่ลำบาก” 

       คำว่า “กฐิน” ในบาลี :

       ( 1 ) ถ้าเป็นคำนาม ( นปุงสกลิงค์ ) แปลว่า “ไม้สะดึง” คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร


       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำว่า “กฐิน” (คำนาม) ว่า -

       the cotton cloth which was annually supplied by the laity to the bhikkhus for the purpose of making robes , also a wooden frame used by the bh. in sewing their robes ( ผ้าฝ้ายที่ฆราวาสถวายประจำปีแก่ภิกษุเพื่อทำจีวร , ไม้สะดึงที่ภิกษุใช้เย็บจีวร ) 


       ( 2 ) ถ้าเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า แข็ง , แนบแน่น , ไม่คลอนแคลน , หนัก , หยาบกร้าน , โหดร้าย ( hard , firm , stiff , harsh , cruel )

       ในที่นี้ “กฐิน” หมายถึง ไม้สะดึง คือกรอบไม้ที่ขึงออกเพื่อเย็บผ้า ( a wooden frame ) 


       คำว่า “สะดึง” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

       “สะดึง : (คำนาม) กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร , กรอบไม้หรือไม้แบบสําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี 4 ด้าน” 



( 2 ) “อตฺถาร” ( อัด-ถา-ระ ) 

       รากศัพท์มาจาก อา ( คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง ) + ถรฺ ( ธาตุ = ปูลาด , แผ่ไป ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, รัสสะ อา เป็น อ, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ ( อา > อ + ตฺ + ถรฺ ) , ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” ( ถรฺ > ถาร ) 

       : อา > อ + ตฺ + ถรฺ = อตฺถรฺ + ณ = อตฺถรณ > อตฺถร > อตฺถาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาปูลาดไว้โดยยิ่ง” หมายถึง ขึงไป, แผ่ไป ( spreading out ) 

       กฐิน + อตฺถาร = กฐินตฺถาร แปลว่า “การขึงไม้สะดึง” หมายถึง การกรานกฐิน 

       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กฐินตฺถาร” ว่า the spreading out, i. e. dedication of the k. cloth by the people to the community of bhikkhus. ( การกรานกฐิน , คือ ประชาชนอุทิศผ้ากฐินทานแด่หมู่ภิกษุสงฆ์ ) 


       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า - 

       “กรานกฐิน : ( คำกริยา ) ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา , ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน , สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน ( อุปสมบทวิธี ) ( ดู กฐิน )  ( ข. กราล ว่า ปู , ลาด )” 

       พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ดังนี้ -

       กรานกฐิน : ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน 

       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน ( ต้องมีจำนวน 5 รูปขึ้นไป ) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปที่ได้รับผ้านั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่สงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา เรียกว่า กรานกฐิน 

       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป ( เรียกว่าผ้ากฐินมีบริกรรมสำเร็จแล้ว ) กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี ภิกษุที่ได้รับมอบให้แล้ว จึงทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วแจ้งแก่สงฆ์เพื่ออนุโมทนาต่อเนื่องไปเลย 



* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://dhamma.serichon.us/2018/09/13/กรานกฐิน-บาลีว่าอย่างไร/  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : คำอธิษฐานเข้าพรรษา

 




คำอธิษฐานเข้าพรรษา

อิมัส๎มิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : คำอธิษฐานเข้าพรรษา  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,100 


- จบ -

ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร

 




ส่วนปิดท้ายภาคผนวก * * * ( 1 ) 



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *  

วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร 

วิธีพินทุ

- บาลี มหา. วิ. 5/368-9/410 


       ในอรรถกถาว่า การทำให้จีวรที่ได้มาใหม่เสียสีหรือมีตำหนิด้วยสีเขียว สีตม หรือสีดำคล้ำ มักทำจุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวรพร้อมกับกล่าวคำว่า “อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ” 


คำอธิษฐานบริขาร 

       คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว ใน หัตถบาส /////  ว่า 3 หน

ชนิดบริขาร - บาตร  /  คำอธิษฐาน - อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - สังฆาฏิ  /  คำอธิษฐาน - อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ  

ชนิดบริขาร - อุตตราสงค์ ( จีวร )  /  คำอธิษฐาน - อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - อันตรวาสก ( สบง )  /  คำอธิษฐาน - อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ  

ชนิดบริขาร - นิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง)  /  คำอธิษฐาน - อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - ผ้าอาบน้ำฝน  /  คำอธิษฐาน - อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - ผ้าปิดฝี  /  คำอธิษฐาน - อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ  

ชนิดบริขาร - ผ้าปูนอน  /  คำอธิษฐาน - อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก  /  คำอธิษฐาน - อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ   

ชนิดบริขาร - ผ้าบริขาร  /  คำอธิษฐาน - อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ 



       คำอธิษฐานบริขารหลายสิ่ง ในหัตถบาส ว่า 3 หน  

ชนิดบริขาร - ผ้าปูนอน  /  คำอธิษฐาน - อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ 

