Wednesday, December 22, 2021

ตัสสปาปิยสิกากรรม

 

ตัสสปาปิยสิกากรรม 



       ตัสสปาปิยสิกากรรม ( อ่านว่า ตัด-สะ-ปา-ปิ-ยะ-สิ-กา ) - ชื่อวิธีการลงโทษแก่ภิกษุผู้ผิดอย่างหนึ่ง ภิกษุใดชอบพูดพล่อยๆ เถลไถล เมื่อสงฆ์ซักถามเกี่ยวกับความผิด ให้ลงโทษสถานนี้ คือ ประกาศตัดสิทธิ์บางประการชั่วคราว  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม

       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า

       สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง   


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ตัสสปาปิยสิกา ( การระงับด้วยการลงโทษ ) 

       ภิกษุชื่ออุปวาฬะ ถูกฟ้องด้วยเรื่องต้องอาบัติในที่ประชุมสงฆ์ ปฏิเสธแล้วกลับรับ รับแล้วกลับปฏิเสธ ให้การกลับกลอก กล่าวเท็จทั้ง ๆ รู้ 

       พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงทรงแนะให้สงฆ์ใช้วิธีตัสสปาปิยสิกา คือให้สวดประกาศเป็นการสงฆ์ลงโทษจำเลย ( ตามควรแก่อาบัติ )


- จบ -