พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง ความหมายของคำว่า “สัตว์”
เรื่อง ความหมายของคำว่า “สัตว์”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า!
ราธะ! ฉันทะ ( ความพอใจ ) ราคะ ( ความกำหนัด ) นันทิ ( ความเพลิน ) ตัณหา ( ความอยาก ) ใดๆมีอยู่ใน รูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วใน รูป นั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ( ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง 5 ) ดังนี้
ราธะ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆมีอยู่ใน เวทนา ( ความรู้สึกสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วใน เวทนา นั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆมีอยู่ใน สัญญา ( ความหมายรู้ ) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วใน สัญญา นั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆมีอยู่ใน สังขาร ทั้งหลาย ( ความปรุงแต่ง ) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วใน สังขาร ทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้
ราธะ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ใน วิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วใน วิญญาณ นั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้แล
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ภพภูมิ / หัวข้อใหญ่ : สัตว์ / หัวข้อย่อย : ความหมายของคำว่า “สัตว์” / หัวข้อเลขที่ : 9 / -บาลี ขนฺธ. สํ. 17/232/367. / หน้าที่ : 23 , 24
- END -