Thursday, March 31, 2022

สมถขันธกะ : อธิกรณ์

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : อธิกรณ์



อธิกรณ์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 632 )  


       โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับพวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน …

       ทรงสอบถาม … รับสั่งว่า 


       370. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ///// 4 นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ /////  อนุวาทาธิกรณ์ /////  อาปัตตาธิกรณ์ /////  กิจจาธิกรณ์ /////  



อธิกรณ์ 4 อย่าง 

1. วิวาทาธิกรณ์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 633 )  


       ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า 

       1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม 

       2. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย 

       3. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้ 

       4. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา 

       5. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ 

       6. นี้เป็น อาบัติ /////  นี้ไม่เป็นอาบัติ 

       7. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก 

       8. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 


       ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ  ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ 



2. อนุวาทาธิกรณ์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 634 )  


       ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ /////  อาจารวิบัติ /////  ทิฏฐิวิบัติ /////  หรือ อาชีววิบัติ /////  

       การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ 



3. อาปัตตาธิกรณ์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 635 )  


       4นอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน  

       อาบัติทั้ง 5 กอง ชื่อ อาปัตตาธิกรณ์ 

       อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่อ อาปัตตาธิกรณ์ 

       นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ 



4. กิจจาธิกรณ์ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 636 )  


       ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน  

       ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม /////  ญัตติกรรม /////  ญัตติทุติยกรรม /////  ญัตติจตุตถกรรม /////  นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : อธิกรณ์ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 768 , 769 , 770



- จบ -

ญัตติกรรม

 

ญัตติกรรม


       ญัตติกรรม  -  กรรมที่ทำด้วยการตั้งญัตติ เป็นชื่อสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งเพียงแต่พระภิกษุรูปหนึ่งเสนอญัตติขึ้นในที่ประชุม เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็ถือว่าสังฆกรรมสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องสวดประกาศความยินยอมซ้ำอีก ที่เรียกว่า อนุสาวนา

       สังฆกรรมประเภทญัตติกรรม เช่น อุโบส   


- จบ -

อปโลกนกรรม

 

อปโลกนกรรม



       อปโลกนกรรม กรรมคือการบอกเล่า , กรรมอันทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ 

       ไม่ต้องตั้ง ญัตติ คือคำเผดียง 

       ไม่ต้องสวด อนุสาวนา คือประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ 

       เช่น ประกาศลงพรหมทัณฑ์  นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า  อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นต้น


- จบ -

กิจจาธิกรณ์

 

กิจจาธิกรณ์ 


       สำหรับคำว่า “อธิกรณ์” นั้น หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ หรือต้องชำระสะสางให้แล้วเสร็จ เพื่อทำให้เกิดความสงบสุขในหมู่คณะ 

       ที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี 4 อย่าง คือ 

       1. วิวาทาธิกรณ์ หมายถึง การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

       2. อนุวาทาธิกรณ์ หมายถึง การโจทย์และกล่าวหากันด้วยอาบัติ  

       3. อาปัตตาธิกรณ์ หมายถึง การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ 

       4. กิจจาธิกรณ์ หมายถึง กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์ต้องทำ เช่น การให้อุปสมบท ซึ่งสงฆ์ต้องทำร่วมกัน 


       ทั้ง 4 อย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนวิธีการรักษาพระธรรมวินัยที่บริสุทธิ์ให้ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง เพื่อการสืบอายุของพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไป โดยการร่วมกันรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ ดำรงเป็นฐานหลักลงในชีวิตของพระภิกษุ และคณะสงฆ์ทั้งหมดอย่างแนบแน่นมั่นคงและต่อเนื่อง เพื่อสถาปนาองค์กรพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเข้มแข็ง 

       ดังนั้น ในพระพุทธศาสนาของเราที่สืบเนื่องมาได้ เพราะพระสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา ร่วมกันรับผิดชอบถวายการดูแลโดยการประพฤติปฏิบัติบูชา ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติชอบโดยธรรม สมควรแก่ธรรม หรือ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ดีแล้ว ซึ่งหากมี “ข้ออธิกรณ์” หรือมีเรื่องที่เกิดขึ้น เช่น กรณีมีความเห็นแตกต่างกันอันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า “วิวาทาธิกรณ์”

