คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง สมถขันธกะ : อธิกรณ์
เรื่อง สมถขันธกะ : อธิกรณ์
อธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 632 )
โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับพวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าแทรกแซงพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุ ให้ถือฝ่ายภิกษุณี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย … ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน …
ทรงสอบถาม … รับสั่งว่า
370. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ ///// 4 นี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ ///// อนุวาทาธิกรณ์ ///// อาปัตตาธิกรณ์ ///// กิจจาธิกรณ์ /////
อธิกรณ์ 4 อย่าง
1. วิวาทาธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 633 )
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
2. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
3. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
4. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
5. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
6. นี้เป็น อาบัติ ///// นี้ไม่เป็นอาบัติ
7. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
8. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์
2. อนุวาทาธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 634 )
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ ///// อาจารวิบัติ ///// ทิฏฐิวิบัติ ///// หรือ อาชีววิบัติ /////
การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์
3. อาปัตตาธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 635 )
4นอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง 5 กอง ชื่อ อาปัตตาธิกรณ์
อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่อ อาปัตตาธิกรณ์
นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์
4. กิจจาธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 636 )
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน
ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ///// ญัตติกรรม ///// ญัตติทุติยกรรม ///// ญัตติจตุตถกรรม ///// นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : อธิกรณ์
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 768 , 769 , 770
- จบ -