ชนิดบริขาร - ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก  /  คำอธิษฐาน - อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฏฐามิ  

ชนิดบริขาร - ผ้าบริขาร  /  คำอธิษฐาน - อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อะธิฏฐาม  



คำถอนอธิษฐานบริขาร

       คำถอนอธิษฐานนั้น พึงว่าทุกอย่างเหมือนกับการอธิษฐาน แต่จะเปลี่ยนเฉพาะคำว่า อะธิฏฐามิเป็น ปัจจุทธะรามิ



คำวิกัปบริขาร

( วิธีการวิกัปและถอนวิกัปนี้ มีอธิบายไว้ในสิกขาบทวิภังค์ สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 9 หน้า 144 ) 

คำวิกัป ต่อหน้าผู้รับ ในหัตถบาส ว่าดังนี้ ( 3 หน ) 

จีวรผืนเดียว - อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ 

จีวรหลายผืน - อิมานิ จีวะรานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ 

บาตรใบเดียว - อิมัง ปัตตัง ตุยหัง วิกัปเปมิ 

บาตรหลายใบ - อิมานิ ปัตตานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ 



คำถอนวิกัป 

ผู้ถอนแก่พรรษากว่า ในหัตถบาส ว่าดังนี้ ( 3 หน ) 

จีวรผืนเดียว - อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ 

จีวรหลายผืน - อิมานิ จีวะรานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ

บาตรใบเดียว - อิมัง ปัตตัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ 

บาตรหลายใบ - อิมานิ ปัตตานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ

( ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า ในหัตถบาส ให้เปลี่ยน กะโรหิเป็น กะโรถะ ) 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


* * * ( 1 ) : เป็นส่วนที่ผู้จัดทำยังไม่พบวิธีการที่เป็นพุทธวจน - ผู้รวบรวม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ส่วนปิดท้ายภาคผนวก : วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,097 , 1,098 , 1,099


- จบ -
   

หัตถบาส

 




       หัตถบาส ( อ่านว่า หัด-ถะ-บาด ) แปลว่า บ่วงมือ

       หัตถบาส ใช้เรียกการนั่งของพระสงฆ์ในเวลาทำสังฆกรรมเพื่อแสดงความสามัคคีความพร้อมเพรียง โดยนั่งเว้นระยะห่างกันตามพระวินัยกำหนดอยู่ในที่ประชุมโดยไม่นั่งแยกกันหรือลุกเดินไปทางโน้นทางนี้ เรียกว่า นั่งหัตถบาส 

       หัตถบาส มีกำหนดระยะห่าง 2 ศอก คืบ มีวิธีวัดดังนี้ เมื่อภิกษุนั่งพับเพียบอยู่ ให้วัดจากด้านหลังของเธอมาถึงหน้าตักของเธอจะได้ระยะ 1 ศอก แล้ววัดจากหน้าตักของเธอออกไปข้างหน้าอีก 1 ศอก 1 คืบ จะรวมได้เป็น 2 ศอก 1 คืบ นี้คือระยะหัตถบาส   



* * * : ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=1557  และ : https://dhamtara.com/?p=2210 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

ภาคผนวก : กรรมวาจากฐิน

 




กรรมวาจากฐิน 

* * * คำอุปโลกน์กฐิน 

อุปโลกน์ 1  

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ผ้าทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ในเขต สีมา วัด /////   .........( ระบุชื่อ ).........

       ข้าพเจ้าขอเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ เพื่อจัดแบ่งผ้าที่ได้รับมาจากคหบดีผู้มีจิตศรัทธา แสดงเจตนาถวายผ้ากฐิน ที่ได้พร้อมเพรียงกันนำมาถวายนั้น มอบให้แก่ภิกขุผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า และเป็นผู้มีศีลอันเป็นที่รักของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน เพื่อยังผ้านี้ให้สำเร็จประโยชน์ในการที่จะตัด เย็บ ย้อม เป็นจีวรในกาลต่อไป

       หากคณะสงฆ์ พิจารณาเห็นสมควรมอบผ้าเหล่านี้ให้แก่ภิกขุใด ขอจงยินยอมอนุญาตให้แก่ภิกขุรูปนั้น 


       ( หยุดรออุปโลกน์รูปที่ 2 ) 


อุปโลกน์ 2

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       คณะสงฆ์ได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรว่า ภิกขุ .........( ระบุชื่อ )......... เป็นผู้เหมาะสม ที่จะได้รับมอบผ้ากฐินทั้งหลายเหล่านี้ 

       การให้ผ้ากฐินทั้งหลายเหล่านี้แก่ภิกขุ .............( ระบุชื่อ ).............. ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 

       ( หยุดสักระยะหนึ่ง ) 

       ผ้ากฐินทั้งหลายเหล่านี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกขุ .............( ระบุชื่อ )..............  เพื่อตัด เย็บ ย้อม เป็นจีวร ชอบแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 