       สงฆ์ก็จะต้องประชุมเพื่อรีบระงับอธิกรณ์นั้นๆ หรือยุติอธิกรณ์นั้นโดยเร็ว เช่น กรณีที่กล่าวถึงปาฏิโมกข์สังวรศีล อันเป็นศีลของภิกษุว่า มีเพียง 150 ข้อ จากจำนวน 227 ข้อ ตามแบบแผนดั้งเดิมที่คณะสงฆ์ไทยถือกันมา ซึ่งพระสงฆ์ทำอุโบสถทุกกึ่งเดือน ที่กล่าวว่า สวดปาฏิโมกข์มี 227 ข้อ หรือ 227 สิกขาบท อันได้แก่ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 2 ปาฏิเทสนียะ 4 เสขิยสัท 75 อธิกรณสมถะ 7 

       จากความเข้าใจที่แตกต่างกันในพระธรรมวินัยของพระภิกษุ หากไม่รีบแก้ไข หรือ ยุติปัญหา ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ย่อมเป็นจุดอันตรายอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ดังเหตุการณ์ที่เคยมีมาจากในอดีต ซึ่งต้องมีการสังคายนาชำระสะสางพระไตรปิฎกกันหลายครั้งหลายหน เพื่อทำความเป็นหนึ่งเดียวกันให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ด้วยพระธรรมวินัยที่เป็นอันเดียวกัน


- จบ -

อาปัตตาธิกรณ์

 

อาปัตตาธิกรณ์ 



       อาปัตตาธิกรณ์ 

       อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้ 



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D2%BB%D1%B5%B5%D2%B8%D4%A1%C3%B3%EC   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สำหรับคำว่า “อธิกรณ์” นั้น หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ หรือต้องชำระสะสางให้แล้วเสร็จ เพื่อทำให้เกิดความสงบสุขในหมู่คณะ 

       ที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี 4 อย่าง คือ 

       1. วิวาทาธิกรณ์ หมายถึง การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

       2. อนุวาทาธิกรณ์ หมายถึง การโจทย์และกล่าวหากันด้วยอาบัติ  

       3. อาปัตตาธิกรณ์ หมายถึง การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ 

       4. กิจจาธิกรณ์ หมายถึง กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์ต้องทำ เช่น การให้อุปสมบท ซึ่งสงฆ์ต้องทำร่วมกัน 


       ทั้ง 4 อย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนวิธีการรักษาพระธรรมวินัยที่บริสุทธิ์ให้ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง เพื่อการสืบอายุของพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไป โดยการร่วมกันรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ ดำรงเป็นฐานหลักลงในชีวิตของพระภิกษุ และคณะสงฆ์ทั้งหมดอย่างแนบแน่นมั่นคงและต่อเนื่อง เพื่อสถาปนาองค์กรพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเข้มแข็ง 

       ดังนั้น ในพระพุทธศาสนาของเราที่สืบเนื่องมาได้ เพราะพระสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา ร่วมกันรับผิดชอบถวายการดูแลโดยการประพฤติปฏิบัติบูชา ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติชอบโดยธรรม สมควรแก่ธรรม หรือ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ดีแล้ว ซึ่งหากมี “ข้ออธิกรณ์” หรือมีเรื่องที่เกิดขึ้น เช่น กรณีมีความเห็นแตกต่างกันอันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า “วิวาทาธิกรณ์”

       สงฆ์ก็จะต้องประชุมเพื่อรีบระงับอธิกรณ์นั้นๆ หรือยุติอธิกรณ์นั้นโดยเร็ว เช่น กรณีที่กล่าวถึงปาฏิโมกข์สังวรศีล อันเป็นศีลของภิกษุว่า มีเพียง 150 ข้อ จากจำนวน 227 ข้อ ตามแบบแผนดั้งเดิมที่คณะสงฆ์ไทยถือกันมา ซึ่งพระสงฆ์ทำอุโบสถทุกกึ่งเดือน ที่กล่าวว่า สวดปาฏิโมกข์มี 227 ข้อ หรือ 227 สิกขาบท อันได้แก่ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 2 ปาฏิเทสนียะ 4 เสขิยสัท 75 อธิกรณสมถะ 7 

