Monday, April 25, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับที่จงกรมและเรือนไฟ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับที่จงกรมและเรือนไฟ 



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับที่จงกรมและเรือนไฟ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 79 )  


       117. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 80 )  


118. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรม ให้เรียบ



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 81 )  


       สมัยต่อมา ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม … ตรัสว่า 

       119. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรมให้สูง 


       120. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อมูลดินที่ถม 3 ชนิด คือ 

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยหิน 1 

       ก่อด้วยไม้ 1


       121. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 ชนิด คือ 

       บันไดอิฐ 1 

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า 

       122. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 82 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่ในที่จงกรม พลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       123. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 83 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่กลางแจ้ง ลำบากด้วย หนาวบ้าง ร้อนบ้าง … ตรัสว่า 

       124. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงจงกรม 



       ผงหญ้าที่มุงหล่นเกลื่อนในโรงจงกรม … ตรัสว่า  

       125. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง แล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน ทำให้มีสีขาว

       สีดำ

       สีเหลือง

       จำหลักเป็นพวงดอกไม้

       เครือไม้ 

       ฟันมังกรดอกจอกห้ากลีบ 

       ราวจีวร 

       สายระเดียงจีวร



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 84 )  


       สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า  

       126. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง 



       พื้นที่ถมพังลงมา … ตรัสว่า 

       127. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม 3 ชนิด คือ 

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยหิน 1 

       ก่อด้วยไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า 

       128. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 ชนิด คือ 

       บันไดอิฐ 1 

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       129. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด 



       เรือนไฟไม่มี บานประตู … ตรัสว่า  

       130. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิงกลอน ลิ่ม ช่องดาน ช่องสำหรับชักเชือก เชือกสำหรับชัก 



       เชิงฝาเรือนไฟชำรุด … ตรัสว่า 

       131. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อให้ต่ำ 



       เรือนไฟไม่มีปล่องควัน … ตรัสว่า 

       132. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปล่องควัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 85 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไฟไว้กลางเรือนไฟขนาดเล็ก ไม่มี อุปจาร /////  … 

       133. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่ตั้งเตาไฟไว้ส่วนข้างหนึ่ง เฉพาะเรือนไฟขนาดเล็ก เรือนไฟขนาดกว้าง ตั้งไว้ตรงกลางได้ 



       ไฟในเรือนไฟลวกหน้า … ตรัสว่า 

       134. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินสำหรับทาหน้า 



       ภิกษุทั้งหลายละลายดินด้วยมือ … ตรัสว่า 

       135. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราง สำหรับละลายดิน 



       ดินมีกลิ่นเหม็น … ตรัสว่า  

       136. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ อบกลิ่น 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 86 )  


       สมัยต่อมา ไฟในเรือนไฟลนกาย … ตรัสว่า 

       137. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตักน้ำมาไว้มากๆ 



       ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้าง ตักน้ำ … ตรัสว่า 

       138. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ขังน้ำ ขันตักน้ำ 



       เรือนไฟที่มุงด้วยหญ้า ไหม้เกรียม … ตรัสว่า 

       139. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง 



       เรือนไฟเป็นตม … ตรัสว่า 

       140. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูเครื่องลาด 3 อย่าง คือ 

       เครื่องลาดอิฐ 1 

       เครื่องลาดหิน 1 

       เครื่องลาดไม้ 1


 
       เรือนไฟ ก็ยังเป็นตมอยู่นั้นเอง … ตรัสว่า 

       141. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชำระล้าง 



       น้ำขัง … ตรัสว่า 

       142. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 87 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ เนื้อตัวคัน … ตรัสว่า 

       143. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ตั่ง /////  ในเรือนไฟ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 88 )  


       สมัยต่อมา เรือนไฟยังไม่มีเครื่องล้อม … ตรัสว่า 

       144. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว 3 อย่าง คือ 

       รั้วอิฐ 1 

       รั้วหิน 1 

       รั้วไม้ 1 



       ซุ้มไม่มี … ตรัสว่า

       145. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม 



       ซุ้มต่ำไป น้ำท่วมได้ … ตรัสว่า 

       146. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำพื้นที่ให้สูง 



       พื้นที่ก่อพัง … ตรัสว่า

       147. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน 3 อย่าง คือ

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยหิน 1 

       ก่อด้วยไม้ 1



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า  

       148. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 อย่าง คือ 

       บันไดอิฐ 1 

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา … ตรัสว่า 

       149. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด



       ซุ้มยังไม่มีประตู … ตรัสว่า  

       150. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 89 )  


       สมัยต่อมา ผงหญ้าหล่นเกลื่อนซุ้ม … ตรัสว่า 

       151. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว

       สีดำ 

       สีเหลือง

       จำหลักเป็นพวงดอกไม้

       เครือไม้ 

       ฟันมังกร

       ดอกจอกห้ากลีบ  



       บริเวณเป็นตม … ตรัสว่า 

       152. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่ 



       กรวดแร่ยังไม่เต็ม … ตรัสว่า 

       153. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเรียบ 



       น้ำขัง … ตรัสว่า 

       154. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับที่จงกรมและเรือนไฟ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 821 , 822 , 823 , 824 , 825



- จบ -

ตั่ง

 

ตั่ง 


       ตั่ง - ที่สำหรับนั่งหรือวางของ ทรงเตี้ย ไม่มีพนัก พื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามปรกติมี 4 ขา 


- จบ -

อุปจาร

 

อุปจาร



       อุปจาร ( อ่านว่า อุปะจาน ) - การเข้าใกล้ ที่ใกล้ บริเวณรอบ ๆ เช่น อุปจารวัด  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อุปจาร  - เฉียด , จวนเจียน , ที่ใกล้ชิด , ระยะใกล้เคียง , ชาน , บริเวณรอบๆ ; 

       ดังตัวอย่างคำที่ว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้

       อาคารที่ปลูกขึ้นร่วมในแค่ระยะน้ำตกที่ชายคาเป็น เรือน , 

       บริเวณรอบๆ เรือนซึ่งกำหนดเอาที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะออกไปหรือแม่บ้านยืนอยู่ภายในเรือนโยนกระด้ง หรือไม้กวาดออกไปภายนอกตกที่ใด ระยะรอบๆ กำหนดนั้นเป็นอุปจารเรือน 

       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดี ยืนอยู่ที่เขตอุปจารเรือน ขว้างก้อนดินไป ก้อนดินที่ขว้างนั้นตกลงที่ใด ที่นั้นจากรอบๆ บริเวณอุปจารเรือน เป็นกำหนดเขตบ้าน ,

       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดีนั้นแหละ ยืนอยู่ที่เขตบ้านนั้นโยนก้อนดินไปเต็มกำลัง ก้อนดินตกเป็นเขตอุปจารบ้าน ; 

       สีมาที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสนั้น จะต้องเว้นบ้านและอุปจารบ้านดังกล่าวนี้เสีย จึงจะสมมติขึ้น คือ ใช้เป็นติจีวราวิป


- จบ -

Sunday, April 24, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับผ้ากรองน้ำ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับผ้ากรองน้ำ



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับผ้ากรองน้ำ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 72 )  


       สมัยต่อมา น้ำในระหว่างทางเป็น อกัปปิยะ /////  ผ้าสำหรับกรองน้ำไม่มี … ตรัสว่า 


       108. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ 



       ท่อนผ้าไม่พอ … ตรัสว่า 

       109. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองทำรูปคล้ายช้อน 



       ผ้าไม่พอ … ตรัสว่า 

       110. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระบอกกรองน้ำ  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 74 )  


       111. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางเมื่อถูกเขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ

       จะไม่พึงให้ไม่ควร 

       รูปใดไม่ให้ต้องอาบัติทุกกฏ 


       112. อนึ่ง ภิกษุไม่มีผ้ากรองน้ำ อย่าเดินทางไกล 

       รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ 


       113. ถ้าผ้ากรองน้ำ หรือกระบอกกรองน้ำไม่มี แม้มุมผ้าสังฆาฏิ ก็พึงอธิฐานว่า เราจักกรองน้ำด้วยมุมผ้าสังฆาฏินี้ดื่ม ดังนี้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 76 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำ นวกรรม /////  อยู่ ผ้ากรองน้ำไม่พอกัน … ตรัสว่า 

       114. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ 



       ผ้ากรองน้ำมีขอบไม่พอใช้ … ตรัสว่า 

       115. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 77 )  


       สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน … ตรัสว่า 

       116. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมุ้ง



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับผ้ากรองน้ำ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 820 , 821



- จบ -

นวกรรม

 

นวกรรม 



       นวกรรม แปลว่า การทำให้ใหม่ คือการก่อสร้าง โดยปกติเป็นงานของชาวบ้าน พระสงฆ์มีหน้าที่อำนวยการหรือควบคุมดูแลให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังเช่นพระมหาโมคคัลคานะได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างบุพพารามของนางวิสาขา เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่นี้ว่า นวกัมมัฏฐายี ( ผู้อำนวยการก่อสร้าง ) บ้าง นวกัมมิกะ ( ผู้ดูแลนวกรรม ) บ้าง นวการ ( ผู้ก่อสร้าง ) บ้าง  

