Friday, December 24, 2021

อธิกรณ์

 

อธิกรณ์



       อธิกรณ์ ( อ่านว่า อะ-ทิ-กอน ) - เหตุ โทษ คดี เรื่องราว 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       อธิกรณ์มี 4 คือ

       1. วิวาทาธิกรณ์ - การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

       2. อนุวาทาธิกรณ์ - การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ เป็นต้น 

       3. อาปัตตาธิกรณ์ - การต้องอาบัติ และ

       4. กิจจาธิกรณ์ - เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม



       ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะของอธิกรณ์แต่ละอย่าง พร้อมทั้งมูลเหตุโดยพิสดาร ในที่สุดตรัสสรุปว่า อธิกรณ์แต่ละอย่างจะระงับได้ด้วยสมถะ (วิธีระงับ) อะไรบ้าง ดังนี้

       1. วิวาทาธิกรณ์ - การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ย่อมระงับด้วยวิธีระงับ 2 ประการ คือ

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 

* * * * * * ระงับโดยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ( เยภุยยสิกา ) 



       2. อนุวาทาธิกรณ์ - การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับศีล ) อาจารวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ ) ทิฏฐิวิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับความเห็น ) และอาชีววิบัติ ( ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ ) ระงับด้วยวิธีระงับ 4 ประการ คือ

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 

* * * * * * ระงับด้วยยกให้ว่ามีสติ ( สติวินัย ) 

* * * * * * ระงับด้วยยกให้ว่าเป็นบ้า ( อมูฬหวินัย )

* * * * * * ระงับด้วยการลงโทษ ( ตัสสปาปิยสิกา ) 



       3. อาปัตตาธิกรณ์ - การต้องอาบัติต่าง ๆ ระงับด้วยวิธีระงับ 3 ประการ คือ 

* * * * * * ระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย )  

* * * * * * ระงับด้วยถือคำสารภาพ ( ปฏิญญาตกรณะ ) 

* * * * * * ระงับด้วยให้เลิกแล้วกัน ( ติณวัตถารกะ ) 



       4. กิจาธิกรณ์ - เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม ระงับด้วยวิธีระงับประการเดียว คือระงับในที่พร้อมหน้า ( สัมมุขาวินัย ) 


       ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเสร็จไปแล้ว และปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุ ผู้ให้ฉันทะแล้วบ่นว่าในภายหลัง ( เว้นแต่อธิกรณ์นั้นชำระไม่เป็นธรรม )


- จบ -