Tuesday, November 30, 2021

อดิเรกวีสติวรรค

 

อดิเรกวีสติวรรค  



       อดิเรกวีสติวรรค - สงฆ์ 20 รูป ขึ้นไป 


อธิบาย - เมื่อกล่าวตามสำนวนพระวินัยนิยม พระภิกษุเฉพาะรูป เรียกว่า บุคคล

       พระภิกษุ 2 - 3 รูป ประชุมกัน เรียกว่า คณะ

       พระภิกษุ จำนวนตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เข้าประชุมกัน เรียกว่า สงฆ์

       โดยมีการกำหนดจำนวนพระภิกษุเป็น สงฆ์ เรียกว่า วรรค ซึ่งแยกออกเป็น 5 วรรค คือ

       1. สงฆ์ จตุรวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 4 รูป

       2. สงฆ์ ปัญจวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 5 รูป 

       3. สงฆ์ ทสวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 10 รูป 

       4. สงฆ์ วีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 20 รูป

       5. สงฆ์ อติเรกวีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวนเกิน 20 รูป ขึ้นไป 



- จบ -

วีสติวรรค

 

วีสติวรรค  



       วีสติวรรค - สงฆ์ 20 รูป


อธิบาย - เมื่อกล่าวตามสำนวนพระวินัยนิยม พระภิกษุเฉพาะรูป เรียกว่า บุคคล

       พระภิกษุ 2 - 3 รูป ประชุมกัน เรียกว่า คณะ

       พระภิกษุ จำนวนตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เข้าประชุมกัน เรียกว่า สงฆ์

       โดยมีการกำหนดจำนวนพระภิกษุเป็น สงฆ์ เรียกว่า วรรค ซึ่งแยกออกเป็น 5 วรรค คือ

       1. สงฆ์ จตุรวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 4 รูป

       2. สงฆ์ ปัญจวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 5 รูป 

       3. สงฆ์ ทสวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 10 รูป 

       4. สงฆ์ วีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 20 รูป

       5. สงฆ์ อติเรกวีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวนเกิน 20 รูป ขึ้นไป 


- จบ -

ทสวรรค

 

ทสวรรค


       ทสวรรค - สงฆ์ 10 รูป


อธิบาย - เมื่อกล่าวตามสำนวนพระวินัยนิยม พระภิกษุเฉพาะรูป เรียกว่า บุคคล

       พระภิกษุ 2 - 3 รูป ประชุมกัน เรียกว่า คณะ

       พระภิกษุ จำนวนตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เข้าประชุมกัน เรียกว่า สงฆ์

       โดยมีการกำหนดจำนวนพระภิกษุเป็น สงฆ์ เรียกว่า วรรค ซึ่งแยกออกเป็น 5 วรรค คือ

       1. สงฆ์ จตุรวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 4 รูป

       2. สงฆ์ ปัญจวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 5 รูป 

       3. สงฆ์ ทสวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 10 รูป 

       4. สงฆ์ วีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 20 รูป

       5. สงฆ์ อติเรกวีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวนเกิน 20 รูป ขึ้นไป 


- จบ -

ปัญจวรรค

 

ปัญจวรรค


       ปัญจวรรค - สงฆ์ 5 รูป


อธิบาย - เมื่อกล่าวตามสำนวนพระวินัยนิยม พระภิกษุเฉพาะรูป เรียกว่า บุคคล

       พระภิกษุ 2 - 3 รูป ประชุมกัน เรียกว่า คณะ

       พระภิกษุ จำนวนตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เข้าประชุมกัน เรียกว่า สงฆ์

       โดยมีการกำหนดจำนวนพระภิกษุเป็น สงฆ์ เรียกว่า วรรค ซึ่งแยกออกเป็น 5 วรรค คือ

       1. สงฆ์ จตุรวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 4 รูป

       2. สงฆ์ ปัญจวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 5 รูป 

       3. สงฆ์ ทสวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 10 รูป 

       4. สงฆ์ วีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวน 20 รูป

       5. สงฆ์ อติเรกวีสติวรรค คือ สงฆ์มีจำนวนเกิน 20 รูป ขึ้นไป 



- จบ -

Sunday, November 28, 2021

จตุรวรรค

 

จตุรวรรค  



       จตุรวรรค - ที่รวมแห่งพระภิกษุ 4 รูป เพื่อทำสังฆกรรม เช่น อุโบสถ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       จตุรวรรค , จตุวรรค สงฆ์พวก 4  คือ สงฆ์ที่กำหนดจำนวนภิกษุอย่างต่ำเพียง 4 รูป เช่น สงฆ์ที่ทำอุโบสถกรรม เป็นต้น


* * * วรรค คือการกำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี 4 พวก คือ 

       1. สงฆ์จตุรวรรค ( สงฆ์พวก 4 คือ ต้องมีภิกษุ 4 รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และ อัพภาน )

       2. สงฆ์ปัญจวรรค ( สงฆ์พวก 5 คือ ต้องมีภิกษุ 5 รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท ) 

       3. สงฆ์ทศวรรค ( สงฆ์พวก 10 คือต้องมีภิกษุ 10 รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้ ) 

       4. สงฆ์วีสติวรรค ( สงฆ์พวก 20 คือต้องมีภิกษุ 20 รูปขึ้นไป ทำ อัพภาน ได้ ) 


- จบ -

อัพภาน

 

อัพภาน


       อัพภาน ( อ่านว่า อับ-พาน ) - การชักกลับมา , ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ ปริวาส แล้วให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์ , การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน   


- จบ -

สังฆาทิเสส

 

สังฆาทิเสส 



       สังฆาทิเสส ( อ่านว่า สัง-คา-ทิ-เสด ) คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด 13 ประการดังนี้ 

       - ทำน้ำอสุจิเคลื่อน 

       - แตะต้องสัมผัสกายสตรี 

       - พูดเกี้ยวพาราสีสตรี 

       - พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้ 

       - ทำตัวเป็นพ่อสื่อ 

       - สร้างกุฏิด้วยการขอ 

       - มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน 

       - ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล 

       - แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล 

       - ทำสงฆ์แตกแยก ( สังฆเภท ) 

       - เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก 

       - ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ 

       - ประจบสอพลอคฤหัสถ์ 


       คำว่าสังฆาทิเสสแปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือเมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้ 

       ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรมเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาสหนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป  



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อาบัติสังฆาทิเสส - เป็นครุกาบัติ (โทษหนัก) แต่แก้ไขได้โดยสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติเพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัต ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย 4 รูปขึ้นไป แต่ถ้าการอัพภานคือการเรียกเข้าหมู่เป็นผู้พ้นจากอาบัติหนักและ เป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องอาศัยพระสงฆ์ 20 รูปขึ้นไป สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ 

       1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน 

       2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ 

       3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี 

       4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน 

       5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือ แม้แต่หญิงขายบริการ 

       6. สร้างกุฏิด้วยการขอ 

       7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น

       8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล 

       9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล 

       10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน 

       11. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน 

       12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง 

       13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์  



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ศีลของพระภิกษุที่มาในพระปาติโมกข์ ซึ่งพระต้องประชุมกันฟังทุกกึ่งเดือน มีจำนวนที่รู้ทั่วกันว่า “227 สิกขาบท” ดังที่มักพูดกันว่า “พระมีศีล 227”

       ศีล 227 แบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดได้ดังนี้ –

       ( 1 ) ปาราชิก 4 สิกขาบท 

       ( 2 ) สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท 

       ( 3 ) อนิยต 2 สิกขาบท 

       ( 4 ) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท ( เรียกสั้นว่า นิสสัคคีย์ ) 

       ( 5 ) สุทธิกปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท ( เรียกสั้นว่า ปาจิตตีย์ ) 

       ( 6 ) ปาฏิเทสนียะ 4 สิกขาบท

       ( 7 ) เสขิยะ หรือเสขิยวัตร 75 สิกขาบท 

       ( 8 ) อธิกรณสมถะ 7 สิกขาบท 


       รวม 227 สิกขาบท

       “สังฆาทิเสส” เป็น 13 ใน 227 

       คำว่า “สังฆาทิเสส” อ่านว่า สัง-คา-ทิ-เสด แยกศัพท์เป็น สังฆ + อาทิ+ เสส   


( ๑ ) “สังฆ” บาลีเป็น “สงฺฆ” ( สัง-คะ ) ( บาลีบางรุ่นสะกดเป็น “สํฆ” ก็มี ) รากศัพท์มาจาก สํ ( พร้อมกัน , ร่วมกัน ) + หนฺ ( ธาตุ = ไป , เป็นไป ) + อ ( อะ ) ปัจจัย , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ง ( สํ > สงฺ ) , แปลง หนฺ เป็น ฆ

       : สํ > สงฺ + หนฺ > ฆ + อ = สงฺฆ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

       (1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ”

       (2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น  “สงฺฆ” อยู่ได้ 


       “สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่ , กอง , กลุ่ม , คณะ 


       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า –

       ( 1 ) multitude, assemblage ( ฝูงชน , ชุมนุมชน , หมู่ , ฝูง ) 

       ( 2 ) the Order, the priesthood , the clergy , the Buddhist church ( คณะสงฆ์ , พระ , นักบวช , พุทธจักร ) 

       ( 3 ) a larger assemblage, a community ( กลุ่มใหญ่ , ประชาคม ) 


       “สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ-”

       “สงฆ์” ในพระพุทธศาสนามีความหมาย 2 อย่าง คือ –

       ( 1 ) “สาวกสงฆ์” หมายถึงหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ได้บรรลุธรรมในภูมิอริยบุคคลคือเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ดังคำสวดในสังฆคุณที่ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ 

       ( 2 ) “ภิกขุสงฆ์” หมายถึงชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย

       บางทีเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมติสงฆ์” 

       ในภาษาไทย คำว่า “สงฆ์” อาจหมายถึงภิกษุที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็ได้ หมายถึงภิกษุแต่ละรูปก็ได้ 

       ในที่นี้ “สงฆ์” หมายถึง “ภิกขุสงฆ์” คือชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย 


( ๒ ) “อาทิ” รากศัพท์มาจาก อา ( คำอุปสรรค = ทั่ว , ยิ่ง , กลับความ ) + ทา ( ธาตุ = ให้ ) + อิ ปัจจัย , “ลบสระหน้า” ( คือลบ อา ที่ ทา : ทา > ท ) 

       : อา+ ทา = อาทา > อาท + อิ = อาทิ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนอันเขาถือเอาทีแรก” 


หมายเหตุ : “อา” ( คำอุปสรรค = ทั่ว , ยิ่ง , กลับความ ) ในที่นี้ใช้ในความหมาย “กลับความ” เมื่อนำหน้า “ทา” ธาตุ ซึ่งมีความหมายว่า “ให้” เป็น “อาทา” จึงกลับความจาก “ให้” ( give ) เป็น “เอา” ( take ) 

       “อาทิ” เป็นคำนาม ( ปุงลิงค์ ) หมายถึง จุดเริ่มต้น, เบื้องแรก ( starting-point , beginning ) 

       “อาทิ” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เบื้องต้น , ในชั้นแรก , อันที่หนึ่ง , ตัวการ , หัวหน้า ( beginning , initially , first , principal , chief ) 

       พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ อธิบายความหมายของ “อาทิ” เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์ไว้ว่า –

       beginning with , being the first ( of a series which either is supposed to be familiar in its constituents to the reader or hearer or is immediately intelligible from the context ) , i. e. and so on , so forth. ( เริ่มด้วย , เป็นที่หนึ่ง ( พูดถึงลำดับอะไรก็ได้ที่เป็นของคุ้นแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง หรือพอเป็นที่เข้าใจได้จากบริบท ) , นั่นคือ- และอื่น ๆ, และต่อๆ ไป )

       “อาทิ” สันสกฤตก็เป็น “อาทิ” เช่นกัน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

       “อาทิ : ( คำคุณศัพท์ ) ต้น , ประถม , แรก ; ก่อน ; เปนเอก ; อื่น ; first , primary ; prior ; pre-eminent ; other ; – ( วลี ) และอื่นๆ ; et cetera , and the rest , and so forth.” 

       “อาทิ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

       “อาทิ : ( คำนาม ) ต้น ในคําว่า เป็นอาทิ , เป็นเบื้องต้น , ทีแรก , ข้อต้น. ( ป. , ส. ).” 


(๓) “เสส” บาลีอ่านว่า เส-สะ รากศัพท์มาจาก สิสฺ ( ธาตุ = ประกอบไม่ทั้งหมด, ส่วนเหลือ ) + อ ( อะ ) ปัจจัย , แผลง อิ ที่ สิ-( สฺ ) เป็น เอ ( สิสฺ > เสส ) 

       : สิสฺ + อ = สิส > เสส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ประกอบไม่ทั้งหมด” 

       ขยายคำ : สิสฺ ธาตุ ท่านไขความว่า “อสพฺพยุชฺชเน” ( อะ-สับ-พะ-ยุด-ชะ-เน ) แปลว่า “ใช้ในความหมายว่าประกอบไม่ทั้งหมด” คือเอาสิ่งนั้นไปประกอบกับสิ่งอื่น แต่เอาไปประกอบไม่หมด ส่วนที่ไม่ได้เอาไปประกอบจึงเรียกว่า “เสส” คือ “ส่วนที่เหลือ” 

       “เสส” ถ้าใช้เป็นคำนาม ( ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์ ) หมายถึง ส่วนเหลือ ( remainder ) ถ้าใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เศษ, ที่เหลือ ( remaining , left ) 