       ในทางพุทธศาสนา นวกรรม หมายถึงงานสาธารณูปการ คืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การบูรณะปฏิสังขร การดูแลจัดการวัดเรื่องเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด รวมถึงการทำให้วัดสะอาดร่มรื่นเป็นต้น เรียกรวมว่า งานนวกรรม 


หมายเหตุ - ระวังสับสนกับ นวัตกรรม 


- จบ -

อกัปปิยะ

 

อกัปปิยะ



       อกัปปิยะ ( อ่านว่า อะกับปิยะ ) -  ไม่ควร ไม่เหมาะ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       กัปปิยะ หรือ กัปปิยภัณฑ์ แปลว่า เหมาะสม , สมควร หมายถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณะคือภิกษุสามเณร เป็นสิ่งของที่ภิกษุสามเณรบริโภคใช้สอยได้ ไม่ผิดพระวินัย เรียกเต็มว่า กัปปิยภัณฑ์ ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 

       สิ่งของที่ภิกษุสามเณรไม่ควรจะบริโภคใช้สอยหรือบริโภคใช้สอยไม่ได้ เช่น เสื้อ กางเกง เครื่องประดับ เป็นต้น เรียกว่า อกัปปิยะ หรือ อกัปปิยภัณฑ์ 

       ปัจจัยบางอย่างที่เป็นอกัปปิยะนิยมทำให้เป็นกัปปิยะเสียก่อนจึงถวายพระ เช่น ผลไม้ที่มีเปลือกหนา นิยมปอกหรือใช้มีดใช้เล็บกรีดให้เป็นรอยเสียก่อน ทำดังนี้เรียกว่า "ทำกัปปิยะ" เรียกผู้ทำกัปปิยะนั้นว่า กัปปิยการก 


- จบ -

สะดึง

 

สะดึง


 ( ภาพบน ) : ภาพข้างบนนี้มาจาก th.wikipedia.org



       สะดึง ( อังกฤษ: Embroidery hoop ; Embroidery frame ) คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น หรืออาจจะหมายถึงกรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร 


       สะดึงมี 2 แบบ คือ

* * * สะดึงกลม ใช้ปักงานชิ้นเล็ก เช่น การปักตัวอักษร เครื่องหมายของโรงเรียน มุมผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น 


* * * สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว เช่น การปักหน้าหมอน ผ้าปูโต๊ะ ย่าม ตาลปัตร เป็นต้นสะดึงกลม ใช้ปักงานชิ้นเล็ก เช่น การปักตัวอักษร เครื่องหมายของโรงเรียน มุมผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น 

       สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว เช่น การปักหน้าหมอน ผ้าปูโต๊ะ ย่าม ตาลปัตร เป็นต้น   


ประวัติ

พระพุทธศาสนา 

       ในสมัยพระพุทธกาลการเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ การทำจีวรหรือกฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริก เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า "การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์" 

       ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้สะดึง โดยตรัสว่า 

       ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง ให้ผูกลงในที่นั้น ๆ เย็บจีวรได้ ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ ไม้สะดึงหัก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึง ในที่ไม่เสมอ รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น ... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง ขอบไม้สะดึงชำรุด ... ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้าอนุวาต ไม้สะดึงไม่พอ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกับ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่าง จีวรสองชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอก ด้ายผูกจีวรลงกับสะดึงใน ครั้นขึงแล้ว จึงเย็บจีวร ด้ายเกษียนภายในไม่เสมอ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ทำหมาย เส้นด้ายคด ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นด้าย ตีบรรทัด ฯ


- จบ -








Saturday, April 23, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับโรงสะดึง เป็นต้น

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับโรงสะดึง เป็นต้น



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับโรงสะดึง เป็นต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 66 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรอยู่ในที่แจ้ง ลำบากด้วยความหนาวบ้าง ความร้อนบ้าง … ตรัสว่า 

       94. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงสะดึง ปะรำสะดึง 



       โรงสะดึงมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม  … ตรัสว่า 

       95. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง 



       ดินที่ถมพังทะลาย … ตรัสว่า 

       96. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม 3 อย่าง คือ

       ก่อด้วยอิฐ 1 

       ก่อด้วยศิลา 1 

       ก่อด้วยไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก … ตรัสว่า 

       97. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได 3 อย่าง คือ

       บันไดอิฐ 1

       บันไดหิน 1 

       บันไดไม้ 1 



       ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก … ตรัสว่า 

       98. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราว สำหรับยึด 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 67 )  


