แพศย์ ( อ่านว่า แพด ) - คนในวรรณะที่ 3 แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี 4 วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/แพศย์
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วรรณะแพศย์ คือ วรรณะของคนส่วนใหญ่ของสังคมผู้ประกอบเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ
วรรณะแพศย์เกิดจากส่วนร่างกายของพระพรหมแม้จะอยู่ในพวก ทวิชาติเช่นเดียวกับพราหมณ์และกษัตริย์แต่พระปชาบดีหรือพระพรหมก็มอบหน้าที่ให้เป็นวรรณะพ่อค้า วานิช ดูแลปศุสัตว์ กระทําการกสิกรรม ดังข้อความในมนูธรรมศาสตร์ว่า “ไวศยะพึงรู้ค่าของรัตนชาติ มุก ปะการัง สินแร่ สิ่งทอ น้ําหอม และตัวยา ไวศยะพึงเข้าใจวิธีหว่านพืช รู้คุณภาพดิน และรู้จัก เครื่องตวงวัดอย่างถูกต้อง ไวศยะพึงรู้ใช้บริวาร รู้ภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์ รู้วิธีรักษาผลิตภัณฑ์ และรู้วิธี ซื้อขายอย่าทะลุปรุโปร่ง” ดังนี้
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.orst.go.th/FILEROOM/CABROYINWEB/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000613.FLP/html/88/#zoom=z
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วรรณะ ( ศาสนาฮินดู )
วรรณะ ( อักษรโรมัน: varṇa ) เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่มีความหมายหลายประการ เช่น ลำดับ สี และชนชั้น
ในทางศาสนาฮินดูใช้เรียกชนชั้นทางสังคมในความเชื่อ ในงานเขียนฮินดู เช่น มานุษมิรตี ระบุว่ามีอยู่ทั้งหมดสี่วรรณะ คือ
ศูทร: แรงงาน
แพศย์: พ่อค้าแม่ค้าและชาวสวนชาวไร่
กษัตริย์: ผู้นำ ผู้ปกครอง นักรบ
พราหมณ์: นักบวช นักวิชาการ อาจารย์
ชุมชนที่เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็น สวรรณะ ( savarna ) หรือ "วรรณะฮินดู" ส่วนชาวทลิตและ ชนเผ่าต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็นพวก อวรรณะ
การแบ่งชนชั้นนี้ต่างกับการแบ่งชนขั้นตามภูมิภาค ชาติ ( Jāti ) ที่ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นแผนที่โดยบริติชราช เพื่อให้ตรงกับ"ชนชั้น" ( caste ) ในแนวคิดยุโรป
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณะ_(ศาสนาฮินดู)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -