Monday, April 18, 2022

สมถขันธกะ : วิธีระงับ

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : วิธีระงับ
 



วิธีระงับ 

       384. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับ อธิกรณ์ /////  อย่างนี้ 

       ภิกษุทุกๆ รูป พึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน 

       ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้  



* * * ญัตติกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วย ติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก  เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ 


       บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 



* * * คณะญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้  

       ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 692 )  


       ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * คณะญัตติกรรมวาจา 

       ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 693 )  


       บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * ญัตติทุติยกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความวิวาทอยู่ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ แลเพื่อประโยชน์แก่ตน 

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ 

       ข้าพเจ้าแสดง อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน 


       การแสดงอาบัติเหล่านี้ ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * ญัตติทุติยกรรมวาจา 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง … 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว 

       ระงับด้วยอะไร  

       ด้วย สัมมุขาวินัย /////  กับ ติณวัตถารกะ  

       ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง 

       มีความพร้อมหน้าสงฆ์  

       ความพร้อมหน้าธรรม 

       ความพร้อมหน้าวินัย 

       ความพร้อมหน้าบุคคล 



       ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร

       ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน 

       นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้น  



       ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร 

       อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด 

       นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น



       ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร 

       ผู้แสดง และผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน 

       นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล



       ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง

       มีกิริยา 

       ความกระทำ 

       ความเข้าไป 

       ความเข้าไปเฉพาะ

       ความรับรอง 

       ความไม่คัดค้านกรรม 

       คือ ติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น



       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้

       ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น  

       ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : วิธีระงับ 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 800 , 801 , 802 , 803



- จบ -