       สมัยต่อมา ผงหญ้าที่มุงร่วงลงในโรงสะดึง … ตรัสว่า 

       99. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง แล้วฉาบด้วยดิน ทั้งข้างนอกข้างใน ให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวรได้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 68 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรเสร็จแล้ว ละทิ้งไม้สดึงไว้ใน ที่นั้นเองแล้วหลีกไป หนูบ้าง ปลวกบ้าง กัดกิน … ตรัสว่า 

       100. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ม้วนไม้สะดึงเก็บไว้ 



       ไม้สะดึงหัก … ตรัสว่า  

       101. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอดท่อนไม้ม้วนไม้สะดึงเข้าไป 



       ไม้สะดึงคลี่ออก … ตรัสว่า  

       102. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูก 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 69 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกไม้สะดึงเก็บไว้ที่ฝาบ้าง ที่เสาบ้างแล้วหลีกไป ไม้สะดึงพลัดตกเสียหาย … ตรัสว่า 

       103. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แขวนไว้ที่เดือยข้างฝา หรือที่ ไม้ นาคทนต์  * * * ( 1 ) 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 70 )  


       ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรบรรจุเข็มบ้าง มีดบ้าง เครื่องยาบ้าง เดินทางไป … 

       104. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บเครื่องยา 



       สายโยกไม่มี … ตรัสว่า 

       105. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 71 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง ใช้ประคตเอวผูกรองเท้าเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน อุบาสกผู้หนึ่งกราบภิกษุรูปนั้น ศีรษะกระทบรองเท้า ภิกษุนั้นขวยใจครั้นเธอกลับไปถึงวัด แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย … ตรัสว่า 

       106. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บรองเท้า 



       สายโยกไม่มี … ตรัสว่า 
 
       107. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -     

* * * ( 1 )  - ไม้ที่ทำเป็นรูปงาช้าง - ผู้รวบรวม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับโรงสะดึง เป็นต้น 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 818 , 819 , 820



- จบ -

นาคทนต์

 

นาคทนต์ 



       นาคทนต์ ( อ่านว่า นากคะ- ) งาช้าง    



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ไม้นาคทนต์ - ไม้ที่ทำเป็นรูปงาช้าง


- จบ -


ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้สะดึง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้สะดึง



ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้สะดึง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 59 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตอกหลักลงในที่นั้นๆ ผูกขึงเย็บจีวร จีวรเสียมุม … ตรัสว่า 

       78. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง ให้ผูกลงในที่นั้นๆ เย็บจีวรได้ 


       79. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึง ในที่ไม่เสมอ 

       รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ 



       ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น … ตรัสว่า 

       80. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง 



       ขอบไม้สะดึงชำรุด … ตรัสว่า 


       81. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้า อนุวาต /////  



       ไม้สะดึงไม่พอ … ตรัสว่า

       82. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกับ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่างจีวรสองชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอก ด้ายผูกจีวรลงกับสะดึงใน ครั้นขึงแล้วจึงเย็บจีวร 



       ด้ายเกษียนภายในไม่เสมอ … ตรัสว่า 

       83. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมาย 



       เส้นด้ายคด … ตรัสว่า 

       84. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นด้าย ตีบรรทัด 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 60 )  


       85. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปื้อนไม่พึงเหยียบไม้สะดึง 

       รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 61 )  


       86. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปียก ไม่พึงเหยียบไม้สะดึง  

       รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 62 )  


       87. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าไม่พึงเหยียบไม้สะดึง  

       รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 63 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร รับเข็มด้วยนิ้วมือ นิ้วมือก็เจ็บ … ตรัสว่า 

       88. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 64 )  


       89. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิดต่างๆ ( คือ ชนิดทำด้วยทอง ชนิดทำด้วยเงิน )  

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ  



       90. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือที่ทำด้วยกระดูก 

       งา 

       เขา  

       ไม้อ้อ 

       ไม้ไผ่ 

       ไม้ธรรมดา 

       ครั่ง 

       เมล็ดผลไม้ 

       โลหะ 

       และกระดองสังข์ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 65 )  


       สมัยต่อมา เข็มบ้าง มีดบ้าง ปลอกสวมนิ้วมือบ้าง หายไป … ตรัสว่า 

       91. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า



       ภิกษุทั้งหลายมัวพะวงอยู่แต่ในกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า … ตรัสว่า 

       92. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ถุงเก็บปลอกนิ้วมือ  



       สายโยกไม่มี …  

       93. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้สะดึง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 816 , 817 , 818
 


- จบ -

อนุวาต

 

อนุวาต 



       อนุวาต - ผ้าดาม , ผ้าทาบ , แผ่นผ้ายาวๆ ที่ทาบไปตามริมสบงหรือตะเข็บ  



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

การใส่อนุวาต

       ผ้าจะดูประณีตหรือไม่เพียงไร ส่วนที่สำคัญอีกที่ก็คือการใส่ขอบชายผ้า หรืออนุวาต

       อนุวาตที่นำมาใส่ต้องตัดตามทางผ้า หมายความว่า หากเป็นผ้าด้านขวางก็ให้ตัดด้านข้าง ผ้าที่เป็นด้านยาวก็ต้องตัดด้านยาว เหตุเพราะว่าผ้าแต่ละด้านจะหดไม่เท่ากัน 


       สำหรับจีวรจะตัดอนุวาตขนาด 18 ซม ( เพื่อพับด้านยาวทั้งสองด้านให้เหลือขนาดจริง 16 ซม.)  ยาวเท่าขนาดของจีวรทั้งสี่ด้าน 


       1. รีดริมจีวรทั้งสี่ด้าน ขนาด 1 ซม. 

       2. นำอนุวาต มาประกบ แล้วเย็บริมนอกทั้งสี่ด้าน เหลือตรงมุมผ้า ประมาณ 5 ซม. เพื่อการเข้ามุม 

       3. ทำมุมทั้งสี่ ให้ได้ฉาก 

       4. เย็บขอบอนุวาตด้านในทั้งสี่ด้าน 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       องค์ประกอบของจีวร

       จีวรผืนหนึ่งมีขัณฑ์ไม่น้อยกว่า 5 ขัณฑ์ เกินกว่านั้นใช้ได้แต่ต้องเป็น"ขัณฑ์ขอน(คี่)"ตามพระวินัย จีวรจะเป็นขัณฑ์ขอน อาทิเช่น 5 , 7 , 9  ส่วนใหญ่จะนิยม 9 ขัณฑ์ ในกรณีที่ผ้าหน้าแคบอาจจะทำขัณฑ์ให้เล็กลงเพื่อประหยัดผ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 

       ในการตัดเย็บจีวรนี้เราจะใช้เฉพาะ มณฑลและอัฑฒมณฑลเท่านั้น ส่วนชื่อจำเพาะอื่นๆจะข้ามไปเพราะจะมีขนาดเหมือนกันแต่ต่างตรงตำแหน่งที่อยู่ของมณฑลต่างๆเหล่านั้นเท่านั้น  


โดยมีผ้าที่เป็นส่วนชื่อเรียกดังนี้ ( ดูส่วนและเส้นต่างๆของจีวร ) 

       1. อัฑฒมณฑล คีเวยยะ ( พันรอบคอ ) 

       2. มณฑล วิวัฏฏะ 

       3. อัฑฒมณฑล วิวัฏฏะ 

       4. อัฑฒมณฑล อนุวิวัฏฏะ 

       5. มณฑล อนุวิวัฏฏะ 

       6. มณฑล ชังเฆยยะ 

       7. อัฑฒมณฑล ชังเฆยยะ ( ปกแข้ง ) 

       8. อัฑฒมณฑล พาหันตะ ( ส่วนที่พันแขน ) 

       9. กุสิ 

       10. อัฑฒกุสิ 

       11. อนุวาต 

       12. รังดุม , ลูกดุม ( ดูเพิ่มเติม ) 

       จีวรนั้นโปรดให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ คือเป็นกระทงมีเส้นคั่น 

       - กระทงใหญ่ เรียกว่า" มณฑล " 

       - กระทงเล็ก เรียกว่า" อัฑฒมณฑล " 

       - เส้นคั่นในระหว่างมณฑลกับอัฑฒมณฑล ดุจคันนาขวาง เรียกว่า" อัฑฒกุสิ " 

       - รวมมณฑล อัฑฒมณฑล อัฑฒกุสิ เรียกว่า" ขัณฑ์ " ดูความหมายของคำว่า"ขัณฑ์" 

       - ในระหว่างขัณฑ์ มีเส้นคั่นดุจคันนายาว เรียกว่า" กุสิ " 



ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์ 

       ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้าอันตรวาสกตัด 


- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับจีวร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับจีวร
 



ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับจีวร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 55 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้มือฉีกผ้าแล้วเย็บเป็นจีวร จีวรมีแนวไม่เสมอกัน … ตรัสว่า 

       67. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีผ้าพัน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 56 )  


       สมัยต่อมา มีดมีด้ามบังเกิดแก่สงฆ์ … ตรัสว่า 

       68. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีด้าม 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 57 )  


       69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ด้ามมีดชนิดต่างๆ ( คือ ชนิดทำด้วยทอง ชนิดทำด้วยเงิน )  

