พุทธวจน - คําสอนจากพระโอษฐ์ พระพุทธเจ้า
เรื่อง ทรงมีตถาคตพละสิบอย่าง
เรื่อง ทรงมีตถาคตพละสิบอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 10 อย่าง และประกอบด้วย เวสารัชชญาณ 4 อย่าง จึงปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย
สารีบุตร! เหล่านี้เป็นตถาคตพละ 10 อย่าง ของตถาคต ที่ตถาคตประกอบพร้อมแล้ว ปฎิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในท่ามกลางบริษัททั้งหลายได้ , 10 อย่างคือ :-
( 1 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสิ่งเป็นฐานะ ( คือมีได้เป็นได้ ) โดยความเป็นสิ่งมีฐานะ , ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ ( คือไม่มีได้ไม่เป็นได้ ) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ : นี้เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 2 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบาก ( คือผล ) ของการทำกรรมที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 3 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ภูมิทั้งปวงได้ : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 4 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียว ด้วยธาตุต่างๆ กัน : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 5 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอธิมุติ ( คือฉันทะและอัธยาศัย ) อันต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 6 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 7 ) ตถาคต ย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 8 ) ตถาคต ย่อมระลึกได้ ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีชนิดต่างๆ กัน คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง * * * ( 1 ) … : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 9 ) ตถาคต ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักขุอันหมดจด ก้าวล่วงจักขุมนุษย์ : เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่ บังเกิดอยู่ * * * ( 2 ) … : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
( 10 ) ตถาคต ย่อมทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ * * * ( 3 ) … : นี่ก็เป็นตถาคตพละของตถาคต
สารีบุตร! เหล่านี้แล เป็นตถาคตพละ 10 อย่างของตถาคต ที่ตถาคตประกอบแล้ว ย่อมปฏิญญาตำแหน่งจอมโลก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
* * * ( 1 ) ราชกุมาร! นี่เป็นวิชชาที่ 1 ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว , ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว , เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ , โดยควร
( ข้างบนนี้ มีข้อความเต็มอยู่ที่หนังสือ พุทธวจน เรื่อง ตถาคต / หัวข้อใหญ่ : เริ่มแต่ออกบรรพชาแล้วเที่ยวเสาะแสวงหาความรู้ ทรมานพระองค์ จนได้ตรัสรู้ / หัวข้อย่อย : อาการแห่งการตรัสรู้ / หัวข้อเลขที่ : 61 / -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๗/๕๐๕.1 * * * ยังพบใน สคารวสูตร -บาลี ม. ม. 13/685/754 , มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. 12/458/427 , ซึ่งตอนนี้ ปาสราสิสูตร ไม่มี , ต่อไปใน สคารวสูตรและมหาสัจจกสูตร ก็ไม่มี - ผู้แปล / หน้าที่ 175 ว่าด้วย วิชชาที่ 1 ( ทำเป็นลิงก์เอาไว้ให้อ่านแล้วนะครับ คลิ๊กที่นี่ครับ )
* * * ( 2 ) ราชกุมาร! นี้เป็นวิชชาที่ 2 ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางแห่งราตรี อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว , ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ , โดยควร
( ข้างบนนี้ มีข้อความเต็มอยู่ที่หนังสือ พุทธวจน เรื่อง ตถาคต / หัวข้อใหญ่ : เริ่มแต่ออกบรรพชาแล้วเที่ยวเสาะแสวงหาความรู้ ทรมานพระองค์ จนได้ตรัสรู้ / หัวข้อย่อย : อาการแห่งการตรัสรู้ / หัวข้อเลขที่ : 61 / -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๗/๕๐๕.1 * * * ยังพบใน สคารวสูตร -บาลี ม. ม. 13/685/754 , มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. 12/458/427 , ซึ่งตอนนี้ ปาสราสิสูตร ไม่มี , ต่อไปใน สคารวสูตรและมหาสัจจกสูตร ก็ไม่มี - ผู้แปล / หน้าที่ 176 ว่าด้วย วิชชาที่ 2 ( ทำเป็นลิงก์เอาไว้ให้อ่านแล้วนะครับ คลิ๊กที่นี่ครับ )
* * * ( 3 ) ราชกุมาร! นี่เป็นวิชชาที่ 3 ที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว , ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว , เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ , โดยควร
( ข้างบนนี้ มีข้อความเต็มอยู่ที่หนังสือ พุทธวจน เรื่อง ตถาคต / หัวข้อใหญ่ : เริ่มแต่ออกบรรพชาแล้วเที่ยวเสาะแสวงหาความรู้ ทรมานพระองค์ จนได้ตรัสรู้ / หัวข้อย่อย : อาการแห่งการตรัสรู้ / หัวข้อเลขที่ : 61 / -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๕๗/๕๐๕.1 * * * ยังพบใน สคารวสูตร -บาลี ม. ม. 13/685/754 , มหาสัจจกสูตร -บาลี มู. ม. 12/458/427 , ซึ่งตอนนี้ ปาสราสิสูตร ไม่มี , ต่อไปใน สคารวสูตรและมหาสัจจกสูตร ก็ไม่มี - ผู้แปล / หน้าที่ 177 ว่าด้วย วิชชาที่ 3 ( ทำเป็นลิงก์เอาไว้ให้อ่านแล้วนะครับ คลิ๊กที่นี่ครับ )
* * * ( ข้างบนนี้-ทั้งหมด ) คัดมาจากหนังสือ พุทธวจน เรื่อง ตถาคต / หัวข้อใหญ่ : ลักษณะพิเศษของตถาคต / หัวข้อย่อย : ทรงมีตถาคตพละสิบอย่าง / หัวข้อเลขที่ : 131 / -บาลี มู. ม. 12/140/166 , -บาลี นิทาน. สํ. 16/33/65. / หน้าที่ : 320 , 321 , 322
- END -