คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
วิธีทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติ
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 226 )
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่ทำคืนอาบัติ พึงทำอย่างนี้
พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรม วาจา ///// ว่าดังนี้
* * * กรรมวาจาทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค ///// กับสงฆ์
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะคืนอาบัติ สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง …
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์
การทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระฉันนะอันสงฆ์ทำ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้าม สมโภค กับสงฆ์
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ : วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 669 , 670
- จบ -