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ามมีดที่ทำด้วยกระดูก 

       งา 

       เขา 

       ไม้อ้อ 

       ไม้ไผ่ 

       ไม้ธรรมดา  

       ครั่ง 

       เมล็ดผลไม้

       โลหะ 

       และกระดองสังข์ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 58 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่บ้าง ไม้กลัดบ้าง เย็บจีวร จีวรเย็บแล้วไม่ดี … ตรัสว่า 

       71. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เข็ม 



       เข็มขึ้น สนิม … ตรัสว่า

       72. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กล่องเข็ม 



       แม้ในกล่องเข็ม ก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า 

       73. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยด้วยแป้งข้าวหมาก 



       แม้ในแป้งข้าวหมาก เข็มก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า 

       74. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยด้วยแป้งเจือขมิ้นผง 



       แม้ในแป้งเจือขมิ้นผงเข็มก็ยังขึ้นสนิมได้ … ตรัสว่า 

       75. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ฝุ่นหิน 



       แม้ในฝุ่นหินเข็มก็ยังขึ้นสนิม … ตรัสว่า 

       76. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาด้วยขี้ผึ้ง 



       ฝุ่นหินแตก … ตรัสว่า 

       77.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ามัดขี้ผึ้งพอกฝุ่นหิน



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับจีวร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 815 , 816



- จบ -

Friday, April 22, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร
 



ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 34 )  


       31. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรทองคำ

       ไม่พึงใช้บาตรเงิน 

       ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี 

       ไม่พึงใช้บาตรแก้วไพฑูรย์ 

       ไม่พึงใช้บาตรแก้วผลึก 

       ไม่พึงใช้บาตรทองสัมฤทธิ์ 

       ไม่พึงใช้บาตรกระจก 

       ไม่พึงใช้บาตรดีบุก

       ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว

       ไม่พึงใช้บาตรทองแดง 


       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร 2 ชนิด คือ

       บาตรเหล็ก 1 
 
       บาตรดิน 1 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 35 )  


       สมัยต่อมา ก้นบาตรสึก .… ตรัสว่า 

       33. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 36 )  


       34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บังเวียนรองบาตรชนิดต่างๆ ( คือ ชนิดทำด้วยทอง ชนิดทำด้วยเงิน ) 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ  



       35. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร 2 ชนิด คือ

       ทำด้วยดีบุก 1 

       ทำด้วยตะกั่ว 1 


       บังเวียนรองบาตรหนา ไม่กระชับกับบาตร … ตรัสว่า 

       36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กลึง



       บังเวียนรองบาตรที่กลึงแล้วยังเป็นคลื่น … ตรัสว่า  

       37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จักเป็นฟันมังกร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 37 )  


       38. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บังเวียนรองบาตร อันวิจิตร ที่จ้างเขาทำให้มีลวดลายเป็นรูปภาพ 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       39. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้บังเวียนรองบาตรอย่างธรรมดา 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 38 )  


       40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ ภิกษุไม่พึงเก็บงำ 

       รูปใดเก็บงำ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       41. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งแล้วจึงเก็บงำบาตร



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 39 )  


       42. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ ภิกษุไม่พึงผึ่งไว้ 

       รูปใดผึ่งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำให้หมดน้ำเสียก่อนผึ่ง แล้วจึงเก็บงำบาตร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 40 )  


       44. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน 

       รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       45. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งไว้ในที่ร้อนครู่เดียว แล้วจึงเก็บงำบาตร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 41 )  


       สมัยต่อมา บาตรเป็นอันมาก ไม่มีเชิงรอง ภิกษุทั้งหลายวาง เก็บไว้ในที่แจ้ง บาตรถูกลมหัวด้วนพัดกลิ้งตกแตก … ตรัสว่า 

       46. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรองบาตร 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 42 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ บาตรกลิ้ง ตกแตก … ตรัสว่า

       47. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ 

       รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 43 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็กๆ นอกฝา บาตรกลิ้ง ตกแตก … ตรัสว่า 

       48. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็กๆ นอกฝา

       รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 44 )  


       สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึก … ตรัสว่า 

       49. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง 



       หญ้าที่รองถูกปลวกกัด … ตรัสว่า 

       50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ท่อนผ้ารอง 



       ท่อนผ้าถูกปลวกกัด … ตรัสว่า 

       51. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแท่นเก็บบาตร



       บาตรตกจากแท่นเก็บ บาตรแตก … ตรัสว่า 

       52. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หม้อเก็บบาตร 



       บาตรครูดสีกับหม้อเก็บบาตร … ตรัสว่า 

       53. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ถุงบาตร * * * ( 1 )  



       สายโยกไม่มี … ตรัสว่า 

       54. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 45 )  


       55. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแขวนบาตรไว้ 

       รูปใดแขวนไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 46 )  


       56. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนเตียง 

       รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 47 )  


