Wednesday, November 10, 2021

เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กาลิก ระคน

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กาลิก ระคน
 



ทรงอนุญาต กาลิก ระคน


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 93 )  


       179.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิก* * * ( 1 )  ระคน กับ ยาวกาลิก* * * ( 2 )  ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรในกาล

       ไม่ควรในวิกาล


       180. สัตตาหกาลิก* * * ( 3 )  ระคนกับ ยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรในกาล 

       ไม่ควรในวิกาล


       181. ยาวชีวิก* * * ( 4 )  ระคนกับ ยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรในกาล  

       ไม่ควรในวิกาล 


       182. สัตตาหกาลิก ระคน กับ ยามกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรชั่วยาม 

       ล่วงยามแล้วไม่ควร 


       183. ยาวชีวิก ระคนกับ ยามกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรชั่วยาม 

       ล่วงยามแล้วไม่ควร 


       184. ยาวชีวิก ระคนกับ สัตตาหกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น 

       ควรตลอด 7 วัน 

       ล่วง 7 วันแล้วไม่ควร 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

เภสัชชขันธกะ จบ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


* * * ( 1 )  ยามกาลิก - ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง 1 วัน กับ 1 คืน คือ ก่อนเช้าของวันใหม่ ได้แก่ น้ำอัฐบาน หรือปานะทั้งหลาย 


* * * ( 2 )  ยาวกาลิก - ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน เช่น ข้าวปลาอาหาร 


* * * ( 3 )  สัตตาหกาลิก - ของรับประเคนที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง 7 วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย


* * * ( 4 )  ยาวชีวิก - ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดไม่จำกัดกาล เช่น สมุนไพร ยารักษาโรค 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ มหาวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 5 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 2 : เภสัชชขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : เภสัชชขันธกะ : ทรงอนุญาต กาลิกระคน 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 447 



- จบ -