Thursday, January 27, 2022

นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด



วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 

* * * หมวดที่ 1 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 80 )  


       74. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม ///// แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 

       1. ไม่ให้อุปสมบท 

       2. ไม่ให้นิสัย 

       3. ไม่ให้สามเณร อุปัฏฐาก ///// 

       4. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี 

       5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี 



* *  * หมวดที่ 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 81 )  


       75. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก คือ

       1. ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม เพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น

       2. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

       3. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น 

       4. ไม่ติกรรม 

       5. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม 



* * * หมวดที่ 3 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 82 )  


       76. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ 

       1. ไม่ห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ ///// 

       2. ไม่ห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ

       3. ไม่ทำการไต่สวน 

       4. ไม่เริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ ///// 

       5. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส 

       6. ไม่โจทภิกษุอื่น 

       7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 

       8. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ ///// กัน



วิธีระงับนิยสกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 83 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะ นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ 


* * * คำขอระงับนิยสกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับ นิยสกรรม

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง 

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 



       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ กรรมวาจา ว่าดังนี


* * * กรรมวาจาระงับนิยสกรรม

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ

       นี่เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ 

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลง นิยสกรรม แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับ นิยสกรรม

       สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ 

       การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด


       นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : นิยสกรรม ที่ 2 : วัตรที่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 610 , 611 , 612
 


- จบ -