Thursday, December 16, 2021

สังฆเภท

 

สังฆเภท


ะ-เพด ) - แปลว่า การทำสงฆ์ให้แตกกัน การทำลายสงฆ์ ความแตกกันแห่งสงฆ์

       สังฆเภท หมายถึงการยุยง การขวนขวายให้สงฆ์แตกความสามัคคีกัน ไม่ปรองดองกันจนถึงกับแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรม 

       แม้จะมีการห้ามปรามตักเตือนจนสงฆ์ประชุมกันให้เลิกละการกระทำอย่างนั้นเสีย ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ยังฝืนทำเช่นนั้นอีก เช่นนี้จัดเป็นสังฆเภท 


       สังฆเภท จัดเป็น "อนันตริยกรรม" คือกรรมที่มีโทษหนักที่สุดเท่ากับโทษฆ่าบิดามารดา มีผลถึงห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานทีเดียว

       ผู้ที่ทำลายสงฆ์ท่านมุ่งเอาเฉพาะภิกษุเท่านั้น คำว่า ทำลายสงฆ์ หมายเอาการทำให้สงฆ์แตกแยกกันเป็น ๒ ฝ่าย หรือมากกว่านั้นโดยที่สงฆ์ เหล่านั้นไม่ยอมทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม หรือสังฆกรรรมอย่างอื่น ๆ ร่วมกัน เพราะเกิดความแตกแยก ความรังเกียจ หรือความอาฆาตพยาบาทจองเวรกันอุก เขปนียกรรม 

       คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย ( ทิฏฐิบาป ) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา

       โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิ เสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรืออีกนัยหนึ่งว่าถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ 

       1. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม 

       2. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม 

       3. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย 

       4. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย 

       5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้ 

       6. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้ 

       7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมา

       8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ ประพฤติมา 

       9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ 

       10. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ 

       11. ย่อมแสดง อนาบัติ ว่า เป็น อาบัติ 

       12. ย่อมแสดง อาบัติ ว่า เป็น อนาบัติ 

       13. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก 

       14. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา 

       15. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       16. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       17. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 

       18. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ 


       พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ 18 ประการนี้ ย่อมแยก ทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม

       ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว 



       ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ 

       1. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม 

       2. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม 

       3. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย 

       4. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย 

       5. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ ตรัสภาษิตไว้ 

       6. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้ 

       7. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมา 

       8. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้ว 

       9. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้ 

       10. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ 

       11. ย่อมแสดง อนาบัติ ว่า เป็น อนาบัติ 

       12. ย่อมแสดง อาบัติ ว่า เป็น อาบัติ 

       13. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา 

       14. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก 

       15. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ 

       16. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ 

       17. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ 

       18. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ 


       พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ 18 ประการนี้ ย่อมไม่ แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม 

       ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ 


       ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร 

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ 


- จบ -