ทิฏฐิวิบัติ
ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน? ความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มี , การบริจาคไม่มี , การบูชาไม่มี , ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว ไม่มี , โลกนี้ไม่มี , โลกหน้าไม่มี , มารดาไม่มี , สัตว์โอปปาติกะไม่มี , สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า ไม่มี
นี้เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ
แม้มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ) ทุกอย่าง ก็ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ทิฏฐิวิบัติ ก็คือ ความเห็นที่ขัดต่อความเป็นจริงหรือความเห็นผิดเป็นถูกนั่นเอง ถ้าเป็นภิกษุก็คือเห็นผิดไปจากธรรม จากวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ แต่ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็เห็นจะได้แก่การเห็นที่ผิดไปจากกฎเกณฑ์และกติกาที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าควร รวมไปถึงความเห็นที่ผิดไปจากคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ทิฏฐิวิบัติ ความหมาย คือ สิ่งที่ได้ยาก , ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี 4 คือ
1. ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม
2. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง
3. ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน
4. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วิบัติ ความเสีย , ความผิดพลาด , ความบกพร่อง , ความเสียหายใช้การไม่ได้
* * * วิบัติความเสียของภิกษุ มี 4 อย่าง คือ
1. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
2. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
3. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
4. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
* * * วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี 4 คือ
1. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า 20 ปี
2. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
3. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
4. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น ( ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็น ญัตติวิบัติ และ อนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ 5 ก็มี )
- จบ -