การประสมคำ :

       1  อาทิ + เสส = อาทิเสส แปลว่า “กิจเบื้องต้นและกิจที่เหลือ” 

       2 สงฺฆ + อาทิเสส = สงฺฆาทิเสส ( สัง-คา-ทิ-เส-สะ ) แปลว่า “สงฆ์อันภิกษุพึงต้องการในกิจเบื้องต้นและกิจที่เหลือ” หมายถึง กลุ่มสิกขาบทที่ต้องใช้สงฆ์ในการกระบวนการที่จะทำให้พ้นจากอาบัติตั้งแต่ต้นไปจนกระทั่งสิ้นสุดกรรมวิธี นั่นคือ จะเพียงแต่ปลงอาบัติระหว่างภิกษุต่อภิกษุก็พ้นผิดเหมือนอาบัติธรรมดาหาได้ไม่ 


       ที่มาของศัพท์ท่านกระจายคำให้เห็นความหมายชัดๆ ดังนี้ – 

…………..

       สงฺโฆ อาทิมฺหิ เจว เสเส จ อิจฺฉิตพฺโพ อสฺสาติ สงฺฆาทิเสโส. ( สมันฺปาสาทิกา ภาค 3 หน้า 597 ) 

       แปลว่า – สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้นและในกรรมที่เหลือแห่งกองอาบัตินั้น เหตุนั้นกองอาบัตินั้นจึงชื่อว่าสังฆาทิเสส 


………….. 

       “สงฺโฆ” มาเป็น “สงฺฆ” 

       “อาทิมฺหิ เจว” มาเป็น “อาทิ” 

       “เสเส จ” มาเป็น “เสส” 

       “สงฺฆาทิเสส” เขียนแบบไทยเป็น “สังฆาทิเสส” 


ขยายความ : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “สังฆาทิเสส” ไว้ดังนี้ –
…………..

       สังฆาทิเสส : ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ คือเป็นครุกาบัติ ( อาบัติหนัก ) แต่ยังเป็นสเตกิจฉา ( แก้ไขหรือเยียวยาได้ ); ตามศัพท์ สังฆาทิเสส แปลว่า “หมวดอาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ”, หมายความว่า วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้ ต้องอาศัยสงฆ์ ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด กล่าวคือเริ่มต้นจะอยู่ปริวาส ก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์ ต่อจากนั้น จะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้ ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้องสำเร็จด้วยสงฆ์อีก และท้ายที่สุดก็ต้องขออัพภานจากสงฆ์; สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส มี 13 ข้อ คำว่า สังฆาทิเสส ใช้เป็นชื่อเรียกสิกขาบท 13 ข้อนี้ด้วย 


………….. 

ศีลในกลุ่มสังฆาทิเสสมี 13 สิกขาบท เนื่องจากมีข้อความยืดยาว ขอนำข้อความจาก “นวโกวาท” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งพระภิกษุสามเณรท่องจำกันมาตั้งแต่เรียนนักธรรมชั้นตรี มาเสนอพอเป็นตัวอย่าง 5 สิกขาบท ส่วนที่เหลือ พึงแสวงหามาศึกษากันต่อไปเถิด 


………….. 

สังฆาทิเสส 13 

       1. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส 

       2. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส 

       3. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส 

       4. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส 

       5. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส 

ฯลฯ


- จบ -

ปริวาส

 

ปริวาส



       ปริวาส ( อ่านว่า ปะ-ริ-วาด ) - วิธีลงโทษตนเองของพระสงฆ์ที่ทำผิดวินัยต้อง อาบัติสังฆาทิเสส คือ กักบริเวณตนเองอยู่ในที่จำกัด 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       การทำคืนอาบัติสังฆาทิเสส

       ปาริวาสิกวัตร ( ปาริวาสิกขันธกะ )

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป คือ

หมวดที่ 1

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาส

       - ไม่พึงให้อุปสมบท 

       - ไม่พึงให้นิสัย 

       - ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

       - ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       - แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี 

       - สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น 

       - ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       - ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       - ไม่พึงติกรรม 

       - ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       - ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

       - ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ 

       - ไม่พึงทำการไต่สวน 

       - ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ 

       - ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       - ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       - ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

       - ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน 



หมวดที่ 2 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ 

       - ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ 

       - พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ 

       - ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล 

       - ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์ 

       - ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา



หมวดที่ 3

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส

       - เป็นอาคันตุกะไป พึงบอก 

       - มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก 

       - พึงบอกในอุโบสถ

       - พึงบอกในปวารณา

       - ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก 



หมวดที่ 4

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้  

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้ 

ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย 



หมวดที่ 5

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

       - ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส 

ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย 



หมวดที่ 6

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส

       - พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

       - พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส 

ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว 



หมวดที่ 7

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสกับปกตัตตะภิกษุ 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี 

       - เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ 

       - พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง 

       - ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ 

       - เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง 

       - เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ

       - ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ 

       - เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง 

       - เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม 



หมวดที่ 8

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส 

       - ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี 

       - ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า หรือกับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือกับภิกษุผู้ควรมานัต หรือกับภิกษุผู้ประพฤติมานัต หรือกับภิกษุผู้ควรอัพภาน 

       - เมื่อเธอเหล่านั้นนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง 

       - เมื่อเธอเหล่านั้นนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ 

       - ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน 

       - เมื่อเธอเหล่านั้นจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง 

       - เมื่อเธอเหล่านั้นจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม 



หมวดพิเศษ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ 

       - ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา 

       - ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ , ปวารณา , ผ้าอาบน้ำฝน , การสละภัตร และ การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา 


เรียบเรียงจาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ 6 ข้อที่ 321 - 329 หน้า 130 - 134


- จบ -

Saturday, November 27, 2021

ญัตติจตุตถกรรม

 

ญัตติจตุตถกรรม



       ญัตติจตุตถกรรม ( ยัด - ติ - จะ - ตุ - ถะ - กำ )  แปลว่า คือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นสังฆกรรม 1 ใน 4 อย่างของภิกษุสงฆ์ที่ทำร่วมกัน จัดเป็นสังฆกรรมที่มีน้ำหนักมากที่สุด หนักแน่นที่สุด ใช้ทำกรรมที่สำคัญมาก เช่น การให้อุปสมบท การให้ปริวาส ให้อัพภาน การสวดสมนุภาสน์ เป็นต้น

       วิธีการ คือ จะมีการสวดญัตติขึ้นก่อน 1 ครั้ง และ สวดอนุสาวนา 3 ครั้ง เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4, หมายความว่า กิจกรรมของสงฆ์ที่ทำร่วมกันโดยต้องทำการสวดญัตติขึ้นก่อน แล้วตามด้วยอนุสาวนาอีก 3 ครั้ง 

       ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 ) ไม่เรียกว่า ญัตตฺยาทิกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นเบื้องต้น ) เป็นต้น มีเพราะทรงตรัสเป็นโวหารแบบปฏิโลม ( นับย้อนศร ) เหมือนคำว่า ผสฺสปญฺจมํ ( ธรรมมีผัสสะเป็นที่ 5 ) ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมนั่นเอง  


- จบ -

ญัตติทุติยกรรม

 

ญัตติทุติยกรรม  



       ญัตติทุติยกรรม - กรรมที่ทำด้วยการตั้งญัตติ แล้วสวด อนุสาวนา หนเดียว

       เป็นชื่อสังฆกรรมชนิดหนึ่ง สังฆกรรม ประเภทนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อพระกรรมวาจาเสนอญัตติขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสงฆ์ยอมรับแล้วก็สวดประกาศความตกลงอีกครั้งหนึ่ง เช่น การสวดกฐิน 


- จบ -

สัตถุศาสน์

 

สัตถุศาสน์  


       สัตถุศาสน์ , สัตถุสาสน์ ความหมาย คือ คนสงบ , คนดี , คนมีศีลธรรม , คนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สัตถุศาสนา - คำสั่งสอนของพระศาสดา คือพระพุทธศาสนา 


- จบ -



- จบ -

อนุสาวนา

 

อนุสาวนา 



       อนุสาวนา - การสวดของพระคู่สวดในการทำสังฆกรรม , การสวดอนุสาวนา คือ หารือสงฆ์ เช่น หารือว่าผ้ากฐินควรจะยกให้พระรูปใด หรือควรจะรับคนนี้เข้าบวชหรือไม่ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อนุสาวนา ความหมาย คือ ความระลึกถึง , อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี 10 อย่างคือ

       1. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า 

       2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม 

       3. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ 

       4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา 

       5. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว 

       6. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา 

       7. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา 

       8. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม 

       9. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก 

       10. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือนิพพาน


- จบ -

กรรมวาจา

 

กรรมวาจา  



       กรรมวาจา ( อ่านว่า กำ-มะ-วา-จา ) ประกอบด้วยคำว่า กรรม + วาจา

(1) “กรรม” 

       บาลีเป็น “กมฺม” ( กำ-มะ ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” ( กระ-มะ, ก ควบ ร กลืนเสียง ระ ลงคอ ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม” 

       “กมฺม” รากศัพท์คือ กรฺ ( ธาตุ = กระทำ ) + รมฺม ( รำ-มะ, ปัจจัย ) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ร ที่ต้นปัจจัย

       : กร > ก + รมฺม > มฺม : ก + มฺม = กมฺม 

       “กมฺม” แปลว่า การกระทำ , สิ่งที่ทำ , การงาน ( the doing , deed , work ) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม” 


( 2 ) “วาจา” 

       รากศัพท์มาจาก วจฺ ( ธาตุ = พูด ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ทีฆะ อะ ที่ ว-( จฺ ) เป็น อา ตามสูตร “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” ( วจฺ > วาจ ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์

       : วจฺ + ณ = วจณ > วจ > วาจ + อา = วาจา แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” หมายถึง คำพูด การกล่าว, การพูด, วาจา ( word , saying , speech )


       กมฺม + วาจา = กมฺมวาจา แปลว่า “คำพูดในกิจของสงฆ์


       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

       “กรรมวาจา : (คำนาม) คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. ( ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา )” 


       พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “กรรมวาจา” เป็นอังกฤษดังนี้ –

       Kammavācā : the formal words of an act; text of a formal act, i.e. a motion (ญัตติ) together with one or three proclamations (อนุสาวนา) that may follow. 


       พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ว่า –

       “กรรมวาจา : คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์ , คำสวดประกาศในการทำสังฆกรรม , คำประกาศในการดำเนินการประชุม แยกเป็น ญัตติ และ อนุสาวนา.”


ไขคำ :

       ( 1 ) ญัตติ : คำเผดียงสงฆ์ , การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน , วาจานัด , คำแจ้งหรือตั้งเรื่องเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ตกลง วินิจฉัย หรือดำเนินการ ; ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินหรือวินิจฉัย ญัตติก็จะตามมาด้วยการประกาศขอมติ เรียกว่า อนุสาวนา , ญัตติ และอนุสาวนา เป็นกรรมวาจา


       (2) อนุสาวนา : คำสวดประกาศต่อจากญัตติ , คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ , คำขอมติ ; อนุสาวนานี้เป็นกรรมวาจาที่ต่อจากญัตติ คือเมื่อตั้งญัตติแล้ว จึงประกาศขอมติ 


…………..

       คำสวด “กรรมวาจา” เป็นภาษาบาลี มีข้อความตามที่กำหนดไว้เป็นแบบแผนตามชนิดของสังฆกรรมนั้นๆ และมีแบบแผนในการสวดตามที่คณะสงฆ์กำหนด 


       ถ้ายังนึกไม่เห็นว่า “กรรมวาจา” คืออะไร ก็ขอให้นึกถึงเวลาไปร่วมพิธีอุปสมบท ( บวชพระ ) หรือในพิธีทอดกฐิน

       ตอนที่พระ 2 รูป ที่เรียกว่า “คู่สวด” สวดในท่ามกลางสงฆ์ นั่นแหละคือสวด “กรรมวาจา” 


…………..

       พึงสังเกตว่า “กรรมวาจา” มีความหมายต่างจาก “วจีกรรม” ที่แปลว่า “การกระทำทางวาจา” คือ การพูด 


- จบ -

ญัตติ

 

ญัตติ



       ญัตติ แปลว่า การประกาศให้สงฆ์ทราบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำเผดียงสงฆ์

       ญัตติ ที่ใช้เฉพาะในพระวินัยหมายถึงคำเสนอหรือข้อเสนอที่ใช้ในกรรมวาจาโดยพระคู่สวดประกาศให้สงฆ์ทราบในการประชุมกันทำสังฆกรรมอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง 

       ถ้าสวดญัตติแล้วไม่มีการเสนอในลงมติเรียกว่า ญัตตติกรรม

       แต่ถ้าเสนอให้ลงมติด้วย เรียกว่า ญัตติทุติยกรรม บ้าง ญัตติจตุถตกรรม บาง แล้วแต่กรณี


       ญัตติ ในคำไทยใช้ในความหมายว่าข้อเสนอเพื่อลงมติ , หัวข้อโต้วาที เช่นใช้ว่า 

       "ผู้แทนเขาจะเสนอญัตติเรื่องนี้ในสภาผู้แทนราษฎร" 

       "ในงานนี้มีการโต้วาทีในญัตติว่าปัญญาดีกว่าทรัพย์"


- จบ -

Friday, November 26, 2021

จีวรขันธกะ : มาติกาเพื่อจีวรที่เกิดขึ้น 8

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จีวรขันธกะ : มาติกาเพื่อจีวรที่เกิดขึ้น 8
 



