Wednesday, December 1, 2021

จัมเปยยขันธกะ : อุกเขปนียกรรม

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง จัมเปยยขันธกะ : อุกเขปนียกรรม
 



ขันธ์ที่ 5 : จัมเปยยขันธกะ 

หมวดว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 174 )  


       319. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ อันภิกษุไม่พึงยกเสีย เพราะเรื่องไม่สมควร 

       เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดยกเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

อุกเขปนียกรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 175 )  


       ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ

       ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม 

       ทำกรรมพร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม

       ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม 

       ทำกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 

       ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 


       ภิกษุรูปเดียว ยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง

       รูปเดียวยกภิกษุ 2 รูปเสียบ้าง

       รูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง 

       รูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง 


       สองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง 

       สองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง 

       สองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง 

       สองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง 


       หลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง

       หลายรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง 

       หลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง 

       หลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง


       สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง 


       บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา จึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้เล่า คือ

       ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม

       … สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกัน เสียบ้าง

       … ตรัสว่า 


* * * กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 176 )  


       320. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ


       321. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       322. .…ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       323. …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       324. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       325. …ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ


       326. …ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       327.…ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       328. …ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       329.…ภิกษุสองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       330. …ภิกษุสองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       331. …ภิกษุสองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้ ละไม่ควรทำ 


       332. …ภิกษุสองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       333. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       334. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       335. …ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       336. …ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง  

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       337.…สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง 

       ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 



* * * กรรม 4 ประเภท 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 177 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี 4 ประเภท 

       1. คือกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม 


       2. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม 


       3. กรรมเป็นวรรคโดยธรรม 


       4. กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 



* * * อธิบายกรรม 4 ประเภท 

       338. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่า กำเริบ

       ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะเป็นวรรค

       กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต 


       339. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่า กำเริบ 

       ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม

       กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต 


       340. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยธรรมนี้ ชื่อว่า กำเริบ

       ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค 

       กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต 


       341. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่กำเริบ

       ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะพร้อมเพรียง

       กรรมเห็นปานนี้ควรทำ และเราก็อนุญาต 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แหละว่า พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม 



* * * กรรมที่ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 179 )  


       342. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม 

       ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ 


       343. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       344. …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       345. …ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       346. …ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       347.…ถ้ากรรมบกพร่องด้วย ญัตติ /////  สมบูรณ์ด้วย อนุสาวนา /////   

       ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ 


       348. …ถ้ากรรมบกพร่องด้วย อนุสาวนา สมบูรณ์ด้วยญัตติ 

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ


       349.…ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้ง อนุสาวนา

       ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       350. …กรรมแม้แผกจากธรรม

       ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       351. …กรรมแม้แผกจากวินัย 

       ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       352. …กรรมแม้แผกจาก สัตถุศาสน์ /////

       ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 


       353. …ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ

       ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ 

       ก็ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ 



* * * กรรม 6 ประเภท


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 180 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี 6 ประเภท คือ 

       1. กรรมไม่เป็นธรรม 


       2. กรรมเป็นวรรค 


       3. กรรมพร้อมเพรียง 


       4. กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       5. กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 


       6. กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 



* *  * อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 181 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน 

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ญัตติ ทุติยกรรม /////

       ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว

       และไม่สวดกรรมวาจา

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       2. ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยญัตติสองครั้ง

       และไม่สวดกรรมวาจา

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       3. ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว 

       และไม่ตั้งญัตติ

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       4. ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสองครั้ง 

       และไม่ตั้งญัตติ

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       5. ใน ญัตติ จตุตถกรรม /////

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว

       และไม่สวดกรรมวาจา

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       6. ในญัตติ จตุตถกรรม  

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติสองครั้ง

       ด้วยตั้งญัตติ 3 ครั้ง

       ด้วยตั้งญัตติ 4 ครั้ง

       และไม่สวดกรรมวาจา

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       7. ในญัตติ จตุตถกรรม 

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว

       และไม่ตั้งญัตติ

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม 


       ในญัตติจตุตถกรรม

       ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสองครั้ง 

       ด้วยสวดกรรมวาจา 3 ครั้ง 

       ด้วยสวดกรรมวาจา 4 ครั้ง 

       และไม่ตั้งญัตติ 

       ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่เป็นธรรม  



* * * อธิบายกรรมเป็นวรรค 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 182 )  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรค เป็นไฉน

