Thursday, September 30, 2021

ปวารณาขันธกะ : แสดงอาบัติก่อนปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : แสดงอาบัติก่อนปวารณา
 



แสดงอาบัติก่อนปวารณา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 232 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณา 

       เธอได้คิดสงสัยในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ …

       ตรัสว่า 


       934. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติในวันปวารณา

       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

       ท่าน ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น


       ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ 


       ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น 


       ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป 



* * * สงสัยในอาบัติ 

       935. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ 

       เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 

       ท่าน ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น

       ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย 



* * * กำลังปวารณาระลึกอาบัติได้ 

       936. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ 

       เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า

       อาวุโส ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้ว จักทำคืนอาบัตินั้น 

       ครั้นแล้วพึงปวารณา

       แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้นั้นเป็นปัจจัย 


       937. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา มีความสงสัยในอาบัติ 

       เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า

       อาวุโส ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น

       ครั้นแล้ว พึงปวารณา

       แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : แสดงอาบัติก่อนปวารณา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 373 , 374 



- จบ -





ปวารณาขันธกะ : อธิษฐานปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : อธิษฐานปวารณา
 



อธิษฐานปวารณา

       929.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว

       ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือ จะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้ ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออย

       
หากมีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณาร่วมกับพวกเธอ

       หากไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า ปวารณาของเราวันนี้

       หากไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ 


       930. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 5 รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว 4 รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ไม่ได้

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       931. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 4 รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว 3 รูป ปวารณาต่อกันไม่ได้

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       932. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 3 รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว 2 รูป ปวารณาต่อกันไม่ได้ 

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       933. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 2 รูป จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้

       หากขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : อธิษฐานปวารณา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 372 , 373 



- จบ -

ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 2 รูป )

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 2 รูป )
 



คณะปวารณา ( พระ 2 รูป )


       928.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 2 รูป ปวารณาต่อกัน 


วิธีทำคณะปวารณา 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ ว่าดังนี้ 

       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ ว่าดังนี้ 

       ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 2 รูป ) 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 371 , 372 



- จบ -

Wednesday, September 29, 2021

ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 3 รูป )

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 3 รูป )
 



คณะปวารณา ( พระ 3 รูป ) 

       
926. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 3 รูป ปวารณาต่อกัน 


วิธีทำคณะปวารณา 

       927. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า 


* * * ญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า

       วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด 


       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ ว่าดังน 


คำปวารณา 

       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : คณะปวารณา ( พระ 3 รูป ) 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 370 , 371 



- จบ -

Tuesday, September 28, 2021

ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการคณะ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการคณะ



ปวารณาเป็นการคณะ


       สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 4 รูป

       จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ5๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์

       ก็พวกเรามีอยู่เพียง 4 รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ … ตรัสว่า 



       924. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 4 รูป ปวารณาต่อกัน 


วิธีทำคณะปวารณา 


       925. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า 


* * * ญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า

       วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด 


       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า 


* * * คำปวารณา 

       เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า 

       ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการคณะ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 369 , 370



- จบ -

ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการสงฆ์

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการสงฆ์
 



ปวารณาเป็นการสงฆ์


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 231 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 5 รูป จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า พึงปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง 5 รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ …

       ตรัสว่า 


       923. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 5 รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ปวารณาเป็นการสงฆ์ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 368 



- จบ -

ปวารณาขันธกะ : การปวารณาเมื่อภิกษุถูกจับไว้

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : การปวารณาเมื่อภิกษุถูกจับไว้



การปวารณาเมื่อภิกษุถูกจับไว้


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 230 )  


       918. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในวันปวารณา พวกญาติจับภิกษุในศาสนานี้ไว้ 

       หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า

       ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาปล่อยภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณาเสร็จ 


       หากได้การขอร้องอย่างนี้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า 

       ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุรูปนี้มอบปวารณาเสร็จ 


       หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

       หากไม่ได้ พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณานำภิกษุนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณาเสร็จ  


       ถ้าได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี 

       หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงปวารณา

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       919. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในวันปวารณา พระราชาทั้งหลายได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ 