มาติกาเพื่อจีวรที่เกิดขึ้น 8


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 172 )  


       318. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาติกา * * * ( คลิกที่นี่ )  เพื่อจีวรเกิดขึ้นนี้ มี 8 คือ 

       1. ถวายแก่สีมา  * * * ( คลิกที่นี่ ) 

       2. ถวายตามกติกา 

       3. ถวายในสถานที่จัดภิกษา  * * * ( คลิกที่นี่ ) 

       4. ถวายแก่สงฆ์ 

       5. ถวายแก่อุภโตสงฆ์  * * * ( คลิกที่นี่ )  

       6. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว 

       7. ถวายเจาะจง 

       8. ถวายแก่บุคคล 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

จีวรขันธกะ จบ  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : จีวรขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จีวรขันธกะ : มาติกาเพื่อจีวรที่เกิดขึ้น 8 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 503



- จบ -

อุภโตสงฆ์

 

อุภโตสงฆ์ 



       อุภโตสงฆ์ คือ สงฆ์ 2 ฝ่าย 


- จบ -

ภิกษา

 

ภิกษา 


       ภิกษา แปลว่า การขออาหาร 

       ภิกษาจาร แปลว่า การเที่ยวขอ , การเที่ยวขออาหาร 

       ภิกษาหาร แปลว่า อาหารที่ได้มาด้วยการขอ  


- จบ -

มาติกา

 

มาติกา 



       มาติกา ( อ่านว่า มาดติกา ) แปลว่า หัวข้อ , แม่บท 

       มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา 

       เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา

       มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า

       "14.00 น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล" 

       ธัมมะสังคิณีมาติกา กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา ฯ สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา อะทุกขะมะสุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ฯ วิปากา ธัมมา วิปากะธัมมะธัมมา เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะธัมมา ฯ อุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา อะนุปาทินนุ ปาทานิ ยา ธัมมา อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา ฯ สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ฯ สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา อะวิตักกะวิจาระมัตตา ธัมมา อะวิตักกาวิจารา ธัมมา ฯ ปีติ สะหะคะตา ธัมมา สุขะสะหะคะตา ธัมมา อุ เปกขา สะหะคะตา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตัพพา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตั พพะเหตุกา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุ กา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา ฯ อาจะยะคามิโน ธัมมา อะปะจะยะคามิโน ธัมมา เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา ฯ เสกขา ธัมมา อะเสกขา ธัมมา เนวะเสกขานาเสกขา ธัมมา ฯ ปะริตตา ธัมมา มะหัคคะตา ธัมมา อัปปะมาณา ธัมมา ฯ ปะริ ตตารัมมะณา ธัมมา มะหั คคะตารัมมะณา ธัมมา อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฯ หีนา ธัมมา มัชฌิมา ธัมมา ปะณีตา ธัมมา ฯ มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา อะนิยะตา ธัมมา ฯ มัคคารั มมะณา ธัมมา มัคคะเหตุกา ธัมมา มัคคาธิปะติ โน ธัมมา ฯ อุปปันนา ธัมมา อะนุปปันนา ธัมมา อุปปาทิโน ธัมมา ฯ อะตีตา ธัมมา อะนาคะตา ธัมมา ปัจจุปปันนา ธัมมา ฯ อะตี ตารัมมะณา ธัมมา อะนาคะตา รัมมะณา ธัมมา ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา ฯ อัชฌัตตา ธัมมา พะหิทธา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา ฯ อัชฌัตตารั มมะณา ธั มมา พะหิทธารัมมะณา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฯ สะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทั สสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา ฯ 


- จบ -

สีมา

 

สีมา



       สีมา หมายถึง เขตพื้นที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์

       มีคำที่ใช้ดังนี้ พัทธสีมา ( สีมาที่สงฆ์ทำพิธีปักเขตขึ้น ) 

       อพัทธสีมา ( สีมาที่สงฆ์มิได้ปักเขตเอง ) 

       ขัณฑสีมา ( สีมาขนาดเล็กซึ่งมีมหาสีมาครอบอีกทีหนึ่ง ) 

       มหาสีมา ( สีมากว้างใหญ ) 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-pleang/สีมา 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

สีมา 

       คำว่า "สีมา" แปลว่า "เขต หรือ แดน"


สีมา 2 ประเภท 

       สีมา นั้น มีอยู่ 2 ประเภท คือ :- 

       1. พัทธสีมา แดนที่ผูก 

       2. อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก 


พัทธสีมา

       คำว่า "พัทธสีมา" แปลว่า "แดน หรือ เขต ที่ผูกแล้ว"

       ความหมาย,- พัทธสีมา หมายถึง เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยจัดตั้งนิมิต คือ สิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้ 

       การกำหนดเขต ซึ่งได้ชื่อว่า "พัทธสีมา" สงฆ์ได้รับพระพุทธานุญาต ให้กำหนดเอาเองตามความพอใจ แต่พระองค์ทรงจำกัดไว้ ทั้งฝ่ายข้างเล็กและฝ่ายข้างใหญ่ คือ.- 

       1. ขนาดเล็ก ต้องจุภิกษุได้ 21 รูป ซึ่งนั่งเข้าหัตถบาสกัน 

       2. ขนาดใหญ่ ต้องไม่เกิน 3 โยชน์ 

       สีมาที่สงฆ์สมมติเล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไปกว่าที่กำหนดนี้ จัดเป็นสีมาวิบัติ ใช้ไม่ได้ 


เหตุที่ทรงกำหนดเช่นนั้น 

       เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกำหนดจำกัดสีมาทั้งข้างเล็กและข้างใหญ่ไว้เช่นนั้นก็เพราะว่า 

       1. สีมาเล็กเกินไป จนจุภิกษุไม่ได้ 21 รูป ทำอัพภานกรรมไม่ได้ 

       2. สีมาใหญ่เกินไป เหลือที่จะระวังรักษา 

       อัพภานกรรม เป็นสังฆกรรมที่ต้องการสงฆ์จำนวน 20 รูป เพื่อประชุมกันสวดระงับอาบัติสังฆาทิเสส โดยนั่งเข้าหัตถบาสกัน และรวมกันกับภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นด้วยอีก 1 รูป จึงเป็น 21 รูป ถ้าเล็กเกินไป ก็ไม่พอที่จะทำอัพภานกรรม 


       พระมติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ

       สำหรับข้อที่ว่าใหญ่เกินกว่า 3 โยชน์ นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระองค์ทรงมีพระมติว่า น่าจะเห็นว่าสงฆ์ได้รับประโยชน์ 2 อย่าง คือ 

