Wednesday, April 13, 2022

สมถขันธกะ : อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง สมถขันธกะ : อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง



อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 682 )  


       อนุวาทาธิกรณ์ /////  ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร 

       อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ 4 คือ  

       สัมมุขาวินัย 1 /////  

       สติวินัย 1 /////  
 
       อมูฬหวินัย 1 /////  

       ตัสสปาปิยสิกา 1 /////  


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 638 )  


       บางที อนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ 

       อมูฬหวินัย 1 /////  

       ตัสสปาปิยสิกา 1 

 
       ระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ 

       สัมมุขาวินัย 1 

       สติวินัย 1 

       บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า 


       378.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ อันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ 


วิธีให้สติวินัย 

       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์ /////  เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่าดังนี้ 


* *  * คำขอสติวินัย

       ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วย ศีลวิบัติ /////  อันไม่มีมูล

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ 


       พึงขอแม้ครั้งที่สอง 


       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 684 )  


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา /////  ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาให้สติวินัย 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว

       นี้เป็นญัตติ  


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์

       สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว

       การให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม … 


       สติวินัยอันสงฆ์ ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง  

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว  

       ระงับด้วยอะไร  

       ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย  

       ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง 

       มีความพร้อมหน้าสงฆ์ 

       ความพร้อมหน้าธรรม  

       ความพร้อมหน้าวินัย  

       ความพร้อมหน้าบุคคล … 


       ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร  

       คือ โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น 


       ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง  

       มีกิริยา 

       ความกระทำ 

       ความเข้าไป  

       ความเข้าไปเฉพาะ  

       ความรับรอง  

       ความไม่คัดค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติวินัยนั้น 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็น ปาจิตตีย์ ///// ที่รื้อฟื้น  

       ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ ที่ติเตียน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 685 )  


       บางที อนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ 

       สติวินัย 1 

       ตัสสปาปิยสิกา 1 

 
       พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ 

       สัมมุขาวินัย 1 

       อมูฬหวินัย 1 

       บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า 


       379. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  

       ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วย อาบัติ /////  ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว  

       ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว 

       ก็แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ 

       ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า อุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้ 



* * * คำขออมูฬหวินัย

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย  ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้  ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว 

       ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ 

       พึงขอแม้ครั้งที่สอง  

       พึงขอแม้ครั้งที่สาม 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 686 )  


       ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ 


* * * กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย 

       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย 

       ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว  

       ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ 

       ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว  

       นี้เป็นญัตติ 


       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า 

       ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย 

       ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้  

       เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว  

       ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้

       เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ 

       สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง 

       ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง … 


       ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม … 


       อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง 

       ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว

       ระงับด้วยอะไร 

       ด้วยสัมมุขาวินัยกับอมูฬหวินัย 

       ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง 

       มีความพร้อมหน้าสงฆ์ 

       ความพร้อมหน้าธรรม 

       ความพร้อมหน้าวินัย 

       ความพร้อมหน้าบุคคล … 


       ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง 

       มีกิริยา 

       ความกระทำ 

       ความเข้าไป 

       ความเข้าไปเฉพาะ

       ความรับรอง 

       ความไม่คัดค้านกรรม คือ อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น 

       ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็น ปาจิตตีย์ ที่ติเตียน 



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 687 )  


       บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ 

       สติวินัย 1 

       อมูฬหวินัย 1

 
       พึงระงับด้วยอสมถะ 2 อย่าง คือ  

       สัมมุขาวินัย 1 

       ตัสสปาปิยสิกา 1 

       บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า


       380. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย ครุกาบัติ /////  ในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ  คือ อาบัติปาราชิก /////  หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ 

       ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก

       ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก 

       ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อยเห็นปานนี้ 

       ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิดท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก 

       ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูกถาม ก็ปฏิญาณ ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณหรือ 

       ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ก็ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยชื่อนี้ ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ ก็ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญาณหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก 

       ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแล 



* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง 



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 791 , 792 , 793 , 794 , 795 , 796



- จบ -