Friday, September 2, 2022

วัตตขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร

 

คำตรัสจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า

เรื่อง วัตตขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร



อันเตวาสิกวัตร * * * ( 1 ) 


( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 444 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอันเตวาสิกวัตรแก่อาจารย์ทั้งหลาย โดยประการที่อาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน อันเตวาสิก /////



( เนื้อหาข้างล่างนี้ มีเลขอ้างอิง ( บรรพ ) ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นเลขที่ : 445 )  


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก 

       วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้ 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันเตวาสิก ด้วย อุเทศ /////  ปริปุจฉา /////  โอวาท อนุศาสนี /////  

       ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก  

       ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก  

       ถ้าอาจารย์มี บริขาร /////  อันเตวาสิกไม่มี อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก 

       ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์พึงลุกแต่เช้าตรู่แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปู อาสนะ ///// 

       ถ้า ยาคู ///// มีพึงล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้  

       เมื่ออันเตวาสิกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ

       รับภาชนะมา ถือต่ำๆ ล้างให้เรียบร้อย 

       อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ 

       เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ  


       ถ้าที่นั้นรกพึงกวาดที่นั้นเสีย 


       ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ ประคดเอว /////  พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นให้ 

       พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ ด้วยเข้าใจว่าเพียงเวลาเท่านี้อันเตวาสิกจักกลับมา 

       พึงวางน้ำล้างเท้า  ตั่ง รองเท้า /////  กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ 


       พึงลุกรับบาตร จีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา 

       ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรพึงพับให้เหลื่อมมุมกัน 4 นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง  

       พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร 


       ถ้าบิณฑบาตมีและอันเตวาสิกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำบิณฑบาตเข้าไป พึงถามอันเตวาสิกถึงน้ำฉัน  

       เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้ว พึงให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด 

       พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร… เมื่อเก็บจีวร … ทำชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วเก็บ 


       เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า 

       ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย 


       ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ 

       ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้  

       ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้  


       ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่เข้าเรือนไฟ พึง บดจุณ /////  แช่ดิน ถือ ตั่ง /////  สำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  

       พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่พึงเข้าไปสู่เรือนไฟ 

       เมื่อเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังแล้วเข้าไปสู่เรือนไฟ  

       อย่านั่งเบียดภิกษุผู้ เถระ ///// 

       
อย่า เกียดกัน ///// อาสนะภิกษุใหม่

       พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ 


       เมื่อออกจากเรือนไฟพึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ 


       พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ 

       อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้หมดน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ 


       ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ๆ  พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน 


       อันเตวาสิกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่พึงปัดกวาดให้สะอาด 


       เมื่อปัดกวาดวิหาร

       พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง …

       ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ 


       ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดง ธรรมกถา ///// แก่อันเตวาสิกนั้น  

       ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น 

       ถ้าทิฐิบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น

       ถ้าอันเตวาสิกต้อง อาบัติหนัก /////  ควรแก่ ปริวาส /////  อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก

       ถ้าอันเตวาสิกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม 

       ถ้าอันเตวาสิกควร มานัด /////  อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก 

       ถ้าอันเตวาสิกควร อัพภาน /////  อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก 

       ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม /////  นิยสกรรม /////  ปัพพาชนียกรรม /////  ปฏิสารณียกรรม /////  หรือ อุกเขปนียกรรม /////  อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา 

       หรือว่าอันเตวาสิกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่งประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย 


       ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก 

       ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงสั่งว่าท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก  

       ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงสั่งว่าท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก  

       เมื่อย้อมจีวรพึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี และเมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย 


       ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย 


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอันเตวาสิกวัตรของอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก 


- - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

วัตตขันธกะ จบ


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

* * * ( 1 ) : อันเตวาสิกวัตร ในส่วนนี้ไม่ได้นับข้อ เนื่องจากได้นับไปแล้วในหน้า 195 - ผู้รวบรวม  
   


* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) นำมาจากพระไตรปิฎก  /  หัวข้อใหญ่สุด : อาจารโคจรสมฺปนฺนา  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : คัมภีร์ จุลวรรค ภาค 2 ( วินัยปิฎก เล่มที่ 7 )  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : ขันธ์ที่ 4 : วัตตขันธกะ  /  หัวข้อย่อยรองลงมา : วัตตขันธกะ : อันเตวาสิกวัตร  



* * * อีกช่องทางหนึ่ง คือ สามารถอ่านได้ใน หนังสือ พุทธวจน เรื่อง อริยวินัย  /  หน้าที่ : 933 , 934 , 935



- จบ -