       920. … พวกโจรได้จับ 


       921. … พวกนักเลงได้จับ 


       922. … พวกภิกษุที่เป็นข้าศึกได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ 

       พวกนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาปล่อยภิกษุนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณาเสร็จ 


       หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

       หากไม่ได้ พวกนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุนี้มอบปวารณาเสร็จ


       หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี 

       หากไม่ได้ พวกนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาพาภิกษุรูปนี้ไปนอกสีมา สักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณาเสร็จ


       หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี 

       หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงปวารณา

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : การปวารณาเมื่อภิกษุถูกจับไว้ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 367 , 368



- จบ -




Sunday, September 26, 2021

ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้มอบปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้มอบปวารณา 
 



ทรงอนุญาตให้มอบปวารณา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 229 )  


       ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา 


       ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ยังมีภิกษุอาพาธอยู่ เธอมาไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า 


896. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธมอบปวารณา 


วิธีมอบปวารณา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบอย่างนี้ 

       ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำมอบปวารณาอย่างนี้ว่า 

       ข้าพเจ้าขอมอบปวารณา ขอท่านจงนำปวารณาของข้าพเจ้าไป ขอท่านจงปวารณาแทนข้าพเจ้า 


       ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยกาย ด้วยวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปวารณา


       หากได้ภิกษุผู้รับอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

       หากไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงใช้เตียงหรือตั่ง หามภิกษุอาพาธนั้นมาในท่ามกลางสงฆ์แล้วปวารณา 


       897.ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

       หากพวกเราจักย้ายภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นจักถึงมรณภาพ ดังนี้ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ

       สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา 

       หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       898. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       หากภิกษุผู้นำปวารณาหลบไปเสียจากที่นั้นแล

       ภิกษุอาพาธพึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น 


       899.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย ณ ที่นั้นแหละ …

       ถึงมรณภาพ

       ปฏิญาณ เป็นสามเณร 

       ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา

       ปฏิญาณเป็นผู้ต้อง อันติมวัตถุ 

       ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต  

       ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน 

       ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา  

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ   

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ  

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก  

       ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์  

       ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส  

       ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์  

       ปฏิญาณเป็นดิรัจฉาน  

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา  

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา 

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์  

       ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี  

       ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์  

       ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต  

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก 


       ภิกษุอาพาธพึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น 


       900. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาหลบไปเสียในระหว่างทาง

       ปวารณาไม่เป็นอันนำมา 


       901. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสียในระหว่างทาง

       ถึงมรณภาพ …

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก

       ปวารณาไม่เป็นอันนำมา 


       902. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 


       903. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย

       ถึงมรณภาพ …

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 


       904. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียมิได้บอก 

       
ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       905. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วเข้าสมาบัติมิได้บอก  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       906. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว  

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วเผลอไปไม่ได้บอก 

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       907. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วแกล้งไม่บอก  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว  

       แต่ภิกษุผู้นำปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ 


       908. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย ณ ที่นั้นแหละ … 

       ถึงมรณภาพ 

       ปฏิญาณเป็นสามเณร  

       ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา 

       ปฏิญาณเป็นผู้ต้อง อันติมวัตถุ 

       ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต  

       ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน 

       ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา  

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ  

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ 

       ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก 

       ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์  

       ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส  

       ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์  

       ปฏิญาณเป็นดิรัจฉาน  

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา  

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา  

       ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์  

       ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี  

       ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์  

       ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต  

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก 


       ภิกษุอาพาธจึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น


       909. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาหลบไปเสียในระหว่างทาง 

       ปวารณาไม่เป็นอันนำมา 


       910. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสียในระหว่างทาง 

       ถึงมรณภาพ … 

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก 

       ปวารณาไม่เป็นอันนำมา 


       911. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 


       912. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย  

       ถึงมรณภาพ …  

       ปฏิญาณเป็น อุภโตพยัญชนก  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 


       913. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียมิได้บอก  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว 

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       914. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วเข้าสมาบัติมิได้บอก 

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว  

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       915. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วเผลอไปไม่ได้บอก  

