Wednesday, September 14, 2022

ปาติโมกขฐปนะขันธกะ : ทูลถามการโจท

 




ทูลถามการโจท


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 500 )  


       ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่นพระพุทธเจ้าข้า


       565. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า 

       เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ 

       เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่  


       ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 501 )  


       ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า 

       เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ

       เราประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่  

       ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 502 )  


       ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า  

       จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตใน สพรหมจารี /////  ทั้งหลายหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ 

       ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้  



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 503 )  


       ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า

       เราเป็น พหูสูต /////  ทรง สุตะ /////  เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ 

       ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ /////  พร้อมทั้ง อรรถ /////  ทั้ง พยัญชนะ /////  บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

       ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่  

       ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียน ปริยัติ /////  เสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 504 )  


       ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า 

       เราจำ ปาติโมกข์ /////  ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดย อนุพยัญชนะ /////  หรือหนอ  ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่  

       ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียน วินัย /////  เสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ 


       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 505 )  


       พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น 


       566. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่นพึงตั้งธรรม 5 ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ 

       1. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร 

       2. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง 

       3. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ 

       4. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์ 

       5. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว 

       ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 5 : ปาติโมกขฐปนะขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ปาติโมกขฐปนะขันธกะ : ทูลถามการโจท  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 954 , 955 , 956 




- จบ -