       จากความเข้าใจที่แตกต่างกันในพระธรรมวินัยของพระภิกษุ หากไม่รีบแก้ไข หรือ ยุติปัญหา ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ย่อมเป็นจุดอันตรายอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ดังเหตุการณ์ที่เคยมีมาจากในอดีต ซึ่งต้องมีการสังคายนาชำระสะสางพระไตรปิฎกกันหลายครั้งหลายหน เพื่อทำความเป็นหนึ่งเดียวกันให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ด้วยพระธรรมวินัยที่เป็นอันเดียวกัน


- จบ -

วิวาทาธิกรณ์

 

วิวาทาธิกรณ์ 


มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

       อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

       รากแห่งการเถียงกัน 6 อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

       รากแห่งอกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์  /  รากแห่งกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ 

       รากแห่งการเถียงกัน 6 อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา

       ภิกษุที่ไม่มีความ เคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำ ให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ 

       การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย 

       ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไปแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ

       ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้

       ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการ เถียงกันอันลามกนั้นย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ ฯ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก 

       ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ... 

       ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ ... 

       ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ... 

       ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... 

       ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยาก ภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา

       ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

       ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย 

       ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ 

       ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการวิวาท 6 อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ฯ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สำหรับคำว่า “อธิกรณ์” นั้น หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ หรือต้องชำระสะสางให้แล้วเสร็จ เพื่อทำให้เกิดความสงบสุขในหมู่คณะ 

       ที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี 4 อย่าง คือ 

       1. วิวาทาธิกรณ์ หมายถึง การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

       2. อนุวาทาธิกรณ์ หมายถึง การโจทย์และกล่าวหากันด้วยอาบัติ  

       3. อาปัตตาธิกรณ์ หมายถึง การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ 

       4. กิจจาธิกรณ์ หมายถึง กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์ต้องทำ เช่น การให้อุปสมบท ซึ่งสงฆ์ต้องทำร่วมกัน 


       ทั้ง 4 อย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนวิธีการรักษาพระธรรมวินัยที่บริสุทธิ์ให้ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง เพื่อการสืบอายุของพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไป โดยการร่วมกันรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ ดำรงเป็นฐานหลักลงในชีวิตของพระภิกษุ และคณะสงฆ์ทั้งหมดอย่างแนบแน่นมั่นคงและต่อเนื่อง เพื่อสถาปนาองค์กรพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเข้มแข็ง 

       ดังนั้น ในพระพุทธศาสนาของเราที่สืบเนื่องมาได้ เพราะพระสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา ร่วมกันรับผิดชอบถวายการดูแลโดยการประพฤติปฏิบัติบูชา ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติชอบโดยธรรม สมควรแก่ธรรม หรือ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ดีแล้ว ซึ่งหากมี “ข้ออธิกรณ์” หรือมีเรื่องที่เกิดขึ้น เช่น กรณีมีความเห็นแตกต่างกันอันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ที่เรียกว่า “วิวาทาธิกรณ์”

       สงฆ์ก็จะต้องประชุมเพื่อรีบระงับอธิกรณ์นั้นๆ หรือยุติอธิกรณ์นั้นโดยเร็ว เช่น กรณีที่กล่าวถึงปาฏิโมกข์สังวรศีล อันเป็นศีลของภิกษุว่า มีเพียง 150 ข้อ จากจำนวน 227 ข้อ ตามแบบแผนดั้งเดิมที่คณะสงฆ์ไทยถือกันมา ซึ่งพระสงฆ์ทำอุโบสถทุกกึ่งเดือน ที่กล่าวว่า สวดปาฏิโมกข์มี 227 ข้อ หรือ 227 สิกขาบท อันได้แก่ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 2 ปาฏิเทสนียะ 4 เสขิยสัท 75 อธิกรณสมถะ 7 

       จากความเข้าใจที่แตกต่างกันในพระธรรมวินัยของพระภิกษุ หากไม่รีบแก้ไข หรือ ยุติปัญหา ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ย่อมเป็นจุดอันตรายอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ดังเหตุการณ์ที่เคยมีมาจากในอดีต ซึ่งต้องมีการสังคายนาชำระสะสางพระไตรปิฎกกันหลายครั้งหลายหน เพื่อทำความเป็นหนึ่งเดียวกันให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ด้วยพระธรรมวินัยที่เป็นอันเดียวกัน


- จบ -

Monday, March 28, 2022

สมถขันธกะ : วิธีระงับ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : วิธีระงับ
 



วิธีระงับ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 627 )  


       369. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอย่างนี้ 

       ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน  

       ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 



* * * ญัตติกรรมวาจาระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย 

       ถ้าพวกเราจักให้ปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางที อธิกรณ์ ///// นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วย ติณวัตถารกะ /////  เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้น อาบัติ ///// เนื่องด้วยคฤหัสถ์   

       บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน  ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้  



* * * คณะญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า 

       พวกเรา เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย 

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 628 )  


       ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 



* * * คณะญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า 

       พวกเรา เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย 

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 629 )  


       บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้  



* * * ญัตติทุติยกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน  

       นี้เป็นญัตติ  



       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน 

       การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเรา ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง  

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อาบัติเหล่านี้ของพวกเราเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 630 )  


       ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา /////  ว่าดังนี้  



* * * ญัตติทุติยกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย  

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้และเพื่อประโยชน์แก่ตน 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  

       ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ข้าพเจ้าแสดงอาบัตของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน 

       การแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง  

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 631 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : วิธีระงับ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 765 , 766 , 767 , 768 



- จบ -

สมถขันธกะ : พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
 



พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 626 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  

       ถ้าพวกเธอในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วย อาบัติ ///// เหล่านี้  บางที อธิกรณ์ /////  นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 


       368. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนั้น ด้วย ติณวัตถารกะ /////  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 764



- จบ -

ติณวัตถารกะ

 

ติณวัตถารกะ 


       ติณวัตถารกะ ( อ่านว่า ติ-นะ-วัด-ถา-ระ-กะ ) - ธีระงับอธิกรณ์อย่างหนึ่งใน 7 วิธี โดยตัดสินอธิกรณ์เหมือนกลบด้วยหญ้า , การตัดสินข้อพิพาทอย่างหนึ่ง ด้วยการประนีประนอมคู่พิพาท ไม่ต้องสอบสวนความเดิมก็ได้ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ณวัตถารกวินัยกับการประนีประนอมยอมความ

       ติณวัตถารกวินัย หมายถึง ระเบียบวิธีการระงับข้อพิพาท ( อธิกรณ์ ) โดยต่างคนต่างยอมให้กัน ไม่ถือสาเอาความกันอีก เหมือนเป็นการปกปิดไว้ด้วยหญ้า 

       เป็นหนึ่งในวิธีการระงับข้อพิพาท ( อธิกรณ์ ) ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อเกิดข้อพิพาทต่อกัน หรือต่างคนต่างประพฤติไม่ถูกต้อง ทำไม่เหมาะสม แล้วก็กล่าวหากัน ซัดทอดกัน ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนเกิดการทะเลาะวิวาทกัน จึงต้องมาทำการตกลงประนีประนอมยอมความกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทที่ไม่อาจจะตกลงกันได้อีก แต่ความผิดหรือสิ่งที่ได้กระทำผิดไปนั้นที่เกิดขึ้นยังอยู่ไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ไม่ถือสาเอาความกันเท่านั้น เหมือนกับการกำจัดของเน่าเหม็นด้วยการเอาหญ้าไปปกปิด หรือปิดบังไว้ แต่ของเน่าเหม็นนั้นยังอยู่ไม่หายไปไหน 

       การประนีประนอมยอมความ คือ การที่คู่ความได้ไกล่เกลี่ยตกลงยอมความต่อกันในข้อที่ได้พิพาทต่อกัน ตกลงกันได้โดยที่ไม่ต้องฟ้องร้องกันต่อไป และมีผลอาจจะทำให้ข้อพิพาทนั้น ระงับไปเลยก็ได้ เป็นหัวใจของวิแพ่ง ( อ.จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย ) โดยศาลมีอำนาจที่จะให้คู่ความทำหรือคู่ความอาจจะตกลงกันเองก็ได้ และจะทำเมื่อไรก็ได้ถ้ายังตกลงกันได้ 

