คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
: วัตร 18 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
: วัตร 18 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
วัตร 18 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 309 )
287. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ
288. วิธีประพฤติชอบใน อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น ดังต่อไปนี้
1. ไม่พึงให้ อุปสมบท /////
2. ไม่พึงให้ นิสัย /////
3. ไม่พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก /////
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5.แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. สงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป เพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11. ไม่พึงห้าม อุโบสถ ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ /////
12. ไม่พึงห้าม ปวารณา ///// แก่ ปกตัตตะภิกษุ
13. ไม่พึงทำการไต่สวน
14. ไม่พึงเริ่ม อนุวาทาธิกรณ์ /////
15. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้ อธิกรณ์ กัน /////
* * * สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 310 )
ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่พระอริฏฐะ ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้าม สมโภค ///// กับสงฆ์
ท่านถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วสึกเสีย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน … พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ … ทรงสอบถาม … ทรงติเตียน … รับสั่งว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป : วัตร 18 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 700 , 701
- จบ -