Thursday, January 14, 2021

ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ....

 


อานาปานสติ

เทคนิค : ควรนำบทนี้ไป "ท่อง"  /   แล้วตอนเรานั่งสมาธิ ให้นึกถึงคำที่เรา "ท่อง" นี้ เราจะทำอานาปานสติได้ดีขึ้น

ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และ จิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน

เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี

( ข้างล่างนี้ มาจากหนังสือ อานาปานสติ หน้า 1 )

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทําให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทําให้ มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู่ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทํา กายสังขารให้รํางับ  หายใจเข้า ว่า “เราเป็นผู้ทํากายสังขารให้รํางับ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทํา จิตตสังขารให้รํางับ หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิตตสังขารให้รํางับ หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ตั้งมั่น หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทําจิต ให้ปล่อยอยู่  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้ทํา จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจํา หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจํา หายใจออก”

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจํา  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจํา หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจํา  หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจํา หายใจออก” 

เธอย่อมทําการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจํา หายใจเข้า” ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจํา หายใจออก”

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

( เสริม - จากพระสูตรอื่น ) พยายามตั้งใจพอดี พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป  เปรียบเหมือนการจับนกด้วยมือ บีบแรงไป นกตาย จับหลวมไป นกหลุดมือ ให้จับพอดี พอดี


- END -