       หลักในทางพระพุทธศาสนาและในทางกฎหมายต่างยอมรับให้มีการประนีประนอมยอมความกันได้ ไม่ถือสาเอาความกันได้ เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขไม่เกิดการแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เมื่อไรประเทศไทยจะเกิดหลักดั่งกล่าวมาในทางปฎิบัติบ้าง 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ติณวัตถารกะ ( การระงับด้วยให้เลิกแล้วกันไป ) ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน และเห็นว่าถ้าขืนทะเลาะวิวาทกันต่อไป เรื่องก็จะลุกลามเลวร้าย ถึงกับแตกแยกกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ ด้วยให้เลิกแล้วกันไป ( ติณวัตถารกะ ) 

       ทรงแสดงวิธีสวดประกาศขอมติในที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นอันพ้นอาบัติด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยมีภิกษุรูปหนึ่งแต่ละฝ่ายที่เสนอญัตตินั้นเป็นผู้แสดงแทน เว้นอาบัติหนัก , เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ , เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง , เว้นผู้ไม่ได้ประชุมอยู่ในที่นั้น ( คือมีผู้ขาดประชุม ) 


- จบ -

สมถขันธกะ : วัตร 18 ข้อ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : วัตร 18 ข้อ
 



วัตร 18 ข้อ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 624 )  


       366. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม ///// แล้วนั้น ต้องประพฤติชอบ 


       367.วิธีประพฤติชอบในตัสสปาปิยสิกากรรมนั้น ดังต่อไปนี้  

       1. ไม่พึงให้ อุปสมบท /////

       2. ไม่พึงให้ นิสัย /////

       3. ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก /////

       4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5.แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี 

       6. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมเพราะ อาบัติ ///// ใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น 

       7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน 

       8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       9. ไม่พึงติกรรม 

       10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 

       11. ไม่พึงห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ /////

       12. ไม่พึงห้าม ปวารณา ///// แก่ปกตัตตะภิกษุ 

       13. ไม่พึงทำการไต่สวน

       14. ไม่พึงเริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////

       15. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาส 

       16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น 

       17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 

       18. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้กันใน อธิกรณ์ ///// 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : วัตร 18 ข้อ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 763 , 764



- จบ -

Sunday, March 27, 2022

สมถขันธกะ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด
 



ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด 

* * * หมวดที่ 1  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 618 )  


       360. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม /////  คือ 

       1. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ /////  ในสงฆ์ 

       2. เป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติ ///// มาก มีมรรยาทไม่สมควร  

       3. เป็นผู้คลุกคลีกับ คฤหัสถ์ /////  ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร  



* * * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 619 )  


       361. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ 

       1. เป็นผู้มี ศีลวิบัติ ///// ใน อธิศีล /////  

       2. เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ///// ใน อัธยาจาร /////  

       3. เป็นผู้มี ทิฏฐิวิบัติ ///// ใน อติทิฏฐิ 



* * * หมวดที่ 3


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 620 )  


       362. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม คือ 

       1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. กล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ 



* * * หมวดที่ 4 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 621 )  


       363. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ 3 รูป คือ 

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ 

       2. รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร  

       3. รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร 



* * * หมวดที่ 5 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 622 )  


       364. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ 

       1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล

       2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร 

       3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ 



* * * หมวดที่ 6 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 623 )  


       365. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ 3 รูป แม้อื่นอีก คือ 

       1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 

       2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม 

       3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 762 , 763



- จบ -

สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด
 



ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด


* *  * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 617 )  


       348. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ///// ที่ประกอบด้วยองค์ 3 เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำต่อหน้า 

       2. สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ทำตามปฏิญาณ 



* * * หมวดที่ 2 

       349. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะต้อง อาบัติ /////  

       2. ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี /////

       3. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง 



* * * หมวดที่ 3 

       350. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       3. ปรับอาบัติแล้วทำ 



* * * หมวดที่ 4   

       351. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ  

       1. ทำต่อหน้า 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ  



* * * หมวดที่ 5 

       352. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. สอบถามก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ  



* * * หมวดที่ 6 

       353. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 7 

       354. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะต้องอาบัติ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ  



* * * หมวดที่ 8 

       355. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี  

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ



* * *  หมวดที่ 9 

       356. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง  

       2. ทำโดยธรรม  

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ  



* * * หมวดที่ 10 

       357. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 11 

       358. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 



* * * หมวดที่ 12 

       359. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ 

       1. ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยธรรม 

       3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ 




* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมเป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 759 , 760 , 761



