Monday, March 21, 2022

อาบัติปาฏิเทสนียะ

 

อาบัติปาฏิเทสนียะ


       ปาฏิเทสนียะ คือประเภทหนึ่งของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่

       1. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน 

       2. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร 

       3. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ ( อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์ )  

       4. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า


       คำว่า ปาฏิเทสนียะ แปลว่า ที่พึงแสดงคืน



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

       ห้ามขอโภชนะประณีต 8 อย่าง ตามลำดับสิกขาบท มาฉัน 

       ความในสิกขาบททั้งแปดนี้อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ของที่ขอรวม 8 อย่าง ตามลำดับสิกขาบท คือนางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ของเหล่านี้ มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ คือ 

       1. เนยใส 

       2. น้ำมัน 

       3. น้ำผึ้ง 

       4. น้ำอ้อย 

       5. ปลา 

       6. เนื้อ 

       7. นมสด 

       8. นมสด 


       ( เรียงลำดับสิกขาบทตามลำดับของ )

       หมายเหตุ : อาบัติปาฏิเทสนียะ แปลว่า อาบัติที่ต้องแสดงคืน ทั้งแปดสิกขาบทนี้ ไม่มีพ้องกับของภิกษุเลย  อนึ่ง ของภิกษุ ๘ อย่างที่ห้ามขอมาฉัน ในเมื่อไม่เป็นไข้นี้ เคยเรียกในสิกขาบทสำหรับภิกษุว่า โภชนะประณีตมี 9 อย่าง โดยเพิ่มเนยข้น ( นวนีตํ ) เข้าในลำดับ


- จบ -