พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง เจริญอานาปานสติ ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต ย่อมมีขึ้นไม่ได้
เรื่อง เจริญอานาปานสติ ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต ย่อมมีขึ้นไม่ได้
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยกโคลง แล้วได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอเห็นความหวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของมหากัปปินะบ้างหรือไม่ ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดี ในเวลานั้นๆ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้เห็นความหวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลย พระเจ้าข้า!”
ภิกษุทั้งหลาย! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุมหากัปปินะนั้นเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำ บาก ซึ่งสมาธินั้น
ภิกษุทั้งหลาย! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญ ทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริญ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญ ทำ ให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม จึงไม่มี ?
ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
( แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า 1 - 4 ทุกประการ )
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง อานาปานสติ / หัวข้อย่อย : เจริญอานาปานสติ ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายและจิต ย่อมมีขึ้นไม่ได้ / หัวข้อเลขที่ : 21 / -บาลี มหาวาร. สํ. 19/399-400/1322-1326. / หน้าที่ : 97 , 98 , 99
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
( ขยายความของผู้ทำเว็บไซต์นี้ ) คำพูดที่ว่า "แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า 1 - 4 ทุกประการ" นั้น คำว่าหน้า 1 - 4 มีอะไรบ้าง? คำตอบคือ ในหน้า 1 ถึงหน้า 4 ที่พูดถึงนี้คือ หน้า 1 ถึงหน้า 4 ของหนังสือ พุทธวจน เรื่อง อานาปานสติ ซึ่งก็คือเรื่อง "อานิสงส์สูงสุดแห่งอานาปานสติ 2 ประการ" ( ทำเป็นลิงก์เอาไว้ให้อ่านแล้วนะครับ คลิ๊กที่นี่ครับ )
- END -