คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง สมถขันธกะ : มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
เรื่อง สมถขันธกะ : มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 649 )
อะไรเป็นมูลแห่ง กิจจาธิกรณ์ /////
สงฆ์เป็นมูลอันหนึ่งแห่งกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 650 )
วิวาทาธิกรณ์ ///// เป็น กุศล อกุศล อัพยากฤต /////
วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศลก็มี
เป็นอกุศลก็มี
เป็นอัพยากฤตก็มี
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 651 )
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นอกุศล วิวาทกันว่า
1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
2. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
3. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
4. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงประพฤติมา
5. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
6. นี้เป็น อาบัติ ///// นี้ไม่เป็นอาบัติ
7. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
8. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 652 )
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นกุศล วิวาทกันว่า
1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 653 )
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤตเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตเป็นอัพยากฤต วิวาทกันว่า
1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม …
9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 654 )
อนุวาทาธิกรณ์ ///// เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อนุวาทาธิกรณ์เป็น กุศลก็มี
อกุศลก็มี
อัพยากฤตก็ม
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 655 )
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นอกุศลย่อมโจทภิกษุ ด้วย ศีลวิบัติ ///// อาจารวิบัติ ///// ทิฏฐิวิบัติ ///// หรือ อาชีววิบัติ /////
การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วงความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ในเรื่องนั้น อันใดนี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 656 )
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 657 )
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมโจทภิกษุด้วย ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใดนี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 658 )
อาปัตตาธิกรณ์ ///// เป็นอกุศล อัพยากฤต
อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศลก็มี
อัพยากฤตก็มี
อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 659 )
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ภิกษุไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่จงใจ ไม่ฝ่าฝืน ละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 660 )
กิจจาธิกรณ์ ///// เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
กิจจาธิกรณ์เป็นกุศลก็มี
อกุศลก็มี
อัพยากฤตก็มี
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 661 )
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นอกุศล ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรม ///// ญัตติกรรม ///// ญัตติทุติยกรรม ///// ญัตติจตุตถกรรม ///// นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 662 )
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นกุศล ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นกุศล
( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 663 )
บรรดากิจจาธิกรณ์นั้น กิจจาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
สงฆ์มีจิตเป็นอัพยากฤต ทำกรรมอันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก / หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา / หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 1 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 6 ) / หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : สมถขันธกะ / หัวข้อย่อยรองลงมา : สมถขันธกะ : มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย / หน้าที่ : 775 , 776 , 777 , 778
- จบ -