ญัตติจตุตถกรรม
ญัตติจตุตถกรรม ( ยัด - ติ - จะ - ตุ - ถะ - กำ ) แปลว่า คือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นสังฆกรรม 1 ใน 4 อย่างของภิกษุสงฆ์ที่ทำร่วมกัน จัดเป็นสังฆกรรมที่มีน้ำหนักมากที่สุด หนักแน่นที่สุด ใช้ทำกรรมที่สำคัญมาก เช่น การให้อุปสมบท การให้ปริวาส ให้อัพภาน การสวดสมนุภาสน์ เป็นต้น
วิธีการ คือ จะมีการสวดญัตติขึ้นก่อน 1 ครั้ง และ สวดอนุสาวนา 3 ครั้ง เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4, หมายความว่า กิจกรรมของสงฆ์ที่ทำร่วมกันโดยต้องทำการสวดญัตติขึ้นก่อน แล้วตามด้วยอนุสาวนาอีก 3 ครั้ง
ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 ) ไม่เรียกว่า ญัตตฺยาทิกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นเบื้องต้น ) เป็นต้น มีเพราะทรงตรัสเป็นโวหารแบบปฏิโลม ( นับย้อนศร ) เหมือนคำว่า ผสฺสปญฺจมํ ( ธรรมมีผัสสะเป็นที่ 5 ) ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมนั่นเอง
- จบ -