Thursday, December 16, 2021

นิสสารณา

 

นิสสารณา



       นิสสารณา การไล่ออก , การขับออกจากหมู่ เช่น

* * * นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ ( อยู่ในอปโลกนกัมม์ )

* * * ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ ( อยู่ในญัตติกัมม์ ) คู่กับ โอสารณา


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       สังฆกรรม เกิดขึ้นเพราะมูลเหตุ 2 ประการ คือ

       1. ภิกษุมีจำนวนมากขึ้น 

       2. พระบรมศาสดามีพุทธประสงค์ที่จะให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารคณะ 


       คำสวดในสังฆกรรมมี 2 คือ

       1. ภิกษุมีจำนวนมากขึ้น 

       2. พระบรมศาสดามีพุทธประสงค์ที่จะให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารคณะ 


       คำเผดียงสงฆ์ หมายถึง การประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ต่อไปนี้จะทำอะไร เรื่องอะไรเรียกว่า ญัตติ 

       คำสวดประกาศหารือและตกลงว่า กรรมที่จะทำนั้นเห็นควรว่าจะทำหรือไม่ หรือจะมีใครคัดค้านหรือไม่ ถ้าคัดค้านก็คัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ ถ้านิ่งถือว่ายอมตกลงให้ทำกรรมนั้นได้ เรียกว่า อนุสาวนา 


       กิจที่จะต้องทำเป็นการสงฆ์ กล่าวคือ สงฆ์จะต้องรับรู้ในกรรมที่ทำเหล่านั้น เรียกว่า สังฆกรรม


* * * อปโลกนกรรม มี 5 ข้อ คือ 

       1. นิสสารณา คือ นาสนะ สามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า 

       2. โอสารณา คือ รับสามเณรผู้ประพฤติดีเข้าหมู่ 

       3. ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชที่ภิกษุทำเอง 

       4. พรหมทัณฑ์ ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อ 

       5. กัมมลักษณะ คือ กรรมที่เข้าข่ายเป็นอย่างเดียวกันเหมือนกัน เช่น อปโลกน์ ขัดแจกอาหารในโรงฉัน



* * * ญัตติกรรม มี 9 ข้อ คือ 

       1. โอสารณา เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่ถามอันตารยิกธรรมแล้วเข้าหมู่ 

       2. นิสสารณา ประกาศถอนพระธรรมกถึก ฯลฯ 

       3. อุโบสถ 

       4. ปวารณา

       5. สมมติต่างเรื่อง ฯ 

       6. ให้คืนจีวรและบาตร เป็นต้น 

       7. รับอาบัติอันภิกษุแสดงในสงฆ์ 

       8. ประกาศเลื่อนวันปวารณาออกไป 

       9. กัมมลักษณะ คือ กรรมที่เข้าข่ายเหมือนกัน เช่น ประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย



* * * ญัตติทุติยกรรม มี 7 ข้อ คือ

       1. นิสสารณา คือ คว่ำบาตร 

       2. โอสารณา คือ หงายบตร

       3. สมมติต่างเรื่อง เช่น สมมติสีมา เป็นต้น 

       4. ให้ต่างอย่าง เช่น ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

       5. ประกาศถอนหรือเลิกอานิสงส์กฐิน เป็นต้น

       6. แสดงที่สร้างกุฏิให้แก่ภิกษุ 

       7. กัมมลักษณะ คือ กรรมที่เข้าข่ายเหมือนกัน ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย 



