คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง มหาขันธกะ : อุปสมบทกรรม
เรื่อง มหาขันธกะ : อุปสมบทกรรม
อุปสมบทกรรม * * * ( 1 )
* * * สวดอุปสัมปทาเปกขะระบุโคตร
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 139 )
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีอุปสัมปทาเปกขะ และท่านส่งทูตไปในสำนักท่านพระอานนท์ว่า
ท่านอานนท์จงมาสวดอุปสัมปทาเปกขะนี้
ท่านพระอานนท์ตอบไปอย่างนี้ว่า
เกล้ากระผมไม่สามารถจะระบุนามของพระเถระได้ เพราะพระเถระเป็นที่เคารพของเกล้ากระผม …
ตรัสว่า
218.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดระบุโคตรได้
* * * อุปสมบทคู่
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 140 )
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป มี อุปสัมปทาเปกขะ อยู่ 2 คน
เธอทั้งสองแก่งแย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน …
ตรัสว่า
219.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำ อุปสัมปทาเปกขะ 2 รูปใน อนุสาวนา เดียวกัน
* * * อุปสมบทคราวละ 3 คน
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปต่างมี อุปสัมปทาเปกขะ หลายคนด้วยกัน
พวกเธอต่างแก่งแย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน
พระเถระทั้งหลายจึงตัดสินว่า เอาเถอะ พวกเราจะท ำอุปสัมปทาเปกขะ ทุกคนใน อนุสาวนา เดียวกัน …
ตรัสว่า
220.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำ อุปสัมปทาเปกขะ ใน อนุสาวนา เดียวกันคราวละ 2 รูป 3 รูป
แต่การสวดนั้นแล ต้องมีอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน
จะมีอุปัชฌาย์ต่างกันไม่ได้เป็นอันขาด
* * * นับอายุ 20 ปีทั้งอยู่ในครรภ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 141 )
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว
อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น
221.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์
* * * สวดถามอันตรายิกธรรม 13 ข้อ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 142 )
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกกุลบุตรที่อุปสมบทแล้วปรากฏเป็นโรคเรื้อนก็มี เป็นฝีก็มี เป็นโรคกลากก็มี เป็นโรคมองคร่อก็มี เป็นโรคลมบ้าหมูก็มี … ตรัสว่า
222. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทถาม อันตรายิกธรรม 13 ข้อ
223.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถาม อุปสัมปทาเปกขะ อย่างนี้
* * * อันตรายิกธรรม
อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู
เจ้าเป็นมนุษย์หรือ
เป็นชายหรือ
เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ
มิใช่ราชภัฏหรือ
มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ
มีปีครบ 20 แล้วหรือ
บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ
เจ้าชื่ออะไร
อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร
* * * สอนซ้อมก่อนถาม อันตรายิกธรรม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายถาม อันตรายิกธรรมกะ พวกอุปสัมปทาเปกขะ ที่ยังมิได้สอนซ้อม
พวกอุปสัมปทาเปกขะ ย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจจะตอบได้ …
ตรัสว่า
224.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วจึงถาม อันตรายิกธรรม ทีหลัง
ภิกษุทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั้นนั่นแหละ พวกอุปสัมปทาเปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างเดิม …
ตรัสว่า
225.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงถาม อันตรายิกธรรม ในท่ามกลางสงฆ์
226.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้
พึงให้อุปสัมปทาเปกขะถืออุปัชฌาย์ก่อน ครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวรว่า นี้บาตรของเจ้า นี้ผ้าทาบ * * * ( 2 ) ของเจ้า นี้ผ้าห่มของเจ้า นี้ผ้านุ่งของเจ้า เจ้าจงไปยืน ณ โอกาสโน้น
ภิกษุทั้งหลายที่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมสอนซ้อม เหล่า อุปสัมปทาเปกขะ ที่ถูกสอนซ้อมไม่ดี ย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ … ตรัสว่า
227.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ
228.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ สอนซ้อม
บรรดาภิกษุผู้ที่ยังไม่ได้รับสมมติ ย่อมสอนซ้อม …
ตรัสว่า
229.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ
230.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม
231.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติ ดังต่อไปนี้
วิธีสมมติภิกษุเป็นผู้สอนซ้อม
ตนเองพึงสมมติตนก็ได้ หรือภิกษุรูปอื่นพึงสมมติภิกษุอื่นก็ได้
อย่างไรเล่า ตนเองพึงสมมติตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตนเอง
อย่างไรเล่า ภิกษุรูปอื่นพึงสมมติภิกษุรูปอื่น คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ท่านผู้มีชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุรูปอื่นสมมติภิกษุรูปอื่น
ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหา อุปสัมปทาเปกขะ แล้วกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้
* * * คำสอนซ้อมอันตรายิกธรรม
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า
เมื่อท่านถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่าไม่มี
เจ้าอย่าสะทกสะท้านแล้วแล เจ้าอย่าได้เป็นผู้เก้อแล้วแล
ภิกษุทั้งหลายจักถามเจ้าอย่างนี้
อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู
เจ้าเป็นมนุษย์หรือ
เป็นชายหรือ
เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ
มิใช่ราชภัฏหรือ
มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ
มีปีครบ 20 แล้วหรือ
บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ
เจ้าชื่ออะไร
อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร
ภิกษุผู้สอนซ้อมกับ อุปสัมปทาเปกขะ เดินมาด้วยกัน
แต่ทั้งสองไม่พึงเดินมาพร้อมกัน
คือ ภิกษุผู้สอนซ้อมต้องมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * คำเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อมเขาแล้ว
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้พึงมา พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขะว่า เจ้าจงมาพึงให้อุปสัมปทาเปกขะนั้นห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้วพึงให้ขออุปสมบทดังนี้
* * * คำขออุปสมบท
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยกข้าพเจ้าขึ้นเถิดเจ้าข้า
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยกข้าพเจ้าขึ้นเถิดเจ้าข้า
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยกข้าพเจ้าขึ้นเถิดเจ้าข้า
* * * คำสมมติตนเพื่อถาม อันตรายิกธรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถาม อันตรายิกธรรม ต่อผู้มีชื่อนี้ ดังนี้
* * * คำถามอันตรายิกธรรม
แน่ะ ผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เราจะถามสิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่พึงบอกว่ามี ไม่มีพึงบอกว่าไม่มี
อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู
เจ้าเป็นมนุษย์หรือ
เป็นชายหรือ
เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ
มิใช่ราชภัฏหรือ
มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ
มีปีครบ 20 แล้วหรือ
บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ
เจ้าชื่ออะไร
อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร
* * * กรรมวาจาอุปสมบท
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจาก อันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว
ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว
ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว
ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็น อุปสัมปทาเปกขะ ของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว
ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ผู้มีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
* * * ( 1 ) เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการอุปสมบท จากที่ทรงบัญญัติไว้ในหน้า 185 – ผู้รวบรวม
* * * ( 2 ) ในบาลีใช้ว่า “อยํ สงฺฆาฏึ” หรือ สามารถแปลได้ว่า “นี้ผ้าสังฆาฏิ” – ผู้รวบรวม
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : มหาขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : มหาขันธกะ : อุปสมบทกรรม
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 247 , 248 , 249 , 250 , 251 , 252 , 253
- END -