- จบ -

สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด



ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 

* * * หมวดที่ 1


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 616 )  


       336. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรม ///// ที่ประกอบด้วยองค์ 3 เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำลับหลัง 

       2. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ 

       3. ทำไม่ตามปฏิญาณ 



* * * หมวดที่ 2  
 
       337. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ /////  

       2. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็น เทสนาคามินี /////

       3. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว 



* * * หมวดที่ 3

       338. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       3. ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ 



* * * หมวดที่ 4 

       339. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ทำลับหลัง 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 5 

       340. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม

       3. สงฆ์เป็น วรรค /////  ทำ 



* * * หมวดที่ 6 

       341. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำไม่ตามปฏิญาณ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ  



* * * หมวดที่ 7 

       342. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ  



* * * หมวดที่ 8
 
       343. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 9 

       344. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 10  

       345. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่โจทก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 11 

       346. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ

       1. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * หมวดที่ 12 

       347. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ 

       1. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วทำ 

       2. ทำโดยไม่เป็นธรรม 

       3. สงฆ์เป็นวรรคทำ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 756 , 757 , 758



- จบ -

Saturday, March 26, 2022

สมถขันธกะ : ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม 5 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม 5 อย่าง
 



ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม 5 อย่าง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 615 )  


       335. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม ///// เป็นธรรม 5 อย่างนี้ คือ 

       1. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด 

       2. เป็น อลัชชี /////  

       3. เป็นผู้ถูกโจท  

       4. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่เธอ 

       5. สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำโดยธรรม 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : ตัสสปาปิยสิกากรรมเป็นธรรม 5 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 755



- จบ -

อลัชชี

 

อลัชชี



       อลัชชี ( อ่านว่า อะ-ลัด-ชี ) เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกนักบวชในศาสนา ผู้ไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา เป็นผู้นอกรีตที่ยังให้ศาสนาเสื่อมเสีย ไม่มีความละอายต่อสิ่งที่กระทำนั้น เช่น อลัชชีในพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ที่ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยซึ่งยังให้พระธรรมวินัยขาด เช่น พระสงฆ์ที่เสพเมถุน ดื่มสุราเมรัย ค้าสัตว์ผิดกฎหมาย เป็นต้น 


       อลัชชี แปลว่า ผู้ไม่มีความละลาย มีฐานศัพท์มาจากภาษาบาลี ประกอบด้วย 

       - อ แปลว่า ไม่ 

       - ลชฺชะ แปลว่า ความละอาย  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       “อลชฺชี - อลัชชี” แปลว่า “ผู้ไม่มีความละอาย” หมายถึง คนหน้าด้าน มักใช้เรียกภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติโดยจงใจละเมิด หรือทำผิดแล้วไม่แก้ไข 


       ภาษาไทยเขียน อลัชชี อ่านว่า อะ-ลัด-ชี เหมือนบาลี  


- จบ -

สมถขันธกะ : สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม
 


สงฆ์ทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 614 )  


       สมัยนั้นแล พระอุปวาฬถูกซักถามถึงอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ 

       บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน … ทรงสอบถาม … ทรงติเตียน … รับสั่งว่า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำ ตัสสปาปิยสิกากรรม ///// แก่ภิกษุอุปวาฬ  ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้  

       พึงโจทภิกษุอุปวาฬก่อน 

       ครั้นแล้วพึงให้เธอ ให้การ

       แล้วพึงปรับอาบัติ  

       ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกากรรม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       ภิกษุอุปวาฬนี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ

       นี้เป็นญัตติ  


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  

       ภิกษุอุปวาฬนี้ถูกซักถามถึงอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่  

       สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ 

       การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม … 


       ตัสสปาปิยสิกากรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 754 , 755 



- จบ -

สมถขันธกะ : การจับฉลากเป็นธรรม 10 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : การจับฉลากเป็นธรรม 10 อย่าง



การจับฉลากเป็นธรรม 10 อย่าง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 613 )  


       334. การจับฉลากเป็นธรรม 10 อย่าง เป็นไฉน คือ 

       1. อธิกรณ์ ///// ไม่ใช่เรื่องเล็ก 

       2. ลุกลามไปไกล 

       3. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้ 

       4. รู้ว่า ธรรมวาที ///// มากกว่า 

       5. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า 

       6. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน 

       7. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน 

       8. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม 

       9. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ 

       10.จับตามความเห็น 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : การจับฉลากเป็นธรรม 10 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 754