ญัตติจตุตถกรรมมี 7 คือ  

       1. นิสสารณา คือ สงฆ์ทำกรรม 7 อย่าง 

       2. โอสารณา สงฆ์ระงับกรรม 7 อย่างนั้น 

       3. สมมติ คือ สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี 

       4. ให้ คือ ให้ปริวาสและมานัต 

       5. นิคหะ คือ ปรับภิกษุผู้ประพฤติปริวาสมานัต ซึ่งต้องอาบัติสังฆาทเสสซ้ำอีก 

       6. สมนุภาสนา คือ สวดห้ามภิกษุไม่ดื้อรั้นในการกระทำอันมิชอบ 

       7. กัมมลักษณะ ได้แก่ กรรมที่เข้าข่ายเหมือนกันเช่น อุปสมบทและอัพภาน 



จำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรม 4 ประเภท คือ 

       1. จตุวรรค สงฆ์มีจำนวน 4 รูป 

       2. ปัญจวรรค สงฆ์มีจำนวน 5 รูป 

       3. ทสวรรค สงฆ์มีจำนวน 10 รูป 

       4. วีสติวรรค สงฆ์มีจำนวน 20 รูป



สังฆกรรม 4 ประเภทนั้น มีจำนวนสงฆ์ผู้กระทำนั้นๆ ดังนี้ 

       1. สงฆ์จตุวรรค ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างเว้นแต่ปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน 

       2. สงฆ์ปัญจวรรค ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทในปัจจันตชนบท 

       3. สงฆ์ทสวรรค ให้อุปสมบทในมัธยมชนบท 

       4. สงฆ์วีสติวรรค อัพภาน 



ภิกษุผู้ควรเข้ากรรมต้องประกอบด้วยองค์ 3 คือ

       1. ภิกษุปกติ 

       2. มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ 

       3. เป็นสมานสังวาสของกันและกัน  



กรรมย่อมวิบัติโดยเหตุ 4 ประการ คือ 

       1. วิบัติโดยวัตถุ  

       2. วิบัติโดยสีมา  

       3. วิบัติโดยปริสะ  

       4. วิบัติโดยกรรมวาจา 



1. กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ เพราะเหตุ 4 ประการ คือ

       1.1  อุปสมบทคนอายุหย่อนกว่า 20 ปี 

       1.2  อุปสมบทคนที่เป็นอภัพพบุคคล 

       1.3 สมมติสีมาคาบเกี่ยว 

       1.4 ผิดระเบียบ  


2. กรรมวิบัติโดยยีมา เพราะเหตุ 5 ประการ คือ 

       2.1 สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด 

       2.2 สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด 

       2.3 สมมติสีมามีนิมิตขาด 

       2.4 สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต 

       2.5 สมมติสีมาไม่มีนิมิต


3. กรรมวิบัติโดยปริสะ เพราะเหตุ 3 ประการ คือ 

       3.1 ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ 

       3.2 สงฆ์ครบกำหนดแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรนำฉันทะมา 

       3.3 มีผู้คัดค้านกรรมอันสงฆ์ทำ 


4. กรรมวิบัติโดยวาจา เพราะเหตุ 7 ประการ คือ

       4.1 ไม่ระบุวัตถุ 

       4.2 ไม่ระบุสงฆ์ 

       4.3 ไม่ระบุบุคคล 

       4.4 ไม่ตั้งญัตติ 

       4.5 ตั้งญัตติภายหลัง 

       4.6 ทิ้งอนุสาวนาในกรรมวาจาที่มีอนุสาวนา 

       4.7 สวดในกาลไม่ควร  


ภิกษุผู้สวดกรรมวาจา พึงสนใจประเภท แห่งพยัญชนะ 10 คือ 

       3.1 ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์

       3.2 สงฆ์ครบกำหนดแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรนำฉันทะมา 

       3.3 มีผู้คัดค้านกรรมอันสงฆ์ทำ

 
กรรมเสียเพราะว่าผิดพลาด 4 สถาน คือ

       1. ว่าสิถิลเป็นธนิต เช่นว่ส สุณาตุ เม เป็น สุณาถุ เม 

       2. ว่าธนิต เป็น สิถิล เช่นว่า ภน. เต สง.โฆ เป็น พน.เต สง.โค 

       3. ว่าวิมุต เป็น นิคคหิต เช่น เอสา ญต.ติ เป็น เอสํ ญต. ติ 

       4. ว่านิคคหิต เป็น วิมุต เช่น ปต.ตกล.ลํ เป็น ปต.ตกล.ลา 

       ( ส่วนนอกนั้น ว่า กลับกันหรือแยกกัน )   


- จบ -