Monday, March 28, 2022

ติณวัตถารกะ

 

ติณวัตถารกะ 


       ติณวัตถารกะ ( อ่านว่า ติ-นะ-วัด-ถา-ระ-กะ ) - ธีระงับอธิกรณ์อย่างหนึ่งใน 7 วิธี โดยตัดสินอธิกรณ์เหมือนกลบด้วยหญ้า , การตัดสินข้อพิพาทอย่างหนึ่ง ด้วยการประนีประนอมคู่พิพาท ไม่ต้องสอบสวนความเดิมก็ได้ 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ณวัตถารกวินัยกับการประนีประนอมยอมความ

       ติณวัตถารกวินัย หมายถึง ระเบียบวิธีการระงับข้อพิพาท ( อธิกรณ์ ) โดยต่างคนต่างยอมให้กัน ไม่ถือสาเอาความกันอีก เหมือนเป็นการปกปิดไว้ด้วยหญ้า 

       เป็นหนึ่งในวิธีการระงับข้อพิพาท ( อธิกรณ์ ) ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อเกิดข้อพิพาทต่อกัน หรือต่างคนต่างประพฤติไม่ถูกต้อง ทำไม่เหมาะสม แล้วก็กล่าวหากัน ซัดทอดกัน ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนเกิดการทะเลาะวิวาทกัน จึงต้องมาทำการตกลงประนีประนอมยอมความกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทที่ไม่อาจจะตกลงกันได้อีก แต่ความผิดหรือสิ่งที่ได้กระทำผิดไปนั้นที่เกิดขึ้นยังอยู่ไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ไม่ถือสาเอาความกันเท่านั้น เหมือนกับการกำจัดของเน่าเหม็นด้วยการเอาหญ้าไปปกปิด หรือปิดบังไว้ แต่ของเน่าเหม็นนั้นยังอยู่ไม่หายไปไหน 

       การประนีประนอมยอมความ คือ การที่คู่ความได้ไกล่เกลี่ยตกลงยอมความต่อกันในข้อที่ได้พิพาทต่อกัน ตกลงกันได้โดยที่ไม่ต้องฟ้องร้องกันต่อไป และมีผลอาจจะทำให้ข้อพิพาทนั้น ระงับไปเลยก็ได้ เป็นหัวใจของวิแพ่ง ( อ.จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย ) โดยศาลมีอำนาจที่จะให้คู่ความทำหรือคู่ความอาจจะตกลงกันเองก็ได้ และจะทำเมื่อไรก็ได้ถ้ายังตกลงกันได้ 

       หลักในทางพระพุทธศาสนาและในทางกฎหมายต่างยอมรับให้มีการประนีประนอมยอมความกันได้ ไม่ถือสาเอาความกันได้ เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขไม่เกิดการแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เมื่อไรประเทศไทยจะเกิดหลักดั่งกล่าวมาในทางปฎิบัติบ้าง 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ติณวัตถารกะ ( การระงับด้วยให้เลิกแล้วกันไป ) ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน และเห็นว่าถ้าขืนทะเลาะวิวาทกันต่อไป เรื่องก็จะลุกลามเลวร้าย ถึงกับแตกแยกกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ ด้วยให้เลิกแล้วกันไป ( ติณวัตถารกะ ) 

       ทรงแสดงวิธีสวดประกาศขอมติในที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นอันพ้นอาบัติด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยมีภิกษุรูปหนึ่งแต่ละฝ่ายที่เสนอญัตตินั้นเป็นผู้แสดงแทน เว้นอาบัติหนัก , เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ , เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง , เว้นผู้ไม่ได้ประชุมอยู่ในที่นั้น ( คือมีผู้ขาดประชุม ) 


- จบ -