- จบ -

สมถขันธกะ : การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง



การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 612 )  


       333. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง เป็นธรรม 10 อย่าง เหล่านี้ 

       การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง เป็นไฉน คือ 

       1. อธิกรณ์ ///// เป็นเรื่องเล็กน้อย 

       2. ไม่ลุกลามไปไกล 

       3. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้  

       4. รู้ว่า อธรรมวาที ///// มากกว่า 

       5. รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า 

       6. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน 

       7. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกกัน 

       8. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม 

       9. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวกๆ 

       10. ไม่จับตามความเห็น  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : การจับฉลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 753 , 754 



- จบ -

อธรรมวาที

 

อธรรมวาที 



* * * พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 5 ภาค 2 - หน้าที่ 481 


       วัตถุสำหรับ อธรรมวาที 18 ประการ  

       พ. สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ 18 ประการ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้:- 


       1. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรมะ 

       2. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม 

       3. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย 

       4. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย 

       5. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ 

       6. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ 

       7. แสดงมรรยาทอันพระตถาคต มิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา 

       8. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา 

       9. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติไว้ 

       10. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ 

       11. แสดงสิ่งที่มิใช่อาบัติ ว่าเป็นอาบัติ 

       12. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ 

       13. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก 

       14. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา 

       15. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       16. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       17. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       18. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       สารีบุตร เธอพึงทราบอธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ 18 ประการนี้ แล 



       วัตถุสำหรับ ธรรมวาที 18 ประการ 

       สารีบุตร และพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ 18 ประการ คือ 

       ภิกษุในธรรมวินัยนี้:- 

       1. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม

       2. แสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม 

       3. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย 

       4. แสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย 

       5. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัส ไว้ ว่าพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ 

       6. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าพระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ 

       7. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา

       8. แสดงมรรยาทอันพระตถาคตทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมา 

       9. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ 

       10. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติไว้ 

       11. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติ ว่าเป็นสิ่งมิใช่อาบัติ 

       12. แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ

       13. แสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติเบา 

       14. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติหนัก 

       15. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       16. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       17. แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       18. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       สารีบุตร เธอพึงทราบธรรมวาทีภิกษุ ด้วยวัตถุ 18 ประการนี้แล 


- จบ -

Thursday, March 24, 2022

เยภุยยสิกา

 

เยภุยยสิกา



       เยภุยยสิกา ( อ่านว่า เย-พุย-ยะ-สิ-กา )  กิริยาเป็นไปตามข้างมาก

       ได้แก่ วิธีตัดสินอธิกรณ์โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก 

       เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกข้างนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง , ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์ ;    


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       เยภุยสิกา - น. เป็นไปโดยมาก , เป็นไปชุกชุม , ความเห็นข้างมาก , ( ศน. ) การตัดสินตามเสียงข้างมาก , การตัดสินตามพระวินัยมีอยู่วิธีหนึ่ง เรียกว่า เยภุยสิกา คือใช้วิธีถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่วิธีนี้ใช้เฉพาะญัตติที่ชอบด้วยพระวินัยทั้ง 2 ทาง แต่ให้ที่ประชุมเลือกเอาทางหนึ่ง   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

ยภุยสิกา

       ไม่ใช่พวกมากลากไป

       อ่านว่า เย-พุย-ยะ-สิ-กา 

       “เยภุยสิกา” เขียนแบบบาลีเป็น “เยภุยฺยสิกา” ( ย 2 ตัว มีจุดใต้ ยฺ ตัวหน้า ) อ่านว่า เย-พุย-ยะ-สิ-กา 

( 1 ) คำที่เป็นหลักคือ “เยภุยฺย” ( เย-พุย-ยะ ) ผู้เขียนบาลีวันละคำไม่มีตำราที่อธิบายถึงรากศัพท์ตรงๆ อยู่ในมือ แต่สนนิษฐานตามนัยที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงไว้ ศัพท์นี้มาจาก ย-ศัพท์ ( = ใด) แจกรูปเป็น เย + ภู ( ธาตุ = มี , เป็น ) + ย ปัจจัย, รัสสะ อู เป็น อุ, ซ้อน ย 