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม 

       ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค 


       2. ในญัตติ ทุติยกรรม 

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม 

       แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค 


       3. ในญัตติทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค  


       4. ในญัตติ จตุตถกรรม

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม

       ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา  

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค 


       5. ในญัตติ จตุตถกรรม 

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค 


       6. ในญัตติ จตุตถกรรม 

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรค 



* * * อธิบายกรรมพร้อมเพรียง 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 183 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียง เป็นไฉน 

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด  

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง 


       2. ในญัตติ จตุตถกรรม

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด 

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม 

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียง
 


* *  * อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 184 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม เป็นไฉน 

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน

       ตั้งญัตติภายหลัง

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม

       ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       2. ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน

       ตั้งญัตติทีหลัง 

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       3. ในญัตติ ทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน 

       ตั้งญัตติทีหลัง

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด 

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       4. ในญัตติ ทุติยกรรม  

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน 

       ตั้งญัตติทีหลัง 

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       5. ในญัตติ จตุตถกรรม

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน

       ตั้งญัตติทีหลัง

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม 

       ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา

       อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       6. ในญัตติ จตุตถกรรม

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน

       ตั้งญัตติทีหลัง

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม



* * * อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 185 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม เป็นไฉน 

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ ทุติยกรรม  

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน

       ตั้งญัตติทีหลัง 

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม  

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 


       2. ในญัตติ จตุตถกรรม 

       ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน  

       ตั้งญัตติทีหลัง 

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด  

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา  

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน 

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม 



* * * อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 186 )  

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม เป็นไฉน 

       1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม

       ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน

       ทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาหนเดียวทีหลัง 

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม 

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน  

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 


       2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ จตุตถกรรม 

       ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน

       ทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสามครั้งทีหลัง

       ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด 

       ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม 

       นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา 

       อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน

       ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม 



* * * สงฆ์ 5 ประเภท


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 187 )  


       สงฆ์มี 5 คือ  

       ภิกษุสงฆ์ จตุรวรรค 1 ///// 

       ภิกษุสงฆ์ ปัญจวรรค 1 /////  

       ภิกษุสงฆ์ ทสวรรค 1 /////

       ภิกษุสงฆ์ วีสติวรรค 1 ///// 

       และภิกษุสงฆ์ อดิเรกวีสติวรรค 1 ///// 


       354. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น

       ภิกษุสงฆ์ จตุรวรรค

       พร้อมเพรียงกันโดยธรรม

       เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง

       เว้นกรรม 3 อย่าง คือ อุปสมบท ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  ปวารณา ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  อัพภาน ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  


       355. ภิกษุสงฆ์ ปัญจวรรค

       พร้อมเพรียงกันโดยธรรม

       เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง

       เว้นกรรม 2 อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท และอัพภาน 


       356. ภิกษุสงฆ์ ทสวรรค

       พร้อมเพรียงกันโดยธรรม

       เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง

       เว้น อัพภานกรรม อย่างเดียว 


       357. ภิกษุสงฆ์ วีสติวรรค 

       พร้อมเพรียงกันโดยธรรม

       เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง 


       358. ภิกษุสงฆ์ อดิเรกวีสติวรรค

       พร้อมเพรียงกันโดยธรรม

       เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง 



* * * กรรมที่สงฆ์จตุรวรรคไม่ควรทำ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 188 )  


       359. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ จตุรวรรค จะทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ 4 ทำกรรม

       กรรมนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ


       360. …ถ้ากรรมที่สงฆ์ จตุรวรรค จะทำ สงฆ์สิกขมานาเป็นที่ 4… 


       361. …มีสามเณรเป็นที่ 4… 


       362. …มีสามเณรีเป็นที่ 4…  


       363. …มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ 4… 


       364. …มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ 4… 


       365. …มีภิกษุถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ 4… 


       366. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละ ทิฏฐิบาป เป็นที่ 4… 


       367.…มีบัณเฑาะก์เป็นที่ 4… 


       368. …มีภิกษุลักเพศเป็นที่ 4…  


       369.…มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ 4… 


       370.…มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ 4… 


       371.…มีภิกษุผู้ท ำมาตุฆาต เป็นที่ 4…  


       372.…มีภิกษุผู้ทำ ปิตฆาต เป็นที่ 4… 


       373.…มีภิกษุผู้ทำอรหันตฆาตเป็นที่ 4… 


       374.…มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ 4…


       375.…มีภิกษุผู้ทำ สังฆเภท เป็นที่ 4 … 


       376.…มีภิกษุผู้ทำ โลหิตุปบาท ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  เป็นที่ 4 … 


       377.…มี อุภโตพยัญชนก เป็นที่ 4 … 


       378.…มีภิกษุ นานาสังวาส ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  เป็นที่ 4 … 


       379.…มีภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ 4 … 


       380. …มีภิกษุอยู่ใน เวหาส ( คลิกที่ขีดเส้นใต้ )  ด้วยฤทธิ์เป็นที่ 4 … 


       381. …สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ 4 ทำกรรม

       กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ 



* * * กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคไม่ควรทำ


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 189 )  


       382. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ

       สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ 5 ทำกรรม

       กรรมนั้นใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ


       383. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำ 

       สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ 5… 


       384. …มีสามเณรเป็นที่ 5… 


       385. …มีสามเณรีเป็นที่ 5… 


       386. …มีภิกษุบอกลาสิกขาเป็นที่ 5… 


       387.…มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ 5… 


       388.…มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติเป็นที่ 5… 


       389.…มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ 5… 


       390. …มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ 5… 


       391. …มีบัณเฑาะก์เป็นที่ 5… 


       392.…มีภิกษุลักเพศเป็นที่ 5… 


       393. …มีภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์เป็นที่ 5… 


       394.…มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ 5…  


       395.…มีภิกษุผู้ทำ มาตุฆาต เป็นที่ 5… 


       396.…มีภิกษุผู้ทำ ปิตุฆาต เป็นที่ 5… 


       397.…มีภิกษุผู้ทำ อรหันตฆาต เป็นที่ 5… 


       398.…มีภิกษุผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ 5…  


       399.…มีภิกษุผู้ทำ สังฆเภท เป็นที่ 5… 


       400. …มีภิกษุผู้ทำ โลหิตตุปบาท เป็นที่ 5… 


       401. …มี อุภโตพยัญชนก เป็นที่ 5… 


       402. …มีภิกษุ นานาสังวาส เป็นที่ 5… 


       403. …มีภิกษุอยู่ในสีมาต่างกันเป็นที่ 5… 


       404. …มีภิกษุผู้อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์เป็นที่ 5…


       405. …สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใดมีผู้นั้นเป็นที่ 5 ทำกรรม

       กรรมนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

///// : เครื่องหมายขีดหลายขีดนี้ คือสัญลํกษณ์ที่บอกให้ทราบว่า ให้ คลิก ที่ ตัวหนังสือ "ด้านซ้าย" ของเครื่องหมายขีดหลายขีดนี้

       ซึ่งผลของการ คลิก ก็จะทำให้ เกิดหน้าเว็บอีกหน้าหนึ่งปรากฏขึ้นมา  

       หน้าเว็บใหม่ ที่ปรากฏขึ้นมานี้ คือหน้าเว็บที่ใช้ในการอธิบายคำศัพท์นะครับ - ผู้ทำเว็บ  



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 5 : จัมเปยยขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : จัมเปยยขันธกะ : อุกเขปนียกรรม 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 504 , 505 , 506 , 507 , 508 , 509 , 510 , 511 , 512 , 513 , 514