       1. ได้ขยายเขตไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรกว้างออกไป 

       2. ได้ขยายเขตนิสัยออกไป 


นิมิต 8 ชนิด

       คำว่า "นิมิต" แปลว่า "เครื่องหมาย" 

       ความหมาย.- นิมิต ในที่นี้ หมายถึง วัตถุที่ใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดเขตแห่งสีมา

       วัตถุที่ใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดเขตแห่งสีมานั้น มี 8 ชนิด คือ 

       1. ปพฺพโต ภูเขา 

       2. ปาสาโณ ศิลา 

       3. วนํ ป่า 

       4. รุกฺโข ต้นไม้ 

       5. วมฺมิโก จอมปลวก 

       6. มคฺโค หนทาง 

       7. นที แม่น้ำ 

       8. อุทกํ น้ำ 



* * * 1. ภูเขาที่ใช้ได้ 3 ชนิด

       ภูเขา ที่ใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้นั้น มี 3 ชนิด คือ 

       1. สุทฺธปํสุปพฺพโต ภูเขาดินล้วน 

       2. สุทฺธปาสาณปพฺพโต ภูเขาศิลาล้วน 

       3. อุภยมิสฺสกปพฺพโต ภูเขาศิลาปนดิน 



* * * 2. ศิลาที่ใช้ได้ 4 ชนิด 

       ศิลาที่ใช้ได้ นั้น มี 4 ชนิด คือ 

       1. ศิลาแท้ หรือ ศิลาเจือแร่ 

       2. มีสัณฐานโตไม่ถึงช้าง เท่าศรีษะโคหรือกระบือเขื่องๆ 

       3. เป็นศิลาแท่งเดียว 

       4. มีขนาดเล็กเท่าก้อนน้ำอ้อย หนัก 32 ปละ คือ ประมาณ 5 ชั่ง 


       ศิลาที่ใช้ได้อีก 3 ชนิด คือ 

       1. ศิลาดาด - คำว่า "ศิลาดาด" หมายถึง หินที่เป็นแผ่นราบใหญ่

       2. ศิลาเทือก - คำว่า "ศิลาเทือก" หมายถึง หินที่ตัดกันเป็นพืดยาว

       3. ศิลาดวด - คำว่า "ศิลาดวด" หมายถึง หินที่สูงขึ้นไปบนพื้นดิน



* * * 3. ป่า 

       องค์ 2 ของป่าไม้ 

       ป่าไม้ที่นับว่าใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ 2 ประการ คือ 

       1. หมู่ไม้มีแก่น หรือ ชนิดเดียวกับไม้มีแก่น 

       2. ขึ้นเป็นหมู่กันอย่างต่ำต้อง 4 หรือ 5 ต้น 



* * * 4. ต้นไม้ 

       ต้นไม้นั้น ใช้ต้นไม้มีแก่นเพียงต้นเดียว และยังเป็นอยู่ เป็นต้นไม้ซึ่งเกิดจากพื้นดินหรือเป็นต้นไม้ที่ปลูกเอง 


       ขนาดของต้นไม้

       ต้นไม้ที่นับว่าใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้นั้น ต้องมีขนาดดังนี้ คือ 

       1. สูงอย่างน้อย 8 นิ้ว 

       2. ใหญ่ประมาณเท่าเล่มเข็ม 



       ต้นไม้ที่ใช้ไม่ได้

       ต้นไม้ที่ใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาไม่ได้นั้น คือ 

       1. ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง 

       2. ต้นไม้ที่แห้งตายไปเอง 

       3. ต้นไม้ที่เฉาตายไปเอง 



* * * 5. จอมปลวก 

       จอมปลวกนั้น เป็นจอมปลวกที่ตั้งขึ้นมานานแล้ว หรือเพิ่งตั้งขึ้นในวันนั้น ก็ใช้ได้

       ขนาดของจอมปลวก 

       จอมปลวกที่นับว่าใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้นั้น ต้องมีขนาดดังนี้ คือ 

       1. สูงได้ 8 นิ้ว 

       2. ใหญ่เท่าเขาโค 



* * * 6. หนทาง 

       หนทาง นั้น ต้องเป็นหนทางที่คนใช้เดิน หรือทางเกวียนที่ยังใช้อยู่ ผ่านไปเพียงระยะ 2 -  3 บ้าน

       ทางที่ใช้ไม่ได้ 

       ทางที่่นับว่าใช้นิมิตแห่งสีมาไม่ได้ นั้น คือ 

       1. ทางที่ไม่ได้ใช้ 

       2. ทางที่แยกออกจากทางใหญ่ ได้หน่อยหนึ่งแล้ววกกลับเข้ามาบรรจบกับทางใหญ่อีก 



* * * 7. แม่น้ำ 

       แม่น้ำ นั้น ที่ใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้ มีลักษณะ คือ 

       1. มีกระแสน้ำไหลอยู่เสมอ แม้ฝนไม่ตกก็ไม่แห้ง 

       2. ไม่เป็นแม่น้ำตัน คือ มีน้ำไหลอยู่เสมอ



* * * 8. น้ำ 

       น้ำที่นับว่าใช้เป็นนิมิตแห่งสีมาได้นั้น ต้องเป็นน้ำนิ่งที่ขังอยู่กับที่ไม่ไหล คือ 

       1. น้ำในหนอง 

       2. น้ำในบึง

       3. น้ำในบ่อ 

       4. น้ำใสสระ ( ชาตสระ สระที่เกิดขึ้นเอง ) 


       น้ำที่ใช้เป็นนิมิตไม่ได้ 

       ในอันธกอรรถกถาปกรณ์เก่า ท่านห้ามไม่ให้ถือเอาน้ำในบ่อลึก ซึ่งต้องใช้คันโพงหรือวัตถุอย่างอื่นตักขึ้นมา เป็นนิมิต เพราะว่าในบ่อเช่นนั้น น้ำมีน้อย อาจวิดแห้งได้


       มติของพระอรรถกถาจารย์ 

       ท่านพระอาจารย์ผู้รจนาอรรถกถาปกรณ์มหาวรรค กล่าวไว้ว่า น้ำที่ใช้เป็นนิมิตแห่งสีมานั้น ใช้น้ำนิ่ง แม้ในแอ่งที่สุกรขุด แม้ในที่เล่นของพวกเด็กชาวบ้าน โดยที่สุด น้ำที่เขาตักมาด้วยหม้อ เทลงให้เต็มในหลุมอันขุดใหม่ในทันใดนั้น ถ้าพอจะขังอยู่ตลอดสวดกรรมวาจาจบ เหลืออยู่น้อยก็ตาม มากก็ตาม เป็นใช้ได้ แต่ในที่นั้น ควรทำกองศิลา กองทราย กองดิน หรือปักหลักศิลา หลักไม้ไว้เป็นเครื่องกำหนด