: ย > เย + ภู + ยฺ + ย = เยภูยฺย > เยภุยฺย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งใดๆ ที่มีขึ้น”

       นักเรียนบาลีท่านใดมีตำราแสดงรากศัพท์ ขอความกรุณาเข้ามาแก้ไขให้ถูกต้อง จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง 


“เยภุยฺย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

       ( 1 ) เกือบทั้งหมด , รวม ๆ กันหมด , เกือบเหมือน ; ส่วนใหญ่ ( almost all , altogether , practically ; mostly ) 


       ( 2 ) ตามที่เกิดหรือที่ปรากฏ , ตามปกติ , เป็นบางครั้งบางคราว , ตามกฎ , ตามธรรมดา ( as it happens or happened , usually , occasionally , as a rul , ordinarily ) 

       ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้ไว้เป็น “เยภุย-” ( มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย ) และ “เยภุยยะ” บอกไว้ว่า – 


       “เยภุย-, เยภุยยะ : ( คำวิเศษณ์ ) มาก, ชุกชุม. ( ป. ).” 



( 2 ) คัมภีร์อัตถโยชนา ( อธิบายศัพท์ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ) ภาค 2 หน้า 413 อธิบายไว้ว่า เยภุยฺย ลง ส อาคม + อิก ปัจจัย 

: เยภุยฺยย + ส + อิก = เยภุยฺยสิก ( เย-พุย-ยะ-สิ-กะ ) 


       ต่อจากนี้ เยภุยฺยสิก + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = เยภุยฺยสิกา ( เย-พุย-ยะ-สิ-กา ) แปลตามศัพท์ว่า “เป็นไปกับด้วยเสียงส่วนมาก”



       ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้ไว้เป็น “เยภุยสิกา” ( ย ตัวเดียว ) บอกไว้ว่า –  


       “เยภุยสิกา : ( คำนาม ) ความเห็นข้างมาก. ( ป. เยภุยฺยสิกา ).” 


ขยายความ : 

       พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต เก็บคำนี้เป็น “เยภุยยสิกา” ( ย 2 ตัว ) อธิบายไว้ดังนี้ – 

…………..

       เยภุยยสิกา : กิริยาเป็นไปตามข้างมากได้แก่ วิธีตัดสินอธิกรณ์ โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกข้างนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง , ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์ ; ดู อธิกรณสมถะ 

…………..

       ที่คำว่า “อธิกรณสมถะ” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ อธิบายไว้ดังนี้ – 

…………..

       อธิกรณสมถะ : ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ , วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์ มี 7 วิธี คือ

       1. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า 

       2. สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก  

       3. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า  

       4. ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ  

       5. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด ( ที่ไม่รับ ) 

       6. เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก  

       7. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า ( ประนีประนอม ) 


…………..

แถม :

       คำว่า “คำของคนข้างมาก” ในพระธรรมวินัยไม่ได้หมายความอย่างที่มักพูดกันว่า “พวกมากลากไป” ผิด-ถูก ชั่ว-ดี ไม่คำนึง

       คัมภีร์อัตถโยชนาดังอ้างข้างต้น ให้คำจำกัดความไว้ว่า – 

…………..

       ธมฺมวาทีนํ เยภุยฺยภาวํ นิสฺสิตา สมถกิริยา เยภุยฺยสิกา. 

       แปลความว่า – เยภุยยสิกา คือกระบวนการระงับอธิกรณ์ที่อิงอาศัยเสียงข้างมากของเหล่าบุคคลผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลักธรรม

…………..

ดูก่อนภราดา! 

: ยกเสียงข้างมากของโจรขึ้นมาคุย

: นั่นไม่ใช่เยภุยสิกา


- จบ -

สมถขันธกะ : ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา



ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 611 )  


       สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ถึงความวิวาทกันในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ 

       … ตรัสว่า 


       331. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับ อธิกรณ์ /////  เห็นปานนี้ด้วย เยภุยยสิกา /////

       พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ 

       1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ 

       2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง 

       3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย 

       4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว 

       5. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ 


       332. ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ 

       พึงขอร้องภิกษุก่อน  

       ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาสมมติ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก  

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก  

       การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง  

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 752 , 753 



- จบ -