       57. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนตั่ง 

       รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 48 )  


       58. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้บนตัก  

       รูปใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 49 )  


       59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนกลด  

       รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 50 )  


       60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือบาตรอยู่ ไม่พึงผลักบานประตูเข้าไป 

       รูปใดผลัก ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 51 )  


       61. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ กระโหลกน้ำเต้า /////  เที่ยวบิณฑบาต 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 52 )  


       62. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กระเบื้องหม้อเที่ยวบิณฑบาต 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 53 )  


       63. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรกระโหลกผี 
 
       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       64. อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้ของบังสุกุลทุกอย่าง

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 54 )  


       65. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรรับเศษอาหาร ก้าง หรือ น้ำบ้วนปาก 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



       66. เราอนุญาตให้ใช้กระโถน 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 )  คำว่า “ถุงบาตร” พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พ.ศ. 2535 ใช้ว่า “ถลกบาตร” - ผู้รวบรวม



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 811 , 812 , 813 , 814 , 815

   

- จบ -

กะโหลกน้ำเต้า

 

กะโหลกน้ำเต้า


       กะโหลกน้ำเต้า มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า กมัณฑลุ ( กะมันทะ- ) หรือเต้าน้ำ หม้อน้ำ ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. ( ม. ร่ายยาว วนปเวสน์ )

       ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง ( เสือโค ) ( ป. ส. )   


- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามใช้บาตรไม้

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามใช้บาตรไม้



ทรงห้ามใช้บาตรไม้


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 29 )  


       …ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า

       มาตุคามแสดงของลับ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ 

       การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส … 


       29. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์

       รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ 


       30. อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ 

       รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามใช้บาตรไม้ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 811



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามตัดองค์กำเนิด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามตัดองค์กำเนิด



ทรงห้ามตัดองค์กำเนิด 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 28 )  


       28. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ /////  นั้น เมื่อสิ่งที่จะพึงตัดอย่างอื่นยังมี ไพล่ไปตัดเสียอีกอย่าง 

       ภิกษุไม่พึงตัดองค์กำเนิดของตน 

       รูปใดตัด ต้อง อาบัติถุลลัจจัย /////  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามตัดองค์กำเนิด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 811



- จบ -

โมฆบุรุษ

 

โมฆบุรุษ 



       โมฆบุรุษ แปลว่า คนโมฆะ คนเปล่า คือคนที่ใช้การไม่ได้ คนที่ไม่มีผลดี 

       โมฆบุรุษ หมายถึงคนที่เอาดีไม่ได้ คนที่พลาดจากประโยชน์ต่างๆ เพราะมัวประมาทอยู่บ้าง ประพฤติทุจริตบ้าง เกียจคร้านในกิจการต่างๆ บ้าง 

       โมฆบุรุษ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระวินัยโดยเป็นต้นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทใหม่ หรือล่วงละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วเพราะบวชมาเพื่อแสวงหาประโยชน์คือความพ้นทุกข์และการบรรลุธรรม แต่กลับประพฤติให้เสียประโยชน์ที่พึงได้พึงถึงไป กลายเป็นคนเปล่าคนที่ไม่มีผลดีในตัว กล่าวคือการบวชนั้นเป็นโมฆะไป 


ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=2523   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

โมฆบุรุษ

       อ่านว่า โม-คะ-บุ-หฺรุด 

       บาลีเป็น “โมฆปุริส” อ่านว่า โม-คะ-ปุ-ริ-สะ 

       ประกอบด้วย โมฆ + ปุริส 

       “โมฆ” แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่หลงลืม” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เปล่า , ว่าง , ไร้ประโยชน์ , โง่ , งี่เง่า 


       ในภาษาไทย พจน.42 บอกไว้ว่า –

       “โมฆ-, โมฆะ : เปล่า , ว่าง ; ไม่มีประโยชน์ , ไม่มีผล , เช่น สัญญาเป็นโมฆะ ; ( ภาษากฎหมาย ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย”

       “ปุริส” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม” “ผู้อยู่ในเบื้องสูง” “ผู้ไปในฐานะที่สูง” “ผู้เป็นไปในเบื้องหน้า” “ผู้นอน บน อก โดยปกติ” “ผู้ยังความต้องการให้เต็ม” ( ดูเพิ่มเติมที่ “ปุริส” บาลีวันละคำ ( 71 ) 16-7-55 ) 

       ในแง่ความหมาย คำว่า “ปุริส = บุรุษ” มีความหมาย 2 นัย คือ –

       1. ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึง “ผู้ชาย” 