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว

       ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ 


       916. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว 

       หากภิกษุผู้นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วแกล้งไม่บอก

       ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว  

       แต่ภิกษุผู้นำปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ


       917. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณา

       เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณา มอบฉันทะด้วย เผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้มอบปวารณา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 363 , 364 , 365 , 366 , 367



- จบ -



ปวารณาขันธกะ : อาการที่ทำปวารณามี 4

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : อาการที่ทำปวารณามี 4
 



อาการที่ทำปวารณามี 4


       ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า อาการที่ทำปวารณามีเท่าไรหนอ. …

       ตรัสว่า 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาการที่ทำปวารณานี้มี 4 คือ 

       1. การทำปวารณาเป็นวรรคโดย อธรรม 

       2. การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดย อธรรม 

       3. การทำปวารณาเป็นวรรคโดย ธรรม 

       4. การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดย ธรรม 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา 4 นั้น 

       892. การทำปวารณานี้ใด เป็นวรรคโดย อธรรม

       การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ

       และเราก็ไม่อนุญาต 


       893. การทำปวารณานี้ใด ที่พร้อมเพรียงกันโดย อธรรม 

       การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ

       และเราก็ไม่อนุญาต 


       894. การทำปวารณานี้ใด ที่เป็นวรรคโดย ธรรม 

       การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ

       และเราก็ไม่อนุญาต 


       895. การทำปวารณานี้ใด ที่พร้อมเพรียงกันโดย ธรรม

       การทำปวารณาเห็นปานนั้น ควรทำ

       และเราก็อนุญาต 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า

       จักทำปวารณากรรมชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม ดังนี้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : อาการที่ทำปวารณามี 4 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 362 , 363 



- จบ -





ปวารณาขันธกะ : วันปวารณามี 2

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : วันปวารณามี 2



วันปวารณามี 2 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 228 )  


       ครั้งนั้นแลภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน. …

       ตรัสว่า 


       891. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี 2 คือ

       วัน 14 ค่ำ

       วัน 15 ค่ำ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี 2 เท่านี้แล  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : วันปวารณามี 2 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 362 



- จบ -


ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา
 



ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 227 )  


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งบนอาสนะ จริงหรือ 

       จริง พระพุทธเจ้าข้า   


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า …


       888. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ภิกษุไม่พึงนั่งบนอาสนะ

       รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ 


       889. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา 


       สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชรา ทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอคอยอยู่จนกว่าภิกษุทั้งหลายจะปวารณาเสร็จทุกรูป ได้เป็นลมล้มลง … 


       890. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา

       และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาแล้ว นั่งบนอาสนะ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 362



- จบ -





ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตปวารณา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตปวารณา



ทรงอนุญาตปวารณา 


       886. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอยู่จำพรรษา แล้วปวารณาด้วยเหตุ 3 สถาน คือ

       ด้วยได้เห็น 1 

       ด้วยได้ฟัง 1

       ด้วยสงสัย 1 


       การปวารณานั้นจักเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ 


วิธีปวารณา 


       887. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงปวารณา อย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * 
สัพพสังคาหิกาญัตติ 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา 


       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้


* * * เตวาจิกาปวารณา 

       เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน 

       ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย


       เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน 

       ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน 

       ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้ 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า

       ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า 

       ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


       ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า

       ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ทรงอนุญาตปวารณา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 360 , 361



- จบ -



Friday, September 24, 2021

ปวารณาขันธกะ : ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง ปวารณาขันธกะ : ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน



ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ 

หมวดว่าด้วยการให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้

 

( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 226 )  


       …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  

       ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างปศุสัตว์อยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  

       ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างแพะอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก 

       ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  



ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน โมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน … 


       885. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทาน มูควัตร ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน

       รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : ปวารณาขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปวารณาขันธกะ : ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 360 



- จบ -


วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาหลัง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาหลัง
 



ปฏิญาณจำพรรษาหลัง


       869. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ 

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       870. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว … 


       871.… เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย … 


       872.… เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย … 


       873.… เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธออยู่ภายนอกพ้น 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ  

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       874. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธอกลับมาภายใน 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ 

