คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง ตัชชนียกรรมที่ 1
เรื่อง ตัชชนียกรรมที่ 1
ผลประโยชน์ของความเป็นสมณะ
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/30/101 . 104 . 100
ภิกษุทั้งหลาย ผลของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
โสตาปัตติผล , สกทาคามิผล , อนาคามิผล และอรหัตตผล เหล่าใดแล
ภิกษุทั้งหลาย ผลเหล่านี้ เราเรียกว่า ผลของความเป็นสมณะ
ภิกษุทั้งหลาย ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ อันใดแล
ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเรียกว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งได้แก่ความเข้าใจอันถูกต้อง , ความมุ่งหมายอันถูกต้อง , การพูดจาอันถูกต้อง , การทำการงานอันถูกต้อง , การเลี้ยงชีวิตอันถูกต้อง , ความพยายามอันถูกต้อง , ความมีสติครองตนอันถูกต้อง , ความปักใจแน่วอันถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย อริยอัฏฐังคิกมรรคอันนี้ เราเรียกว่า ความเป็นสมณะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1
(วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
จุลวรรค ภาค 1 : แบ่งเป็น 3 ขันธ์ มี 385 สิกขาบท
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ
หมวดว่าด้วยสังฆกรรมลงโทษเพื่อให้แก้ไขพฤติกรรม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตัชชนียกรรมที่ 1
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 2 )
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่าน เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน
โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า
การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 3 )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก ปัณฑุกะ และโลหิตกะ /////
วิธีทำ ตัชชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำ ตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ
ชั้นต้น พึงโจทภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ โลหิตกะ
ครั้นแล้ว พึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาทำตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง
ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน
โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ
นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง
ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน
โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ
การทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน
โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ
การทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ นี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง … ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็น ฝักฝ่ายของพวกท่าน
โดยวิธีนั้น ความบาดหมาง ทียังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป
สงฆ์ทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ
การทำ ตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : ตัชชนียกรรมที่ 1
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 581 , 582 , 583 , 584
- จบ -