คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5
เรื่อง อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5
ปาติโมกขุเทศ 5
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 167 )
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ …
ตรัสว่า
282.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศนี้มี 5 คือ
ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 1
สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 2
สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 3
สวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 สวดอนิยต 2 จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 4
สวดโดยพิสดารหมด เป็น ปาติโมกขุเทศที่ 5
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ 5 นี้แล
* * * ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง …
ตรัสว่า
283. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : อุโบสถขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : อุโบสถขันธกะ : ปาติโมกขุเทศ 5
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 273
- END -