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       875. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง … 


       876.… ยังอีก 7 วัน จะครบ 4 เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท 

       เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม

       วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       877.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง 

       เธอเข้าไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

              เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว … 


       878.… เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว … 


       879.… เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย … 


       880. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย … 


       881. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธออยู่ภายนอกพ้น 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของเธอไม่ปรากฏ 

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       882. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ

       เธอกลับมา ภายใน 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ 

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       883. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง …  


       884. … ยังอีก 7 วันจะครบ 4 เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท 


       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจักมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม 

       วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ  

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

วัสสูปนายิกขันธกะ จบ  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาหลัง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 357 , 358 , 359
 


- จบ -



วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาต้น

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาต้น



ปฏิญาณจำพรรษาต้น


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 222 )  


       855. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น  

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้น ไม่ปรากฏ

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       856. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดหาเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       857. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดหาเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ  

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ  


       858. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       859. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธออยู่ภายนอกพ้น 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ 

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       860. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธอกลับมาภายใน 7 วัน 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ  

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       861. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหารจัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       ยังอีก 7 วัน จะถึงวันปวารณา 

       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม 

       วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       862. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       863. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดหาเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ 

       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว … 


       864. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย … 


       865. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย … 


       866. … เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธออยู่ภายนอกพ้น 7 วัน  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ  

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ 


       867. เธอพักอยู่ 2 - 3 วัน แล้วหลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ 

       เธอกลับมาภายใน 7 วัน  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


       868. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม 1 ค่ำ จึงเข้าสู่วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ

       ยังอีก 7 วัน จะถึงวันปวารณา 

       เธอมีกิจจำเป็น หลีกไป 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม 

       วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ

       และเธอ ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : ปฏิญาณจำพรรษาต้น 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 354 , 355 , 356 , 357



- จบ -






วัสสูปนายิกขันธกะ : จำพรรษาในอาวาส 2 แห่ง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : จำพรรษาในอาวาส 2 แห่ง
 



จำพรรษาในอาวาส 2 แห่ง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 221 )  


       …ดูกรอุปนนท์ ข่าวว่าเธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะอยู่จำพรรษา แล้วทำให้คลาดจริงหรือ 

       จริง พระพุทธเจ้าข้า 

       ดูกรโมฆบุรุษ เธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า 

       เราติเตียนการพูดเท็จ สรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จโดยอเนกปริยายแล้วมิใช่หรือ 

       การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส … 


       854. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น 

       เธอไปสู่อาวาสนั้น พบอาวาส 2 แห่ง มีจีวรมาก ในระหว่างทางจึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราจะพึงจำพรรษาในอาวาส 2 แห่งนี้ 

       เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้ 

       เธอจึงจำพรรษาในอาวาส 2 แห่งนั้น 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ  

       และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : จำพรรษาในอาวาส 2 แห่ง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 354 




- จบ -

Wednesday, September 22, 2021

วัสสูปนายิกขันธกะ : ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา
 



ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 220 )  


       853. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา  

       รูปใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 353 



- จบ -

Tuesday, September 21, 2021

วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงห้ามจำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงห้ามจำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร
 



ทรงห้ามจำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 218 )  


       846. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในโพรงไม้

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       847.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาบนค่าคบไม้

       รูปใดจำต้องอาบัติทุกกฏ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 219 )  


       848. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในที่แจ้ง 

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       849.…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่พึงจำพรรษา

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       850. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในกระท่อมผี 

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       851. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในร่ม

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


       852. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในตุ่ม  

       รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงห้ามจำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 353 



- จบ -

วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงอนุญาตสถานที่ในการจำพรรษา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงอนุญาตสถานที่ในการจำพรรษา


ทรงอนุญาตสถานที่ในการจำพรรษา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 217 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งใคร่จำพรรษาในหมู่โคต่าง 