       ภิกขุรูปหนึ่งกล่าว : สังฆกรรมในการอุปโลกน์กฐิน ได้สำเร็จแล้วโดยธรรม ขอคณะสงฆ์ได้อนุโมทนาขึ้นพร้อมกันเทอญ 


       จบแล้วให้คณะสงฆ์สาธุขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน ) 



* *  * แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน 

       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

       สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ ทะเทยยะ , กะฐินัง อัตถะริตุง , เอสา ญัตติ 

       สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง , สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เทติ , กะฐินัง อัตถะริตุง , ยัสสายัส๎มะโต ขะมะติ , อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ , อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ ทานัง , กะฐินัง อัตถะริตุง , โส ตุณ๎หัสสะ , ยัสสะนักขะมะติ, โส ภาเสยยะ 

       ทินนัง อิทัง สังเฆนะ , กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ กะฐินัง อัตถะริตุง , ขะมะติ สังฆัสสะ , ตัส๎มา ตุณ๎หี , เอวะเมตัง ธาระยามิ


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน 

       นี้เป็นญัตติ


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้ แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐินการให้ผ้ากฐินผืนนี้ แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ย่อมชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 

       ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อจะกรานกฐินย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       ( คำว่า อิตถันนามัสสะ ใช้เปลี่ยนตามชื่อของภิกษุผู้รับผ้ากฐิน เช่น ขันติธัมโม เปลี่ยนเป็น ขันติธัมมัสสะ ถ้าภิกษุนั้นอ่อนกว่าผู้สวด ต้องตัด
อายัส๎มะโต ออกเสีย แล้วเติม ภิกขุโน ต่อท้ายคำ อิตถันนามัสสะ เช่น อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เปลี่ยนเป็น อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ) 




* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก : กรรมวาจากฐิน  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,094 , 1,095 , 1,096


- จบ -


ภาคผนวก : ปวารณา

 




ปวารณา

* * * สังฆปวารณา ( มีภิกษุตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป พึงตั้งญัตติ ดังนี้ว่า ) * * * ( 1 ) 

       “สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ , อัชชะ ปะวาระณา ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง , สังโฆ ปะวาเรยยะ” 

       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       วันนี้เป็น วันปวารณา /////  ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา” 


       ภิกษุผู้ เถระ /////  พึงห่มผ้า อุตราสงค์ /////  เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง /////  ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้

       สังฆัง อาวุโส ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา , วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ , ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ 

       ทุติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา , วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ , ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ 

       ตะติยัมปิ อาวุโส สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา , วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ , ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ 


       ภิกษุผู้ นวกะ /////  พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณา ( เช่นเดียวกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโส เป็น ภันเต ) 



* * * คณะปวารณา ( มีภิกษุ 4 รูป หรือ 3 รูป ) 

       ภิกษุ 4 รูปพึงตั้งญัตติ ดังนี้ว่า

       สุณันตุ เม อายัส๎มันโต , อัชชะ ปะวาระณา ยะทายัส๎มันตานัง ปัตตะกัลลัง , มะยัง อัญญะมัญญัง ปะวาเรยยามะ 

       ( ถ้ามีภิกษุ 3 รูป ให้เปลี่ยนคำว่า อายัส๎มันโต เป็น อายัส๎มันตา ) 


       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้ 

       อะหัง อาวุโส อายัส๎มันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา … ฯลฯ  … ปะฏิกกะริสสามิ ,

       ทุติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันเต … ปะฏิกกะริสสามิ , 

       ตะติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันเต … ปะฏิกกะริสสามิ 


       ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณา ( เช่นเดียวกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโส เป็น ภันเต ) 



* * * คณะปวารณา ( มีภิกษุ 2 รูป ) 

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้ : 

       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ ว่าดังนี้ : 

       อะหัง อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ ,

       ทุติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ , 

       ตะติยัมปิ อาวุโส อายัส๎มันตัง … ฯลฯ … ปะฏิกกะริสสามิ , 


       ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้เถระ ( เช่นกัน โดยเปลี่ยนคำว่า อาวุโส เป็น ภันเต ) 



* * * อธิษฐานปวารณา ( มีภิกษุรูปเดียว ) 

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ใน อาวาส /////  แห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุ ในศาสนานี้อยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนต้นไม้ ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออยู่ 

       หากมีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณาร่วมกับพวกเธอ 

       หากไม่มีมาพึง อธิษฐานว่า “อัชชะ เม ปะวาระณา ปวารณาของเราวันนี้” 

       หากไม่อธิษฐาน ต้อง อาบัติทุกกฏ /////  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) : คำบาลีที่ใช้เหล่านี้นำมาจาก คัมภีร์มหาวรรค ภาค 1 พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ เล่ม 4 ข้อ 225 หน้า 312 - ผู้รวบรวม 
   


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อริยวินัย ที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ภาคผนวก : ปวารณา  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 1,092 , 1,093  


- จบ -