ทัสสนูปจาร
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ 5 สิกขาบทที่ 2
อเจลกวรรค อุยโยชนสิกขาบทที่ 2
ในสิกขาบทที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
บทว่า ปฏิกฺกมเนปิ แปลว่า แม้ในโรงฉัน
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ
บทว่า น สมฺภาเวสิ แปลว่า ไม่ทันเวลา
บทว่า อนาจารํ ได้แก่ การละเมิดทางกายทวารและวจีทวาร อันเหลือจากอนาจารที่กล่าวแล้ว
ในคำว่า ทสฺสนูปจารํ วา สวนูปจารํ วา วิชหนฺตสฺส นี้มีวินิจฉัยว่า
ถ้าภิกษุยืนหรือนั่งขับไล่ , ภิกษุใดถูกขับไล่ , ภิกษุนั้นกำลังละอุปจารไป , และชื่อว่าอาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้น ,
แต่เมื่อภิกษุผู้ถูกขับไล่ไปนั้น แม้กำลังละ ( อุปจาร ) ไป โดยอรรถก็เป็นอันภิกษุผู้ขับไล่นอกนี้ละไปแล้วทีเดียว
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ขับไล่เท่านั้นเป็นอาบัตินี้
บรรดาอาบัติเหล่านั้น ถ้าว่าเท้าข้างหนึ่งยังอยู่ภายในอุปจารเป็นทุกกฏ ,
ในขณะล่วงเขตแดนไป เป็นปาจิตตีย์
ก็บรรดาอุปจารการเห็นและอุปจารการได้ยินนี้ ประมาณ 12 ศอกในโอกาสกลางแจ้ง เป็นประมาณแห่งอุปจารการเห็น ,
อุปจารการได้ยิน ก็มีประมาณเท่ากัน
ก็ถ้าว่ามีฝาประตูและกำแพงเป็นต้นคั่นอยู่, ภาวะที่ฝาประตูและกำแพงเป็นต้นนั้นคั่นไว้นั่นแหละ เป็นการล่วงเลย ทัสสนูปจาร
บัณฑิตพึงทราบอาบัติ ด้วยอำนาจการล่วงเลย ทัสสนูปจาร นั้น
คำว่า นอญฺโญ โกจิ ปจฺจโย โหติ มีความว่า เว้นอนาจารมีประการดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรอย่างอื่น
สองบทว่า กลิสาสนํ อาโรเปติ มีความว่า ความโกรธ ชื่อว่ากลิ. ยกเรื่องแห่งความโกรธนั้นขึ้น คือยกอาชญาแห่งความโกรธขึ้น
อธิบายว่า แสดงโทษในการยืนและการนั่งเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ กล่าวถ้อยคำอันไม่เจริญใจ อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ! จงดู การยืน การนั่ง การดู การเหลียวแลของภิกษุนี้ , เธอยืนเหมือนหัวตอ , นั่งเหมือนสุนัข , เหลียวดูทางโน้นทางนี้เลิ่กลั่กเหมือนลิง ด้วยตั้งใจว่า แม้ไฉนผู้นี้ถูกเรารบกวนด้วยถ้อยคำอันไม่จำเริญใจอย่างนี้แล้ว พึงหลีกไปเสีย
บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 ดังนี้แล
อุยโยชนสิกขาบทที่ 2 จบ
- จบ -