Friday, September 9, 2022

สติปัฏฐาน 4

 



       สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ

       โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ ไม่ลืมสติ เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดีงามเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศล

       คอยช่วยให้จิตที่ดีงามนึกถึงแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ให้ผลเป็นความสุข ระลึกถึงแต่สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดโทษคือกิเลส


       ส่วน ปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​​แต่​ใน​มหาสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น , ความแน่วแน่ , ความมุ่งมั่นไม่ปล่อยเวลาให้เสียประโยชน์ 

       โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง คือ วงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ จนละคลายความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง  ได้แก่ 

* * * กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การมีสติไม่ลืมว่ากายเป็นแค่ที่รวมของธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่ากายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


* * * เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน -การมีสติไม่ลืมว่าเวทนา , ทั้งสุข ทุกข์ อุเบกขา มีและไม่มีอามิส , ล้วนเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็นแค่นามธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าเวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


* * * จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การมีสติไม่ลืมว่าจิตมีเหตุใกล้คือเจตสิกมากมายเป็นปัจจัยให้เกิดอยู่ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าจิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา 


* * * ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การมีสติไม่ลืมว่าโลกิยธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย ไม่มองด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองเป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่อาศัยเหตุปัจจัยมากมายเกิดขึ้นเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาทก็จะเห็นความเกิดดับ และเห็นว่าธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัยล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา



ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สติปัฏฐาน_4  


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  


- จบ -