       น้ำนิ่งตามมติของพระอรรถกถาจารย์นั้น มีลักษณะดังนี้ คือ 

       1. น้ำในแอ่งที่สุกรขุด 

       2. น้ำที่พวกเด็กชาวบ้านใช้เล่นกัน 

       3. น้ำที่เขาใช้หม้อเป็นต้น ตักมาเทลงในหลุมที่ขุดใหม่ 


       น้ำนิ่งตามลักษณะทั้ง 3 ประการ ที่กล่าวมานี้ ใช้ได้ แต่ต้องทำเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ คือ 

       1. ต้องทำกองหินไว้ 

       2. ต้องทำกองทรายไว้ 

       3. ต้องทำกองดินไว้ 

       4. ต้องปักหลักเสาหินไว้ 

       5. ต้องปักหลักเสาไม้ไว้ 


       เครื่องหมายทั้ง5 ชนิด ดังกล่าวมานี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมใช้ได้ 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : http://www.watpamahachai.net/sima1.htm  

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -

Thursday, November 25, 2021

จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการฝากจีวร และการถึือวิสาสะ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการฝากจีวร และการถึือวิสาสะ
 



ข้ออนุญาตในการฝากจีวร และการถึือวิสาสะ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 171 )  


       308. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

       ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง

       เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก 

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง 


       309. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

       ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง

       เพราะวิสาสะต่อผู้รับ

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง 


       310. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า

       ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว

       จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก

       ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้องแล้ว

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง 


       311. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

       กษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า

       ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว

       จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ 

       ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง 

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง 


       312. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า

       ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว

       จึงอธิษฐานเป็นมรดกของผู้ฝาก

       ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง

       อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ

       ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง 


       313. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

       ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง

       เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง 


       314. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง 

       เพราะวิสาสะต่อผู้รับ  

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง 

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง 


       315. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       ภิกษุผู้ฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า

       ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว 

       จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก

       ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง 

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ 

       ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง 


       316. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า

       ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว

       จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ

       ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง 

       ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก 

       ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง  


       317. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้

       ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า 

       ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว

       จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก

       ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง

       อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ

       ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : จีวรขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการฝากจีวร และการถึือวิสาสะ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 501 , 502



- จบ -

จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการแบ่งจีวร ( เพิ่มเติม )

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการแบ่งจีวร ( เพิ่มเติม )
 



ข้ออนุญาตในการแบ่งจีวร ( เพิ่มเติม )  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 170 )  


       295.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น

       หลีกไปเสีย

       เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่

       สงฆ์พึงให้ 


       296. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น

       สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ

       สงฆ์เป็นเจ้าของ 


       297.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น 

       ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก 

       เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่

       สงฆ์พึงให้


       298.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว 

       เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น

       ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ … ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก 

       สงฆ์เป็นเจ้าของ 


       299.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว 

       เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว

       แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน

       หลีกไปเสีย

       เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่

       สงฆ์พึงให้ 


       300. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว

       แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน

       สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ 

       สงฆ์เป็นเจ้าของ 


       301. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรเกิดขึ้น

       แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน

       ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก

       เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่

       สงฆ์พึงให้ 


       302. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว

       เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว

       แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน

       ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ … ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก 

       สงฆ์เป็นเจ้าของ   


       303. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน

       คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง

       ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์

       นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว 


       304. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน

       คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน

       ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ 

       นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว 


       305. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน 

       คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง 

       ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายฝ่ายหนึ่ง

       นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง 


       306. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา สงฆ์แตกกัน 

       คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง  ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน 

       ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ฝ่ายหนึ่ง

       นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง 


       307. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา แต่ยังมิทันได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน 

       พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่าๆ กัน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : จีวรขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตในการแบ่งจีวร ( เพิ่มเติม ) 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 499 , 500



- จบ -

จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับจีวร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับจีวร
 



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับจีวร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 169 )  


       282.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงจีวรสีครามล้วน 

       รูปใดทรง  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       283. … ไม่พึงทรงจีวรสีเหลืองล้วน … 


       284. … ไม่พึงทรงจีวรสีแดงล้วน … 


       285. … ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน … 


       286. … ไม่พึงทรงจีวรสีดำล้วน … 


       287. … ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน … 


       288. … ไม่พึงทรงจีวรสีชมพูล้วน … 


       289. … ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย … 


       290. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายยาว … 


       291. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ … 


       292. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น … 


       293. … ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก … 


       294. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงผ้าโพก 

       รูปใดทรง  ต้องอาบัติทุกกฏ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : จีวรขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จีวรขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับจีวร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 498 


- จบ -

จีวรขันธกะ : ทรงอนุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จีวรขันธกะ : ทรงอนุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด
 



ทรงอนุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 161 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อสงฆ์กำลังทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผ้าตัดทั้งหมดไม่พอ 

       … ตรัสว่า 

       251. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด 2 ผืน ไม่ต้องตัด 1 ผืน



       ผ้าต้องตัด 2 ผืน ไม่ต้องตัดผืนหนึ่ง ผ้าก็ยังไม่พอ

       … ตรัสว่า 

       252. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้า 2 ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด 



       ผ้า 2 ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ

       … ตรัสว่า  

       253. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มผ้าเพลาะ

       แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ 

       รูปใดใช้  ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงอนุญาตให้ผ้าแก่มารดาบิดาได้


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 162 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืนและท่านปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา

       … ตรัสว่า

       254. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วยรู้ว่ามารดาบิดา เราจะพึงว่าอะไร 

       เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา

       แต่ภิกษุไม่พึงทำศรัทธาไทย * * * ( 1 )  ให้ตกไป 

       รูปใดให้ตกไป  ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงห้ามครองผ้า 2 ผืนเข้าบ้าน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 163 )  


       255. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึงเข้าบ้าน

       รูปใดเข้าไป  ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

เหตุที่เก็บจีวรไว้ได้  ( สามารถครองผ้า 2 ผืนเข้าบ้านได้ )

       256. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้ มี 5 อย่าง คือ

       เจ็บไข้ 1 
 
       สังเกตเห็นว่าฝนจะตก 1 

       ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ 1 

       ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล 1 
 
       ได้กรานกฐิน 1 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้มี 5 อย่างนี้แล 


       257. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี 5 อย่างนี้ คือ 

       เจ็บไข้ 1 

       สังเกตเห็นว่าฝนจะตก 1 

       ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ 1 

       ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล 1 

       ได้กรานกฐิน 1 

 
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี 5 อย่างนี้แล  


       258. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี 5 อย่างนี้ 

       เจ็บไข้ 1 

       สังเกตเห็นว่าฝนจะตก 1 

       ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ 1 

       ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล 1 

       ได้กรานกฐิน 1 

 
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี 5 อย่างนี้แล 


       259. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี 5 อย่างนี้ คือ

       เจ็บไข้ 1 

       ไปนอกสีมา 1 

       ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ 1 

       ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล 1 

       ผ้าอาบน้ำฝนยังไม่ได้ทำ หรือทำค้างไว้ 1 

 
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี 5 อย่างนี้แล 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงอนุญาตเกี่ยวกับการแบ่งจีวร 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 164 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่แต่ผู้เดียว

       คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์

       จึงภิกษุรูปนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ 4 รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์  แต่เรารูปเดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์ ดังนี้

       ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถี

       … ตรัสว่า 

       ดูกรภิกษุ จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว จนถึงเวลาเดาะกฐิน 


       260. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียว 

       ประชาชนในถิ่นนั้นถวายจีวร ด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงเวลาเดาะกฐิน 



       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล

       ประชาชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ 

       จึงภิกษุรูปนั้นได้ดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ 4 รูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์

       แต่เราอยู่ผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์

       ถ้าไฉนเราจะพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถี

       ครั้นแล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถี แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

       … ตรัสว่า

       261. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้ากันแจก 


       262. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุอยู่ผู้เดียวตลอดฤดูกาล ประชาชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวร ด้วยเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรูปนั้นอธิษฐานจีวรเหล่านั้นว่า จีวรเหล่านี้ของเรา

       ถ้าเมื่อภิกษุรูปนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุรูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน

       ถ้าเมื่อภิกษุ 2 รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังมิได้จับสลาก มีภิกษุรูปอื่นมา พึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน

       ถ้าเมื่อภิกษุ 3 รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น และจับสลากเสร็จแล้ว มีภิกษุรูปอื่นมา พวกเธอไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 165 )  


       263. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไม่พึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่น 

       รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ 



       สมัยต่อมา ท่านพระอุปนนทศากยบุตร รูปเดียวจำพรรษาอยู่สองวัด ด้วยคิดว่า โดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก

       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า พวกเราจักให้ส่วนจีวรแก่ท่านพระอุปนนทศากยบุตรอย่างไรหนอ

       … ตรัสว่า

       264. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ส่วนแก่โมฆบุรุษส่วนเดียว 

       ภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ภิกษุรูปเดียว จำพรรษาอยู่ 2 วัด ด้วยคิดว่าโดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก

       ถ้าภิกษุจำพรรษาในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง พึงให้ส่วนจีวรในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง 

       หรือจำพรรษาในวัดใดมากกว่า พึงให้ส่วนจีวรในวัดนั้น 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงให้พยาบาลภิกษุผู้อาพาธ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 166 )  


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ

       ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล 


       265. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นจึงพยาบาลภิกษุอาพาธ

       ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย

       ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 

       ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 

       ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 

       ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย  

       ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย  

       ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้องพยาบาล

       ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก 5 อย่าง

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นผู้พยาบาลได้ยาก คือ 

       1. ไม่ทำความสบาย 

       2. ไม่รู้ประมาณในความสบาย

       3. ไม่ฉันยา 

       4. ไม่บอกอาการไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือ

       ไม่บอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ

       อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา

       อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ 

       5. มีนิสัยเป็นคนไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดปรากฏในร่างกาย อันกล้าแข็ง รุนแรงไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพล่าชีวิตเสีย


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย 5 อย่าง

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย 

       1. คือทำความสบาย 

       2. รู้ประมาณในความสบาย 

       3. ฉันยา 

       4. บอกอาการป่วยไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือ

       บอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ 

       อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา 

       อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ 

       5. มีนิสัยเป็นคนอดทนต่อทุกขเวทนา อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพล่าชีวิตเสีย


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล 5 อย่าง

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ควรพยาบาลไข้ คือ

       1. เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบยา 

       2. ไม่รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงเข้าไปให้ กันของไม่แสลงออกเสีย

       3. พยาบาลไข้เห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา 

       4. เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไป 

       5. เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงให้คนไข้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรพยาบาลไข้



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล 5 อย่าง

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 ควรพยาบาลไข้ คือ 

       1. เป็นผู้สามารถประกอบยา 

       2. รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือกันของแสลงออก นำของไม่แสลงเข้าไปให้  

       3. มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็นแก่อามิส 

       4. เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไปเสีย 

       5. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรพยาบาลไข้ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงอนุญาตให้บาตรจีวรของผู้มรณภาพแก่คิลานุปัฏฐาก


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 167 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ 2 รูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบท

       ได้เข้าไปอยู่อาวาสแห่งหนึ่ง

       บรรดาภิกษุ 2 รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ

       จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่า

       อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการพยาบาลภิกษุอาพาธ ผิฉะนั้น พวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้เถิด

       แล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น 

       เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึงมรณภาพ

       จึงภิกษุเหล่านั้นถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถี 

       … ตรัสว่า  

       266. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ 


วิธีให้

       267.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ

       ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       ท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย กรรมวาจา ว่าดังนี้  


* * * กรรมวาจาให้จีวรและบาตร

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ

       สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้

       การให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



       สมัยต่อมา สามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพ

       … ตรัสว่า  

       268. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร

       แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ 


วิธีให้

       269. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือ

       ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 

       ท่านเจ้าข้า สามเณรชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย กรรมวาจา ว่าดังนี้  


* * * กรรมวาจาให้จีวรและบาตร

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ผู้พยาบาลไข้

       นี้เป็นญัตติ


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ

       สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้

       การให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่ง ช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธ

       เธออันภิกษุและสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ ได้ถึงมรณภาพ

       จึงภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น ได้มีความปริวิตกว่า เราพึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ

       … ตรัสว่า 

       270. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณร ผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน 



       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงแก่มรณภาพ

       … ตรัสว่า 

       271. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตร จีวร

       แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก

       เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้

       บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น

       สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควรแบ่ง ไม่ควรแจก 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ทรงห้ามสมาทานติตถิยวัตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 168 )  


       272.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทาน

       รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย 


       273. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าคากรองอันเป็นธงชัยของเดียรถีย์  

       รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย 


       274. … ไม่พึงนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง …


       275. … นุ่งผ้าผลไม้กรอง … 


       276. … นุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน … 


       277. … นุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ …  


       278. … นุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า … 


       279.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์

       รูปใดทรง  ต้องอาบัติถุลลัจจัย 


       280. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก

       รูปใดนุ่ง  ต้องอาบัติทุกกฏ 


       281. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ 

       รูปใดนุ่ง  ต้องอาบัติทุกกฏ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


* * * ( 1 ) : มาจากบาลีว่า สทฺธาเธยฺย หมายถึง อันเขาให้ด้วยความศรัทธา - ผู้รวบรวม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : จีวรขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จีวรขันธกะ : ทรงอนุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 489 , 490 , 491 , 492 , 493 , 494 , 495 , 496 , 497 , 498  



- จบ -