       2. ความหมายในวงกว้างหมายถึง “มนุษย์” หรือ “คน” ไม่จำกัดว่าชายหรือหญิง 

       ( โปรดสังเกตเทียบคำว่า man ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า “ผู้ชาย” แต่ในวงกว้างแปลว่า “มนุษย์” หรือ “คน” ) 


       “โมฆปุริส – โมฆบุรุษ” แปลตามศัพท์ว่า “คนเปล่าประโยชน์” เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุที่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุมรรคผล มิหนำซ้ำยังประพฤติเสื่อมเสียอีกด้วย 

       “โมฆบุรุษ” หมายถึงคนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สมกับเจตนารมณ์ของสถานภาพที่ตนเข้าไปเป็นอยู่ เช่น

       – เป็นนักเรียนนักศึกษา แต่ไม่ตั้งใจฝึกศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตามภูมิชั้น มิหนำซ้ำกลับทำตัวเป็นนักเลงหรือนักเล่นสนุกไปวันๆ

       – เป็นนักการเมือง แต่ไม่ได้ตั้งใจทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน มิหนำซ้ำยังเบียดบังผลประโยชน์ของแผ่นดิน


คำเตือน :

ระวังจะเสียทีที่เกิดเป็นคน ถ้าทำตนเป็นโมฆบุรุษ


- จบ -

Thursday, April 21, 2022

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา
 



ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 26 )  


       27. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่อย่างนี้ 


บทเจริญเมตตา 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 27 )  


       เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับฝูงสัตว์ 2 เท้า จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับฝูงสัตว์ 4 เท้า จงมีเมตตาต่อกัน 

       เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน 

       สัตว์ไม่มีเท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา 

       สัตว์ 2 เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา 

       สัตว์ 4 เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา 

       สัตว์มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเรา 

       แลสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความเจริญ อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย 

       พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ 

       พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้  

       พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ 

       แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ

       ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลาย จงถอยกลับไปเถิด

       เรานั้น ขอมนัสการแด่พระผู้มีพระภาค ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 810 , 811



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : สมณกัปปะ 5 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : สมณกัปปะ 5 อย่าง
 



สมณกัปปะ 5 อย่าง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 25 )  


       26. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดย สมณกัปปะ /////  5 อย่าง คือ 

       1. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ 

       2. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา 

       3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ 

       4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด 

       5. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ 5 อย่างนี้



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : สมณกัปปะ 5 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 809



- จบ -

สมณกัปปะ

 

สมณกัปปะ 



       สมณกัปปะ คือ วิธีการทำอาหารหรือผลไม้ต่างๆ ให้สมควรแก่การที่ภิกษุจะถือเอามาฉันได้   

       โดยใช้ให้ทำด้วยคำพูดอันเป็นสมณโวหารคือคำพูดที่สมควรแก่สมณะที่จะใช้พูดในโอกาสต่างๆ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า 

       “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้” โดย สมณกัปปะ 5 อย่าง คือ 

       1. ผลไม้ที่จี้ด้วยไฟ 

       2. ผลไม้ที่กรีดด้วยมีด 

       3. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ 

       4. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด 

       5. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกได้” 


       (วิ.จูฬ. 7 ( 9 ) / 11 - 12 ) 


       แต่พระภิกษุในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ได้ให้โยมทำกัปปิยะ เวลาโยมเอาผลไม้ ผักบุ้ง บัวบก ข่า ขิง หอม และกระเทียม เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชผักผลไม้ที่จะปลูกขึ้นได้มาถวาย พระรับประเคนแล้วก็ฉันเลย โดยไม่คำนึงถึงวินัยข้อนี้

       การประพฤติวินัยเกี่ยวกับการทำกัปปิยะที่มีอยู่ในเวลานี้ จะเห็นได้บ้างก็เฉพาะพระที่ยังใคร่ศึกษาพระวินัยอยู่บางแห่งเท่านั้น นอกนี้แล้วไม่ปรากฏให้เห็น คงเป็นเพราะไม่รู้หรือคิดว่าเป็นเรื่องจุกจิก หยุมหยิม วุ่นวาย หรือเพราะชอบอะไรง่ายๆ ดังนั้นขึ้นชื่อว่าพระวินัยบัญญัติแล้วจะยากง่ายอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม
เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกประพฤติตามใจชอบของตนได้ 


- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันมะม่วง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันมะม่วง
 



ทรงห้ามฉันมะม่วง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 23 )  


       24. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันผลมะม่วง รูปใดฉัน ต้องอาบัติ 
ทุกกฏ



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 24 )  


       25. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามฉันมะม่วง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 809



- จบ -

ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก
 



ทรงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 22 )  


       23. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก 

       รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ทรงห้ามห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 809



- จบ -