อามิส ( อ่านว่า อามิด, อามิดสะ ) - น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น , เช่นอย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://พจนานุกรมไทย.com/45-1517-ความหมาย-อามิษ,%20อามิส,%20อามิส.html
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อามิส
ไทยอ่านว่า อา-มิด
บาลีอ่านว่า อา-มิ-สะ
รากศัพท์คือ อา ( = ภายใน ) + มิ ( ธาตุ = ใส่ ) + สก ปัจจัย ลบ ก
: อา + มิ + สก > ส = อามิส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ใส่ไว้ภายใน” ( คือใส่ไว้ล่อ )
“อามิส” ภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –
1. เนื้อสด ( raw meat )
2. ดิบ , ไม่ได้ตระเตรียม , ไม่มีการปลูกฝัง ( raw , unprepared , uncultivated )
3. มีเนื้อ , วัตถุ , อามิส ( fleshy , material , physical )
4. อาหาร , อาหารที่ถูกปาก , อาหารสำหรับกินเพื่อความเอร็ดอร่อย , อาหารอันโอชะ ( food , palatable food , food for enjoyment , dainties )
5. เหยื่อ ( bait )
6. ลาภ , รางวัล , เงิน , สินบน , เงินรางวัล , การให้รางวัล ( gain , reward , money , douceur , gratuity , tip )
7. ความเพลิดเพลิน ( enjoyment )
8. ความโลภ , ความอยากได้ , ตัณหา ( greed , desire , lust )
ในภาษาไทย พจน.42 บอกไว้ว่า -
“อามิส : สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น , เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง”
ในทางธรรม “อามิส” มีความหมายคู่กับ “ปฏิบัติ” ( หรือ “ธรรม” ) เช่น
- อามิสบูชา ( อา-มิด-สะ- ) : การบูชาด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ
- ปฏิบัติบูชา ( ปะ-ติ-บัด-ติ- ) ( ธรรมบูชา / ทำ-มะ- ) : การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน , บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติ กระทำสิ่งที่ดีงาม
เทวภาษิต :
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข
( โลกามิสัง ปะชะเห สันติเปกโข )
ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค 15/8 , 10 , 274 , 300
* * * แปลโดยพยัญชนะ
สนฺติเปกฺโข อันว่าผู้เพ่งซึ่งความสงบ
ปชเห พึงละทั่ว
โลกามิสํ ซึ่งเหยื่ออันเขาใส่ไว้เพื่อล่อซึ่งชาวโลก
* * * แปลโดยอรรถ
ถ้าหวังให้สงบสุข ก็อย่าใช้สินจ้างรางวัลหลอกล่อชาวบ้านชาวเมือง
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dhamtara.com/?p=2818
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -