คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้เท้า
เรื่อง ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้เท้า
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้เท้า
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 135 )
215. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือไม้เท้ากับ สาแหรก /////
รูปใดถือ ต้องอาบัติทุกกฏ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 136 )
216. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าแก่ภิกษุอาพาธ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 137 )
217. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติไม้เท้าอย่างนี้
ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์ ///// เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง กระหย่ง ///// ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถไปไหนได้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสมมติ กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง
พึงขอแม้ครั้งที่สาม
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 138 )
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาให้ทัณฑสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์
สงฆ์ให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
การให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ทัณฑสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 139 )
218. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 140 )
219. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้
ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้
คำขอสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่มีสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสิกกาสมมติกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง
พึงขอแม้ครั้งที่สาม
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 141 )
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาให้สิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์
สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
การให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 142 )
220. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าและสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ
221. ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้.
ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้
คำขอทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้และ ไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง
พึงขอแม้ครั้งที่สาม
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 143 )
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาให้ทัณฑสิกกาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถเดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์
สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้
การให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ทัณฑสิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : ขุททกวัตถุขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขุททกวัตถุขันธกะ : ข้ออนุญาตเกี่ยวกับไม้เท้า
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 835 , 836 , 837 , 838
- จบ -