Saturday, March 5, 2022

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป : วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป  

วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป  
 



วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 318 )  


       295. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับ อุกเขปนียกรรม ///// ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป พึงระงับอย่างนี้ 

       ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้า อุตราสงค์ ///// เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ 


* * * คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 


       พึงขอแม้ครั้งที่สอง  


       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ///// ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       การระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม  


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 

       สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ 

       การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

กัมมขันธกะ จบ 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 1 : กัมมขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป : วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 704 , 705 



- จบ -