       … ตรัสว่า 



       842. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่โคต่างได้ 


       หมู่โคต่างย้ายไป 

       … ตรัสว่า 



       843. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับหมู่โคต่างได้ 


       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไปกับพวกเกวียน

       … ตรัสว่า 


       844. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่พวกเกวียนได้ 


       สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไปกับเรือ 

       … ตรัสว่า 


       845. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในเรือได้ 


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : ทรงอนุญาตสถานที่ในการจำพรรษา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 352 



- จบ -

วัสสูปนายิกขันธกะ : อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัสสูปนายิกขันธกะ : อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา
 



อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา


* * * ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 214 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท 

       ถูกเหล่าสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง …

       ตรัสว่า 



       808. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้วถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยความสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ

       แต่พรรษาขาด 


       809. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ

       แต่พรรษาขาด 


       810. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พวกโจรเบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ

       แต่พรรษาขาด 


       811. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกพวกปิศาจรบกวน มันเข้าสิงบ้าง พาเอาไปบ้าง 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       812. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบอัคคีภัย

       ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       813. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูกไฟไหม้

       ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       814. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบอุทกภัย

       ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       815. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูกน้ำท่วม

       ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย 

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 215 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้านอพยพไปเพราะพวกโจรภัย …

       ตรัสว่า 


       816. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้าน 


       ชาวบ้านแยกกันเป็นสองพวก …

       ตรัสว่า 


       817. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่มากกว่า 


       ชาวบ้านที่มากกว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส …

       ตรัสว่า  


       818. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 216 )  


       ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ …

       ตรัสว่า 


       819. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       820. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ

       แต่ไม่ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่านั่นแลอันตราย 

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       821. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ 

       และได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย 

       แต่ไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       822. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว 

       ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ  

       ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย  

       ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย 

       แต่ไม่ได้ อุปัฏฐาก ที่สมควร 

       พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย 

       ไม่ต้องอาบัติ

       แต่พรรษาขาด 


       823. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว 

       สตรีนิมนต์ว่า ขอท่านจงมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะยอมเป็นภรรยาของท่าน หรือมิฉะนั้น
จะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติ กลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้

       พึงหลีกไปเสีย 

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       824. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว 

       หญิงแพศยานิมนต์ … 


       825. … หญิงสาวเทื้อนิมนต์ … 


       826. … บัณเฑาะก์นิมนต์ … 


       827.… พวกญาตินิมนต์ …  


       828. … พระราชาทั้งหลายนิมนต์ … 


       829.… พวกโจรนิมนต์ … 


       830. … พวกนักเลงนิมนต์ว่า ขอท่านมาเถิดขอรับ พวกข้าพเจ้าจักถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติ กลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้

       พึงหลีกไปเสีย 

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       831. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พบทรัพย์ไม่มีเจ้าของ

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติ กลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้

       พึงหลีกไปเสีย  

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       832. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เห็นภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ 

       ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเราอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย 

       พึงหลีกไปเสีย  

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       833. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย

       พึงหลีกไปเสีย  

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด 


       834. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา

       เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย

       ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ

       พึงหลีกไปเสีย  

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       835. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกกับภิกษุเหล่านั้น

       ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์ เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ 

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ  

       พึงหลีกไปเสีย

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       836. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา 

       เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

       พวกเธอจักทำตามจักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ  

       พึงหลีกไปเสีย

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด  


       837. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว 

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น

       ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ

       พึงหลีกไปเสีย 

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       838. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา

       เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ 

       พึงหลีกไปเสีย

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด 


       839. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว 

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุณีเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น 

       ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ  

       พึงหลีกไปเสีย 

       ไม่ต้องอาบัติ  

       แต่พรรษาขาด  


       840. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา

       เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ  

       พึงหลีกไปเสีย  

       ไม่ต้องอาบัติ   

       แต่พรรษาขาด 


       841. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

       ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว 

       ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น 

       ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ 

       พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ  

       พึงหลีกไปเสีย 

       ไม่ต้องอาบัติ 

       แต่พรรษาขาด  


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 4 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 3 : วัสสูปนายิกขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัสสูปนายิกขันธกะ : อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 345 , 346 , 347 , 348 , 349 , 350 , 351 , 352



- จบ -