วรรณะกษัตริย์ คือ วรรณะนักรบ ทําหน้าที่ปกครองและทําศึกสงครามขยายขอบเขต หรือป้องกันเขตแดนเวลาถูกข้าศึกภายนอกรุกราน
วรรณะกษัตริย์เกิดจากพระพาหาหรือแขนของพระพรหม
ในมนูธรรมศาสตร์ ได้กําหนดธรรมะหรือหน้าที่ของกษัตริย์ไว้ว่า “พระราชาพึงศึกษาไตรเพท จากผู้รู้ไตรเพทรู้ศาสตร์ว่าด้วยนโยบาย ตรรก และตัวตน ส่วนกิจการอื่น ๆ ทรงศึกษาจากประชาชน”
เนื่องจากพระราชาทรงมีฐานะสูงส่งมีธรรมชาติเป็นทั้งเทพและมีองค์ประกอบความเป็นเทพอยู่ในพระองค์ และมีหน้าที่เป็นกฎแฝงอยู่ในพระองค์ ดังข้อความที่ว่า “มีหน้าที่ในการศึกสงคราม การรบปกป้องเขตแดน และกรุณาแก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์”
ในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวถึงลักษณะของกษัตริย์ไว้ ตอนหนึ่งว่า “กษัตริย์เมื่อพระองค์คือพระอัคนีและพระพายพระองค์คือพระอาทิตย์ และพระจันทร์คือ ราชาแห่งความยุติธรรม พระองค์คือท้าวกุเวร คือพระวรุณ คือพระเกรียงไกรแห่งอินทรเทพ แม้ทรงพระเยาว์
พระราชามิใช่ใครจักดูหมินว่าเป็นปุถุชนเหตุเพราะพระองค์คือเทวอํานาจ ที่อยู่ในมนุษยรูป พระราชาจึงยังความเจริญรุ่งเรืองและมีความประพฤติแห่ง อินทร อรรกะ วายุ ยม จันทร อัคนิ และ ปฤถวิ
องค์อินทรเทพประทานฝนแก่มนุษย์ตลอด 4 เดือน แห่งฤดูฝน ฉันใด พระราชาพึงปฏิบัติกฎแห่งอินทรโดยแผ่พระการุณยภาพแก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์อย่างทั่วถึงเมื่อถูกท้ารบจากกษัตริย์ที่เท่าเทียมกัน ที่มีอํานาจมากกว่าหรือที่มีอํานาจน้อยกว่าก็ตาม ต้องคุ้มครองพลเมืองของพระองค์ และต้องรําลึกถึงหน้าที่แห่งวรรณะกษัตริย์ ย่อมไม่หนีข้าศึก กษัตริย์มุ่งประหัตประหารกัน ต่อสู้อย่างสุดกําลังโดยไม่ถอยหนี ย่อมไปสวรรค์
ทรงเป็นกลียุคเมื่อบรรทม เป็นทวาปรยุคเมื่อตื่นอยู่ เป็นเตรตรายุคเมื่อ ทรงปฏิบัติพระราชกิจ และทรงเป็นกฤตยุคเมื่อได้รับชัยชนะแก่ข้าศึก” ดังนี้
กษัตริย์แม้จะมีหน้าที่สําคัญที่สุดในการปกครองแล้วยังจะต้องยกย่องและทํานุบํารุงพราหมณ์เป็นหน้าที่ควบคู่ไปด้วย ดังข้อความว่า “พระราชาเมื่อทรงตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ จึงยําเกรงพราหมณ์ ผู้คงแก่เรียนในไตรเพททั้งสาม และพึงยึดถือมติแห่งพราหมณ์โดยเคร่งครัด และพระองค์ต้องทรงยกย่องพราหมณ์ผู้รู้ไตรเพทและเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะผู้ยกย่องผู้มีวัยวุฒินั้นแม้ปีศาจก็นับถือ”
ข้อกําหนดในคัมภีร์พระเวทเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า วรรณะกษัตริย์จะไม่รุ่งเรืองถ้าปราศจากวรรณะพราหมณ์เช่นเดียวกัน วรรณะพราหมณ์จะไม่มีความเจริญ ถ้าปราศจากวรรณะกษัตริย์ แต่เมื่อใดวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์สามัคคีกัน ความเจริญย่อมอุบัติขึ้น ทั้งเมื่อนี้และเมื่อหน้า และในที่สุดแห่งหน้าที่ เมื่อได้ถวายทรัพย์อันได้จากค่าปรับไหมแก่พราหมณ์ และเวรราชสมบัติแก่พระโอรสแล้ว พระราชาจึงเสด็จสู่ความตายในสงคราม
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://www.orst.go.th/FILEROOM/CABROYINWEB/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000613.FLP/html/87/#zoom=z
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วรรณะ ( ศาสนาฮินดู )
วรรณะ ( อักษรโรมัน: varṇa ) เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่มีความหมายหลายประการ เช่น ลำดับ สี และชนชั้น
ในทางศาสนาฮินดูใช้เรียกชนชั้นทางสังคมในความเชื่อ ในงานเขียนฮินดู เช่น มานุษมิรตี ระบุว่ามีอยู่ทั้งหมดสี่วรรณะ คือ
ศูทร: แรงงาน
แพศย์: พ่อค้าแม่ค้าและชาวสวนชาวไร่
กษัตริย์: ผู้นำ ผู้ปกครอง นักรบ
พราหมณ์: นักบวช นักวิชาการ อาจารย์
ชุมชนที่เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็น สวรรณะ ( savarna ) หรือ "วรรณะฮินดู" ส่วนชาวทลิตและ ชนเผ่าต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็นพวก อวรรณะ
การแบ่งชนชั้นนี้ต่างกับการแบ่งชนขั้นตามภูมิภาค ชาติ ( Jāti ) ที่ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นแผนที่โดยบริติชราช เพื่อให้ตรงกับ"ชนชั้น" ( caste ) ในแนวคิดยุโรป
ข้างบนนี้ เอาข้อมูลมาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณะ_(ศาสนาฮินดู)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
- จบ -