วรรณะพราหมณ์ คือ พวกทําหน้าที่ศึกษา ทรงจํา และสืบต่อคัมภีร์พระเวท เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาสําหรับวรรณะอื่น ๆ ทุกวรรณะ
วรรณะพราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม
วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะที่มีเอกสิทธิ์ ได้รับการยกย่องสูงสุดว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวรรณะทั้งหมด ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์กล่าวว่า “ส่วนที่ถือว่าบริสุทธิ์กว่าแห่งมนุษย์ได้แก่ส่วนเหนือสะดือขึ้นไป ดังนั้น พระผู้ทรงมีสภาวะเองย่อมตรัสว่าส่วนอันบริสุทธิ์ที่สุดแห่งมนุษย์คือปาก โดยเหตุที่อุบัติขึ้นจากส่วนอันดีเลิศ โดยเหตุที่อุบัติขึ้นก่อนโดยเหตุที่เป็นผู้ทรงพระเวท พราหมณ์จึงนับว่ามีสิทธิ์เป็นนายของสิ่งสร้างทั้งปวง การอุบัติขึ้นแห่งพราหมณ์คือการอุบัติอันนิรันดรแห่งธรรมะ เหตุเพราะ พราหมณ์มีอยู่ก็เพื่อธรรมะ และเพื่อความคงอยู่แห่งพระเวท พราหมณ์อุบัติขึ้นสูงกว่าโลก เป็นนายของสิ่งทั้งปวงเป็นผู้รักษาสมบัติคือธรรมะ เหตุนั้นสิ่งทั้งปวงในจักรวาลจึงเป็นสมบัติของพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ชื่อว่ามีสิทธิ์เหนือสิ่งทั้งปวงเหล่านี้โดยฐานะและการเกิดอันสูงส่ง พราหมณ์จึงเป็นผู้กินของของตนเอง สวมใส่ของของตนเอง และให้ของของตนเอง โดยอาศัยความกรุณาแห่งพราหมณ์ คนเหล่าอื่นจึงมีความรื่นเริง”
และในมนูธรรมศาสตร์นั่นเองได้แสดงให้เห็นว่าวรรณะพราหมณ์ประเสริฐกว่าวรรณะอื่นทั้งหมด แม้วรรณะกษัตริย์ก็ไม่อาจที่จะทําให้พราหมณ์โกรธเคืองได้ เพราะพราหมณ์เป็นวรรณะสูง เกิดจากลมปากของพระพรหมโดยกําเนิด ดังข้อความว่า “แม้ตกอยู่ในความเดือดร้อนแสนสาหัส พระราชาก็ไม่พึงทําให้พราหมณ์โกรธ เพราะเมื่อพราหมณ์โกรธแล้วย่อมจะทําลายพระราชาได้ด้วยบริวาร กําลัง และอุปกรณ์ทั้งหลาย เนื่องจากกษัตริย์อุบัติขึ้นจากพราหมณ์ พราหมณ์เท่านั้นที่ควรอยู่เหนือกษัตริย์ในกาลทุกเมื่อที่กษัตริย์ทําการโอหังต่อพราหมณ์”
และอีกตอนหนึ่งว่า “ไม่ว่าจะฉลาดหรือไม่ฉลาด พราหมณ์ก็คงสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ ดังไฟมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะใช้บูชายัญอยู่หรือไม่ก็ตาม”
ในทีฆนิกายมหาวรรคพระไตรปิฎก เล่มที่ 4 กล่าวว่า โสณพราหมณ์ตอบคําถามพระพุทธเจ้าที่ตรัสถามว่า พราหมณ์มีคุณสมบัติอย่างไร ตอบว่ามี 5 อย่าง คือ
1) มีชาติดีได้แก่เกิดจากบิดามารดาเป็นพราหมณ์ สืบสายมา 7 ชั่วบรรพบุรุษ
2) ท่องจํามนต์ในพระเวท
3) มีรูปงาม
4) มีศีล
และ 5) เป็นผู้เฉลียวฉลาด มีปัญญารอบรู้ในพระเวท
เพราะถือกําเนิดจากอวัยวะเบื้องสูงของพระพรหมจึงเป็นกําเนิดสูงสุด มีอาชีพ 5 อย่าง คือ
- การสั่งสอนพระเวท
- ปฏิบัติตามพระเวท
- บูชายัญเอง
- บูชายัญแทนผู้อื่น
- รับทาน และให้ทาน
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.orst.go.th/FILEROOM/CABROYINWEB/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000613.FLP/html/86/#zoom=z
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วรรณะ ( ศาสนาฮินดู )
วรรณะ ( อักษรโรมัน: varṇa ) เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่มีความหมายหลายประการ เช่น ลำดับ สี และชนชั้น
ในทางศาสนาฮินดูใช้เรียกชนชั้นทางสังคมในความเชื่อ ในงานเขียนฮินดู เช่น มานุษมิรตี ระบุว่ามีอยู่ทั้งหมดสี่วรรณะ คือ
ศูทร: แรงงาน
แพศย์: พ่อค้าแม่ค้าและชาวสวนชาวไร่
กษัตริย์: ผู้นำ ผู้ปกครอง นักรบ
พราหมณ์: นักบวช นักวิชาการ อาจารย์
ชุมชนที่เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็น สวรรณะ ( savarna ) หรือ "วรรณะฮินดู" ส่วนชาวทลิตและ ชนเผ่าต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็นพวก อวรรณะ
การแบ่งชนชั้นนี้ต่างกับการแบ่งชนขั้นตามภูมิภาค ชาติ ( Jāti ) ที่ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นแผนที่โดยบริติชราช เพื่อให้ตรงกับ"ชนชั้น" ( caste ) ในแนวคิดยุโรป
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณะ_(ศาสนาฮินดู)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -